Skip to main content

1. คำนำและปัญหา


ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น


สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน


ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง


สินค้าสองชนิดที่ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ ข้าวและยางพารานั้น สามารถซื้อพลังงานใช้ได้เพียง 73 วันเท่านั้น


เนื่องจากเนื้อที่อันจำกัด บทความนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เป้าหมายของบทความนี้อยู่ที่การแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายแบบใหม่ นอกจากคนไทยจะมีไฟฟ้าใช้โดยไม่ก่อมลพิษแล้ว ชาวบ้านทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวชนบทในหัวไร่ปลายนาหรือชาวเมืองในป่าคอนกรีตก็สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ด้วย


ปี 2550 คนไทยทั้งประเทศต้องจ่ายค่าไฟฟ้าถึง 4 แสนล้านบาท. และตามแผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (หรือที่เรียกว่าแผนพีดีพี 2007) จะมีงบลงทุนในอนาคตถึงปีละกว่า 1.3 แสนล้านบาท


เกือบทั้งหมดของเงินจำนวนนี้ (คือปีละกว่า 5 แสนล้านบาท) ล้วนไหลเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มพ่อค้าที่ผูกขาดเชื้อเพลิงและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น เช่น บริษัท ปตท. ที่ส่งก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และบริษัทผลิตไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง


เป็นไปได้ไหม ถ้าจะแบ่งปันเงินจำนวนนี้มาสัก 10% เป็นอย่างน้อย หรือปีละ 5 หมื่นล้านบาท มาสู่กระเป๋าของคนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ยังไม่มีการผูกขาดได้ นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไปแล้ว ไม่มีวันหมด เพราะสามารถจะเกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวลจากต้นไม้ เป็นต้น


ภาพข้างล่างนี้เป็นโปสเตอร์ของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่ง ในคราวที่มีการประชุมใหญ่เมื่อ ปี 2549 ที่ประเทศแอฟริกาใต้


1_07_01


ข้อความใหญ่ซึ่งเป็นประเด็นหลักโปสเตอร์ คือ “พลังงานหมุนเวียนคือพลังของประชาชน”


การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเราไม่เข้าใจว่าอะไรบ้างที่เป็นพลังของประชาชน เราต้องเข้าใจว่าปัจจุบัน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ได้กลายเป็น “พลังของพ่อค้าผูกขาด” ไปนานหลายทศวรรษแล้ว. เชื้อเพลิงที่ถูกผูกขาดเหล่านี้แหละที่เราต้องจ่ายเงินซื้อถึง 18 % ของรายได้ที่หากันแทบเป็นแทบตาย


คงเหลือแต่พลังงานจากพระอาทิตย์เท่านั้นที่ชาวบ้านยังพอมีสิทธิ์. ตราบเท่าที่ “กรมที่ดิน” ยังไม่สามารถไปทำรางวัดเพื่อออกโฉนดบนพระอาทิตย์ได้


ในโปสเตอร์ดังกล่าว มีข้อความตัวเล็กๆว่า “พลังงานหมุนเวียนนำงานมาให้เรามากกว่าพลังงานชนิดอื่น” และ “พลังงานหมุนเวียนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการพัฒนาที่เริ่มต้นจากประชาชนข้างล่างสู่ระดับนโยบายข้างบนของประเทศ วิธีการพัฒนาแบบนี้ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยตรง”


ข้อความที่ทุกคนต้องเก็บมาคิดต่อก็คือคำถามที่ว่า

เรามีพระอาทิตย์ แต่ทำไม เราไม่มีงานทำ”


ปัญหาการไม่มีงานทำ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ชาวแอฟริกา หรือชาวอีสานบ้านเราเท่านั้น. แม้แต่ในภาคใต้ของเราก็หางานทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะงานที่เคยเป็นของเราได้ถูกระบบทุนผูกขาดดูดไปหมดแล้ว

2. พลังงานลมในบ้านเราเป็นไปได้จริงหรือ และจะได้เท่าใด


ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคนหนึ่งเคยบอกกับประชาชนในเวทีสาธารณะว่า “ลมในประเทศไทยไม่แรงพอที่จะทำกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้” ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิง


แต่การจากศึกษาและติดตามข้อมูลทั้งด้วยตนเองและจากการแลกเปลี่ยนกับวิศวกรและนักธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง ตลอดจนเอกสารงานวิจัยหลายชิ้น ผมทราบว่า ลมในบริเวณชายฝั่งในภาคใต้ของประเทศเรานั้น มีศักยภาพที่จะทำกังหันลมขนาดเล็กได้อย่างแน่นอน


ขณะนี้ วิศวกรคนดังกล่าวได้รวมตัวกับเพื่อนๆ สามารถผลิตและติดตั้งกังหันลมมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดทุกภาคของประเทศไทย. เป็นกังหันลมที่ใช้วัสดุภายในประเทศ. นอกจากนี้พวกเขายังได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้า


ปัจจุบันนี้ ได้มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ. ปตท., บมจ.ผลิตไฟฟ้า(EGCO), บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังลม จำกัด และ EURUS Energy Japan Corporation เพิ่งลงนามศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อ กุมภาพันธ์ 2550 การศึกษาใช้เวลานาน 18 เดือน การลงทุนใช้งบประมาณ 1800 ล้านบาท

จากสองข่าวดังกล่าวนี้ ทำให้เราพอจะเชื่อได้ว่า กังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้แล้ว มันจะดีอย่างไร เกี่ยวข้องกับการเมืองใหม่อย่างไร? ผมขออนุญาตลำดับเหตุผลจากตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

มีหมู่บ้านหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา คือหมู่บ้าน ร๊อค พอร์ต (Rock Port) รัฐมิตซูรี หมู่บ้านนี้มีประชากร 1400 คน. มีกังหันลมเพียง 4 ตัว (ขนาดตัวละ 1.25 เมกกะวัตต์-ดูรูปประกอบ) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนทั้งหมู่บ้านใช้ถึง 23% ไฟฟ้าที่เหลือใช้เขาสามารถส่งเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านอื่น ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านได้ระดับหนึ่ง

1_07_02


เคยมีการศึกษาจากส่วนราชการของไทยพบว่า บนเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลมแรงพอที่จะผลิตกังหันลมได้
(ชายฝั่งของภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา มีลมแรงกว่าที่อื่น) ผลการศึกษาพบว่า ถ้ากังหันลมขนาด 1.2 เมกกะวัตต์หนึ่งตัว สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.16 ล้านหน่วย

สมมติว่ามีหมู่บ้านหนึ่งของประเทศไทยเรา มีความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับเกาะเต่า ติดตั้งกังหันขนาด 1.2 เมกกะวัตต์จำนวน 4 ตัว ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากกังหันลมของการไฟฟ้าภูมิภาคในปัจจุบัน (6.10 บาทต่อหน่วย) ชาวหมู่บ้านนี้จะมีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถึงประมาณปีละ 50 ล้านบาท

ถ้ากังหันลมนี้เป็นของสหกรณ์ในหมู่บ้านที่ชาวบ้านถือหุ้น ถามว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวบ้านจำนวน 1,400 คนได้หรือไม่ ลองเฉลี่ยรายได้ออกมาดูซิครับถ้าไม่แน่ใจ

ถ้าการลงทุนในอนาคตเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น หรือขององค์กรชาวบ้าน การจ้างงานก็จะเกิดขึ้นมากมาย. ตั้งแต่การทำกังหัน การขุดดิน ติดตั้งเสากังหัน การผลิตทำไดนาโม ฯลฯ

ปัจจุบันการใช้กังหันลมในประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน หรือประเทศชิลี ก็เพราะประเทศเราขาดการส่งเสริมด้วยมาตรการทางกฎหมายที่เรียกว่า Feed-in Law ที่มีการส่งเสริมและอนุญาตให้ชาวบ้านสามารถขายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ

กฎหมายฉบับนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องคอยรับเงินจากนักการเมืองซื้อเสียงตอนเลือกตั้ง ไม่ต้องเงินจากโครงการประชานิยม

3. สรุป

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า “การเกิดขึ้นของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ”

หวังว่า บทความนี้คงจะมีส่วนช่วยให้เราได้เห็นภาพของการเมืองใหม่ ได้เห็นภาพของประชาธิปไตยที่กินได้

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…