Skip to main content

เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้

ผมขอเริ่มเลยนะครับ

เราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน หรือห้องสมุด เราเปิดสวิทซ์ครั้งเดียวหลอดไฟสว่างไป 20-30 หลอด  แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้จริงเพียง 1-2 หลอดเท่านั้น

ปรากฏการณ์นี้ไม่ค่อยพบในบ้านเรือนของตนเอง  ที่เป็นเช่นนี้เพราะสถานที่ราชการมักจะเน้นการประหยัดในการก่อสร้าง หรืออาจจะขาดการใส่ใจเท่าที่ควร  การแยกติดสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นจุดต้องเสียค่าแรง และค่าอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก  ผู้ออกแบบจึงนิยมประหยัดในตอนแรก โดยไม่คิดถึงค่าไฟฟ้าตลอดอายุของอาคาร

เอ็นจีโอเยอรมันเล่าให้ผมฟังว่า  ที่โน่นเขาเน้นการประหยัดพลังงานตั้งแต่ตอนออกแบบแล้ว  เช่น หน้าต่างจะต้องติดกระจก 2 ชั้นเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อน  ใครไม่ทำถือว่าผิดกฎหมายนะครับ

ในสเปน กฎหมายใหม่ออกมาว่า บ้านทุกหลัง ศูนย์การค้าทุกแห่งที่จะสร้างใหม่จะต้องติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์ให้เพียงพอ

มาตรการทางกฎหมายที่ว่านี้คงต้องกลั่นกรองมาจากประสบการณ์อันยาวนานของแต่ละประเทศ  สำหรับประเทศไทยเอง คงต้องเริ่มกันได้แล้วครับ  ดังหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเขียนคือ “พลังยกกำลังสาม” นั่นคือมีพลังใจ ในการขับเคลื่อน มีพลังพลเมืองที่เข้าใจ แล้วร่วมกันผลักดันนโยบายพลังงาน เพื่อความยั่งยืนสรรพสิ่งทั้งหลาย

สถานที่ราชการที่ผมทำงานอยู่ได้ขึ้นแผ่นป้ายประกาศว่า “ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า ปิดดวงที่ไม่ได้ใช้” แต่เอาเข้าจริงจะให้ปิดอย่างไรในเมื่อสวิทซ์มันเป็นแบบที่ว่าแล้ว

ผมเองที่สนใจเรื่องนี้มานานก็คิดไม่ออก จนกระทั่งเพื่อนอาจารย์คนหนึ่ง (อ.วรวิทย์ วณิชาภิชาติ –ขอเอ่ยนามเพื่อให้เกียรติ)  บอกว่าเขาใช้สวิทซ์กระตุกกันแล้ว จากนั้นเพื่อนอาจารย์รุ่นน้องของผมก็พาผมไปดูห้องทำงานด้วยความตื่นเต้น  แล้วผมเองก็กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ในบัดดล    ดังรูปข้างล่างนี้ครับ

1

ผมลองทดสอบแสงว่างที่โต๊ะทำงานหลังจากที่ได้กระตุกให้ไฟฟ้าดับไปแล้วครึ่งหนึ่ง  พบว่าแสงสว่างที่โต๊ะทำงานก็ยังคงเท่าเดิม

2

สำหรับราคาสวิทซ์กระตุกอยู่ที่ตัวละประมาณ 40 บาท สามารถหาซื้อได้ตามศูนย์การค้าครับ

หลังจากนั้น อ.วรวิทย์ได้นำผมไปดูไฟฟ้าที่ลานจอดรถ  พบว่าการออกแบบยังเป็นแบบเดิมครับ คือเปิดครั้งเดียวสว่างไสวไปทั้งลาน  เป็นไฟสปอร์ตไลท์ประมาณ 8 เสา  ในฐานะที่ อ. วริทย์มีตำแหน่งบริหารในคณะ ท่านก็สั่งการเปลี่ยนแปลงทันทีได้ระดับหนึ่ง  ผมเชื่อว่าสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เยอะเลยครับ

ผมได้นำเรื่องราวของ อ. วรวิทย์ไปเขียนเล่าให้กับคนในมหาวิทยาลัย โดยผ่านทางเมล์รวม (ผมเชื่อว่ามีหลายพันรายชื่อ)  ผมได้รับคำตอบที่ว่าดีจำนวนหนึ่ง (ซึ่งมีผลดีต่อจิตใจผมมาก)  แต่ผมไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

ผมพิมพ์เรื่องนี้มาติดบอร์ดประกาศที่ภาควิชาอยู่นานเป็นเดือน  ก็ไม่มีใครจะทำตาม  ทั้งๆที่มีบางคนเห็นด้วย  อาจเพราะว่าไม่มีใครจัดการไปซื้อมาติด

อาจารย์อีกท่านหนึ่งเจอกับผมโดยบังเอิญ(ปกติเราแทบไม่ได้คุยกันเลย) บอกผมว่า  “เรื่องที่อาจารย์เล่านั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ได้ผลหรอก อาจารย์(หมายถึงตัวผม) ต้องมี authority (ท่านใช้คำนี้) อาจารย์ไปบอกท่านอธิการเลยว่า ขอทำงานนี้ ในปีแรกจะลดค่าไฟฟ้าให้ได้ 5% เรื่องนี้นะบางสำนักงานที่อื่นเขาทำกันแล้ว”

ผมนำคำพูดของอาจารย์ท่านหลังสุดมาคิดอยู่นานครับ  ผมเองไม่มีอำนาจในเชิงการบริหาร  ผมไม่ชอบและปฏิเสธเรื่องทำนองนี้มา  20 กว่าปีแล้ว

ล่าสุด ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการชุดเล็กๆ ชุดหนึ่งของมหาวิทยาลัย เรียกชื่อสั้นๆว่า คณะกรรมการ  Green Campus   ผมจึงได้นำเรื่องนี้ไปเสนอ

ปรากฏว่า ท่านผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ซึ่งเป็นกรรมการอยู่ด้วยรับปากทันทีว่า จะเสนอขอใช้งบประมาณเพื่อติดตั้งสวิทซ์กระตุกจำนวน 1,000 ตัวขอเรียนตามตรงว่า ผมดีใจมาก ผมบอกในที่ประชุมว่า “วันนี้ผมมีความสุขมาก”

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะยืนยันว่า “สิ่งเล็กๆ ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้” หรือที่นักเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกเขาเรียกเป็นศัพท์แสงว่า  Law of the Few นั่นเอง

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น