Skip to main content

ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกับโดยไม่คำนึงถึงการดำรงอยู่ของ "คนอื่น" บังเอิญช่วงนี้ได้อ่านงานของ Jared Diamond เลยอยากเล่าอะไรให้ฟังครับ ตอนพิเศษนี้ยังไม่มีข้อสรุปนะครับ แค่อยากเล่าให้ฟังครับ

ในรูปที่เห็นชายคนหนึ่งร้องไห้อย่างหวาดกลัวมีเรื่องเล่าว่า เมื่อนักสำรวจทีม Leahy-Dwyer patrol ในปี 1931 จากออสเตรเลียไปสำรวจที่สูงของนิวกินีได้เผชิญหน้ากับชนเผ่าพื้นเมือง ชาวเผ่าซึ่งตัดขาดจากโลกภายนอกและไม่มีความรู้ใดเกี่ยวกับโลกภายนอก โดยเฉพาะเรื่องคนขาวจากยุโรป ชายคนหนึ่งทรุดตัวร้องไห้อย่างหวาดกลัวที่ได้เห็นคนขาวและมีการบันทึกภาพนั้นเอาไว้

เมื่อได้มีการสำรวจความทรงจำของชาวเผ่าเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นมีคำบอกเล่าว่า 

"เมื่อคราวนั้น, คนที่โตกว่า (ชี้ไปที่ชายชราสองคน)--ซึ่งพวกเขาแก่มากตอนนี้--เพิ่งจะเป็นหนุ่ม, ยังไม่มีเมีย พวกเขายังไม่โกน (ผม) เป็นช่วงที่คนขาวมา...ผมกลัวมาก ผมไม่รู้ว่าจะคิดยังไงดี  และร้องไห้อย่างไม่รู้ตัว พ่อจึงฉุดแขนพาผมไปซ่อนตัวหลังพงหญ้าคูไน พ่อยืนขึ้นแอบมองที่คนขาว...เมือคนขาวจากไป, ชาวเรานั่งล้อมวงและพัฒนาเรื่องเล่า ชาวเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับพวกคนขาว ชาวเราไม่ได้ไปไหนไกลๆ ชาวเรารู้แต่ด้านนี้ของภูเขา และเราเชื่อว่าพวกเราเป็นพวกคนเป็น ชาวเราเชื่อว่าเมื่อคนตายผิวคนตายจะเปลี่ยนเป็นขาวซีดและเดินทางไปยัง "ที่นั่น" --ที่ของคนตาย เมื่อคนแปลกหน้า (คนขาว) มาถึง ชาวเราว่ากันว่า "อ้อ คนขาวไม่ใช่คนของโลกนี้ (โลกของคนเป็น) อย่าฆ่าพวกเขาเลย--คนขาวเป็นญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วและร่างเปลี่ยนเป็นผิวขาวซีดและกลับมา" (Diamond, 2012: 58)

จะพูดได้ไหมว่าเขามอง "คนอื่น" ว่าเป็นญาติ

 

 

Jared Diamond. 2012. The World Until Yesterday: What Can We Learned from Traditional Socities?. New York: Allen Lane.

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง