Skip to main content

                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และคุกคามประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง

                กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็น ซากอารยธรรมที่เหลือค้างมาตั้งแต่ก่อนประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ตัวกฎหมายมีเนื้อหาที่ จำกัดสิทธิ และขัดกับระบอบประชาธิปไตยมาก   ซึ่งจะขอเล่าให้เข้าใจกันง่ายๆ ดังนี้

1)      การประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นของฝ่ายทหารโดยแท้ ครั้งนี้ ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยไม่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ

2)      การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เป็นอำนาจของฝ่ายทหาร  หากจำได้สมัยอดีตนายกฯสมัคร เคยประกาศกฎอัยการศึก   แต่ ผบ. ในขณะนั้นแถลงออกโทรทัศน์ว่าจะไม่ใช้อำนาจใดๆ ในการยุติความรุนแรง    แต่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์และรองนายกสุเทพ เทือกสุบรรณ  กองทัพใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามการชุมนุมจนทำให้ผู้ชุมนุม และผู้ไม่เกี่ยวข้อง ตาย! เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน คนเร่ร่อน ฯลฯ

3)      อำนาจในการออกกฎหมายลูกมาจำกัดสิทธิเพิ่มเติมอยู่ในมือของฝ่ายทหาร เช่น การประกาศห้ามออกอากาศ ห้ามเสนอข่าว ห้ามเดินทาง ห้ามอยู่อาศัย ไปจนถึงการยึดสถานที่ต่างๆ   อันเป็นการจำกัดสิทธิอย่างร้ายแรง โดยไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล   ลองเทียบกับรัฐบาลพลเรือน หากจะออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิประชาชนต้องผ่าน รัฐสภา ซึ่งมีการอภิปราย ตรวจสอบหลายขั้นตอน

4)      การกีดกันกระบวนการยุติธรรมออกไปจากพื้นที่ เพราะให้อำนาจทหารตั้งป้อม สร้างด่าน ตรวจกัก ตรวจค้น   ที่ต่างจากการตั้งด่านปกติที่ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดชัดเจน    ทั้งยังมีอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล  และยืดเวลาฝากขังโดยไม่ต้องไปพบศาลได้ยาวนานกว่าปกติมาก แถมยังต่อเวลาได้อีกด้วย   ต่างจากรัฐธรรมนูญและกฎวิธีพิจารณาความอาญา

5)      การเลือกระงับสิทธิของประชาชนบางพื้นที่/บางเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและรายละเอียดที่แน่ชัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นเสียสิทธิหลายประการเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น  คนในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นผู้รับเคราะห์บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เท่ากับพี่น้องใน 3-4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ต้องอยู่กับภาวะนี้ยาวนาน  ครั้งนี้ประกาศใช้ทั้งประเทศ เท่ากับ ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา! ทั้งประเทศ!!!

6)      ในบางกรณีไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย มีหลักฐานชี้มูลความผิดเจาะจงไปที่ใคร แต่ใช้การประกาศหว่านคลุมหลายพื้นที่ หลายถนนเพื่อเข้าคุมพื้นที่ แล้วตรวจค้น จับกุม ประชาชาน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการจับผิดตัว ยัดหลักฐาน ปรักปรำคนผิด  พูดง่ายๆ  “จับแพะ”   หรือ จัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ง่ายๆ

7)      การประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องมีพระบรมราชโองการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  พูดง่ายๆ รัฐบาลต้องชนกับกองทัพในสถานการณ์ที่รัฐบาลรักษาการกำลังโงนเงน

8)      การยกเว้นโทษและความรับผิดทางกฎหมายทั้งหมด พูดง่ายๆ ถ้าเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินกับประชาชน/บริษัทห้างร้านใดๆ   ทหารไม่ต้องรับผิดชอบ   แม้ประชาชนผู้เดือดร้อนจะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจโดยทุจริต เลือกประติบัติ เกินสมควรแก่เหตุ  เพราะทหารทำไปเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากศัตรูภายนอกและภายใน

 

อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่า ภาวะอัยการศึกได้ทำลาย “ความจริง” ลงตั้งแต่แรกเพราะประกาศปิดสื่อได้ทุกรูปแบบ   ทำให้ประชาชนโดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ยากจะพิสูจน์ความจริง ว่า ประเทศกำลังประสบภัยคุกคามจาก "ศัตรู" ของประเทศ จริงหรือไม่   ฤาแท้จริงเป็นเพียงประชาชนผู้ต้องการใช้สิทธิทางการเมืองแต่ไม่ตรงใจกองทัพ?

โดยศึกนี้มี "ต้นทุน" สูงลิบ คือการทำลายอำนาจของ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ลงทันที   โดยมี สิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย เป็น "ดอกเบี้ย"   ที่แพงลิบ!!!

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,