Skip to main content

1. คำนำและปัญหา


ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น


สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน


ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง


สินค้าสองชนิดที่ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ ข้าวและยางพารานั้น สามารถซื้อพลังงานใช้ได้เพียง 73 วันเท่านั้น


เนื่องจากเนื้อที่อันจำกัด บทความนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เป้าหมายของบทความนี้อยู่ที่การแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายแบบใหม่ นอกจากคนไทยจะมีไฟฟ้าใช้โดยไม่ก่อมลพิษแล้ว ชาวบ้านทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวชนบทในหัวไร่ปลายนาหรือชาวเมืองในป่าคอนกรีตก็สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ด้วย


ปี 2550 คนไทยทั้งประเทศต้องจ่ายค่าไฟฟ้าถึง 4 แสนล้านบาท. และตามแผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (หรือที่เรียกว่าแผนพีดีพี 2007) จะมีงบลงทุนในอนาคตถึงปีละกว่า 1.3 แสนล้านบาท


เกือบทั้งหมดของเงินจำนวนนี้ (คือปีละกว่า 5 แสนล้านบาท) ล้วนไหลเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มพ่อค้าที่ผูกขาดเชื้อเพลิงและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น เช่น บริษัท ปตท. ที่ส่งก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และบริษัทผลิตไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง


เป็นไปได้ไหม ถ้าจะแบ่งปันเงินจำนวนนี้มาสัก 10% เป็นอย่างน้อย หรือปีละ 5 หมื่นล้านบาท มาสู่กระเป๋าของคนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ยังไม่มีการผูกขาดได้ นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไปแล้ว ไม่มีวันหมด เพราะสามารถจะเกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวลจากต้นไม้ เป็นต้น


ภาพข้างล่างนี้เป็นโปสเตอร์ของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่ง ในคราวที่มีการประชุมใหญ่เมื่อ ปี 2549 ที่ประเทศแอฟริกาใต้


1_07_01


ข้อความใหญ่ซึ่งเป็นประเด็นหลักโปสเตอร์ คือ “พลังงานหมุนเวียนคือพลังของประชาชน”


การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเราไม่เข้าใจว่าอะไรบ้างที่เป็นพลังของประชาชน เราต้องเข้าใจว่าปัจจุบัน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ได้กลายเป็น “พลังของพ่อค้าผูกขาด” ไปนานหลายทศวรรษแล้ว. เชื้อเพลิงที่ถูกผูกขาดเหล่านี้แหละที่เราต้องจ่ายเงินซื้อถึง 18 % ของรายได้ที่หากันแทบเป็นแทบตาย


คงเหลือแต่พลังงานจากพระอาทิตย์เท่านั้นที่ชาวบ้านยังพอมีสิทธิ์. ตราบเท่าที่ “กรมที่ดิน” ยังไม่สามารถไปทำรางวัดเพื่อออกโฉนดบนพระอาทิตย์ได้


ในโปสเตอร์ดังกล่าว มีข้อความตัวเล็กๆว่า “พลังงานหมุนเวียนนำงานมาให้เรามากกว่าพลังงานชนิดอื่น” และ “พลังงานหมุนเวียนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการพัฒนาที่เริ่มต้นจากประชาชนข้างล่างสู่ระดับนโยบายข้างบนของประเทศ วิธีการพัฒนาแบบนี้ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยตรง”


ข้อความที่ทุกคนต้องเก็บมาคิดต่อก็คือคำถามที่ว่า

เรามีพระอาทิตย์ แต่ทำไม เราไม่มีงานทำ”


ปัญหาการไม่มีงานทำ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ชาวแอฟริกา หรือชาวอีสานบ้านเราเท่านั้น. แม้แต่ในภาคใต้ของเราก็หางานทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะงานที่เคยเป็นของเราได้ถูกระบบทุนผูกขาดดูดไปหมดแล้ว

2. พลังงานลมในบ้านเราเป็นไปได้จริงหรือ และจะได้เท่าใด


ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคนหนึ่งเคยบอกกับประชาชนในเวทีสาธารณะว่า “ลมในประเทศไทยไม่แรงพอที่จะทำกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้” ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิง


แต่การจากศึกษาและติดตามข้อมูลทั้งด้วยตนเองและจากการแลกเปลี่ยนกับวิศวกรและนักธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง ตลอดจนเอกสารงานวิจัยหลายชิ้น ผมทราบว่า ลมในบริเวณชายฝั่งในภาคใต้ของประเทศเรานั้น มีศักยภาพที่จะทำกังหันลมขนาดเล็กได้อย่างแน่นอน


ขณะนี้ วิศวกรคนดังกล่าวได้รวมตัวกับเพื่อนๆ สามารถผลิตและติดตั้งกังหันลมมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดทุกภาคของประเทศไทย. เป็นกังหันลมที่ใช้วัสดุภายในประเทศ. นอกจากนี้พวกเขายังได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้า


ปัจจุบันนี้ ได้มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ. ปตท., บมจ.ผลิตไฟฟ้า(EGCO), บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังลม จำกัด และ EURUS Energy Japan Corporation เพิ่งลงนามศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อ กุมภาพันธ์ 2550 การศึกษาใช้เวลานาน 18 เดือน การลงทุนใช้งบประมาณ 1800 ล้านบาท

จากสองข่าวดังกล่าวนี้ ทำให้เราพอจะเชื่อได้ว่า กังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้แล้ว มันจะดีอย่างไร เกี่ยวข้องกับการเมืองใหม่อย่างไร? ผมขออนุญาตลำดับเหตุผลจากตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

มีหมู่บ้านหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา คือหมู่บ้าน ร๊อค พอร์ต (Rock Port) รัฐมิตซูรี หมู่บ้านนี้มีประชากร 1400 คน. มีกังหันลมเพียง 4 ตัว (ขนาดตัวละ 1.25 เมกกะวัตต์-ดูรูปประกอบ) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนทั้งหมู่บ้านใช้ถึง 23% ไฟฟ้าที่เหลือใช้เขาสามารถส่งเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านอื่น ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านได้ระดับหนึ่ง

1_07_02


เคยมีการศึกษาจากส่วนราชการของไทยพบว่า บนเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลมแรงพอที่จะผลิตกังหันลมได้
(ชายฝั่งของภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา มีลมแรงกว่าที่อื่น) ผลการศึกษาพบว่า ถ้ากังหันลมขนาด 1.2 เมกกะวัตต์หนึ่งตัว สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.16 ล้านหน่วย

สมมติว่ามีหมู่บ้านหนึ่งของประเทศไทยเรา มีความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับเกาะเต่า ติดตั้งกังหันขนาด 1.2 เมกกะวัตต์จำนวน 4 ตัว ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากกังหันลมของการไฟฟ้าภูมิภาคในปัจจุบัน (6.10 บาทต่อหน่วย) ชาวหมู่บ้านนี้จะมีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถึงประมาณปีละ 50 ล้านบาท

ถ้ากังหันลมนี้เป็นของสหกรณ์ในหมู่บ้านที่ชาวบ้านถือหุ้น ถามว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวบ้านจำนวน 1,400 คนได้หรือไม่ ลองเฉลี่ยรายได้ออกมาดูซิครับถ้าไม่แน่ใจ

ถ้าการลงทุนในอนาคตเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น หรือขององค์กรชาวบ้าน การจ้างงานก็จะเกิดขึ้นมากมาย. ตั้งแต่การทำกังหัน การขุดดิน ติดตั้งเสากังหัน การผลิตทำไดนาโม ฯลฯ

ปัจจุบันการใช้กังหันลมในประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน หรือประเทศชิลี ก็เพราะประเทศเราขาดการส่งเสริมด้วยมาตรการทางกฎหมายที่เรียกว่า Feed-in Law ที่มีการส่งเสริมและอนุญาตให้ชาวบ้านสามารถขายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ

กฎหมายฉบับนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องคอยรับเงินจากนักการเมืองซื้อเสียงตอนเลือกตั้ง ไม่ต้องเงินจากโครงการประชานิยม

3. สรุป

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า “การเกิดขึ้นของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ”

หวังว่า บทความนี้คงจะมีส่วนช่วยให้เราได้เห็นภาพของการเมืองใหม่ ได้เห็นภาพของประชาธิปไตยที่กินได้

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…