Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

นาโก๊ะลี
เมื่อเราเด็กๆ เราจำได้อยู่ว่า ในหมู่บ้านของเรา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ด้วยสายตาของเด็ก เราจะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบตัวนั้นใหญ่โต เส้นทางแต่ละทางมันก็ยาวไกล กระนั้นเราก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับความไกลและใหญ่โตนั้นเสมอ เป็นต้นว่า เดินไปโรงเรียน เดินไปลำห้วยท้ายหมู่บ้าน หรือเดินไปไร่ไปนา สิ่งสำคัญที่อยากจะเล่าเอาไว้ก็คือ ช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะไปไหน เราก็เดินไป ไม่ใช่เฉพาะเราเด็กๆ เท่านั้น ผู้ใหญ่เอง หรือคนเฒ่าคนแก่ก็เดิน ไปไร่ไปนาก็เดิน ขึ้นเขาหาหน่อไม้ก็เดิน ไปตลาดเท่านั้นถึงจะนั่งรถไป หรือกระทั่งบางครั้งก็ยังได้เคยซ้อนท้ายจักรยานคนเฒ่าไปตลาด นั่นคือช่วงเวลาที่ชีวิตเราง่ายเหลือหลาย อยากไปไหนเราก็ไปทันทีทันใด โดยไม่ต้องรอ จะรอก็แต่รอเพื่อนเท่านั้น
แพร จารุ
ถ้าฉันพูดว่า อย่าเอาดอกไม้มาให้ฉันถ้าเธอไม่ได้ปลูกเอง เธออย่าโกรธฉันนะ ฉันจะเล่าให้เธอฟัง วันหนึ่งก่อนฤดูฝน ฉันเดินทางไปหมู่บ้านหลังดอยอินทนนท์  ฉันพบผู้ชายคนหนึ่ง เขาพูดว่า"เอาดอกไม้ของฉันออกจากหน้าอกเธอ"หนุ่มใหญ่คนหนึ่งพูดขึ้น หญิงสาวมีสีหน้าแปลกใจคงสงสัยว่าเธอทำอะไรให้เขาไม่พอใจ จึงไม่ยอมเอาดอกไม้ออกจากกระเป๋าเสื้อ "เอาออกเถอะ" เขายืนยันอีกครั้ง แต่หญิงสาวยังไม่ทำตาม ยังคงเอาดอกไม้เหน็บในกระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกต่อ ในที่สุดเขาก็บอกว่า " มันอันตราย ดอกไม้ฉันมีแต่ยา"
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เป็นการป้องกันวัวควายตกลงมาขณะรถวิ่ง พื้นที่ส่วนนี้ประมาณ 3 ไร่ ใกล้กันนั้นมีสุ่มไก่วางเต็มลานดิน บางคนอุ้มไก่ บางสุ่มมีไก่ขังไว้ ที่นี่เป็นตลาดไก่ชน มีหลายราคาแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อชมจนพอใจก็เดินขึ้นทางทิศเหนือแล้วเลี้ยวขวา จะพบสถานที่ขายรถจักรยานยนต์ จอดเต็มพื้นที่ราดคอนกรีต หลังคาสูง ประมาณสี่คูหา ที่ติดกันเป็นร้านขายรถจักรยานอีก 1 คูหา มีคนสนใจมากพอๆกับรถที่จอดรอซื้อขาย
ชาน่า
กลับมาเมืองไทยแล้ว มีโอกาสได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้นค่ะ เป็นแฟมิลี่เกย์ซะส่วนมาก เพราะครั้นจะเดินทางไปไหนมาไหนก็ต้องดูแลตัวเอง กินร้อน ช้อนกลาง ปิดหน้าบังตา มันทำให้อึดอัด มาปีนี้ไม่มีโครงการทำอะไรนอกจากเขียนหนังสืออีกเล่มที่เกี่ยวกับคนหลายเพศ เป็นประสบการณ์ต่างแดนที่ไม่มีในเมืองไทย ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรต้องติดตามตอนต่อไปนะคะ เล่มนี้จะส่งมอบให้สำนักพิมพ์ค่ะ ไม่ต้องทำเองให้เหนื่อย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
อยู่ดาก้าเพียง 2 วัน มันถูกส่งขึ้นดอยแดนดงป่า อีกแล้ว (ตรงนี้เพื่อนผมอุทธรณ์ว่า เหมือนอยู่เมืองไทยไม่มีผิด กำ) “ต้องไปเมืองอะไรครับ” เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการถาม ‘จิตตะกอง’ “โห โหดน๊า” นั่นหมายถึงคำปลอบโยน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ข้าแด่พระเจ้า ข้าพระองค์ ไม่ปรารถนาจะให้พระองค์ประทานทุกอย่าง ที่ใจของข้าพระองค์ปรารถนา
ontheland
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ออกแถลงการณ์สนับสนุน กลุ่มผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินกรณีการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ชาวบ้านนานกว่า 30 ปี และขอให้กำลังใจในการปกป้องที่ดินจากการขับไล่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)       แถลงการณ์ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 1 สนับสนุนชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ทวงผืนดินและสิทธิชุมชนกลับคืนสู่ชุมชน     กว่า 33 ปีที่ชุมชนเป็นฝ่ายถูกกระทำด้วยอำนาจการจัดการโดยหน่วยงานของรัฐอย่างขาดการมีส่วนร่วม  ละเมิดสิทธิชุมชน ทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ อ้างกับสังคมในการเพิ่มพื้นที่ป่า แท้ที่จริงหวังผลเพียงเงินตราที่ได้จากการขายเนื้อไม้และคาร์บอนเครดิต จากไม้ยูคาซึ่งเป็นไม้ที่ดูดกลืนแร่ธาตุทรัพยากรในดินอย่างมาก และคนที่ได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่คนในท้องถิ่น ให้ความสำคัญคนและชุมชนน้อยกว่าเงินตรา                 โดยหลักแห่งผืนดินไม่อาจเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง มีเพียงสิทธิจากการใช้ประโยชน์คือการปลูกสร้างทำกินอย่างสมดุล และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 ชุมชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งระบบสิทธิในที่ดินในรูปโฉนดชุมชน เป็นสิทธิเชิงซ้อน สิทธิรวมหมู่ ที่ดินเป็นของชุมชน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง  เป็นแนวทางที่จะทำให้ชุมชนทั่วประเทศสามารถรักษาพื้นที่ทางการเกษตร ไว้เพื่อทำการผลิตหล่อเลี้ยงชุมชนและสังคมไว้ได้                 การเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดั้งเดิมของตนด้วยวิธีการจัดสิทธิในที่ดินโดยชุมชน ของชาวชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จะเป็นจุดเริ่มหนึ่งของกระบวนกระจายสิทธิในที่ดินอย่างเป็นธรรมแก่คนไทยทั้งประเทศ รวมถึงการรักษาพื้นที่ทางการเกษตรไว้แม้เพียงส่วนน้อยนิด ก็จะเป็นชุมชนต้นกล้าอีกชุมชนหนึ่ง ปฏิรูปที่ดินทั้งในเรื่องสิทธิและการทำการผลิตโดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำประโยชน์ในที่ดินอย่างยั่งยืนต่อไป                 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดชัยภูมิ และองค์กรประชาธิปไตยจังหวัดชัยภูมิ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจพี่น้องชาวชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในการปกป้องที่ดินจากการขับไล่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.) ในครั้งนี้                                                                   21 กรกฎาคม 2552                                                            ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ   ---------------------------------------------------------------------------------------------------  ติดต่อ : ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ เลขที่ 383/226-7 ถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ontheland
         สืบเนื่องจากที่กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ทำกินของชาวบ้าน ประมาณ 150 ครอบครัว ได้เข้าปักหลักชุมนุมตรวจสอบในพื้นที่ในบริเวณสวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ อย่างสันติ เป้าหมายของการชุมนุมครั้งนี้คือ ต้องการปักหลักในพื้นที่ทำกินเดิมของตนเองและหาช่องทางเจรจากับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และได้มีการสร้างที่พักอาศัยเป็นชุมชนเพื่อที่จะชุมนุมอยู่นานจนกว่าจะได้รับคำตอบจากรัฐบาลในการยกเลิกสวนป่าและนำที่ดินมาจัดการโดยประชาชนในรูปแบบ “โฉนดชุมชน”          เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้(20 กรกฎาคม 2552 ตัวแทนชาวบ้านประมาณ 50 คนได้เข้ายืนหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ผ่านปลัดอาวุโสรักษาการนายอำเภอคอนสาร และได้พูดคุยกันถึงเรื่องการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งทางปลัดอาวุโสได้รับปากว่าจะไม่มีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมกันนี้ ตนได้ประสานงานไปยังกำนันตำบลทุ่งพระให้อำนวยความสะดวกในด้านการจัดหายารักษาโรคเบื้องต้นและน้ำดื่มสะอาดให้แล้ว           ตกเย็น ประมาณ 16.00 น เจ้าหน้าที่สวนป่าสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ภายในจังหวัดชัยภูมิได้นำกำลังประมาณ 100 นายเข้ามาปักหลักใกล้กับบริเวณที่ชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรที่เดือดร้อน ทั้งบริเวณทางเข้าและออกทั้งสองด้านของบริเวณชุมนุม          ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ตอนนี้ กลุ่มชาวบ้านยังคงยืนยันจะปักหลักในเขตสวนป่าฯ จนกว่าจะได้รับคำตอบตามข้อเรียกร้อง ส่วนเจ้าหน้าที่สวนป่าฯ ได้สลายกำลังออกจากพื้นที่แล้ว มีเพียงเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ยังคงขับรถตระเวนตรวจสอบความเรียบร้อยไปมารอบๆ บริเวณที่ชุมนุมของกลุ่มชาวบ้านเป็นระยะๆ
suchana
            ช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมามีน้องๆเยาวชนในนามของกลุ่ม “โหมเรารักษ์จะนะ”ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ร่วมกันจัดค่ายเยาวชนโหมเรารักษ์จะนะครั้งที่ 2 “ตามหาชายหาด...หายไป”ขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2552 ณ บ่อโชนรีสอร์ท ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากที่มีการจัดค่ายเยาวชนครั้งแรกไปเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เวลานั้นเป็นค่าย“ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ”             เช้าวันที่ 7 กรกฎาคมน้องๆสามสิบกว่าชีวิตจากหลายหมู่บ้านและหลากหลายโรงเรียนได้เดินทางมารวมตัวกัน ณ ศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ  น้องเล็กสุดก็ประถมห้าประถมหก พี่สุดกำลังศึกษาปริญญาตรีเพื่อเตรียมออกเดินทางไปยังริมทะเลตำบลสะกอม             ความคาดหวังของเยาวชนในการจัดค่ายครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้ประการณ์ใหม่ๆ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับชายหาดและท้องทะเล   เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับท้องทะเล ค้นหาที่ทำให้ชายหาดหายไป  ที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ทะเลบ้านเรา  ส่วนหนึ่งค่ายนี้ถือเป็นค่ายพัฒนาการของน้องๆโหมเรารักษ์จะนะจากค่ายที่หนึ่งในฐานะผู้เข้าร่วมค่าย  แต่ในครั้งนี้ขยับบทบาทเป็นผู้ออกแบบและเป็นพี่เลี้ยงค่าย  ผู้ปกครองที่ทำหน้าพี่เลี้ยงค่ายแรก สำหรับค่ายนี้เป็นฝ่ายสนับสนุน อำนวยความสะดวกและเฝ้าดูการเติบโตของเด็กๆ             หลังจากทำความรู้จักและประมวลความคาดหวังของการมาค่ายคราวนี้แล้ว  น้องๆเริ่มกระบวนการเรียนรู้วิถีประมงพื้นบ้านและชายหาดบ้านสะกอม  นายเจ๊ะหมัด สังข์แก้ว  จากบ้านบ่อโชน ตำบาลสะกอมถ่ายทอดเรื่องราวของชายหาดในอดีตว่า เดิมทีชายหาดแถวนี้สวยงาม จากชายฝั่งถึงท้องทะเลมีหาดทรายกว้างยาวทอดขวางอยู่ ริมชายหาดมีต้นสนเป็นทิวแถว ชาวบ้านจะทำมาหากินบริเวณริมชายหาดหาหอยเสียบ รุนกุ้งเคย  แต่หลังจากที่เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดทำให้กระทบการทำมาหาของชาวบ้านในพื้นที่ พันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิดลดน้อยลง             นายสาลี มะประสิทธิ์  ผู้ใหญ่แห่งบ้านโคกสัก ถ่ายทอดถึงความเปลี่ยนแปลงของชายหาดเริ่มอย่างรวดเร็วตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นที่ปากคลองสะกอม โดยกรมการขนส่งทางน้ำพาณิชนาวี ตั้งแต่ประมาณปี 2541 เป็นตั้งต้นมา ชายหาดสะกอมถูกน้ำกัดเซาะอย่างรุนแรง และพังทลายลงถึงปัจจุบันกัดเซาะลึกประมาณ 80 เมตร ระยะทางยาวกว่า 3 กิโลกรัม จากบ้านบ่อโชนบ้านโคกสักตลอดแนวยาวถึงตลิ่งชัน สำหรับบ้านโคกสักวันนี้คลื่นซัดใกล้ถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ศาลเอนกประสงค์ของหมู่บ้านที่อยู่บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ถูกคลื่นกัดเซาะจนพังทลาย  ที่สถานที่แห่งนี้เองที่ดินถูกกัดเซาะไปเนื้อที่หลายไร่ชายหาดขาวสะอาดถูกแทนที่ด้วยหาดหิน นายสาลีเล่าว่าธรรมชาติของคลื่นมีการพัดพาทรายขึ้นลงเป็นธรรมดาอยู่แล้ว  แต่ไม่ก่อให้เกิดการกัดเซาะ แต่หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นกั้นทรายที่ปากคลองสะกอมทำให้กระแสคลื่นเปลี่ยน ที่สำคัญเขื่อนดังกล่าวไม่สามารถกั้นทรายตามที่กรมเจ้าท่าฯตั้งใจไว้ เพราะกรมเจ้าท่าฯยังต้องใช้รถมาดูดทรายบริเวณนั้นทุกปี             ด้านนายดลรอหมาน โต๊ะกาหวี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ่อโชน  เล่าถึงความสำคัญของชายหาดอีกแง่มุมหนึ่งว่าชายหาดเป็นที่วิ่งเล่นและพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน  สมัยก่อนเด็กๆและผู้ใหญ่จะมีพักผ่อนบริเวณริมชายหาดเด็กๆมีการละเล่นมากมาย เป็นการสร้างความผูกพันธ์ภายในครอบครัว และยังเล่าให้น้องๆฟังว่าตัวแทนชาวบ้านสะกอมได้ร่วมกันฟ้องร้องกรมขนส่งทางน้ำฯต่อศาลปกครองสงขลาให้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชายหาด เพราะไม่ต้องการให้ชายหาดเกิดความเสียหายมากกว่านี้ ช่วงบ่ายน้องๆฝ่าเปลวแดดที่ร้อนแรงไปยังริมชายหาดบ้านสวนกง   ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ บริเวณชายหาดใกล้กับศูนย์วิจัยทางทะเลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งปัจจุบันถูกทิ้งร้างไว้ น้องๆชาวค่ายล้อมวงริมหาดคุยกับชาวประมงที่นั้น จากสายตาที่มองเห็นชายหาดบริเวณนี้ยังอยู่ในสภาพที่ทอดยาวสวยงามไม่ถูกกัดเซาะแบบตำบลสะกอม  จากการถ่ายทอดเรื่องราวของชาวประมงบ้านสวนกงทำให้รู้ว่าต้นตระกูลเดิมที่มาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้เป็นชาวจีน ชื่อ “แปะกง “ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อบ้าน”สวนกง” จากคำบอกเล่าอดีตชายฝั่งทะเลบ้านสวนกงทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก ต่อมาช่วงประมาณ 10-15ที่ผ่านมามีเรือประมงประเภทอวนลากอวนรุนเข้าทำการประมงส่งผลให้ทรัพยากรลดน้อยลง ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ ต่อมาคนในชุมชนเกิดความคิดที่จะฟื้นฟูท้องทะเลให้คืนความอุดมสมบูรณ์ เพื่อจะได้กลับมาทำมาหากินในชุมชนตนเอง  จึงคิดถึงการทำปะการังเทียม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งหลังจากการทำปะการังปรากฎว่าทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำในท้องทะเลเพิ่มมากขึ้นทำให้ชาวบ้านสามารถกลับมาทำประมงได้อีกครั้ง นอกจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลแล้วยังมีการจัดการขยะในชุมชน แต่น่าเสียดายที่ขาดความต่อเนื่อง   และช่วงเวลาสิบที่ผ่านมาสมาชิกในชุมชนยังทำการรณรงค์การปลูกต้นไม้ในชุมชนเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ระยะยาวซึ่งตอนนี้บางส่วนได้ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ที่ปลูกแล้ว              ณ วันนี้ชาวบ้านสวนกงส่วนหนึ่งหวั่นวิตกกับกระแสข่าวที่ว่าท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งใหม่จะเกิดขึ้นที่นี้ ซึ่งหมายถึงชายหาดอาจต้องถูกทำลายไปเช่นที่ตำบลสะกอม นั่นหมายถึงวิถีการทำมาหากินของชาวประมงจะกระทบไปด้วย              ยามค่ำคืนนั้นน้องๆได้นั่งล้อมวงรอบกองไฟและบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง บทกลอน บทเพลงและศิลปะภาพวาดที่ถ่ายทอดจากหัวใจของเด็กๆ บ้านสวนกงปลูกไม้ไว้ทดแทน                          ผู้ใหญ่ท่านหวงแหนเป็นหนักหนา ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์นานา                           คนในถิ่นศึกษาน่าจดจำ ทั้งต้นย่างยางนำมาอุดเรือได้                          มะพร้าวกล้วยลำเพ็งไว้เก็บเกี่ยวผล ต้นวาหรือมังคุดป่าช่างน่ายล                                ทิ้งให้ชนรุ่นหลังได้ดูแล ส่วนต้นเค็ดเมล็ดใช้ซักผ้า                               ผลนั่นหนาย้อมศีรษะงามเกศี นำลำต้นทำรั้วหนามหลายบ้านมี                           หนามเค็ดนี้ถ้าโดนตำปวดถึงใจ กระถินไซร้ได้พันธุ์มาจากฉลุง                         เราบำรุงกินกล้วยป่าน่าพิสมัย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทานกันไว                              ทั้งพวกไก่พฤกษามาพึ่งพิง ทั้งโท๊ะเหมรอออกผลชนได้กิน                         เป็นทรัพย์สินธรรมชาติมาตรฐาน ใครมาซื้อไม่ขายได้ประโยชน์นาน                           รักษาไว้ให้ลูกหลานได้ชม แต่วันนี้ท่าเรือใหญ่จะมาตั้ง                            เยาวชนช่วยรั้งโครงการนี้ ต่อไปคงมีแล้วเขียวขจี                                         ทุกพื้นที่สวนนานาเขาเข้าครอง ในค่ายนี้โหมเรารักษ์จะนะ                              พวกเราจะเชิญชวนเพื่อนทั้งผอง ผนึกแรงกำลังของพี่น้อง                                      ร่วมปกป้องความสมบูรณ์ของบ้านเรา และสื่อสารผ่านบทเพลงรักบ้านเกิด             ..รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง          รู้ว่าเหนื่อยแต่อยากได้ของที่สดสวย            ยังไงก็ต้องขอร่วมด้วยช่วยกัน        ได้เกิดมาเป็นคนทั้งที ยังไงต้องทำมันดีสักวัน    อยากปกป้องต้องเสี่ยง     ไม่อยากให้บ้านเราเป็นเพียงความฝัน         ลำบากลำบนมาหลายปี            ตรากตรำยังไงก็คิดที่จะทำ            ก็ดีกว่าปล่อยให้มันเสื่อมสูญ         ก็เพราะรักบ้านเราจริงๆ    รักจริงๆก็ต้องช่วยกัน..       เช้าวันรุ่งขึ้นน้องๆช่วยกันระดมความคิดเห็นว่าอนาคตอยากให้ชายหาดเป็นอย่างไรและจะทำอย่างไรกันได้บ้าง  น้องๆทั้งหมดคาดหวังว่าอยากให้ชายหาดขาวสะอาดมีน้ำทะเลใสๆ ไร้ขยะ   ให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ เหมือนในอดีต   ไม่อยากให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นบริเวณชายหาดและทะเล  อยากให้ปู ปลาหมึกกลับมาวางไข่ใกล้ๆชายฝั่ง  ไม่อยากให้นายทุนมาสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทำลายระบบนิเวศน์ชายทะเลของเรา อยากให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชายหาดย่างจริงจัง อยากให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว  และที่สำคัญอยากให้อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ป่าสันทรายและชายหาด  ให้มีชายหาดที่สวยงามนี้อยู่คู่โลกใบนี้ตลอดไป เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป  โดยเด็กๆจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆที่สามารถทำเอง เช่นเก็บขยะริมชายหาดไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด    ช่วยกันรณรงค์ให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรัก  จัดกลุ่มเยาวชนขึ้น เพื่อรักษาชายหาดและป่าสันทราย บอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้และสัมผัสให้คนอื่นๆได้รับรู้ นี่คือสัญญาใจของค่ายโหมเรารักษ์จะนะในครั้งนี้ เพื่อตามหาชายหาดที่หายไปให้กลับคืนมาสู่ผืนแผ่นดินเกิด  

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม