Skip to main content

   

    เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วทำให้นึกถึงบทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสซึ่งผู้แปลได้หยิบมาเขียนวิพากษ์คือบทความของวรนัย วาณิชกะ ว่ามีมุมมองที่คล้ายคลึงกันหลายประการ ผิดแต่ว่าผู้เขียนบทความนี้คือดร.ฟารีด ซาคาเรียค่อนข้างเป็นกลางๆ และมีเหตุมีผลมากกว่า ที่สำคัญไม่ได้ตั้งใจจะเอาไปสนับสนุนกองทัพมากจนเกินไป  สาเหตุที่ผู้แปลได้หยิบบทความนี้มาแปลก็เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นการเมืองโลกที่แตกต่างกว่าเดิมเพราะมันได้กล่าวถึงอีกแง่มุมหนึ่งที่ดูตรงกันข้ามกับฟรานซิส ฟูกูยามาเจ้าของบทความที่ผู้แปลได้ยกมาก่อนหน้านี้

      บทความนี้แปลมาจากบทความ Rise of Putinism ของฟารีด ซาคาเรียใน The Washington Post  เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา

    เมื่อสงครามเย็นได้สิ้นสุดลง ฮังการีดูเหมือนจะเป็นพื้นที่พิเศษในประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติเมื่อปี 1989 มันเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศแรกๆ ในวงจรอำนาจของรัสเซียที่ทอดทิ้งลัทธิคอมมิวนิสต์และรับเอาประชาธิปไตยเสรีนิยมเข้ามาแทน และปัจจุบันนี้เองที่ฮังการีได้กลายเป็นผู้นำกระแสโลกอีกครั้งคือเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่ประณามและพาตัวเองออกห่างจากประชาธิปไตยเสรีนิยม มันได้รับระบบและชุดคุณค่าใหม่ซึ่งมีตัวอย่างที่ดีที่สุดคือรัสเซียของปูตินมาแทน แต่เรายังพบเสียงสะท้อนลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศอื่นๆ เช่นกัน

     ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญเมื่ออาทิตย์แล้ว นายกรัฐมนตรีของฮังการีคือนายวิกเตอร์ ออร์บานได้อธิบายว่าประเทศเขานั้นได้มุ่งมั่นที่จะสร้างต้นแบบทางการเมืองแบบใหม่นั้นคือประชาธิปแบบเทียมๆ (Illiberal democracy) สิ่งนี้ทำให้ผมเกิดความสนใจเพราะในปี 1997 ผมได้เขียนเรียงความลงในนิตยสาร         ฟอร์เรนจ์ แอฟแฟร์ส และได้ใช้วลีเดียวกันนี้ในการอธิบายแนวโน้มอันตรายของการเมืองโลก    รัฐบาลประชาธิปไตยถึงแม้จะได้รับความนิยมแต่ก็ได้ใช้อำนาจในการบั่นทอนสิทธิของปัจเจกชน การแบ่งแยกอำนาจและภาวะนิติรัฐ  แต่ผมไม่นึกไม่ฝันว่าผู้นำของชาติจากยุโรปจะใช้คำเช่นนี้ในการประกาศเกียรติคุณตัวเอง

    นายออร์บานได้อ้างว่า "หัวข้อซึ่งยอดนิยมที่สุดสำหรับการคิดคำนึงในทุกวันนี้คือความพยายามเข้าใจว่าระบบซึ่งไม่ใช่เป็นแบบตะวันตก ไม่ใช่เสรีนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตยเสรีนิยมและอาจไม่ใช่แม้แต่ประชาธิปไตยจะสามารถทำให้ชาติของพวกตนประสบความสำเร็จได้อย่างไร"  สำหรับออร์บาน โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากถึงโคนในปี 2008 ด้วยสิ่งที่ซึ่งเขาเรียกว่า "การล่มสลายทางการเงินของตะวันตกครั้งสำคัญ" และเขาก็ได้เสนอแนวคิดว่าอำนาจของสหรัฐอเมริกานั้นได้เสื่อมถอยลงและคุณค่าแบบเสรีนิยมได้กลายเป็นเรื่องของ"การฉ้อราษฎรบังหลวง เรื่องทางเพศและความรุนแรง" ยุโรปตะวันตกได้กลายเป็นดินแดนของ "เหลือบที่เกาะกินระบบสวัสดิการ" เขายังกล่าวอีกว่า ต้นแบบที่เป็นเสรีเทียม ๆ สำหรับโลกอนาคตนั้นคือรัสเซีย ตุรกี จีน สิงคโปร์และอินเดีย

     ถ้าไม่กล่าวถึงรายชื่อประเทศแบบแปลกๆ ของเขาออกไป (เช่นรวมอินเดียด้วย ?) พฤติกรรมของออร์บานในรอบหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าต้นแบบของเขานั้นคือรัสเซียภายใต้การปกครองของปูติน ออร์บานได้สร้างและปฏิบัติตามรูปแบบที่สามารถอธิบายได้อย่างดีที่สุดว่าเป็น "ลัทธิปูติน"ในฮังการี  เพื่อความเข้าใจ เราต้องกลับไปหาผู้ก่อตั้งลัทธินี้

     เมื่อได้ขึ้นมามีอำนาจในปี 2000 ปูตินดูเหมือนเป็นผู้จัดการที่แข็งแกร่ง ฉลาดและเต็มไปด้วยความสามารถ เป็นคนมุ่งมั่นที่จะนำเสถียรภาพมายังรัสเซียซึ่งจมปลักอยู่กับความวุ่นวายภายในประเทศ การชะงักงันของเศรษฐกิจ และการไม่สามารถชำระหนี้ระหว่างประเทศ ในปี 2008  เขาพยายามผนึกประเทศรัสเซียให้เป็นหนึ่งเดียวกับโลก และต้องการความสัมพันธ์อันดีกับตะวันตก  เขาได้ร้องขอกรุงวอชิงตันให้ช่วยเหลือรัสเซียให้กลายเป็นสมาชิกในองค์การการค้าโลกและแม้กระทั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ  รัฐบาลของเขามีนักวิชาการหลายคนซึ่งมีความคิดเสรีนิยมแบบตะวันตก และรู้เรื่องดีเกี่ยวกับระบบตลาดเสรีและการค้าแบบเปิด

   

 

                                   

 

                                       ภาพจาก  www.inrumor.com

 

 

กระนั้นในระยะเวลาหนึ่ง ปูตินได้เสริมสร้างระเบียบขึ้นมาในประเทศของเขาพร้อมๆ กับทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเพราะราคาน้ำมันได้พุ่งขึ้นเป็นสี่เท่าภายใต้การควบคุมของเขา เขาเริ่มต้นสร้างระบบการกดขี่ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อเป็นการรักษาอำนาจเอาไว้ เมื่อต้องพบกับการต่อต้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเลือกตั้งระดับประเทศเมื่อปี 2011 ปูตินระลึกดีว่าเขาต้องการสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากอำนาจในการเอาชนะปรปักษ์ทั้งหลาย เขาต้องการอุดมการณ์แห่งอำนาจและเริ่มเผยแพร่มันผ่านการกล่าวสุนทรพจน์ การออกกฎหมายและการใช้ตำแหน่งของตัวเองในการสานต่อชุดของคุณค่าเหล่านั้น

     องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งของลัทธิปูตินคือลัทธิชาตินิยม ศาสนา ลัทธิอนุรักษ์นิยมทางสังคม ระบบทุนนิยมที่รัฐเป็นเจ้าของทุน (State capitalism) และการครอบงำของรัฐบาลต่อสื่อมวลชน  สิ่งเหล่านั้นล้วนแตกต่างไม่ทางใดทางหนึ่งกับคุณค่าทางตะวันตกยุคใหม่เกี่ยวกับสิทธิปัจเจกชน ความอดทนต่อความแตกต่างในสังคม การถือว่ามนุษย์ทุกคนคือพี่น้องกันและการเน้นความสัมพันธ์กับนานาชาติ มันเป็นความเข้าใจผิดหากไปเชื่อว่าลัทธิของปูตินนั้นทำให้เขาได้รับความนิยม เขานั้นได้รับความนิยมมาก่อนแล้ว แต่มันได้ทำให้ความนิยมของเขาดำรงต่อไปต่างหาก

      ออร์บานได้เดินตามรอยเท้าของปูตินโดยการบั่นทอนความเป็นอิสระของศาล (เช่นเดียวกับคสช.-ผู้แปล) จำกัดสิทธิของปัจเจกชน พูดเน้นลัทธิชาตินิยมโดยอ้างถึงเชื้อชาติฮังการี และปิดปากสื่อ (เช่นเดียวกับคสช.อีกเหมือนกัน-ผู้แปล) วิธีการควบคุมสังคมมักจะซับซ้อนกว่ารูปแบบเก่าๆ มาก  เมื่อไม่นานมานี้ฮังการีได้ประกาศเก็บภาษีร้อยละ 40  ของรายได้ที่มาจากการโฆษณาของสื่อซึ่งดูเหมือนจะพุ่งเป้ามายังเครือข่ายโทรทัศน์เสรีเพียงแห่งเดียวของประเทศซึ่งอาจนำไปสู่การล้มละลายของบริษัท

    ถ้าคุณมองไปรอบๆ โลก มีผู้นำคนอื่นๆ ที่รับเอาแนวคิดของปูตินมาใช้  เรเจป ไตยิป  เออร์โดกันแห่งตุรกีก็ได้ปลีกตัวออกห่างจากแนวคิดการปฏิรูปของเขาไปยังแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางสังคม แนวคิดเคร่งศาสนาและลัทธิชาตินิยมอย่างสูง  เช่นเดียวกันเออร์โดกันได้ใช้กลยุทธในการข่มขู่ให้สื่อสยบยอม ผู้นำพรรคการเมืองแบบขวาตกขอบในยุโรปหลายคนไม่ว่ามารีน เลอ ปองแห่งฝรั่งเศส เกิร์ต วิลเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่กระทั่ง ไนเจล แฟราจของอังกฤษ ก็แสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผยต่อปูตินและอุดมการณ์ของเขา (หากบุคคลดังกล่าวต้องการมีส่วนในการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตก็ต้องแสดงการชื่นชอบปูตินให้น้อยลงไป เพราะมีประชาชนในชาติเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่ไม่ชอบหรือหวาดระแวงความเป็นทรราชของปูติน ที่สำคัญพรรคขวาตกขอบเหล่านั้นต้องลดแนวคิดที่ค่อนไปทางเผด็จการลงเพราะประเทศเหล่านั้นเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งไม่เหมือนฮังการีหรือรัสเซีย-ผู้แปล)

     ความสำเร็จของลัทธิปูตินนั้นจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จอย่างมหาศาลของตัวปูตินและรัสเซียในการปกครองของเขา ถ้าเขาประสบความสำเร็จในเรื่องยูเครนโดยการเปลี่ยนยูเครนให้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจย่ำแย่จนต้องคุกเข่าขอร้องกรุงมอสโคว์  เขาก็จะดูเหมือนเป็นผู้มีชัย แต่ในทางกลับกันถ้ายูเครนสามารถออกจากวงจรอำนาจของรัสเซียได้สำเร็จและเศรษฐกิจของรัสเซียยังคงอ่อนแอลงเรื่อยๆ  ปูตินอาจจะพบว่าตนนั้นกำลังปกครองรัฐรวยน้ำมันที่โดดเดี่ยวจากชาวโลกฉกเช่นเดียวกับเขตไซบีเรีย

 

 

            

                  

                                                                          ภาพจาก   i1.wp.com/hungarianspectrum.org                                                                   

                     

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์