Skip to main content
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในหลายเรื่อง มีอะไรบ้าง
หัวไม้ story
ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศสาเหตุสืบเนื่องมาจากเจ้าชายแฮรี่ทรงบันทึกวิดีโอประจำวันไว้ขณะทรงเข้ารับการฝึกอบรมภาคสนามที่อัฟกานิสถานในฐานะนักเรียนนายร้อยแห่งโรงเรียนแซนด์เฮิร์สต์เมื่อปี 2549 พระองค์ทรงหลุดปากเรียกนักเรียนนายร้อยเชื้อสายเอเชียที่เป็นพระสหายร่วมชั้นว่า ‘ปากี' และบอกกับพระสหายอีกคนหนึ่งซึ่งแต่งชุดพรางและมีผ้าโพกหัวว่า ดูเหมือน ‘พวกหัวผ้าขี้ริ้ว' หรือ ‘raghead'ทั้ง 2 คำที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของเจ้าชายเป็นประเด็นอ่อนไหวในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างอังกฤษ (ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งการล่าอาณานิคม) รวมถึงสังคมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำเรียกที่แฝงนัยเชิงเหมารวม ถึงขั้นที่หลายคนมองว่าเป็น ‘การเหยียดเชื้อชาติ' ที่ไม่อาจยอมรับได้วิดีโอดังกล่าวหลุดมาถึงมือกอง บ.ก.หนังสือพิมพ์นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ได้อย่างไรไม่มีใครรู้ แต่ที่สำคัญคือเจ้าชายแฮรี่ทรงตกเป็นเป้าแห่งการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ‘ความไม่เหมาะสม' และกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองระหว่างประเทศไปเรียบร้อยแล้วเป็นแค่เรื่องล้อเล่น?วันเดียวกับที่คลิปวิดีโอของเจ้าชายแฮรี่เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ทางสำนักพระราชวังของอังกฤษก็ออกแถลงการณ์ ‘แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง' ต่อประชาชนผู้อาจได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ อันสืบเนื่องมาจาก ‘พระดำรัสที่ไม่เหมาะสม' ของเจ้าชาย แต่เนื้อหาที่ทิ้งท้ายในแถลงการณ์ระบุว่า วิดีโอที่หลุดออกมาถูกถ่ายไว้ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน และอันที่จริง...เจ้าชายทรงใช้ถ้อยคำที่ว่าเรียกพระสหายที่สนิทสนมกับในกองทัพเท่านั้น หาได้เป็นการ ‘เหยียดเชื้อชาติ' อย่างใดไม่ ผู้ออกความเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์นิวส์ออฟเดอะเวิลด์จำนวนมากเห็นด้วยกับคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง และยืนยันว่า ‘ปากี' ไม่ใช่คำที่เลวร้ายอะไร และแทบจะไม่ต่างอะไรจากการตั้งฉายาไว้เรียกหยอกล้อกันในหมู่เพื่อนฝูง ซึ่งจะว่าไปคำว่า ‘ปากี' อาจไม่ต่างจากคำว่า ‘ลาว' ที่คนไทยบางคนชอบใช้เป็นคำวิเศษณ์ในความหมายเชิงกดทับว่าไม่ดี ไม่สวย ไม่เด่น ไม่ทันสมัย ฯลฯ แต่ถ้าคิดถึงใจ ‘คนเชื้อชาติลาว' ที่ได้ยินได้ฟังคำนี้บ่อยๆ ในสังคมที่นิยมความเป็น ‘ไทย' คงเป็นคำที่ไม่ทำให้รู้สึกดีสักเท่าไหร่มิหนำซ้ำคำว่า ‘ปากี' ของเจ้าชายแฮรี่อาจยิ่งเลวร้ายกว่า เพราะกลุ่มขวาจัดที่สนับสนุนแนวคิดว่าคนผิวขาวคือเผ่าพันธุ์สูงส่งกว่าชนชาติอื่นๆ ในอังกฤษยุคทศวรรษที่ 70 เป็นผู้เริ่มต้นใช้คำว่า ‘ปากี' เพื่อเรียกทั้งชาวปากีสถานและชาวอินเดียที่อพยพมาตั้งรกรากในอังกฤษ ทั้งยังมีการก่อเหตุทำร้ายร่างกายชาวปากีสถาน หลายคดี จนเป็นที่เรียกว่า Paki Bashing (1) ส่วนคนที่ ‘จริงจัง' กับคำ ‘ปากี' ของเจ้าชายก็มีอยู่จริงๆ เขาคือ ‘อิฟทิการ์ ราจา' พลเมืองอังกฤษ เชื้อสายปากีสถาน ผู้เป็นลุงของ ‘อาเหม็ด ราซา ข่าน' นักเรียนนายร้อยที่เจ้าชายทรงเรียกว่า ‘เพื่อนชาวปากีของเรา' ออกมาบอกเล่าความรู้สึกของคนที่ถูกตั้งฉายาเหมารวมว่า"พวกเราต่างคาดหวังสิ่งที่ดีกว่านี้จากสมาชิกราชวงศ์ของเรา ซึ่งพวกเราต้องจ่ายเงินเป็นล้านล้านปอนด์สำหรับการฝึกอบรมและการศึกษา" (2)แม้แต่นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ยังออกมากล่าวว่า การใช้คำ ‘ปากี' เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และกองทัพอังกฤษก็พยายามแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยการประกาศว่าการเหยียดเชื้อชาตในกองทัพจะต้องถูกกำจัดให้หมดไป และจะทำเรื่องสอบสวนข้อเท็จจริงในคลิปวิดีโอฉาวของเจ้าชายโดยเร็วที่สุด (3)ลึกแต่ไม่ลับกับเจ้าชายด้านนิตยสารไทม์ของสหรัฐฯ ได้เรียงลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเจ้าชายแฮรี่ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ‘นี่ไม่ใช่ครั้งแรก' ที่การปฏิบัติพระองค์ของเจ้าชายกลายเป็นประเด็นถกเถียงของคนหมู่มากว่า ‘เหมาะสม' หรือ ‘ไม่เหมาะสม' อย่างไร- เริ่มจากปี 2545 ครูในโรงเรียนอีตัน (โรงเรียนสำหรับ ‘ชนชั้นนำของอังกฤษ' และเป็นโรงเรียนที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นศิษย์เก่าด้วย) รายหนึ่งกล่าวหาว่าเจ้าชายแฮรี่ ‘ลอกข้อสอบ' แต่ผลการสืบสวนชี้ว่าเจ้าชายทรงปราศจากความผิดในทุกข้อกล่าวหา และครูคนนั้นก็ถูกไล่ออกไปในที่สุด- เจ้าชายแฮรี่ทรงทดลองสูบกัญชาเมื่อทรงมีพระชนมายุ 16 ชันษา แต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระบิดา ทรงจับได้ จึงถูกส่งไปบำบัดกับจิตแพทย์โดยใช้เวลายาวนานตลอดยามบ่ายวันหนึ่ง- ในปี 2548 ทรงเสด็จไปงานเลี้ยงของพระสหายซึ่งตั้งเงื่อนไขว่าผู้มาร่วมงานต้องสวมชุดในยุคอาณานิคมหรือชุดชนพื้นเมือง แต่เจ้าชายแฮรี่กลับทรงชุดทหารพร้อมปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซีเยอรมัน และหนังสือพิมพ์เดอะซันของอังกฤษนำภาพมาเผยแพร่ลงหน้าหนึ่ง กลายเป็นที่โจษจันไปทั่วโลก เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ลืมความโหดร้ายของฮิตเลอร์และกองทัพนาซี ผลก็คือสำนักราชวังออกแถลงการณ์ในนามเจ้าชาย เพื่อแสดงความเสียพระทัยต่อความรู้เท่าไม่ถึงการณ์- ต่อจากเหตุการณ์ชุดนาซีไม่นาน เจ้าชายทรงเมามายและชกต่อยกับช่างภาพปาปาราซซี่ที่ตามถ่ายภาพพระองค์ขณะรายล้อมด้วยสาวๆ ในไนท์คลับ ผลก็คือช่างภาพกลายเป็นข่าวเสียเอง ส่วนเจ้าชายโดนกล้องทุบจนพระโอษฐ์แตกอย่างไรก็ตาม สื่อหลายสำนักยืนยันตรงกันว่านับตั้งแต่จบการศึกษาจากแซนด์เฮิร์ส เจ้าชายแฮรี่ทรงมุงานด้านการกุศลอย่างจริงจังร่วมกับเจ้าชายวิลเลี่ยม พระเชษฐา รัชทายาทลำดับที่ 2 ของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือเด็กกำพร้าในเลโซโทและประเทศในแถบแอฟริการ่วมกัน ที่สำคัญ ช่วงท้ายๆ ของวิดีโอที่นิวส์ออฟเดอะเวิลด์นำมาเผยแพร่ แสดงให้เห็นภาพเจ้าชายแฮรี่ทรงใช้พระชิวหาเลียใบหน้าของนายทหารนายหนึ่ง ทำให้เกย์ชาวอเมริกันออกมาชื่นชมในความเปิดเผยของพระองค์ พร้อมระบุว่าถ้าชายแท้ในสังคมเปิดใจให้กว้างและรู้สึกสบายๆ กับการล้อเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน จะช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ!! (4)‘สื่อ' เสี้ยม? ในบรรดาความเห็นของผู้ชมวิดีโอเจ้าชายแฮรี่พร้อมกับอ่านรายงานในนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ หลายคนตำหนิว่าหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ที่เป็นต้นตอเผยแพร่ต่างหากที่มีพฤติกรรม ‘น่ารังเกียจ' เพราะนำเรื่องส่วนตัวของเจ้าชายมาขายเป็นข่าวเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยหยิบเอาประเด็นเรื่องเชื้อชาติมาใช้เป็นข้ออ้างในการนำเสนอ ทั้งที่เจตนาของเจ้าชายเพียงแค่ต้องการล้อเล่นเท่านั้นกระแสโจมตีสื่อที่นำเสนอวิดีโอเจ้าชายกลายเป็นหมัดสวนกลับมาให้ ‘สื่อมวลชน' หลายฝ่ายหนาวๆ ร้อนๆ เพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลแล้ว ยังหนีไม่พ้นข้อหา ‘เสี้ยม' หรือปลุกปั่นยุยงให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพราะชาวปากีสถาน (ที่อยู่ประเทศปากีสถานจริง) ได้ยินข่าวก็ออกมาเดินขบวนประท้วงด้วยความไม่พอใจ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพที่รับผิดชอบเรื่องการจัดหาบุคลากรก็ออกปากว่าคลิปวิดีโอของเจ้าชายไม่เป็นผลดีต่อกองทัพ เพราะอาจทำให้ชาวอังกฤษเชื้อสายเอเชียไม่อยากเข้าร่วมกองทัพ และยังมีการตำหนิสื่อมวลชนที่เสนอข่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาด้วย (5)หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ที่เล่นแต่ข่าวเบาๆ ฉาวๆ และบันเทิง ต้นกำเนิดวัฒนธรรมกัด-จิก-ทึ้ง-และปาปาราซซี่จึงถูกชี้นิ้วกล่าวโทษว่าคำนึงถึงการขายข่าวมากเกินไป แต่ ‘ไบรอัน รีด' คอลัมนิสต์ของ ‘เดอะ มิเรอร์' หนึ่งในบรรดาหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของอังกฤษ ได้เขียนบทความชื่อ "Just no excuse for aristro-brat Prince Harry" ตอบโต้ข้อกล่าวหาว่าสื่อยุยง (6)เนื้อหาในบทความของรีดเท้าความถึงกรณีพิพาทระหว่างประเทศอันสืบเนื่องจากคำพูดของ ‘เจด กู๊ดดี้' นักแสดงสาวชาวอังกฤษที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการบิ๊กบราเธอร์เมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน ซึ่งหลุดปากใช้คำว่า ‘โรตี' หรือ ‘Poppadom' เรียกผู้แข่งขันอีกรายหนึ่งซึ่งมาจากอินเดียกระแสต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและกระแสต่อต้านกู๊ดดี้ในขณะนั้นรุนแรงถึงขนาดที่กอร์ดอน บราวน์ ต้องออกมาขอโทษชาวอินเดีย ขณะที่สังคมอังกฤษเองก็พากันประณามการกระทำของกู๊ดดี้และแปะฉลากเป็นการถาวรว่าเธอเป็นพวกจิตใจคับแคบเหยียดเชื้อชาติ พร้อมกันนี้ รีดได้เตือนความจำของผู้ที่ออกมาแก้ต่างให้เจ้าชายว่าคำเรียกพระสหายว่า ‘ปากี' อาจเป็นแค่เรื่องขำๆ แต่คำว่า ‘หัวผ้าขี้ริ้ว' หรือ raghead ซึ่งสำนักพระราชวังออกมาแก้ต่างว่าเจ้าชายทรงใช้คำนี้เพื่อสื่อความหมายถึง ‘นักรบของกองกำลังตาลีบัน' ซึ่งถือเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่ raghead เป็นคำที่มีนัยยะเชิงดูหมิ่นชาวอาหรับทุกชาติที่โพกหัวตามความเชื่อทางศาสนา รีดจึงตั้งคำถามว่าเหตุไฉนคนอังกฤษจึงเดือดร้อนจะเป็นจะตายกับการกระทำของกู๊ดดี้ แต่พร้อมที่จะให้อภัยต่อการกระทำของเจ้าชายอย่างง่ายดาย และสรุปตบท้ายว่า ‘อภิสิทธิ์เหนือระดับของชนชั้นสูงยังคงอยู่ในสังคมอังกฤษเสมอ'‘เสรีภาพ' ในพรมแดนทดลองวิวาทะเรื่องเจ้าชายอังกฤษและการใช้ถ้อยคำเหยียดเชื้อชาติ กลายเป็นประเด็นที่ประชาชนอังกฤษ รวมถึงพลเมืองในประเทศที่ถูกพาดพิง และพลเมืองในโลกไซเบอร์หลากหลายสัญชาติ สามารถร่วมถกเถียงกันได้อย่างดุเดือดผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ร่วมถกเถียงบางส่วนต้องการปกป้องเจ้าชายที่พวกเขานิยมชมชอบ โดยให้เหตุผลว่าพระองค์ทรงมีเลือดเนื้อเช่นปุถุชนทั่วไป จึงเห็นต่างจากคนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งคาดหวังให้เจ้าชายของพวกเขาเป็นตัวแทนและเป็นหน้าเป็นตาของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งควรจะต้องดำรงไว้ซึ่งความเหมาะสมและสง่างามในทุกเวลา ส่วนคนอีกบางกลุ่มมองว่า ‘การเหยียดเชื้อชาติ' ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่ลับหรือที่แจ้ง การใช้ถ้อยคำในการเรียกผู้คนที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวัง ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันที่บ้านเมืองไทยของเรา องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกลับตั้งคำถามว่า "หรือประเทศไทยจะเป็นศัตรูรายใหม่ของสื่ออินเตอร์เน็ต" โดยอ้างถึงกรณีที่ ‘ใจ อึ๊งภากรณ์' อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการพาดพิงถึงหนังสือ ‘A Coup for a Rich' ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางอินเตอร์เน็ตว่าเป็นเครื่องมือทำลายชื่อเสียงพระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกัน ‘นายสุวิชา ท่าค้อ' วัย 35 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาโพสต์ข้อความหมิ่นฯ ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ปี 2550 หลังจากกระทรวงไอซีทีประกาศ ‘ล้างบาง' กว่า 2,300 เว็บไซต์ที่เป็นอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ได้ไม่นาน ส่วนชะตากรรมของ ‘นายแฮรี่ นิโคไลด์ส' ชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีก ผู้ต้องหาซึ่งถูกจับเพราะเขียนหนังสือนิยายพาดพิงสมาชิกราชวงศ์ไทย ติดคุกมาแล้ว 4 เดือน ถูกปฏิเสธการประกันตัว 4 ครั้ง และคดีก็ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากพื้นที่สื่ออินเตอร์เน็ตในเมืองไทยจะยังเป็นได้แค่พรมแดนทดลองของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น. ข้อมูลอ้างอิง(1) Britain: Prince Harry and the ‘P' word(2) Prince's apology for racist term(3) Prince Harry ‘Paki' comment unacceptable, says Gordon Brown(4) Prince Harry has homophobia licked: gay rights campaigner(5) Prince Harry ‘Paki' remark could harm ethnic recruiting(6) Just no excuse for aristro-brat Prince Harry     
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์
SenseMaker
Digital Divide คือ คำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกสภาวะ ที่ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ช่องว่างและความแตกต่างในสังคมเกิดขึ้นและขยายตัวในขณะที่ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ ICT ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากแนวนโยบายของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก ที่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ICT เพื่อให้บริการต่างๆของภาครัฐ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า“รัฐบาลอิเลคทรอนิค” หรือ e-government ทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับการขยายตัวของปัญหา ช่องว่างและความแตกต่างในสังคม ไปพร้อมกัน
SenseMaker
ปัจจุบันความก้าวหน้าทาง ICT อนุญาตให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงออกทางความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ผ่านความหลากหลายของช่องทางการติดต่อสื่อสาร และความอุดมสมบูรณ์ของสื่อ ไม่เพียงเท่านั้น ICT ยังอนุญาตให้เราสามารถ จัดการกับข้อมูลและเนื้อหาของการแสดงออกทางความคิด เพื่อใช้สำหรับการเข้าถึงในวงกว้างโดยผู้คนอื่นต่อไปได้อีกด้วยด้วยความสามารถของ ICT ข้างต้น ทำให้ประชาชนเริ่มมองเห็น และตระหนักในศักยภาพ ของการนำICT มาใช้เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่แต่ละบุคคลประสบ มองหาผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน และมองหาผู้อื่นที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ เพื่อร่วมคิด แสดงความเห็น ให้คำปรึกษา และช่วยกันหาทางบรรเทาหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ และด้วยความช่วยเหลือของอินเตอร์เนต รวมทั้งการกระจายตัวของ ICT อื่นๆ ทำให้กิจกรรมข้างต้นสามารถเกิดขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยท้องถิ่นที่อยู่ หรือแม้แต่ช่วงเวลาแห่งการทำกิจกรรม
SenseMaker
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการจัดทำ แผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2552 – 2556 ยังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำร่าง เพื่อประกาศใช้ให้ทันการเริ่มต้นใช้งานในปีหน้าข้าพเจ้ามีโอกาสได้อ่านแผนแม่บทฉบับร่างดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เตรียมเพื่อใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ระหว่างวันที่ 4-13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นฉบับล่าสุด ที่กระทรวงฯเปิดเผยและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ (ท่านผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลของโครงการจัดทำแผ่นแม่บทนี้ เพิ่มเติม รวมทั้ง download เอกสารประกอบต่างๆได้ที่ http://ictmasterplan.setec.nectec.or.th/)หลักจากได้อ่านร่างแผนแม่บทข้างต้นแล้ว ทำให้เกิดประเด็นหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอยากนำมาพูดถึงในวันนี้คือ ประเด็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของแผนฯ ซึ่งมีใจความว่า“ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างชาญฉลาด ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Smart People: Information Literate) มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”
SenseMaker
หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT อย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ระดับความรู้และพื้นฐานการศึกษาที่สูงขึ้นของสมาชิกในสังคม ยังเป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ที่ส่งเสริมความหลากหลายและความแตกต่างทางความคิด กระนั้นก็ดีข้าพเจ้าไม่คิดว่า เราสามารถปฏิเสธบทบาทสำคัญของ ICT ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งช่วยให้ความหลากหลายของ ระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมในสังคม เกิดการสื่อสาร เผยแพร่ และกระจายตัว อย่างรวดเร็วและในวงกว้างทั่วสังคม
SenseMaker
“คนไทยลืมง่าย” คือคำนิยามหนึ่งที่อธิบายลักษณะความคิดและนิสัยของคนไทย ได้เป็นอย่างดี คนไทยเรามักเลือกที่จะลืมและให้อภัย กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทุกๆเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสร้างความเดือดร้อนใหญ่หรือเล็กเพียงใดหลายคนแสดงความเห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเรามีอุปนิสัยเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยเราส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากพุทธศาสนา ซึ่งปลูกฝังให้คนเรารู้จักให้อภัยกันและกัน ทำให้คนในสังคมของเรา อยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและเกื้อกูลกัน ซึ่งนี้คือสิ่งที่หลายคนเห็นว่า “การลืมง่าย” ก่อให้เกิดผลดีกับบ้านเมืองของเราอย่างไรก็ดีธรรมชาติของเหรียญย่อมต้องมีสองด้าน...ผลที่ตามมาอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ก็คือ การที่คนไทยเรา ปล่อยให้ความผิดพลาดเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่รู้จักเรียนรู้และป้องกัน และทำให้เราไม่สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร หรือบางครั้งย่ำอยู่กับที่เสียด้วยซ้ำและผลลัพธ์ของการไม่รู้จักเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต ทำให้เราต้องสูญเสียอย่างมากมาย ทั้งในแง่ของเงินทอง และในเรื่องของโอกาส เพื่อการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
SenseMaker
เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า ที่ปล่อยให้บทความที่แล้ว ยึดพื้นที่คอลัมน์ยาวกว่าปกติสักหน่อย เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน และอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า แนวโน้มการ Outsourcing ขององค์กรต่างๆ กำลังส่งผลกระทบสำคัญ กับแนวทางการดำเนินชีวิตของทุกคน บทความวันนี้ ให้ความสนใจกับปัญหาความล้มเหลวของโครงการด้าน ICT ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่องค์กรต่างๆกำลังเผชิญหน้าอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งค้นหาส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการด้าน ICT
SenseMaker
ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไปบทความในวันนี้ เป็นหัวข้อซึ่งสืบเนื่องจากสัปดาห์ก่อน หากแต่ข้าพเจ้ามุ่งเน้นไปที่ แนวโน้มความนิยมแนวคิด การว่าจ้างแรงงานภายนอก หรือการ Outsourcing ที่เพิ่มขึ้นขององค์กรต่างๆ เพื่อรับมือความกับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย หากแต่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งในระดับองค์กรและในระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจ
SenseMaker
ICT ตัวแปรต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่ไม่ควรถูกมองข้าม ก่อนเข้าสู่บทความอาทิตย์นี้ ข้าพเจ้าขอประณามการกระทำ ของผู้ที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่า ใครก็ตามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง ไม่มีความรักชาติอย่างจริงจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม หากทุกคน เล็งเห็นความสงบสุขและประโยชน์ ของประเทศเป็นสำคัญ จะต้องใช้วิธีประนีประนอม เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา ความขัดแย้งทางความคิด ร่วมกัน มากกว่าการยึดเอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มองความคิดของอีกฝ่ายว่าไม่ถูกต้อง และมุ่งล้มล้างฝ่ายตรงข้าม จนถึงขั้นไม่ต้องการให้มีที่ยืนอยู่ในสังคม บทความวันนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจที่จะวิพากษ์ ถึงความจำเป็นที่องค์กร ต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นอันสำคัญ ที่นำการเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย มาสู่องค์กร โดยเฉพาะบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันยังถูกมองข้ามโดยองค์กรต่างๆ ข้าพเจ้าขอเริ่มต้น ด้วยการยกมุมมองการวิเคราะห์องค์กร ที่สำคัญมุมมองหนึ่ง นั่นคือ มุมมองที่มองว่าองค์กรต่างๆมีภาระกิจหลัก ในการเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นั่นหมายความว่า องค์กรต้องพร้อมรับมือ กับผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งจากมุมมองข้างต้น องค์กรต่างๆมักมุ่งให้ความสำคัญ กับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ความเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า และการเปลี่ยนแปลงของสภาพการแข่งขัน หรือที่เรียกรวมๆว่า การเปลี่ยนแปลงของ  “สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร”  ซึ่งถือเป็นตัวแปรหลัก ที่องค์กรจำเป็นต้องรับมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการล่มสลาย ในขณะที่ ทุกองค์กรตั้งหน้าตั้งตา รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรข้าพเจ้าอยากให้ทุกองค์กร พิจารณาอีกหนึ่งตัวแปร ที่องค์กรในทุกระดับ จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่ตัวแปรนี้นำมาสู่องค์กร เพื่อประโยชน์ในการอยู่รอดขององค์กรอีกเช่นกัน และตัวแปรตัวที่ว่านี้คือ ICT เพื่อขยายความคิดที่ว่า องค์กรต่างๆมีความจำเป็น ที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ที่มี ICT เป็นตัวการ อย่างเร่งด่วน ข้าพเจ้าขอใช้คำถามนำดังต่อไปนี้ “ICT นำความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างมาสู่องค์กร ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญ กับการเปลี่ยนแปลงที่ ICT นำมาสู่องค์กร และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สำคัญในระดับที่ว่า หากองค์กรไม่สามารถรับมือกับมันได้แล้ว องค์กรต้องล่มสลายจริงหรือ” ข้าพเจ้าขอเริ่มด้วย การวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลง ที่ ICT สามารถนำมาสู่องค์กร เพื่อประเมิณระดับความสำคัญ ของผลลัพธ์ ที่องค์กรควรต้องตระหนัก ในมุมมองของข้าพเจ้า ICT สามารถนำความเปลี่ยนแปลง อย่างมหาศาลมาสู่องค์กรต่างๆ ไล่ตั้งแต่การที่ ICT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่องค์กรต้องรับมือเป็นหลักอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ICT เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบการแข่งขันหรือภาวะตลาด เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยทำให้มีตลาดใหม่ๆเกิดขึ้น รวมถึงทำให้ผู้บริโภคมีรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ๆ เช่นปรากฎการณ์การเกิดขึ้นและเป็นที่นิยม ของตลาดบนอินเตอร์เนต การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นที่น่าดีใจ ที่หลายองค์กรเริ่มตระหนัก และได้ให้ความสำคัญกับแผนรับมือ ผลกระทบของ ICT ในบริบทนี้ ในลักษณะของการขยายบริการออนไลน์ต่างๆ รวมถึงการนำรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่อิงกับโลกอินเตอร์เนตมาใช้มากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี นอกจาก ICT จะนำความเปลี่ยนแปลงในบริบทข้างต้น มาสู่องค์กรแล้ว ยังมีอีกบริบทหนึ่ง ที่องค์กรจำนวนมาก ยังมีความบกพร่อง ในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบ รวมถึงการมีแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และบริบทที่ว่านี้ก็คือ การที่ ICT ก่อให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร” ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่าง ความเปลี่ยนแปลงในด้านแผนทรัพยากรบุคคล เพื่อทำให้องค์กร มีกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน อันเนื่องมาจากการที่ ICT กำลังเพิ่มบทบาท ในทุกขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงสำคัญภายในองค์กร อันมี ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ในขณะที่อายุของเทคโนโลยี ICT ต่างๆสั้นลงทุกที และองค์กรต่างๆ มีความต้องการใช้เทคโนโลยี ICT ที่มีความหลากหลายและในปริมาณที่มากขึ้น แต่องค์กรต้องใช้เวลาอย่างมากมาย เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้มีความสามารถเพียงพอ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากเวลาที่องค์กร ต้องใช้พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ เพื่อสนองตอบความจำเป็นอันเร่งด่วน ที่องค์กรจำเป็นต้องนำ ICT เข้ามาใช้ เพื่อทำให้องค์กร มีความสามารถในการแข่งขัน อันทัดเทียมกับคู่แข่งขัน มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดภาวะปัญหา ที่องค์กรไม่สามารถพัฒนาบุคลากรภายในได้ทัน จนเป็นที่มาของการนำ “ทรัพยากรบุคคลจากภายนอก” (outsourcing) มาใช้ โดยในปัจจุบัน องค์กรต่างๆมีแนวโน้ม ที่จะนำเอาทรัพยากรบุคคลจากภายนอก เข้ามารับมือกับปัญหาบุคลากรภายใน ขาดแคลนความรู้ความสามารถ อันจำเป็นต้องใช้ เพื่อการบริหารจัดการและใช้งานเทคโนโลยี ICT ที่จำเป็นต้องนำมาใช้งานภายในองค์กร มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งฝ่ายองค์กร และฝ่ายบุคลากรภายในองค์กร ย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการเปลี่ยนแปลงนี้ จากตัวอย่างนี้ ชี้ให้เห็นว่า ICT ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ในด้านของการบริหารทรัพยากรบุคคล ในระดับสำคัญ นอกจากตัวอย่างข้างต้น การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ที่มี ICT เป็นตัวแปรต้น ยังมีอยู่อีกมากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของรูปแบบการติดต่อสื่อสาร วิธีการทำงาน ความต้องการการลงทุนด้าน ICT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกที ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจขององค์กร ด้วยตัวอย่าง และความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรอื่นๆ ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น องค์กรต่างๆย่อมต้องการความรู้ความสามารถ ตั้งแต่ในระดับวิสัยทัศน์ ในระดับนโยบาย และจนลงมาถึงในระดับปฏิบัติ อันเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบ ของการนำ ICT มาใช้ในองค์กร อย่างรอบคอบ รอบด้าน และอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจลงทุนนำ ICT มาใช้ โดยมองไปที่ประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว และมองข้ามผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องเตรียมรับมือ จากข้อมูลและเหตุผลทั้งหมดข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า ICT เป็นตัวแปรต้นอันสำคัญ ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ทั้งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร และในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งทั้งหมด เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องตระหนักถึง และนำมาพิจารณาเพื่อหาหนทางรับมือ อย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด โดยสรุปแล้ว การที่องค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน มุ่งหน้าต่อสู่เพื่อความอยู่รอด โดยใฝ่ใจตอบสนองการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร เป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียว ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ หากองค์กรนั้น ไม่สามารถทำความเข้าใจ และไม่อาจรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคปัจจุบันที่ ICT กลายเป็นตัวแปรต้นสำคัญ ที่นำความเปลี่ยนแปลง ทั้งในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอก และในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภายใน มาสู่องค์กร
SenseMaker
หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT จากทั้งสองฝากของเทคโนโลยีซึ่งรวมกันเป็น ICT นั่นคือ ฝากของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากโอกาสทางศึกษา และฝากของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร จากโอกาสทางการทำงาน