Skip to main content

1. คำนำ


เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว”


ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา


เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่

วันหนึ่งเมื่อเพื่อนบ้านมาขอคำปรึกษาว่า “จะทำอย่างไรดีกับบ้านของตนเองที่คับแคบและมีกลิ่นอับ”


นัสรูดินแนะนำว่า “ให้เอาแพะไปล่ามไว้ในบ้าน” เพื่อนบ้านก็ทำตาม แต่แล้ววันรุ่งขึ้นก็กลับมาร้องอีกว่า “ยังไม่ดีขึ้น” นัสรูดินก็แนะนำเพิ่มเติมว่า “ให้เอาลาเข้าไปเลี้ยงอีกตัว” วันถัดมาก็บอกว่า “ให้เพิ่มม้าเข้าไปอีกตัว”


เพื่อนบ้านผู้เชื่อฟังก็มาร้องขอคำปรึกษาอีกว่า “ไม่ดีขึ้นเลย กลับรุนแรงกว่าเดิม” นัสรูดินก็แนะว่า “งั้นให้เอาม้าออกไป” ความรู้สึกของเพื่อนบ้านก็ค่อย ๆ ดีขึ้น ๆ ทีละวัน ๆ จนวันสุดท้ายที่เอาแพะออกไป เพื่อนบ้านก็รู้สึกว่า “บ้านของตนเองกว้างขึ้น กลิ่นอับก็ลดลง” จึงรู้สึกสบายใจขึ้นมาก


ขณะนี้ ในกรณีราคาน้ำมัน คนไทยเราเป็นเหมือนเรื่องราวที่เล่ามานี้เปี๊ยบเลย


2. ถูกโกงอย่างไร?


ก่อนอื่น เรามาดูส่วนประกอบของราคาน้ำมันที่จำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เราจะสนใจเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล H-DIESEL (0.035%S) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มียอดจำหน่ายมากที่สุด (ประมาณ 42- 43 ล้านลิตรต่อวัน) โดยแบ่งราคาออกเป็น 3 ส่วน คือ

(1) ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ในที่นี้คิดจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ลบด้วยค่าการกลั่นเฉลี่ย (Average Gross Refinery Margin)

(2) ค่าการตลาดของน้ำมันชนิดนี้รวมกับค่าการกลั่นเฉลี่ย เราจะกล่าวว่า ค่านี้คือรายได้ของบริษัทโรงกลั่นและบริษัทค้าน้ำมัน

(3) ค่าภาษีและค่ากองทุน ในที่นี้ได้รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 6 รายการ สำหรับกองทุนได้แก่กองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน


ผมสุ่มเอาข้อมูลในวันที่ 9 ตุลาคม 2551 พบว่าราคาน้ำมันชนิดนี้ที่ปั๊มน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ เท่ากับ 28.14 บาท เมื่อแตกออกเป็น 3 รายการจะได้ ต้นทุนน้ำมันดิบ 18.07 บาท ค่ารายได้ของบริษัท 6.67 บาท ค่าภาษีและกองทุน 3.30 บาท


เมื่อนำมาคิดเป็นร้อยละจะได้ดังแสดงในธนบัตร ดังรูป คือ ต้นทุนน้ำมันดิบ 64% กำไร 24% และ ภาษีและกองทุน 12%



ปัญหาที่เราต้องตั้งคำถามต่อก็คือ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นธรรมหรือไม่ ทั้งต่อผู้ประกอบการซึ่งหมายถึงบริษัทโรงกลั่นและบริษัทผู้ค้า และต่อผู้บริโภค และถ้าให้ดีกว่านี้ก็ต้องคำนึงถึงภาษีที่เป็นผลประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศด้วย


คำตอบคือเราไม่ทราบ เพราะเราไม่ได้อยู่วงการนี้ และไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้จะหมดไปได้ระดับหนึ่ง เมื่อเรานำไปเทียบกับกิจการเดียวกันของประเทศอื่น ในที่นี้ผมขอเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องนี้คือ America’s Oil and Natural Gas Industry, The Truth About Oil and Gasoline: An API Primer ซึ่งเพิ่งออกมาเพื่อ 5 ธันวาคม 2551 นี้เอง ผมได้นำภาพมาลงในที่นี้ด้วย



เมื่อคิดราคาเป็นร้อยละ เราพบว่าค่าการตลาดและค่าการกลั่นของไทยสูงกว่าของสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 7 ถ้าคิดเป็นตัวเงิน โดยใช้ราคาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 เราพบว่า


ราคาน้ำมันดีเซลที่หน้าปั๊มของสหรัฐอเมริกา (หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) อยู่ที่ลิตรละ 25.78 บาท โดยมีต้นทุนน้ำมันดิบอยู่ที่ร้อยละ 41 ของราคาหน้าปั๊ม ในขณะที่น้ำมันเบนซินลิตรละ 16.95 บาท (ต้นทุนน้ำมันดิบอยู่ที่ร้อยละ 62)


สำหรับราคาน้ำมันดีเซลในกรุงเทพฯ พบว่าราคาขายปลีกลิตรละ 21.04 บาท โดยมีค่าการตลาดและค่าการกลั่น(เฉลี่ย) ลิตร 5.52 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของราคาขายปลีก ในขณะที่น้ำมันเบนซิน 95 ราคาลิตรละ 27.19 บาท โดยมีค่าการตลาดและค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมกันเท่ากับ 9.42 บาท หรือ 34.65% ของราคาขายปลีก


มันมากกว่าที่ผมสุ่มมาก่อนนี้เสียอีก


เราอาจจะสงสัยว่า ในทางสากลแล้ว ค่าการกลั่นน้ำมันควรจะเป็นเท่าใดจึงจะเหมาะสม ผมมีเอกสารของ UKPIA (United Kingdom Petroleum Industries Association (ฉบับ 2008) ผมขอคัดลอกมาให้ดูด้วยครับ



จากกราฟพบว่า ในช่วง พ.. 2543 ถึง 2550 ค่าการกลั่นเฉลี่ย ของกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศสิงคโปร์ ราคาใกล้เคียงกันมาก คืออยู่ระหว่าง 2 ถึง 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกามีราคาไล่เลี่ยกันมาตลอด แต่ได้กระโดดไปสูงมากไปถึง 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ด้วยเหตุผลของพายุเฮริเคนแคททรินา


อ้าว แล้วค่าการกลั่นในบ้านเราละ ผมเลือกสุ่มเอาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 พบว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ยเท่ากับ U$10.98 ต่อบาร์เรล


หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ค่าการกลันเฉลี่ยคืออะไร ตอบสั้น ๆ ว่า คือ ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดหน้าโรงกลั่นลบด้วยราคาน้ำมันดิบ


3. สรุป


ต้องขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ข้อมูลที่ผมหยิบขึ้นมานี้ บางส่วนเป็นข้อมูลสุ่ม บางส่วนเป็นข้อมูลที่มีการศึกษาอย่างละเอียดแล้ว ผมคิดว่า บทความนี้ได้ตอบโจทย์ที่ผมสงสัยแล้ว ถึงไม่ได้ใช้ข้อมูลทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ได้ความจริงระดับหนึ่ง ว่าคนไทยเราถูกเอาเปรียบถูกค้ากำไรมากเกินไปแล้ว


ถ้าเราต้องการสังคมที่ดีกว่านี้ คุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่า การช่วยกันตรวจสอบตลอดเวลา สุดท้ายนึกประโยคเด็ดขึ้นมาได้ว่า “ตื่นเถิดชาวไทย อย่าหลับใหลลุ่มหลง” กับความรู้สึกว่าน้ำมันราคาถูกลงโดยไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ ครับ


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org