Skip to main content
1. คำนำ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร

สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง"

สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น

ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีหน่วยงานใด ๆ ขณะเดียวกันหากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดคิดว่า วิธีคิด ตลอดจนข้อมูลของผมไม่ถูกต้อง ผมยินดีรับฟังเสมอครับ แต่โปรดอย่ากล่าวหาว่ากันด้วยวิธีง่าย ๆ ว่าข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ผมขอเริ่มต้นด้วยวัตถุประสงค์ที่สองก่อนนะครับ

 

2. แผนผลิตไฟฟ้า คืออะไร


แผนผลิตไฟฟ้า ก็คือแผนที่จะบอกว่าในอนาคต ประเทศไทยควรจะมีโรงไฟฟ้าจำนวนกี่เมกกะวัตต์ ที่ไหน เมื่อไหร่ ด้วยเชื้อเพลิงประเภทใด และให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนดำเนินการ


โดยปกติ ถ้าเราตัดสินใจจะสร้างโรงไฟฟ้า (ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เชื้อเพลิง) ในวันนี้ ก็ต้องรออีกประมาณ 5-7 ปี เราจึงจะได้ใช้งานจริง ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้าจึงมีความจำเป็น


อนึ่ง ยังมีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ลม ชีวะมวล ที่ใช้เวลาในการก่อสร้างไม่ถึงหนึ่งปี แต่ "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" ไม่ให้ความสนใจ


บทความนี้จะสนใจที่เราควรจะมีโรงไฟฟ้าสักกี่เมกกะวัตต์เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น

 

3. ความเป็นมาของแผนผลิตไฟฟ้า


เอกสารที่ผมนำมาวิจารณ์ในบทความนี้ มาจากเอกสารที่ชื่อยาว ๆ ว่า "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "พีดีพี 2007:ปรับปรุงครั้งที่ 2" เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อ "คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา" (20 เมษายน 2552) ผู้เสนอคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


แผนนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยก่อนหน้านี้ ( 9 มีนาคม 2552) ได้ผ่านความเห็นชอบ "คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ" ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง


อนึ่ง โปรดสังเกตวันที่ 9 มีนาคม 2552 ไว้ให้ดีนะครับ เพราะเป็นวันที่นำไปสู่ความผิดพลาดที่สำคัญของการปรับปรุงครั้งที่ 2 ซึ่งผมจะวิจารณ์ต่อไป


ความจริงแล้ว แผนพีดีพี 2007 ได้ผ่านรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาแล้ว (มิถุนายน 2550) และปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปลายปี 2550 แต่ต้องมาปรับปรุงครั้งที่ 2 ก็เพราะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ดังที่เราทราบกันอยู่

โดยสรุป แผนนี้ได้ผ่านมาถึง 4 รัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังมีความผิดพลาดที่ไม่น่าเกิดขึ้นจนได้

 

4. แผนผลิตไฟฟ้า ผิดพลาดตรงไหน


ผมมีข้อสังเกต 4 ข้อต่อไปนี้

หนึ่ง หลักยึดสำคัญที่ "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" ของไทยใช้ในการวางแผนผลิตไฟฟ้าในอนาคตก็คือ การพิจารณาจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (หรืออัตราการเพิ่มของจีดีพี) เปรียบเทียบกับอัตราการเพิ่มของการใช้พลังงานไฟฟ้าในอดีต ซึ่งถือว่าเป็นหลักยึดหรือหลักการที่มีเหตุผลมาก


ปัจจุบัน ข้อมูลของไทยเราระบุว่า ถ้าอัตราการเพิ่มของจีดีพีเท่ากับ 1 หน่วย อัตราการเพิ่มของการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 ถึง 1.2 หน่วย (นักวิชาการเรียกค่านี้ว่า Elasticity)


เมื่อต้องการจะคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคต ก็ต้องมาการคาดการณ์กันว่า อัตราการเพิ่มของจีดีพีในปีต่อ ๆ ไปจะเป็นเท่าใด จากนั้นก็นำไปคูณกับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในปีที่เพิ่งผ่านไปหมาด ๆ คือปี 2551 แล้วคำนวณปีถัดไปเรื่อยๆ ตามที่เราต้องการ


อนึ่ง นิลส์ บอห์ร (Niels Bohr) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล (ปี 1922) ที่มีความเข้าใจทางสังคมอย่างลึกซึ้งว่า "มันเป็นการยากมากที่จะทำการพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นเรื่องของอนาคต"


ดังนั้นการพยากรณ์จะถูกจะผิดไม่ใช่เรื่องที่สังคมติดใจ กลับเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะเข้าใจ และเห็นใจถึงความยากลำบากของนักวิชาการ แต่สิ่งที่ติดใจคือการใช้ข้อมูลมาคาดการณ์ต่างหาก


ต่อไปนี้ ท่านผู้อ่านโปรดอ่านอย่างช้า ๆ นะครับ แผนนี้ได้ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2552 ณ วันนั้น กระทรวงพลังงานทราบแล้วว่า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จริงในปี 2551 ทั้งปีเท่ากับ 134,707 ล้านหน่วย (ที่มาhttp://www.eppo.go.th/info/stat/T05_03_03.xls)


แต่ในแผนนี้กลับใช้ตัวเลข 147, 229 ล้านหน่วย ซึ่งสูงกว่าความเป็นจริงไปถึง 9.3% ดังนั้นผลลัพธ์ของการทำนายก็ผิดพลาดอย่างน้อย 9.3% แล้ว


คำถามก็คือ มันเกิดอะไรขึ้นกับการ "ปรับปรุงครั้งที่ 2" นี้ ทั้งๆ ที่ข้อมูลแท้จริงได้เกิดขึ้นเกือบ 70 วันมาแล้ว แต่ในแผนยังใช้ข้อมูลที่มาจากการคาดคะเนซึ่งสูงกว่าความเป็นจริง


มีทางที่เป็นไปได้ 3 ทางคือ (1) ลืมปรับตัวเลขใหม่ (2) ขี้เกียจจะปรับ (3) ยังไม่ได้รับข้อมูลใหม่ แต่ในทางที่สามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือของ กฟผ. และเป็นข้อมูลที่วัดได้ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (real time)


อย่างไรก็ตาม การผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้แสดงให้สังคมเห็นแล้วว่า เป็นเพียงแค่พิธีกรรมที่คล้ายกับพิธีทอดผ้าบังสุกุลในงานประชุมเพลิงศพเท่านั้นเอง กล่าวคือ พระสงฆ์ทุกรูปพิจารณาแล้วรับทุกรูปทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย


สอง ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกกำลังประสบกับสภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โดยมีการส่งสัญญาณให้เห็นแล้วหลายประการ เช่น การส่งออกรถยนต์ลดลงของไทยถึง 30% การใช้ไฟฟ้าระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2551 ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง (คือลดลงถึง 16% ในสองเดือน) แต่คณะผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าของไทยก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร


กล่าวคือ "เขา" คาดว่า "การใช้ไฟฟ้าในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2551 (ที่เกินความจริงมาแล้ว) ถึง 2.19%" โดยนายกอภิสิทธิ์ฯ ก็บอกเองว่าอาจจะติดลบ 4-5 %


นอกจากนี้จากข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารายเดือนของกระทรวงพลังงานเองยังระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม (ที่มีสัดส่วนการใช้เกือบ 40% ของทั้งประเทศ) ภาคธุรกิจ และภาคที่อยู่อาศัย ได้ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 12.9 , 12.0 และ 2.6 ตามลำดับ ในขณะที่ในปีปกติจะเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วนประมาณ 3-6%


สาม ทำไม "เขา" ไม่นำบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 มาเป็นบทเรียนในครั้งนี้บ้าง


ไม่ใช่เรื่องเสียเวลาหรือยากเย็นอะไรเลยที่จะค้นข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในปี 2540


เช่นเดียวกันครับ จากแหล่งข้อมูลเดิมพบว่า ต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 34 เดือน การใช้ไฟฟ้าจึงกลับมาสู่ระดับเดิม (7,187 ล้านหน่วยในมิถุนายน 2540 มาเป็น 7,173 ล้านหน่วยใน เมษายน 2543)


ดังนั้น เราควรตั้งคำถามว่า เป็นไปได้ไหมที่การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2554 จะเท่ากับปี 2551 หากคำถามนี้เป็นไปได้ เราพบว่าการใช้ไฟฟ้าในแผนการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวจะสูงเกินจริงถึง 27,948 ล้านหน่วย หรือประมาณ 1 ใน 5 ของไฟฟ้าที่ใช้ในปี 2551 ทั้งประเทศเลยทีเดียว


สี่ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐไม่เคยมีการ "ประเมินผลหลังโครงการ" ผมจึงย้อนไปตรวจสอบการพยากรณ์ในแผน "พีดีพี 2001" พบว่ามีการพยากรณ์ว่าในปี 2551 จะมีการใช้ไฟฟ้าถึง 162,438 ล้านหน่วย (หลักฐานจาก "ภาระที่ไม่จำเป็นด้านพลังงาน" เขียนโดย ประสาท มีแต้ม) แต่พบว่าในปีดังกล่าวมีการใช้จริงเพียง 134,707 ล้านหน่วย หรือการคาดการณ์สูงกว่าความเป็นจริงถึง 20.6%

นี่เป็นผลเพียง 8 ปี ไม่ใช่ 15 ปีตามที่ "เขา" พยากรณ์ และพยากรณ์ในช่วงที่ไม่มีวิกฤติใด ๆ

 

5. ค่าไฟฟ้าของคนไทยต่อรายได้และความเสียหายจากแผน


ในหัวข้อนี้ ผมมี 2 ประเด็นที่จะนำเสนอ

หนึ่ง เรื่องค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าของคนไทย ในปี 2551 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินปีละ 3 แสน 8 หมื่น 3 พันล้านบาท โดยที่รายได้ประชาชาติเท่ากับ 9.103 ล้านล้านบาท


หรือโดยเฉลี่ย คนที่มีรายได้เดือนละ 1 หมื่นบาทจะเสียค่าไฟฟ้าถึง 420 บาทต่อเดือน อนึ่ง คนที่มีรายได้เดือนละไม่ถึง 1 หมื่น 5 พันบาท เป็นคนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ความช่วยเหลือ แสดงว่าคนพวกนี้พอจะจัดเป็นพวกที่มีรายได้น้อย ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในแต่ละบาทจึงมีความหมายต่อพวกเขาพอสมควร


สอง ถ้าแผนผลิตไฟฟ้าสูงเกินจริงแล้วจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอีกอย่างไร โดยปกติสัญญาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะเป็นแบบ "ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย" ถ้าการพยากรณ์ให้ผลสูงกว่าความเป็นจริงมาก ก็จะมีผลให้ฝ่ายปฏิบัติการต้องเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าไว้มากเกินความจำเป็น ดังนั้นค่าไฟฟ้าก็จะต้องแพงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะกิจการพวกนี้สะกดคำว่า "ขาดทุนและรับผิดชอบ" ไม่เป็น แต่จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้

 

6. สรุป


ตามที่ได้เรียนมาแล้วว่า ผมอยากให้สังคมช่วยกันตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งช่วยตรวจสอบเนื้อหาสาระในบทนี้ของผมด้วย


การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ ก็ต้องช่วยกันหลาย ๆ ฝ่ายครับ แต่สำหรับผู้วางแผนผลิตไฟฟ้าชุดนี้นั้น ผมหมดความไว้วางใจมานานด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วแล้วครับ.

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org