Skip to main content
 
 
Concerto มาจากภาษาอิตาลีคือคำว่า Concerti หมายถึงการเล่นประสานกันระหว่างวงดนตรีขนาดใหญ่กับเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง (คำว่า Concerti จึงเป็นที่มาของคำว่า Concert ที่ใช้กันในปัจจุบัน) ถ้าเป็น Piano Concerto ก็หมายถึงการเล่นประสานกับวงออร์เคสตรากับเปียโน และแน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีมักจะจัดให้ เปียโนคอนแชร์โต หมายเลข 5 ของลุดวิก ฟาน เบโธเฟนอันมีชื่อเล่นคือ Emperor เป็นยอดผลงานเคียงคู่หรือแม้แต่อยู่เหนือเปียโนคอนแชร์โตของคีตกวีคนอื่นๆ เช่นเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1  ของไชคอฟสกี   เปียโนคอนแชร์โตของโรเบิร์ต ชูมันน์ เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ของแรคมานินอฟและเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 21 ของโมสาร์ตเป็นต้น
 
เบโธเฟนเริ่มแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในปี 1796 เมื่ออายุได้ 26 ปีและออกนำแสดงที่กรุงปราก สาธารณเช็คในปัจจุบันโดยมีเขาเป็นผู้เดี่ยวเปียโนเอง ต่อมาในปี 1801 ถึงตีพิมพ์หมายเลข 2  ซึ่งความจริงเขาแต่งก่อนหมายเลข 1 หลายปี หมายเลข 2 นี้สำคัญต่อชีวิตของเบโธเฟนเองเพราะเขาหมายมั่นปั้นมือจะเป็นนักเปียโนเอกภายหลังจากที่ย้ายนิวาสสถานจากกรุงบอนน์ (เมืองหลวงเก่าของเยอรมันตะวันตกในช่วงสงครามเย็น) ไปยังกรุงเวียนนา ถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นนักเล่นเปียโนตามความตั้งใจเดิม แต่การเป็นคีตกวีผู้มีชื่อเสียงทำให้เขาก็ไม่เคยย้ายถิ่นออกจากกรุงเวียนนาอีกเลยจนตลอดชีวิต
 
และก่อนหน้านี้หนึ่งปีคือ 1800 เบโธเฟนก็แต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 และออกแสดงอีก 3 ปีต่อมาโดยตัวเองก็ร่วมบรรเลงเปียโนด้วย กระนั้นมีเพื่อนสนิทของเขาก็บอกว่าการแสดงไม่สมบูรณ์เท่าไรนักเพราะสังเกตเห็นสมุดโน้ตบนเปียโนขณะที่เบโธเฟนบรรเลงนั้นว่างเปล่า แสดงให้เห็นว่าคีตกวีเอกไม่มีเวลาที่จะเขียนลงไปในสมุด หากแต่ใช้ความทรงจำล้วน ๆ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าทำไมเบโธเฟนถึงยังแต่งเพลงได้ถึงแม้อาการหูหนวกของเขาจะแย่ลงเรื่อย ๆ
 
ในปี 1806 เบโธเฟนแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 4 เสร็จสิ้นลง และต้องรออีกหนึ่งปีจึงออกนำมาแสดงในงานแสดงส่วนตัวที่วังของเจ้าชายลอบโควิตซ์ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ ก่อนที่จะนำออกแสดงต่อหน้าสาธารณชน ณ ที่เก่าคือโรงละคร  Theatre an der Wien อีกหนึ่งปีต่อมา ร่วมกับผลงานชิ้นอื่นๆ ของเขาเช่นซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 6  ซึ่งได้รับสุ่มเสียงจากนักวิจารณ์ไปในทางที่ดี ถึงแม้คนดูจะแสดงความเย็นชา เพราะความแปลกใหม่ของเพลงและความยาวของการแสดง
 
และแล้วในปี 1809 เบโธเฟนก็ได้ลงมือเขียนผลงานที่ยิ่งใหญ่ในระดับเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 9 ของเขานั่นคือเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 และอุทิศงานชิ้นนี้ให้กับอาร์ชดุกซ์ รูดอล์ฟ  ผู้เป็นทั้งองค์อุปถัมภ์และลูกศิษย์ การแสดงมีขึ้นครั้งแรกที่เกวานเฮ้าส์ในเมืองไลป์ซิกเมื่อปี 1811 แต่คราวนี้เบโธเฟนรู้สึกว่าหูของตัวเองอยู่ในภาวะที่แย่เกินกว่าจะลงมือเล่นเปียโนเอง จึงให้คาร์ล เซร์นีย์  ลูกศิษย์เอกมาทำหน้าที่นี้แต่เซร์นีย์กลับกลัวว่าตัวเองจะเล่นไม่ดี จึงเปิดทางให้ฟริดริช ชไนเดอร์ นักเล่นออร์แกนในโบสถ์วัยเพียง 21 ปีเป็นผู้เล่น ส่วนเซร์นีย์มาเล่นเปียโนสำหรับการเปิดการแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาอีก 3  เดือนต่อมา เซร์นีย์ซึ่งอายุเพียง 20 ปีเท่านั้นสามารถบรรเลงบทเพลงนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม และยังเป็นที่น่าสนใจว่าเซนีย์ต่อมาได้เป็นอาจารย์ของนักเปียโนและคีตกวีชื่อดังอีกคนคือฟรานซ์ ลิซต์คีตกวีชื่อดังสุดยอดในยุคโรแมนติกของยุโรปอีกคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นที่ลิซต์จะสืบทอดความชื่นชมและการเชิดชูเบโธเฟนจากอาจารย์ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีชื่อเสียงเป็นอมตะมาดังปัจจุบัน
 
เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 อันยิ่งใหญ่นี้มีทั้งหมด 3 กระบวน ความยาวทั้งสิ้น 38 นาที ซึ่งท่อนแรกและท่อนที่ 3 นั้นก็เหมือนกับหมายเลข 4 ของเบโธเฟนซึ่งถือได้ว่าเป็นการแหกจารีตของเปียโนคอนแชร์โตทั้งหลายเช่นเพราะเบโธเฟนได้ให้เปียโนบรรเลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีต่างๆ ทันที ในขณะที่คตีกวีคนอื่นมักให้วงออร์เคสตราบรรเลงไปนานพอสมควรเสียก่อน
 
ในแต่ละท่อนมีชื่อประกอบจังหวะดังต่อไปนี้
 
1. Allegro 
 
2.Adagio un poco mosso 
 
3. Rondo - Allegro ma non troppo 
 
 
ในภาพยนตร์ที่แอบอิง (และผสมจินตนาการ) ชีวประวัติของเบโธเฟนดังเช่น Immortal Beloved (1994) ที่อ้างว่าเพลงนี้ถูกบรรเลงและกำกับโดยเบโธเฟนแต่กลับล้มเหลว ถึงแม้เบโธเฟนจะพยายามถึงสองครั้ง เพราะ นักดนตรีเล่นดนตรีตามโน้ตที่เขาเขียนไม่ได้ อีกทั้งคนดูพากันหัวเราะเยาะ ทำให้ผู้หญิงอันเป็นที่รักของเขาต้องคอยประคองเดินออกจากเวทีการแสดงไป ...แสดงให้เห็นว่าหนังทำคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะตามข้อมูลของประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เบโธเฟนที่เล่นเปียโน 
 
ส่วนกระบวนที่ 2  ซึ่งช้าเนิ่บนาบและเศร้าสร้อยก็ถูกบรรเลงประกอบตอนสุดท้ายของหนังที่คนดูรู้แล้วว่าผู้หญิงที่เป็น "Immortal Beloved" ของเบโธเฟนคือใครและหล่อนก็ได้รับรู้ถึงความเป็นจริงที่สายไปแล้ว  จากนั้นเมื่อเธอไปเยือนที่ฝังศพของเบโธเฟน (ซึ่งเป็นของจริง) ภาพยนตร์ก็ต่อด้วยเพลงกระบวนที่ 3 ที่เบโธเฟนตั้งใจจะให้ต่อกันอย่างรวดเร็วทำให้ภาพยนตร์ดูอลังการและปราณีตขึ้น
 
ความยิ่งใหญ่ของเพลง ๆ นี้ย่อมเหมาะสมกับชื่อว่า Emperor หรือจักรพรรดิ แต่เบโธเฟนหาได้เป็นคนตั้งชื่อ นี้ไม่ ตามวิสัยของคนที่ไม่ชอบตั้งชื่อเล่นให้กับเพลงของตัวเอง และเบโธเฟนน่าจะแสลงกับคำว่าจักรพรรดิ เพราะคนที่ชื่อนโปเลียนที่เขาเคยเทใจให้กลายเป็นทรราชผู้น่าเกลียดชัง  มีตำนานถึงที่มาของชื่อบทเพลงนี้สองเรื่อง ตำนานแรกชื่อจักรพรรดิถูกตั้งโดยโยฮันน์ บาปติสต์ คราเมอร์  นักเล่นเปียโนและตีพิมพ์บทเพลงผู้พำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน อันสะท้อนว่าการที่เบโธเฟนยอมให้มีคนมายุ่งกับงานของเขาเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า คน ๆ นั้นเป็นเพื่อนรักของเขาเพียงไหน
 
หรือถ้าหากมีสีสรรกว่านั้นก็คือตำนานเรื่องที่ 2 คือในช่วงที่บทเพลงนี้ถูกนำมาบรรเลงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา นายทหารฝรั่งเศส ได้กล่าวในบรรดาผู้ชมว่า  “C’est l’empereur de concerti!” (นี่คือจักรพรรดิแห่งคอนแชร์โต !)  กระนั้นเองคำว่า จักรพรรดิน่าจะหมายถึงตัวเบโธเฟนมากกว่า และคิดว่าเขาคงจะชอบใจถ้ามีใครเรียกตัวเองเช่นนั้น
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com/
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก