Skip to main content
 

พันธกุมภา

ถึง มีนา

เมื่อฉบับที่แล้วพี่มีนาได้กล่าวถึงเรื่องการ "ปล่อยวาง" ซึ่งผมมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะหาไม่แล้วเราก็เป็นเพียงแค่ผู้เผชิญกับความสุขที่จิตใจเกิดขึ้นโดยที่หลงยึดติดอย่างไม่ทันรู้ตัวทั่วถ้วน

สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำในที่นี้ก็คือ เรื่องการปล่อยวาง หรือ การวางเฉย ซึ่งคล้ายกับภาษาธรรมที่เรียกว่า "อุเบกขา" นี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เพราะอย่างที่เราได้รู้กันมานั้นก็คือ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ถือว่ามีด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทำสมถะ และการทำวิปัสสนา

เท่าที่รู้, การทำสมถะ คือ การทำให้จิตสงบ ทำให้จิตนิ่ง อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์เดียว ซึ่งการปฏิบัติในสมถะกรรมฐานนี้จะช่วยให้ผู้ที่ปฏิบัติมีจิตที่ละเอียด และนิ่งแช่กับอารมณ์หนึ่งๆ โดยเหมาะแก่การพักจิต หรือการหยุดการคิดแล้วมาสงบจิตให้อยู่ในอารมณ์หนึ่งเดียวก่อน ซึ่งในวิถีนี้ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่น การนั่งสมาธิ ภาวนาพุท-โธ ดูท้องพองยุบ เป็นต้น

ส่วนการทำวิปัสสนานั้น เท่าที่ผมเรียนรู้มาก็คือการดู การรู้ การเห็น ทุกๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในกายและใจตามความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง วางเฉย โดยการทำวิปัสสนาก็สามารถที่จะได้โดยการทำสมถะก่อน และค่อยเคลื่อนจิตไปสู่การทำวิปัสสนา หรือ จะทำวิปัสสนาโดยไม่ต้องทำสมถะก็ได้ หรืออีกอย่างคือทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป

การทำวิปัสสนา สามารถ ดูได้ทั้งทางกาย เวทนา จิต ธรรม หรือสรุปย่อๆ ก็คือ กายกับใจ เราดูกาย รู้กาย ผ่านลมหายใจ การเคลื่อนไหว การกระพริบตา กลืนน้ำลาย การเดิน ฯลฯ และส่วนใจนั้นก็ดูตรงที่ความคิด อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ จะไม่สุขไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ โกรธ โมโห อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นมาได้ทุกเมื่อเชื่อขณะ ฉะนั้นการดูจิตนั้นก็คือการตามรู้อารมณ์ต่างๆ อย่างที่ปรากฏตามความเป็นจริง

ทั้งนี้ที่ผมเกริ่นมาว่า 2 ส่วนนี้ต่างกันอย่างไรนั้น ก็เพราะว่า ต้องการชี้ให้เห็นว่าสมถะนั้นทำเพื่ออะไร และวิปัสสนานั้นทำเพื่ออะไร เพราะไม่เช่นนั้นแล้วบางคนอาจคิดว่าที่ตัวเองกำลังทำอยู่นั้นคือวิปัสสนา แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย แต่เป็นสมถะ ซึ่งผมคิดว่าจุดที่ต้องให้ความสำคัญมากหากเราปรารถนาที่จะพากายและใจไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริง นั้นคือคงต้องเรียนรู้ที่จะทำวิปัสสนาให้ถูกวิธี หรือ ทำอะไรก็ตามแต่รู้จุดมุ่งหมายว่าทำอะไร เพื่ออะไร จะได้ไม่หลงทาง สับสน และติดอยู่กับอะไรบางอย่าง

อาการติดอยู่กับอะไรบางอย่าง ที่ผมเกิดกับผมตอนนี้คือ บ่อยครั้งเวลาที่ผมทุกข์ใจ โมโห หรือโกรธ ผมจะค่อยๆ รู้ไปทีละนิด จะรู้ได้บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งการรู้ของผมก็คือรู้โดยไม่ใช้สมองคิด รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ปรุงแต่งว่าไม่ชอบเพราะจะเกิดความโลภเพิ่มขึ้น แล้วเมื่อดูไปสักพักอารมณ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้น ตั้งมา และก็ดับลงไปอย่างเห็นได้บ่อยครั้ง

แต่ในอีกมุมเมื่อเกิดอารมณ์อิ่มใจ มีปีติเกิดขึ้น ผมมักจะอยากให้จิตเป็นแบบนี้บ่อยๆ เกิดอารมณ์แบบนี้บ่อยๆ แล้วก็ "ประคอง" มันไปเรื่อยเพราะไม่อยากให้ความทุกข์ใจเข้ามาเยือน ซึ่งพอทำแบบนี้แล้วมันก็ไม่ค่อยจะดีต่อจิตเรานัก เพราะเราไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง แต่ดันอยากบังคับจิตให้จิตอยู่ในอารมณ์สุขเช่นนี้เพียงอย่างเดียว

วิธีการทำแบบข้างต้นนี้ ไม่ค่อยจะดีนัก ถ้ามัวหลงเพลินความความสุข ปีติ จนลืมอุเบกขา หรือการวางเฉย เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็สร้างความโลภให้กับตัวเองไปเรื่อยๆ และสิ่งที่เราทำอยู่แทนที่จะเป็นวิปัสสนา แต่กลับการเป็นสมถะเพราะมัวแต่ไปเพ่งอยู่กับอารมณ์เดียวอย่างนี้

ผมจำคำสอนของพระอาจารย์หลายท่าน ท่านกล่าวตรงๆ กันว่า การวิปัสสนานั้นต้องก้าวข้ามความเป็นตัวตน ว่านี่คือฉันของฉัน ต้องรู้ถึงความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง เพราะเราทำวิปัสสนาเพื่อการเจริญสติตามความเป็นจริง ไม่ว่าจิตใจ ร่างกาย จะเป็นอย่างไร เรามีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือการตามรู้ ตามดู โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่ต้องคิดอยากได้ความสงบ ความสมถะ อยากได้ฌาน อยากได้อภิญญา อยากบรรลุธรรม อยากได้นู้นนี่มากมาย

ถ้าเรายังไม่สามารถก้าวข้ามความเป็นตัวตน หรือความไม่เที่ยง สัจธรรมอันแท้จริงในตัวเราก็ไม่เกิดขึ้น และการเกิดขึ้นนั้นใช่ว่าจะบังคับได้ ของแบบนี้ก็ต้องรอจังหวะ และเวลา ต้องดูพัฒนาการของการวางเฉย อุเบกขาได้มากน้อยเพียงใด และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกายหรือใจ เราก็ทำเพียงอย่างเดียวคือ "รู้"

รู้โดยไม่ใช้สมองคิด ไม่ปรุงแต่ง
รู้โดยไม่กด ไม่เพ่ง ไม่จ้อง ไม่ประคอง ไม่หนี
รู้โดยใจที่เป็นกลาง วางเฉย
รู้แล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติด

สักว่า "รู้" เพียงตัวเดียว ทำไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเราจะเห็นและพบด้วยตัวเองว่าเพียง "รู้" ตัวเดียวนั้นช่วยทำให้เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร....

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด