เยาวชน

เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง

28 February, 2009 - 00:00 -- nalaka


เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง
เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม


โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย

ย่ำสวนป่า : ขุมทรัพย์ของความทรงจำ

22 January, 2009 - 00:00 -- nalaka

"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติ

ผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า

"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)

ขอเรียกร้องคำขวัญวันเด็กแบบใหม่ๆ

มุทิตา เชื้อชั่ง


วันเด็กปีนี้ แม้ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี แต่ก็อยากจะให้คำขวัญ คำอวยพรกับเด็กๆ บ้าง... มีฟามสุขมั่กๆ อย่าแสบให้มากนักนะตัวเอง...

 

ปีนี้มหกรรมวันเด็กค่อนข้างคึกคัก ข่าวคราวต่างๆ ถูกรายงานเยอะแยะมากมายตามประสาบ้านเมืองที่สงบสุขแล้ว...ชิลๆ สังเกตได้ง่ายๆ เพราะเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ (ยิ่งดราม่าๆ หน่อยยิ่งเจ๋ง) มักจะมีสีสันอยู่ในกระแสมากเป็นพิเศษเสมอ

 

คำขวัญวันเด็กที่ทั่นนายกฯ "อภิสิทธิ์" ให้ในปีนี้ เด็กจริง เด็กโข่ง ต่างก็รู้กันทั่วหน้าแล้ว นั่นคือ "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี"

 

ไม่รู้ว่าเด็กยุคดิจิตอลรุ่นนี้คิดยังไง...

4 1 5

อุ่นใจ บัว


เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข
415

วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว

สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน

ชะตาลิขิต : วรรณกรรมประจักษ์พยาน

28 December, 2008 - 00:00 -- nalaka

ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง


ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก และทุกข์ทรมานอยู่ในค่ายนรกนั้นหลายปีกระทั่งสงครามสงบ เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กลับมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ยินและ ได้อ่านกัน

ได้เวลากลับไปอ่าน มาร์กซ์!!!

27 December, 2008 - 21:07 -- iskra

 

"แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง"

 

ทิพรดา ตากดำรงศ์กุล

ท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

 

1. ชีวิตของกรรมาชีพ

การพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี

2. การต่อสู้ทางชนชั้น

การต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

 

3. ใครหาเลี้ยงใคร?

แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

 

4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม

 

 

หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

 

บันทึก(จากใจพาให้)อิสรา

 

กิตติพันธ์ กันจินะ

 

-1-


วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย

 

เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง

 

สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้ บางคนก็จำไม่ค่อยได้ มีความทรงจำดีๆ มากมายที่ได้เกิดขึ้นเมื่อได้รู้จักและสัมผัสกับพี่ๆ ชาวมะขามป้อมแต่ละคน

 

เมื่อก่อน ผมเป็นเด็กขี้อายมากๆ ตอนทำกิจกรรมในระยะแรกๆ ก็ไม่กล้าแสดงออกเอาเลย พอทำไปทำมา แล้วบวกกับที่พี่ๆ มาอบรมเพิ่มเติมวิทยายุทธ์ให้อีก ก็พอเอาตัวรอดมาได้อย่างหนักเอาการทีเดียว เพราะต้องเรียนรู้เรื่องการทำละคร ทักษะใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ วิธีคิดใหม่ๆ ต่างๆ มากมาย

Man and Boy : ความรักคือการรู้จักปล่อยวางเมื่อถึงเวลา

14 December, 2008 - 00:00 -- nalaka

หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30


หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า

มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน”

ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง”

ถูกภรรยาทิ้ง”

ตกงาน”

รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”

สิ่งเหล่านี้จะทำลายวันดี ๆ ไปจนหมดสิ้น (หน้า 9)

แลสซี่

1 December, 2008 - 00:00 -- nalaka

ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ

"แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี

Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์, ร็อดดี้ แม็คโดเวลล์ และ จิมมี่ สจ๊วร์ต

Lassie ฉบับซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในปี 1954 และฉายติดต่อยาวนานถึง 20 ปี ได้รับรางวัล Emmy ถึง 2 ครั้ง "สาขาซีรี่ย์ทางโทรทัศน์สำหรับเด็กยอดเยี่ยม" และเป็นซีรี่ย์ที่ยืนโปรแกรมฉายนานที่สุด ทั้งยังได้ออกฉายใน 50 ประเทศทั่วโลกด้วย กระทั่งเกิดมูลนิธิ Lassie ในเวลาต่อมา

ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ

2 November, 2008 - 22:41 -- suchana

  

ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ  : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ

 

            น้องๆชาวค่ายตื่นกันตั้งแต่ ๐๕.๓๐ น. เบิกบานด้วยโยคะยามเช้าริมทะเล ฝึกลมหายใจเข้าออกสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อความผ่องแผ้วของชีวิต หลังอาหารเช้าน้องทุกคนกระตือรือร้นขึ้นรถเพื่อออกตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะจากสองวิทยากรเมื่อวานนี้  จุดแรกจะไปเรียนรู้เมืองเก่าที่บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่๑๐  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจะตามรอยส้มจุกสายพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองจะนะ

          รถยนต์มุ่งหน้าสู่บ้านเขาจันทร์  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา น้องๆชาวค่ายได้พบกับคุณตากุลจักร  ศรียาภัย อายุ ๘๐ ปีและ พี่คนึง  นวลมณี ผู้จะนำทีมนำสำรวจรุ่นจิ๋วตามรอยเรื่องเล่าเมืองเก่าจะนะ

คุณตากุลจักร เล่าว่า  เมื่อสมัยรัชการที่ ๕  เจ้าเมืองจะนะคนสุดท้าย คือ พระมหานุภาพปราบสงคราม ชื่อเดิมว่า "ปลอด" ซึ่งเป็นพ่อของยาย บ้านเจ้าเมืองขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ในบริเวณบ้านจะปลูกไม้ไผ่หลอด มีลำขนาดเท่าหัวแม่มือ ปลูกล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน  ปัจจุบันไม่มีซากบ้านหลงเหลือขณะนี้ที่บริเวณนั้นกลายเป็นที่นา

ตำบลจะโหนงเป็นเมืองเก่าในอดีต   ลักษณะบ้านเรือน เป็นบ้านโบราณที่ทำด้วยไม้ทั้งหลังลักษณะคล้ายๆ เรือนไทยปัจจุบัน สมัยนั้นไม่มีตาปู ใช้ตัวสลักแทน (สลักทำจากไม้ปลายแหลมขนาดเล็ก) ใช้ตอกเพื่อการยึดเกาะ ส่วนฝาบ้านทำด้วยเปลือกไม้ นำมาผ่าเป็นชิ้นๆ กั้นฝาบ้าน ส่วนบริเวณรอบๆ โดยทั่วไปเป็นป่า  การสัญจร สมัยก่อนเดินทางโดยทางเรือ ในคลองนาทับ เป็นคลองที่ต่อกับทะเล  ผู้คน ส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิม สมัยนั้นมีคนข้างนอกเข้ามาบ้างจากการแต่งงาน และจากการที่ลูกหลานชักชวนเข้ามา

การทำมาหากินในสมัยนั้น ชาวบ้านปลูกถั่ว ปลูกมัน ทำนา ทำไร่ ทำสวน หาปลาในคลองนาทับ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการเลี้ยงปลา มีปลาเยอะไม่อดยาก เครื่องมือจับปลาในขณะนั้นใช้ สุม เบ็ดตกปลา แห  ส่วนสวนผลไม้ มีมะพร้าว  มีทุเรียนป่าต้นใหญ่  มีหมาก สมัยนั้นคนนิยมกินหมากกันมาก และมีมะม่วง ส่วนใหญ่จะงอกเองตามธรรมชาติ   สมัยก่อนไม่มีการแย่งชิงกันทำมาหากิน พึ่งพาอาศัยกัน

หลังจากที่ฟังคุณตากุลจักรเล่าเรื่อราวในอดีตแล้ว  พี่คนึง  นวลมณีได้พาน้องๆชาวค่ายไปสำรวจดูบริเวณที่เป็นจุดที่ตั้งของโรงถลุงเหล็กขนาดใหญ่ในอดีตบริเวณ "ควนเขาจันทร์"  บริเวณโรงถลุงเหล็กปัจจุบันได้กลายเป็นสวนยางพารา  ด้านหน้าที่ตั้งโรงถลุงเหล็กมีบ่อน้ำเก่าแก่ขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันถูกปิดถมไป เล่ากันว่าบ่อน้ำแห่งนี้โจรได้จับเด็กๆมาโยนแล้วเอาเอาคมดาบรับ  ถัดจากบริเวณที่ตั้งโรงถลุงเหล็กมีต้นมะขามขนาดใหญ่หลายคนโอบ  บริเวณใกล้เคียงมีต้นตาลดำ  ซึ่งเป็นสมุนไพรมีสรรพคุณรักษาโรคตาลขโมย และบริเวณใกล้เคียงยังมีสมุนไพรอีกหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันมีร้านขายยาสมุนไพรในตลาดจะนะมีเก็บขายอยู่เนื่องๆ พี่คนึงเล่าว่าเดิมทีมีต้นมะขามขนาดใหญ่อีกสองต้น แต่ถูกตัดโค่นไปต้นที่เหลืออยู่นี้เพราะต้นได้ขอร้องให้เจ้าของที่ดินเว้นไว้เพื่อเก็บให้ลูกหลานดู

ออกจากเมืองเก่าจะโหนงรถยนต์มุ่งหน้าสู่บ้านทุ่งใหญ่เพื่อพบกับ คุณตาเจิม  มณีเจ้าของสวนส้มจุกบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ คุณตาเจิมเล่าว่าบ้านทุ่งใหญ่ในอดีตนับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อาชีพทำนา  ประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ เป็นช่วงที่ส้มจุกจะนะรุ่งเรืองมีชื่อเสียง เดิมทีส้มจุกไม่ได้ได้ปลูกเป็นสวนแต่จะปลูกในบริเวณบ้านครัวเรือนละ ๑๐-๒๐  ต้น อดีตส้มจุกมีราคาดีลูกละหนึ่งบาทซึ่งเป็นราคาที่สูงในสมัยนั้น หมู่บ้านที่มีการปลูกกันมากได้แก่บ้านน้ำขาว บ้านคูและบ้านแค  สมัยก่อนจะมีการทูนส้มจุก   แบก หามมาขายในตลาดและมีการส่งขายไปยังที่ต่างๆมีการขนส่งขึ้นรถไฟเป็นโบกี้ไปขายในกรุงเทพมหานคร  นอกจากผลของส้มจุกที่ขายได้ราคาดีแล้วกิ่งตอนส้มจุกก็ได้รับความนิยมมีการสั่งซื้อจากที่ต่างๆมากมาย

คุณตาเจิม มีภรรยาชื่อ ยายคลี่ มณี  อาชีพดั้งเดิมเป็นครูสอนหนังสือ  มีคนมาบอกขายที่นาลุงจึงซื้อที่ไว้เป็นที่นาหากปลูกส้มหัวจุกก็จะปลูกไม่ขึ้น จึงต้องมีการเตรียมที่ดินเพื่อปลูกส้มหัวจุกนานพอสมควรประมาณ ๒ ปีกว่าจะได้ปลูก    ซึ่งในขณะที่เตรียมดิน ได้ไปสอบถามวิธีการปลูกจากคนที่เขาปลูกแล้ว ไปถามว่าส้มจุกปลูกในดินแบบไหนถึงจะดี เขาบอกมาว่าปลูกดินปลวก ซึ่งในที่ดินที่ซื้อมาก็มีปลวกอยู่บ้าง ๒ - ๓ ลูก จึงนำดินปลวกจากที่อื่นมาถมด้วย และมีการขุดระบายน้ำออก เริ่มปลูกโดยหาเมล็ดมาเพาะ ในรุ่นแรกปลูกได้เก็บผลผลิต ๕ ปี ภายหลังต้นตายหมดโดยไม่รู้สาเหตุ มีนายอำเภอเข้ามาดู บอกว่าจะเข้ามาเก็บตัวอย่างไปวิจัยดูว่าเพราะอะไร เขานำราก ดิน กิ่งไปทำการวิจัย แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ   แต่คุณตาเจิมได้คำตอบด้วยการทดลองทำเอง

คุณตาเจิมปลูกส้มหัวจุกมา ๔ รุ่นแล้ว  ได้คำตอบว่าหากใช้เมล็ดปลูกจะได้ผลช้าถึง ๗ ปีกว่าจะได้เก็บผลผลิต ปลูกกิ่งชำจะได้ผลเร็วกว่า ส้มหัวจุกเวลาที่ออกผลจะออกในคราวๆ ทีละมากๆ ต้องใช้ไม้ค้ำกิ่งไว้ไม่นั้น กิ่งจะหักได้ เพราะกิ่งรับน้ำหนักผลส้มไม่ไหว และลุงเจิมได้คำตอบอีกอย่างว่า หากปีไหนแล้งจะได้ผลมาก  แต่หากปีไหนฝนเยอะก็จะได้ผลน้อย ในฤดูแล้งน้ำไม่พอใช้จึงขุดบ่อลึกขนาด ๖ เมตร แต่ก็ยังไม่พอใช้ หากปลูกให้ได้ผลดีต้องปลูกช่วงเดือนมีนาคม   

สวนส้มจุกของคุณตาปลูกอยู่หลังบ้าน ค่อนโทรมมากแล้วเหลือไม่กี่ต้น พยายามหาวิธีอยู่ว่าทำอย่างไรไม่ให้มันตาย จนพบว่าในการปลูกส้มหัวจุกรุ่นที่ ๔ มีส้มจีนอยู่ต้นหนึ่ง ผลเล็กสีส้มส่วนใหญ่เขานิยมนำไปไหว้พระจีน เดิมเขาบอกว่ามาจากเมืองจีน ปลูกไว้หลังบ้านพร้อมกับส้มหัวจุก  ปรากฎว่าส้มหัวจุกตายหมด เหลือเพียงแต่ส้มจีน จึงคิดนำส้มจีนไปทำต้นกล้า จึงสืบหาต้นส้มหัวจุกมาเสียบยอด

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เกิดน้ำท่วม ได้ปลูกต้นส้มหัวจุกไว้โตถึงเอวแล้วน้ำท่วมยอดหมด แต่น้ำลดเร็ว ส้มหัวจุกจึงไม่ตาย ต่อมาสักประมาณ ๓ ปี มีคนต้องการเข้ามาซื้อมาก มีคนมาทำถามกับเกษตรอำเภอว่ามีส้มหัวจุกไหม  เกษตรอำเภอหาคุณตา ขณะนั้นลุงตอนกิ่งขายมีคนมาหาซื้อไปหมด ปัจจุบันมีการตอนกิ่งขายไปทั่วประเทศ

          คุณตาเล่าให้น้องๆชาวค่ายฟังว่าปัจจุบันส้มจุกดั้งเดิมของจะนะมีน้อยลงมาก  มีส้มจุกจากที่ต่างๆแต่รับรองว่ารสชาติสู้ส้มจุกพันธุ์ดั้งเดิมของจะนะไม่ได้  หากใครเคยลิ้มลองรสชาติของส้มจุกจะนะจะรู้ว่ารสชาติแตกต่างกันอย่างไร  หลังจากนั้นคุณตาเจิม ผู้เอื้ออารีได้นำน้องๆชาวค่ายเข้าชมสวนส้มจุกและใจดีให้น้องๆได้ลองเก็บส้มจุกและลิ้มลองรสชาดสดๆของผลส้มจุกจากต้นเลยทีเดียว ทำเอาน้องๆแสนดีใจและมีความสุข สนุกสนานเป็นกันใหญ่ไม่เฉพาะน้องๆเท่านั้นที่สนุกผู้ปกครองที่อาสาเป็นพี่เลี้ยงก็พลอยตื่นตาตื่นใจไปด้วย และสดชื่นกับรสชาติที่ได้ลิ้มลอง     หลังจากที่น้องๆได้สำรวจตามรอยเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองจะนะแล้ว น้องได้กลับมาเติมพลังมื้อเที่ยงด้วยขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ เหนาะ(กิน)กับผักสดๆที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนแล้ว น้องๆได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากค่ายร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนุกและได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองจะนะ อาจจะมีน้อยและตกหล่นไปมากเนื่องจากข้อจำกัดในการจดบันทึกเรื่องราวทางประวัติ จากการประสานผู้รู้ที่จะมาเล่าเรื่องราวของเมืองจะนะมีน้อยมาก หลายคนสะท้อนว่าการส่งทอดเรื่องราวของบ้านเรามีน้อยลงและขาดช่วง ที่สำคัญขาดการเห็นความสำคัญรากเหง้าประวัติศาสตร์  อีกทั้งระบบการศึกษาสอนให้เรียนรู้สังคม ประเทศชาติและโลกกว้าง ไมไม่ได้สอนให้นักเรียนนักศึกษาได้ศึกษาและสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนตนเอง ทำให้ไม่เห็นรากเหง้าความเป็นมา  ทำให้ขาดความรัก ความผูกพันและภาคภูมิใจในชุมชน

แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นจากประวัติสาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือการถูกรุกรานทางทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน อดีตตั้งแต่การส่วยดีบุก ส่วยไม้กระดาน แต่จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งทำให้เห็นอุปนิสัยด้านหนึ่ง คือการต่อสู้รบกับหัวเมืองมลายู ขัดขืนต่อการเอารัดเอาเปรียบที่ไม่ยุติธรรม นับถึงยุคสมัยในปัจจุบันที่คนจะนะยังต้องพิทักษ์ปกป้องตนเองจากการรุกรานของทุนที่เข้ามายึดครอง กอบโกยทรัพยากรของชุมชนและประเทศชาติ บทเรียนจากยุคดีบุกที่ร่ำรวย  ส้มจุกที่รุ่งเรือง  ถึงยุคทองของก๊าซธรรมชาติเป็นเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัวของ"คนจะนะ"

Pages

Subscribe to เยาวชน