Skip to main content

คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้สร้างกระแสทำเงินในภาคอีสานไปกว่าสิบล้านบาท แถมยังมาพร้อมกับคำวิจารณ์ที่ดีอีกด้วย

                คำสำเร็จนี้เองที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีภาคสองตามมาและตัวหนังเองก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยทีเดียวกับการทำเงินไปกว่า 15 ล้านในภาคอีสาน และกำลังทำเงินในประเทศลาวเป็นหนังทำเงินสูงสุดในตอนนี้ด้วย รายได้นี้ได้สะท้อนให้เห็นภาพอุตสาหกรรมของภาพยนตร์ท้องถิ่นนิยมที่กำลังเติบโตในช่วงเวลาที่วงการหนังไทยกำลังซบเซาอยู่ ณ ตอนนี้ ไม่ใช่แค่เพียงผู้บ่าวไทบ้านเท่านั้น ตอนต้นปีเราก็มีหนังเรื่อง เทริด ของเอกชัย ศรีวิชัยทำเงินในบ้านเกิดนั่นคือ ภาคใต้ของตัวเองเช่นกัน

                หนังท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลานี้ นัยหนึ่งคือ การเป็นหนังที่ทำขึ้นเพื่อเล่าเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยสายตาของคนในพื้นที่จริง ๆ แน่ล่ะว่า มันได้ผลเมื่อดูจากรายได้ของหนังสองเรื่องที่เมื่อเทียบกับการฉายในเมืองหลวงแล้วคนล่ะเรื่องทีเดียว

                กระนั้นเองนอกจากการเข้าถึงคนดูในพื้นที่นั้น ๆ แล้ว หนังพวกนี้ยังมีมุมมองที่สะท้อนภาพของพื้นที่ ผู้คน และสังคมในรอบข้างอย่างน่าสนใจอีกด้วย ซึ่งน่าสนใจกว่าหนังที่ใช้ผู้กำกับนอกพื้นที่ไปทำเสียอีก

                ความน่าสนใจนี้ทำให้ผมตัดสินใจนำหนังเรื่องนี้มาตีความและพาไปให้เห็นว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าอะไรให้กับสังคมของเราได้บ้าง

1. อีสานปัจจุบันทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม

                เมื่อพูดถึงพื้นของภาคอีสาน เราคงนึกถึงภาพของชาวนาที่ทำนากันบนพื้นดินแล้งแค้น ภาพของชาวหนุ่มสาวที่ต้องใช้ชีวิตไปวัน ๆ เมื่อหมดหน้านาก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำทิ้งไว้เพียงพ่อแม่แก่เฒ่าที่คอยดูแลลูกหลานแทน แน่ล่ะว่า นี่คือ ภาพอีสาน เมืองจน ๆ ผู้คนมีชีวิตอย่างไร้ความหวังในสายตาของผู้คนทั่วไป นับจากหนังสือเรื่อง ลูกอีสานออกวางจำหน่ายครั้งแรกในหลายสิบปีก่อน อีสานก็ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย แม้ปัจจุบันเองก็ตาม วงจรชีวิตของคนอีสานยังคงเป็นแบบเดิม พวกเขาเรียนน้อย และต้องใช้ชีวิตไปวัน ๆ ในหมู่บ้านที่ไม่มีอะไร บางคนกลายเป็นบ่าวไทบ้านที่แถวแซวหญิง กินเหล้าไปวัน ๆ หรือ สาว ๆ ก็ทำได้แค่เลี้ยงวัว ช่วยพ่อแม่ทำงานก็เท่านั้นเอง เมื่ออายุมากขึ้นพอทำงานได้ พวกเขาจะต้องลงไปยังเมืองกรุงเพื่อทำงานทิ้งพ่อแม่เอาไว้ในหมู่บ้านนี้และจะกลับมาในช่วงงานบุญเท่านั้น

                นี่คือ หมู่บ้านอีสานที่หนังให้เราเป็นเห็น แม้ว่า พวกเขาจะยิ้มหัวเราะกันมีความสุข แต่มันคือ ความสุขบนความแร้นแค้น ความเจริญของชุมชนเมืองที่ไปกระจุยไว้เพียงเมืองใหญ่ส่งผลให้ลูกหลานคนอีสานต้องเรียนน้อยเพื่อลงไปทำงานในกรุงเทพ เราได้เห็นตัวละครอย่าง วรรณ นางเอกของภาคนี้ที่ต้องเลิกเรียนเพียงม. 3 แล้วถูกพ่อบังคับไปหางานทำในกรุงเทพ นัยยะคือ ต้องการให้เธอเลิกคบกับเคน พระเอกของเรื่องและไม่ให้เธออยู่ในวงหมอลำที่กำลังสร้างขึ้นใหม่

                เหตุผลคือ มันไม่มีอนาคต

                คำว่า ไม่มีอนาคตนั้นคือ ภาพสายตาของคนอีสานยุคเก่าที่มองว่า ช่วงเวลานี้ช่างเลวร้าย พวกเขาไม่มีความหวัง ไม่มีวันฝันเหลืออยู่ ไม่แปลกที่พวกเขาจะตัดสินใจให้ลูกไปทำงานในกรุง หรือ อาจจะให้ลูกแต่งงานกับฝรั่งไปเลยแบบที่แม่ใหญ่แดงทำไป

                แน่ล่ะว่า หนังสะท้อนให้เห็นว่า การกระทำนั้นเกิดจากเหตุการณ์บังคับทั้งสองบ้าน แต่หนังก็ตอกย้ำความรู้สึกนี้ผ่านสายตา ผู้บ่าวและผู้สาววัยชราต้องมานั่งทนทุกข์ นั่งเศร้ากับการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่ทำให้พวกเขาต้องพรากจากลูกหลานไป เรามองเห็นความเศร้านี้ชัดเจนและหนังทำออกมาได้ดีมาก ๆ ในการสื่อถึงภาพความผิดพลาด ความงี่เง่าและทัศนคติคับแคบของผู้ใหญ่ที่นำพาให้หมู่บ้านสองหมู่บ้านใกล้ตายไปทุกวินาที

2. ความตายนำมาสู่การเริ่มต้น

                หนังให้เห็นว่า ชีวิตของคนอีสานในช่วงหลายสิบปีนี้ไม่เปลี่ยนไปเลย (หนังระบุปีว่าเกิดขึ้นในปี 2559) แม้ว่าช่วงเวลาจะผ่านมาจนจะถึงยุค 2560 แล้วก็ตาม สภาพของสังคมอีสานไม่เปลี่ยนเลยสักนิด ภาพของแม่ใหญ่แดงไปหาคนมาร่วมงานบุญแล้วไม่มีใครอยู่ทำให้เรานึกเศร้าใจตามที่เห็นว่า ไม่มีใครอยู่แล้ว ยิ่งคำพูดว่า ตายก่อนหรือเปล่าจะได้เห็นหน้าหลานยิ่งสะท้อนว่า โอกาสที่พวกเขาจะได้เห็นหน้าลูกหลานอีกมันยากแค่ใด แม้จะมีเทคโนโลยี มีไลน์ มีมือถือก็ยังไม่สามารถบรรเทาส่วนตรงนี้ได้เลย หากจะมีวันที่ลูกหลานจะมาพร้อมหน้าคงมีแต่วันที่ตัวเองตายเท่านั้น

                ความตายเป็นสัญญะที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้

                หนังให้ความตายเป็นเสมือนจุดเริ่มต้น มันเริ่มจากแม่ใหญ่แดงตัดสินใจจะทำงานบุญแจกข้าวหาตัวเองที่ปกติแล้วมีแต่ทำให้คนตายเท่านั้น แม้ว่าเป้าหมายของการทำงานบุญนี้จะมาจากความต้องการจะรั้งลูกสาวตัวเองที่กำลังท้องแก่เอาไว้ที่นี่จนกว่าจะคลอดเพราะอยากจะเห็นหน้าหลาน เพราะ แม่ใหญ่แดงไม่รู้ว่า ตัวเองจะตายวันตายพรุ่งหรือเปล่า เธอจึงตัดสินใจแบบนี้ แม้ว่าจะต้องทะเลาะกับไมเคิ่ล สามีฝรั่งของลูกสาวที่อยากให้ฉายหนังมากกว่า แต่แม่ใหญ่แดงกลับอยากได้หมอลำจึงตัดสินใจขี่มอเตอร์ไซด์ไปจ้างหมอลำอีกหมู่บ้านหนึ่งแทน

                ทว่าคณะหมอลำนั้นยุบไปแล้วหลังจากภรรยาของหัวหน้าวงที่เป็นพ่อของเคนตาย แน่ล่ะว่า เคนเป็นตัวละครที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจจะสืบทอดหมอลำต่อเลย เขามีความฝันอยากเต้นโคลเวอร์แดนซ์กับเพื่อน ๆ เขาจึงร้องหมอลำไม่ได้สักนิด และส่งผลให้สถานะของวงง่อนแง่นไร้ผู้สืบทอด

                หากเคนไม่รับสืบทอด วงจะต้องสูญสลาย หรือ นัยยะคือ ตายนั่นเอง

                และเหมือนจะเป็นเรื่องตลกร้ายเมื่อพ่อของเคนตายกะทันหันทำให้เคนต้องมารับหน้าที่เป็นพระเอกแทน ทั้งที่ร้องหมอลำไม่เป็นเลยสักนิดเดียว

                แต่เขาก็ตัดสินใจจะรับสืบทอดหมอลำนี้ไม่ให้มันตายไปพร้อมกับพ่อของเขาด้วย

                หากจะบอกว่า ความตายในเรื่องนี้คือ ผลัดใบเพื่อไปสู่รุ่นต่อไปอาจจะเป็นไปได้ พร้อม ๆ กับเป้นตั้งคำถามสู่อนาคตของผู้คนในท้องถิ่นนี้ด้วย

                น่าสนใจว่า ความตายเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในหมู่บ้านนี้ไม่ใช่น้อย หากพ่อของเคนยังอยู่ พวกวรรณก็คงไม่ได้เข้าวง เพราะ เขามีมาตรฐานหมอลำแบบหนึ่ง (ซึ่งคือ แม่ของเคน) หากจะมองว่า การตายนี้เองเป็นเมล์ดพันธุ์ของการสืบทอดก็ว่าได้

                วัฒนธรรมจะต้องมีการสานต่อ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยคือ สิ่งที่ตายแล้ว หากอีสานถูกแทนที่ด้วยหมอลำ หมอลำยังคงเป็นศิลปะที่ยังคงอยู่และยังได้รับความนิยเสมอมาในแผ่นดินที่ราบสูงแห่งนี้ (ผมได้ยินว่า วงหมอลำทำเงินได้มากมายจนคิวแสดงไปถึงปีหน้าหลายวงทีเดียว) ศิลปะหมอลำเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุนี้ ไม่แปลก มันจะถูกนำมาใช้เป็นสัญญะของความหวังที่หนังเรื่องนี้นำเสมอด้วย

3. ความหวังและการเกิดใหม่

                แม้อีสานในเรื่องจะมีสภาพแร้นแค้น ไม่มีชีวิตชีวา มีแต่แดงร้อน หญ้าตายใด แต่น่าแปลกที่เรามีความหวังกับมันได้เสมอมา

                หนังเรื่องนี้พาเราไปมองเห็นความหวังที่ว่านั้นผ่านกำเนิดเกิดใหม่ของวงดนตรีหมอลำที่เคนกับวรรณและเพื่อน ๆ ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่กลายเป็นวงใหม่ที่สืบทอดตำนานของวงเดิมเอาไว้ไม่ให้สูญหายขณะเดียวกันก็พัฒนาต่อยอดวงให้ไม่ล้าสมัยและกลายเป็นร่วมสมัยไปแทบพร้อม ๆ กัน

                เพราะนี่คือ วงหมอลำที่เกิดจากคนหนุ่มสาวนั่นเอง

                คนหนุ่มสาวที่ถูกปฏิเสธว่า พวกเอ็งไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ครึ่งของพวกของเก่าหรอก บางคนโดนต่อว่าว่า ไม่เหมาะกับงานนี้ไปทำอย่างอื่นเถอะ สิ่งเหล่านี้คือ หนามยอกอกที่เกิดขึ้นกับทุกศิลปะในประเทศแห่งนี้ ผู้ใหญ่มักจะอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิมโดยไม่ได้มองโลกใบนี้ไปถึงไหนแล้ว พวกเขาหวังแค่อยากให้มันเหมือนแบบเก่าจนลืมไปว่า การหยิบสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นไปไว้ในฐานะของเหมือนเดิมนั้น ไม่ต่างกับการแช่แข็งการพัฒนาเอาไว้ด้วย หนังจึงสะท้อนภาพให้เห็นว่า เมื่อไม่มีผู้ใหญ่แล้ว เด็กจึงเข้ามารับสืบทอดส่วนตรงนี้พร้อมกับพัฒนาตัวศิลปะตัวนี้ขึ้นมาให้ยังคงอยู่ในแบบตัวเอง

                ผมมีความเชื่อว่า หมอลำในยุคนี้กับเมื่อหลายสิบปีก่อนแตกต่างกันแน่นอน แต่นั่นเป็นเพราะการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสมัย ไม่ใช่ล้าสมัย เมื่อเข้าสมัยแล้ว ศิลปะจะอยู่ได้ต่อไปและเป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น

                หมอลำเป็นมิตรกับคนดูมากและเข้าถึงประชาชนในอีสานจริง ๆ ไม่แปลกที่ฉากสุดท้ายของหนังสะท้อนให้เห็นการเกิดขึ้นใหม่ของหมอลำวงนี้อันเป็นการบอกว่า ความหวังใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว

                ในขณะที่ผู้ใหญ่มองไม่เห็นความหวังผืนแผ่นดินนี้ บางคนขายที่นา บ้าน ลงไปยังเมืองหลวงไปอยู่กับลูกหลานที่พวกเขาส่งไปแบบไม่หวนกลับมา บางคนหลงอยู่กับเรื่องความแค้นไร้สาระในอดีตจนทำลายน้ำใจลูก หรือ บางคนผิดพลาดที่ส่งลูกหลานไปหาผัวทั้งที่ตัวเองไม่มีใครดูแล สิ่งเหล่านี้ถูกเล่าควบคู่กับหนังอย่างน่าสนใจว่า หรืออนาคตของอีสานจะไม่ได้อยู่ในมือของคนแก่พวกนี้แต่อยู่กับบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมานี่แหละ

                ภาพของวงดนตรีหมอลำที่คืนชีพ ภาพของหลานของแม่ใหญ่แดงที่กำลังลืมตาดูโลกนั้นเป็นเสมือนเครื่องบอกย้ำว่า หมดเวลาคร่ำครวญกับอดีตแล้วมุ่งหน้าสู่อนาคตที่พวกเขาสร้างมันขึ้นมาได้

                ไม่จำเป็นต้องเข้าเมืองหลวงแบบเพลงขายแรงงานทั้งหลายชอบร้อง ไม่ต้องนั่งคร่ำครวญว่า อีสานแห้งแล้ง หรือ ยากจน อนาคตจากนี้คือ เรื่องราวของพวกเขาเหล่าหนุ่มสาวแห่งที่ราบสูงที่จะนำพาอีสานไปสู่เส้นทางใด

                รู้แต่เพียงนี่คือ อนาคตที่พวกเขาต้องกำหนดเองต่างหาก

                ประดุจบทเพลงหมอลำที่นำเสียงเพลงของพวกเขามุ่งหน้ากันต่อไป

               นี่คือ ภาพยนตร์ไทยที่ทำมาเพื่อสะท้อนให้เรามองเห็นความหวังเล็ก ๆ ในดินแดนแห่งนี้และควรค่าแก่การไปชมอย่างยิ่งครับ 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ
Mister American
สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน           “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”บักมืด 
Mister American
                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อ
Mister American
            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อ
Mister American
                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง                   กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด
Mister American
                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เ
Mister American
พึ่งจบกันไปหมาด ๆ สำหรับอนิเมชั่นเรื่องดังประจำซีซั่นนี้อย่าง Lycoris  Recoli จากค่าย A-1 Picture ที่นอกจากจะเป็นม้ามืดประจำซีซั่นนี้ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนแซงหน้าบรรดาอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ไปแบบไม่มีกังขา โดผลโหวตจากสำนักอนิเมชั่นต่าง ๆ โหวตให้เรื่องนี้อยู่
Mister American
“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”
Mister American
คงไม่ต้องบอกว่า ณ ช่วงเวลานี้ หลาย ๆ คนคงให้ความสนใจกับการชุมนุมของบรรดาหนุ่มสาววัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขับไล่เผด็จการ และ เปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของการชุมนุมที่เกิ
Mister American
               “จูออน คือ คำสาปของผู้ที่ตายด้วยความเคียดแค้น ณ สถานที่ที่ตาย ผู้ที่เผชิญหน้ากับมันจะต้องตาย และ คำสาปแช่งใหม่จะถือกำเนิด”
Mister American
“เสียงปืนที่ดังขึ้นภายในงานเลี้ยงของกำนันผู้มีอิทธิพลในจังหวัดเชียงรายดังขึ้น ร่างของกำนันคนดังล้มลงกองกับพื้น หลังจากพึ่งรับตำแหน่งได้ไม่นาน เสียงหวีดร้องของผู้คนในงาน เสียงร่ำไห้ และ ความตื่นตะลึงเกิดขึ้น มือปืนยืนนิ่งอยู่ตรงหน้าของศพที่แน่นิ่งจมกองเลือดอย่างไร้ซึ่งอารมณ์ ข