Skip to main content

มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)

                ฝรั่งเศสซึ่งมีแก่นแกนของรัฐอยู่ที่การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คน ส่งเสริมความเสมอภาคของบุคคลแม้จะมีที่มาและเชื้อชาติศาสนาที่แปลกแตกต่างกันไป บนพื้นฐานของความเข้าอกเข้าใจในความจำเป็นของเพื่อมนุษย์ที่ในบางสถานการณ์จำต้องอพยพย้ายถิ่นฐานของมาที่หนีภัยออกจากประเทศบ้านเกิด

                มีการสำรวจข้อเท็จจริงในข่าวกีฬาหรือสารคดีทางสังคมจำนวนมากที่บอกสัดส่วนให้เห็นอยู่แล้วว่าหากตัดกลุ่มนักเตะอพยพออกจะทำให้โฉมหน้า 11 ตัวจริงเปลี่ยนไปชนิดที่ไม่เหลือเค้าเดิมของทีมเลอเบลอส์ที่โลดแล่นในฟุตบอลโลก 2018 หรือแม้แต่ย้อนไปเมื่อครั้งได้แชมป์สมัยแรกในปี 1998 ก็มีนักเตะอพยพเกินครึ่งเช่นกัน

                ปรากฏการณ์นี้ให้บทเรียนอะไรกับเรา โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศ การควบคุมดุแลคนเข้าเมือง หรือพูดอย่างถึงที่สุด คือ การบริหารจัดการประชากรเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของประเทศท่ามกลางอีกสถานการณ์ที่รุกเร้ารัฐไทยนั่นคือ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีทายาทน้อยลง

มิพักต้องพูดถึงปัญหาที่ซ่อนอีกประการ คือ ลูกหลานคนไทยยุคใหม่ไม่ต้องการประกอบอาชีพ สกปรก อันตราย และไร้เกียรติ

                กีฬาฟุตบอลโดยเฉพาะการแข่งขันของ “ทีมชาติ” ย่อมสะท้อนเรื่องนี้ได้อย่างถึงแก่น

                กล่าวคือ ทีมที่เข้าแข่งขันนั้นต้องเป็นตัวแทนของประเทศ มีสัญชาติของรัฐเพื่อให้เกิดสิทธิในการลงเล่นให้ทีมชาติเหล่านั้น  แต่ที่ลึกไปกว่านั้น เราจะเห็นถึงระบบการสร้างเยาวชนนักฟุตบอลตั้งแต่วัยเยาว์ที่ประกอบไปด้วยเด็กซึ่งได้สัญชาติมาตามนโยบายของรัฐนั้นๆ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้อพยพถือสัญชาติอื่นก็ตาม

                ข้อคัดค้านที่มีเสมอคือ ถ้ายอมให้ผู้อพยพเข้ามา ไม่กลัวล้นประเทศหรือ จะควบคุมอาชญากรรมอย่างไร จะเข้ามาแย่งงานไหม หรือถ้าต้องให้สิทธิสวัสดิการ จะเอาที่ไหนไปจัดให้เขา 

ขอตั้งต้นอย่างนี้นะครับ

                ในโลกหลังสมัยใหม่ ความสามารถในการข้ามพรมแดนย่อมมีมากกว่าในอดีตอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีจำนวนมากก็ช่วยให้รัฐควบคุมชายแดนหรือประชากรได้มากขึ้นเช่นกัน ระบบเอกสารหรือตรวจนับคนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่สิ่งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญไปด้วย คือ ขาดกำลังแรงงานในภาคการผลิตและบริการที่จำเป็น “ในราคาประหยัด”

                เราจะตอบสนองเป้าหมายทั้งสองที่ดูเหมือนจะขัดกันได้อย่างไร ไม่ให้กระเทือนชีวิตหรือแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกของผู้รักชาติ ย่อมเป็นประเด็นสำคัญในการเมืองร่วมสมัย ดังที่จะเห็นแนวโน้มของการใช้นโยบายเรื่องผู้อพยพเป็นเครื่องมือหาเสียงมากขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศ

                ว่ากันด้วยเรื่องความมั่นคงก่อน การวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมประชากร พบว่า ความสามารถในการตรวจนับเขาสู่ระบบ และสร้างประสิทธิภาพในการสอดส่องจับจ้องผู้ต้องสงสัย คือ เครื่องมือสำคัญในการรักษาความมั่นคง ป้องกันอาชญากรรม หรือในบั้นปลายคือติดตามจับกุมอาชญากรมาดำเนินคดี

                ดังนั้นการมีผู้อพยพที่ลักลอบเข้าเมืองโดยที่รัฐไม่พัฒนาระบบในการลงทะเบียนตรวจนับ เพื่อสร้างกลไกในการติดตามบุคคลต่างหากที่เป็นรูลอดให้องค์กรอาชญากรรมสอดทะลุเข้ามาดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการปล่อยให้เรื่องผู้อพยพเป็นสิ่งซุกซ่อนใต้พรม เพราะจะทำให้คนเหล่านั้นเข้าสู่อาชีพหรือกิจกรรมผิดกฎหมายสร้างรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้แสวงหาประโยชน์โดยทุจริต และกลายเป็นเสาค้ำยันองค์กรอาชญากรรมไปด้วย

                หลายประเทศจึงเลือกที่จะทำให้ขึ้นมาอยู่ในที่สว่าง มีการดำเนินการที่ชัดเจนตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส

                ในประเด็นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมไทยเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆว่าอาชีพที่ผู้อพยพทำนั้นล้วนมีความเสี่ยงและได้ผลตอบแทนต่ำจนคนไทยเลือกที่จะไม่ทำ หากขาดแรงงานข้ามชาติอาจทำให้สายพานการผลิตชะงักงัน 

เรื่องที่สำคัญกว่า คือ แรงงานอพยพเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยให้เสื่อมคุณภาพเสียชื่อเสียงต่อแบรนด์ไทยหรือไม่ เช่น อาหารไทยที่รสชาติแปร่งปล่าเพราะว่าใช้เชพจากต่างประเทศ หรือร้านค้าที่เปลี่ยนวิถีการให้บริการผิดแผกไปจากกลิ่นอายไทยแท้

จากการลงพื้นที่สำรวจวิจัยพบว่า ร้านที่มีลักษณะเปลี่ยนไปในเชิงคุณภาพนั้นก็ด้วย 2 สาเหตุใหญ่ คือ

  1. ไม่ได้มีการรักษาคุณภาพ เช่น เจ้าของไม่ได้เฝ้าร้าน เปิดแฟรนไชส์ไปหลายสาขาจนยากควบคุม หรือไม่มีการส่งมือดีไปชิม ไปบริหารอย่างใส่ใจในรายละเอียด
  2. การเข้ามาของทุนต่างชาติที่แผ่อิทธิพลมากขึ้นผ่านกำลังเงินมหาศาล เช่น การมาซื้อกิจการต่อจากคนไทยแล้วเอาไปทำเองจนเพี้ยนไป เสมือนไปกินร้านอาหารไทยในต่างแดนที่มีเจ้าของไม่ไทย เป็นต้น

ปัญหามิใช่ตัวแรงงาน แต่เป็นปัญหาที่ผู้ควบคุมคุณภาพเสียหรือที่โหดร้ายกว่านั้น คือ การซื้อห้างร้านนั้นไปเพื่อบังหน้ากิจกรรมผิดกฎหมายอื่น แล้วทำการฟอกเงินผ่านตัวเลขที่ปั้นแต่งโดยอาศัยชื่อเสียงเก่าของร้านนั้นๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บั่นทอนทั้งความมั่นคงของรัฐและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของชาติ

                เราเลือกได้ว่าจะดึงดูดใครเข้าประเทศและควบคุมใครมิให้ทำร้ายชาติ

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,