Skip to main content

เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้

ผมขอเริ่มเลยนะครับ

เราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน หรือห้องสมุด เราเปิดสวิทซ์ครั้งเดียวหลอดไฟสว่างไป 20-30 หลอด  แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้จริงเพียง 1-2 หลอดเท่านั้น

ปรากฏการณ์นี้ไม่ค่อยพบในบ้านเรือนของตนเอง  ที่เป็นเช่นนี้เพราะสถานที่ราชการมักจะเน้นการประหยัดในการก่อสร้าง หรืออาจจะขาดการใส่ใจเท่าที่ควร  การแยกติดสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นจุดต้องเสียค่าแรง และค่าอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก  ผู้ออกแบบจึงนิยมประหยัดในตอนแรก โดยไม่คิดถึงค่าไฟฟ้าตลอดอายุของอาคาร

เอ็นจีโอเยอรมันเล่าให้ผมฟังว่า  ที่โน่นเขาเน้นการประหยัดพลังงานตั้งแต่ตอนออกแบบแล้ว  เช่น หน้าต่างจะต้องติดกระจก 2 ชั้นเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อน  ใครไม่ทำถือว่าผิดกฎหมายนะครับ

ในสเปน กฎหมายใหม่ออกมาว่า บ้านทุกหลัง ศูนย์การค้าทุกแห่งที่จะสร้างใหม่จะต้องติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์ให้เพียงพอ

มาตรการทางกฎหมายที่ว่านี้คงต้องกลั่นกรองมาจากประสบการณ์อันยาวนานของแต่ละประเทศ  สำหรับประเทศไทยเอง คงต้องเริ่มกันได้แล้วครับ  ดังหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเขียนคือ “พลังยกกำลังสาม” นั่นคือมีพลังใจ ในการขับเคลื่อน มีพลังพลเมืองที่เข้าใจ แล้วร่วมกันผลักดันนโยบายพลังงาน เพื่อความยั่งยืนสรรพสิ่งทั้งหลาย

สถานที่ราชการที่ผมทำงานอยู่ได้ขึ้นแผ่นป้ายประกาศว่า “ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า ปิดดวงที่ไม่ได้ใช้” แต่เอาเข้าจริงจะให้ปิดอย่างไรในเมื่อสวิทซ์มันเป็นแบบที่ว่าแล้ว

ผมเองที่สนใจเรื่องนี้มานานก็คิดไม่ออก จนกระทั่งเพื่อนอาจารย์คนหนึ่ง (อ.วรวิทย์ วณิชาภิชาติ –ขอเอ่ยนามเพื่อให้เกียรติ)  บอกว่าเขาใช้สวิทซ์กระตุกกันแล้ว จากนั้นเพื่อนอาจารย์รุ่นน้องของผมก็พาผมไปดูห้องทำงานด้วยความตื่นเต้น  แล้วผมเองก็กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ในบัดดล    ดังรูปข้างล่างนี้ครับ

1

ผมลองทดสอบแสงว่างที่โต๊ะทำงานหลังจากที่ได้กระตุกให้ไฟฟ้าดับไปแล้วครึ่งหนึ่ง  พบว่าแสงสว่างที่โต๊ะทำงานก็ยังคงเท่าเดิม

2

สำหรับราคาสวิทซ์กระตุกอยู่ที่ตัวละประมาณ 40 บาท สามารถหาซื้อได้ตามศูนย์การค้าครับ

หลังจากนั้น อ.วรวิทย์ได้นำผมไปดูไฟฟ้าที่ลานจอดรถ  พบว่าการออกแบบยังเป็นแบบเดิมครับ คือเปิดครั้งเดียวสว่างไสวไปทั้งลาน  เป็นไฟสปอร์ตไลท์ประมาณ 8 เสา  ในฐานะที่ อ. วริทย์มีตำแหน่งบริหารในคณะ ท่านก็สั่งการเปลี่ยนแปลงทันทีได้ระดับหนึ่ง  ผมเชื่อว่าสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เยอะเลยครับ

ผมได้นำเรื่องราวของ อ. วรวิทย์ไปเขียนเล่าให้กับคนในมหาวิทยาลัย โดยผ่านทางเมล์รวม (ผมเชื่อว่ามีหลายพันรายชื่อ)  ผมได้รับคำตอบที่ว่าดีจำนวนหนึ่ง (ซึ่งมีผลดีต่อจิตใจผมมาก)  แต่ผมไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

ผมพิมพ์เรื่องนี้มาติดบอร์ดประกาศที่ภาควิชาอยู่นานเป็นเดือน  ก็ไม่มีใครจะทำตาม  ทั้งๆที่มีบางคนเห็นด้วย  อาจเพราะว่าไม่มีใครจัดการไปซื้อมาติด

อาจารย์อีกท่านหนึ่งเจอกับผมโดยบังเอิญ(ปกติเราแทบไม่ได้คุยกันเลย) บอกผมว่า  “เรื่องที่อาจารย์เล่านั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ได้ผลหรอก อาจารย์(หมายถึงตัวผม) ต้องมี authority (ท่านใช้คำนี้) อาจารย์ไปบอกท่านอธิการเลยว่า ขอทำงานนี้ ในปีแรกจะลดค่าไฟฟ้าให้ได้ 5% เรื่องนี้นะบางสำนักงานที่อื่นเขาทำกันแล้ว”

ผมนำคำพูดของอาจารย์ท่านหลังสุดมาคิดอยู่นานครับ  ผมเองไม่มีอำนาจในเชิงการบริหาร  ผมไม่ชอบและปฏิเสธเรื่องทำนองนี้มา  20 กว่าปีแล้ว

ล่าสุด ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการชุดเล็กๆ ชุดหนึ่งของมหาวิทยาลัย เรียกชื่อสั้นๆว่า คณะกรรมการ  Green Campus   ผมจึงได้นำเรื่องนี้ไปเสนอ

ปรากฏว่า ท่านผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ซึ่งเป็นกรรมการอยู่ด้วยรับปากทันทีว่า จะเสนอขอใช้งบประมาณเพื่อติดตั้งสวิทซ์กระตุกจำนวน 1,000 ตัวขอเรียนตามตรงว่า ผมดีใจมาก ผมบอกในที่ประชุมว่า “วันนี้ผมมีความสุขมาก”

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะยืนยันว่า “สิ่งเล็กๆ ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้” หรือที่นักเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกเขาเรียกเป็นศัพท์แสงว่า  Law of the Few นั่นเอง

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org