Skip to main content

1. คำนำและปัญหา


ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น


สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน


ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง


สินค้าสองชนิดที่ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ ข้าวและยางพารานั้น สามารถซื้อพลังงานใช้ได้เพียง 73 วันเท่านั้น


เนื่องจากเนื้อที่อันจำกัด บทความนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เป้าหมายของบทความนี้อยู่ที่การแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายแบบใหม่ นอกจากคนไทยจะมีไฟฟ้าใช้โดยไม่ก่อมลพิษแล้ว ชาวบ้านทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวชนบทในหัวไร่ปลายนาหรือชาวเมืองในป่าคอนกรีตก็สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ด้วย


ปี 2550 คนไทยทั้งประเทศต้องจ่ายค่าไฟฟ้าถึง 4 แสนล้านบาท. และตามแผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (หรือที่เรียกว่าแผนพีดีพี 2007) จะมีงบลงทุนในอนาคตถึงปีละกว่า 1.3 แสนล้านบาท


เกือบทั้งหมดของเงินจำนวนนี้ (คือปีละกว่า 5 แสนล้านบาท) ล้วนไหลเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มพ่อค้าที่ผูกขาดเชื้อเพลิงและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น เช่น บริษัท ปตท. ที่ส่งก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และบริษัทผลิตไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง


เป็นไปได้ไหม ถ้าจะแบ่งปันเงินจำนวนนี้มาสัก 10% เป็นอย่างน้อย หรือปีละ 5 หมื่นล้านบาท มาสู่กระเป๋าของคนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ยังไม่มีการผูกขาดได้ นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไปแล้ว ไม่มีวันหมด เพราะสามารถจะเกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวลจากต้นไม้ เป็นต้น


ภาพข้างล่างนี้เป็นโปสเตอร์ของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่ง ในคราวที่มีการประชุมใหญ่เมื่อ ปี 2549 ที่ประเทศแอฟริกาใต้


1_07_01


ข้อความใหญ่ซึ่งเป็นประเด็นหลักโปสเตอร์ คือ “พลังงานหมุนเวียนคือพลังของประชาชน”


การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเราไม่เข้าใจว่าอะไรบ้างที่เป็นพลังของประชาชน เราต้องเข้าใจว่าปัจจุบัน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ได้กลายเป็น “พลังของพ่อค้าผูกขาด” ไปนานหลายทศวรรษแล้ว. เชื้อเพลิงที่ถูกผูกขาดเหล่านี้แหละที่เราต้องจ่ายเงินซื้อถึง 18 % ของรายได้ที่หากันแทบเป็นแทบตาย


คงเหลือแต่พลังงานจากพระอาทิตย์เท่านั้นที่ชาวบ้านยังพอมีสิทธิ์. ตราบเท่าที่ “กรมที่ดิน” ยังไม่สามารถไปทำรางวัดเพื่อออกโฉนดบนพระอาทิตย์ได้


ในโปสเตอร์ดังกล่าว มีข้อความตัวเล็กๆว่า “พลังงานหมุนเวียนนำงานมาให้เรามากกว่าพลังงานชนิดอื่น” และ “พลังงานหมุนเวียนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการพัฒนาที่เริ่มต้นจากประชาชนข้างล่างสู่ระดับนโยบายข้างบนของประเทศ วิธีการพัฒนาแบบนี้ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยตรง”


ข้อความที่ทุกคนต้องเก็บมาคิดต่อก็คือคำถามที่ว่า

เรามีพระอาทิตย์ แต่ทำไม เราไม่มีงานทำ”


ปัญหาการไม่มีงานทำ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ชาวแอฟริกา หรือชาวอีสานบ้านเราเท่านั้น. แม้แต่ในภาคใต้ของเราก็หางานทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะงานที่เคยเป็นของเราได้ถูกระบบทุนผูกขาดดูดไปหมดแล้ว

2. พลังงานลมในบ้านเราเป็นไปได้จริงหรือ และจะได้เท่าใด


ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคนหนึ่งเคยบอกกับประชาชนในเวทีสาธารณะว่า “ลมในประเทศไทยไม่แรงพอที่จะทำกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้” ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิง


แต่การจากศึกษาและติดตามข้อมูลทั้งด้วยตนเองและจากการแลกเปลี่ยนกับวิศวกรและนักธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง ตลอดจนเอกสารงานวิจัยหลายชิ้น ผมทราบว่า ลมในบริเวณชายฝั่งในภาคใต้ของประเทศเรานั้น มีศักยภาพที่จะทำกังหันลมขนาดเล็กได้อย่างแน่นอน


ขณะนี้ วิศวกรคนดังกล่าวได้รวมตัวกับเพื่อนๆ สามารถผลิตและติดตั้งกังหันลมมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดทุกภาคของประเทศไทย. เป็นกังหันลมที่ใช้วัสดุภายในประเทศ. นอกจากนี้พวกเขายังได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้า


ปัจจุบันนี้ ได้มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ. ปตท., บมจ.ผลิตไฟฟ้า(EGCO), บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังลม จำกัด และ EURUS Energy Japan Corporation เพิ่งลงนามศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อ กุมภาพันธ์ 2550 การศึกษาใช้เวลานาน 18 เดือน การลงทุนใช้งบประมาณ 1800 ล้านบาท

จากสองข่าวดังกล่าวนี้ ทำให้เราพอจะเชื่อได้ว่า กังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้แล้ว มันจะดีอย่างไร เกี่ยวข้องกับการเมืองใหม่อย่างไร? ผมขออนุญาตลำดับเหตุผลจากตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

มีหมู่บ้านหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา คือหมู่บ้าน ร๊อค พอร์ต (Rock Port) รัฐมิตซูรี หมู่บ้านนี้มีประชากร 1400 คน. มีกังหันลมเพียง 4 ตัว (ขนาดตัวละ 1.25 เมกกะวัตต์-ดูรูปประกอบ) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนทั้งหมู่บ้านใช้ถึง 23% ไฟฟ้าที่เหลือใช้เขาสามารถส่งเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านอื่น ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านได้ระดับหนึ่ง

1_07_02


เคยมีการศึกษาจากส่วนราชการของไทยพบว่า บนเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลมแรงพอที่จะผลิตกังหันลมได้
(ชายฝั่งของภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา มีลมแรงกว่าที่อื่น) ผลการศึกษาพบว่า ถ้ากังหันลมขนาด 1.2 เมกกะวัตต์หนึ่งตัว สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.16 ล้านหน่วย

สมมติว่ามีหมู่บ้านหนึ่งของประเทศไทยเรา มีความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับเกาะเต่า ติดตั้งกังหันขนาด 1.2 เมกกะวัตต์จำนวน 4 ตัว ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากกังหันลมของการไฟฟ้าภูมิภาคในปัจจุบัน (6.10 บาทต่อหน่วย) ชาวหมู่บ้านนี้จะมีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถึงประมาณปีละ 50 ล้านบาท

ถ้ากังหันลมนี้เป็นของสหกรณ์ในหมู่บ้านที่ชาวบ้านถือหุ้น ถามว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวบ้านจำนวน 1,400 คนได้หรือไม่ ลองเฉลี่ยรายได้ออกมาดูซิครับถ้าไม่แน่ใจ

ถ้าการลงทุนในอนาคตเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น หรือขององค์กรชาวบ้าน การจ้างงานก็จะเกิดขึ้นมากมาย. ตั้งแต่การทำกังหัน การขุดดิน ติดตั้งเสากังหัน การผลิตทำไดนาโม ฯลฯ

ปัจจุบันการใช้กังหันลมในประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน หรือประเทศชิลี ก็เพราะประเทศเราขาดการส่งเสริมด้วยมาตรการทางกฎหมายที่เรียกว่า Feed-in Law ที่มีการส่งเสริมและอนุญาตให้ชาวบ้านสามารถขายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ

กฎหมายฉบับนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องคอยรับเงินจากนักการเมืองซื้อเสียงตอนเลือกตั้ง ไม่ต้องเงินจากโครงการประชานิยม

3. สรุป

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า “การเกิดขึ้นของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ”

หวังว่า บทความนี้คงจะมีส่วนช่วยให้เราได้เห็นภาพของการเมืองใหม่ ได้เห็นภาพของประชาธิปไตยที่กินได้

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น