Skip to main content

เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า

ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด”

ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”


เราไม่ทราบว่า คำถามนี้เกิดขึ้นในปี ค.. ใด ทราบแต่ว่า ท่านเสียชีวิตในปี ค.. 1955

ที่ผมนำเอาปีที่ท่านเสียชีวิตมากล่าวถึงในที่นี้ก็เพราะว่าจะนำเข้าสู่หัวข้อที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ “ปัญหาจีดีพี” หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product)


ตามประวัติที่ค้นได้ (จาก google) พบว่า ผู้ที่คิดประดิษฐ์เรื่องจีดีพีคือนักเศรษฐศาสตร์ชาวสหภาพโซเวียตรัสเซียที่อพยพตามพ่อแม่ไปอยู่สหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.. 1922 ขณะที่มีอายุได้ 21 ปี เขาผู้นี้ชื่อ Simon Kuznets


ช่วงเวลาที่ Kuznets พัฒนาแนวคิดนี้ก็ประมาณปี ค.. 1940 และสหรัฐอเมริกาได้เริ่มนำแนวคิดนี้ไปใช้วัดความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (.. 1945) เป็นต้นมา และต่อมาประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลกก็ได้นำ “สิ่งประดิษฐ์เรื่องจีดีพี” ไปใช้รวมทั้งประเทศไทยเราด้วย


ด้วยเหตุนี้ ในปี ค.. 1971 (ซึ่งไอน์สไตน์ได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 16 ปี) Simon Kuznets ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์


วิกีพีเดีย (ภาคภาษาไทย) ได้ให้ความหมายของจีดีพีว่า หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด


วิธีการวัดจีดีพีมี 2 วิธี คือ (1) วัดจากรายจ่ายที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย และ (2) การวัดรายได้ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย


ในบทความนี้เราจะไม่ลงในรายละเอียดนะครับ แต่โดยสรุปก็คือมีการแปลงทุกภาคส่วนที่มีการผลิตแล้วเกิดรายได้ออกมาเป็นตัวเงินตัวเลขเดียวเพื่อสะท้อนความก้าวหน้าของแต่ละประเทศ

เช่น ในปี 2549 จีดีพีของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เท่ากับ 13.2 และ 4.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ


นอกจากนี้จีดีพียังใช้เปรียบเทียบขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยเรามีจีดีพี (ในปี 2549) เท่ากับ 0.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 35 ของโลก ในขณะที่จำนวนประชากร(ในปี 2551) ของเรามากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก


เมื่อมองเพียงแค่นี้ “สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าจีดีพี” ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ให้ความรู้ความเข้าใจต่อประเทศนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี สมควรแล้วที่ผู้คิดคือ Kuznets ได้รับรางวัลโนเบล เพราะมีคนนำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้อย่างกว้างขวางเกือบทุกประเทศทั่วโลก


นับประสาอะไรกับรางวัลโนเบล (สาขาสันติภาพปีล่าสุด-2009) ที่เป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้นยังไม่มีการปฏิบัติจริง (ความจริงปฏิบัติในทางตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ คือส่งทหารไปเพิ่มในอัฟกานิสถานถึง 3 หมื่นคน) ก็ได้รับรางวัลโนเบลแล้ว


แต่ปัญหาของ “สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าจีดีพี” คือประสบกับความล้มเหลวที่จะตอบคำถามต่อไปนี้ เช่น วัดความแตกต่างเชิงคุณภาพของคนในชาติ เช่น วัดความสุข ความเท่าเทียมกัน ไม่ได้ ใช้วัดความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้ รวมทั้งใช้วัดการใช้เวลาของคนในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ เช่น การทำงานบ้านของแม่บ้าน การดูแลเด็กและคนชรา ไม่สนใจว่าต้องไปขับรถแท็กซี่เพื่อหารายได้เสริมจากงานประจำที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง เป็นต้น


สิ่งเหล่านี้ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญของความเป็นมนุษย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี

ในทางตรงกันข้าม นอกจากสิ่งดี ๆ ดังกล่าวไม่ได้รับการคิดรวมในจีดีพีแล้ว นักการเมืองยังยึดเอาจีดีพีเป็นสรณะอย่างปราศจากเหตุผลโดยไม่ลืมหูลืมตา หรือจัดเป็นพวก GDP Fetishism


เราคงจำกันได้ ในขณะที่ พ... ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อได้รับรายงานการคาดการณ์จากข้าราชการประจำว่าอัตราการเพิ่มของจีดีพีอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ท่านนายกฯก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ หลังจากนั้นก็มีการปรับตัวเลขให้สูงขึ้น


เร็ว ๆ นี้ หลังได้รับการโปรดเกล้าให้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี นักเศรษฐศาสตร์ระดับด๊อกเตอร์ ก็ประกาศว่า “เร่งเครื่องส่งออก คุมราคาน้ำมัน-ดอกเบี้ย แก้มาบตาพุดให้จีดีพีของไทยปี 2553 ขยายตัว 3-4% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”


ทั้งๆ ที่ท่านทราบดีว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สินค้าที่ส่งออกส่วนมากก็มีแต่ค่าแรงงานเท่านั้นที่เป็นของคนไทย แต่กลับทิ้งปัญหามลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ ดินไว้กับประเทศไทยดังที่เป็นข่าวอยู่เป็นประจำ


เท่านั้นยังไม่พอ ท่านรองไตรรงค์ ยัง “ปลุกผีเซาเทิร์นซีบอร์ด วาดฝันลงขัน 1 ล้านล้านปั้นเศรษฐกิจยาว 30 ปี” (ไทยรัฐออนไลน์)


ท่านไตรรงค์ครับ ผมเห็นด้วยกับท่านมากเลยว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศเราต้องคิดถึงกาลไกล ๆ นาน ๆ เป็น 30 ปีอย่างที่ท่านว่า แต่ ณ วันนี้ รัฐบาลของท่านจะอยู่ได้สักกี่วันก็ยังไม่มีใครตอบได้


ในขณะที่นักการเมืองเป็นโรค GDP Fetishism ประชาชนทั่วไปก็ถูกนักการเมืองโฆษณาชวนเชื่อให้หลงตามกันไปด้วย คือเชื่อแต่ตัวเลขรายได้เฉลี่ยโดยไม่สนใจการกระจายรายได้และปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งชุมชนและระบบธรรมาภิบาลของรัฐ เป็นต้น


จะมีใครทราบบ้างไหมหนอว่า ตลอดระยะเวลาที่ประเทศเราเข้าไปสู่ “โรคจีดีพี” แหล่งน้ำจืดของประเทศไทยเรามีค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำที่สุดในโลกจากบรรดา 141 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูลนี้อยู่ใน nationmaster.com ซึ่งอ้างถึงข้อมูลจาก UNEP- หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ)


นั่นแปลว่า กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เป็นอาหารโปรตีนสำคัญของผู้คนก็ต้องรู้สึกหายใจไม่ทั่วท้องและลดจำนวนน้อยลง นอกจากชาวประมงพื้นบ้านจะมีรายได้ลดลงแล้ว ต้นทุนในการหาปลาก็เพิ่มขึ้นด้วย


ในด้านมลพิษ เฉพาะคนในครอบครัวของลุงน้อย ชาวบ้านตำบลมาบตาพุด จ. ระยอง ครอบครัวเดียวมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งถึง 5 คน ในจำนวนนี้หลายคนเสียชีวิตไปแล้ว


ในการประชุมเรื่องสภาวะโลกร้อน (Global warming) เมื่อปลายปี 2552 ที่ประเทศเดนมาร์ก พบว่าประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละเท่าใด


เหตุผลที่ตกลงกันไม่ได้ก็เพราะว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไม่ยอมลด

ที่ไม่ยอมลดก็เพราะกลัวว่าจะทำให้อัตราการเพิ่มของจีดีพีของประเทศตนลดลง

เห็นไหมครับว่า จีดีพีมันทรงอิทธิพลในด้านที่ขัดขวางความอยู่ดีกินดีมีสุขของชาวโลกมากแค่ไหน


กลับมาที่คำถามที่ อัลเบิร์ติ ไอน์สไตน์ ถูกถามอีกครั้งครับ

จากลำดับเหตุการณ์ปี ค.. ที่กล่าวมาแล้ว ในวันนั้นโลกของเรายังไม่มีปัญหาสภาวะโลกร้อนเท่าทุกวันนี้ ชาวโลกยังไม่ค่อยเห็นอิทธิฤทธิ์ของจีดีพี เพราะยังเพิ่งเป็นหน่ออ่อน ๆ อยู่ ยังไม่มากกว่าหรือเท่ากับ Threshold value (ค่าคงตัวที่ยังไม่เห็นปรากฏการณ์จนกว่าจะเลยค่านี้ไปก่อน - เป็นคำที่ไอน์สไตน์อธิบายทฤษฎีที่เขาได้รับรางวัลโนเบลเช่นเดียวกัน)


ถ้าไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่ถึง ค.. 2010 ท่านน่าจะตอบคำถามเดิมว่า

สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุดมี 2 อย่าง คือ สูตรดอกเบี้ยทบต้น กับ จีดีพี อย่างแรกจะมีอำนาจทำลายเป็นรายบุคคลเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างหลังนี้มันทำลายทั้งโลกเลย”


ผมเข้าใจว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness- GNH) ที่ผมเคยเกริ่นไว้แล้วครั้งหนึ่ง น่าจะมาอุดข้อพกพร่องของจีดีพีได้ครับ


แล้วจะนำมาเล่ากันต่อไป

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org