Concerto มาจากภาษาอิตาลีคือคำว่า Concerti หมายถึงการเล่นประสานกันระหว่างวงดนตรีขนาดใหญ่กับเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง (คำว่า Concerti จึงเป็นที่มาของคำว่า Concert ที่ใช้กันในปัจจุบัน) ถ้าเป็น Piano Concerto ก็หมายถึงการเล่นประสานกับวงออร์เคสตรากับเปียโน และแน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีมักจะจัดให้ เปียโนคอนแชร์โต หมายเลข 5 ของลุดวิก ฟาน เบโธเฟนอันมีชื่อเล่นคือ Emperor เป็นยอดผลงานเคียงคู่หรือแม้แต่อยู่เหนือเปียโนคอนแชร์โตของคีตกวีคนอื่นๆ เช่นเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ของไชคอฟสกี เปียโนคอนแชร์โตของโรเบิร์ต ชูมันน์ เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ของแรคมานินอฟและเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 21 ของโมสาร์ตเป็นต้น
เบโธเฟนเริ่มแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในปี 1796 เมื่ออายุได้ 26 ปีและออกนำแสดงที่กรุงปราก สาธารณเช็คในปัจจุบันโดยมีเขาเป็นผู้เดี่ยวเปียโนเอง ต่อมาในปี 1801 ถึงตีพิมพ์หมายเลข 2 ซึ่งความจริงเขาแต่งก่อนหมายเลข 1 หลายปี หมายเลข 2 นี้สำคัญต่อชีวิตของเบโธเฟนเองเพราะเขาหมายมั่นปั้นมือจะเป็นนักเปียโนเอกภายหลังจากที่ย้ายนิวาสสถานจากกรุงบอนน์ (เมืองหลวงเก่าของเยอรมันตะวันตกในช่วงสงครามเย็น) ไปยังกรุงเวียนนา ถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นนักเล่นเปียโนตามความตั้งใจเดิม แต่การเป็นคีตกวีผู้มีชื่อเสียงทำให้เขาก็ไม่เคยย้ายถิ่นออกจากกรุงเวียนนาอีกเลยจนตลอดชีวิต
และก่อนหน้านี้หนึ่งปีคือ 1800 เบโธเฟนก็แต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 และออกแสดงอีก 3 ปีต่อมาโดยตัวเองก็ร่วมบรรเลงเปียโนด้วย กระนั้นมีเพื่อนสนิทของเขาก็บอกว่าการแสดงไม่สมบูรณ์เท่าไรนักเพราะสังเกตเห็นสมุดโน้ตบนเปียโนขณะที่เบโธเฟนบรรเลงนั้นว่างเปล่า แสดงให้เห็นว่าคีตกวีเอกไม่มีเวลาที่จะเขียนลงไปในสมุด หากแต่ใช้ความทรงจำล้วน ๆ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าทำไมเบโธเฟนถึงยังแต่งเพลงได้ถึงแม้อาการหูหนวกของเขาจะแย่ลงเรื่อย ๆ
ในปี 1806 เบโธเฟนแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 4 เสร็จสิ้นลง และต้องรออีกหนึ่งปีจึงออกนำมาแสดงในงานแสดงส่วนตัวที่วังของเจ้าชายลอบโควิตซ์ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ ก่อนที่จะนำออกแสดงต่อหน้าสาธารณชน ณ ที่เก่าคือโรงละคร Theatre an der Wien อีกหนึ่งปีต่อมา ร่วมกับผลงานชิ้นอื่นๆ ของเขาเช่นซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 6 ซึ่งได้รับสุ่มเสียงจากนักวิจารณ์ไปในทางที่ดี ถึงแม้คนดูจะแสดงความเย็นชา เพราะความแปลกใหม่ของเพลงและความยาวของการแสดง
และแล้วในปี 1809 เบโธเฟนก็ได้ลงมือเขียนผลงานที่ยิ่งใหญ่ในระดับเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 9 ของเขานั่นคือเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 และอุทิศงานชิ้นนี้ให้กับอาร์ชดุกซ์ รูดอล์ฟ ผู้เป็นทั้งองค์อุปถัมภ์และลูกศิษย์ การแสดงมีขึ้นครั้งแรกที่เกวานเฮ้าส์ในเมืองไลป์ซิกเมื่อปี 1811 แต่คราวนี้เบโธเฟนรู้สึกว่าหูของตัวเองอยู่ในภาวะที่แย่เกินกว่าจะลงมือเล่นเปียโนเอง จึงให้คาร์ล เซร์นีย์ ลูกศิษย์เอกมาทำหน้าที่นี้แต่เซร์นีย์กลับกลัวว่าตัวเองจะเล่นไม่ดี จึงเปิดทางให้ฟริดริช ชไนเดอร์ นักเล่นออร์แกนในโบสถ์วัยเพียง 21 ปีเป็นผู้เล่น ส่วนเซร์นีย์มาเล่นเปียโนสำหรับการเปิดการแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาอีก 3 เดือนต่อมา เซร์นีย์ซึ่งอายุเพียง 20 ปีเท่านั้นสามารถบรรเลงบทเพลงนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม และยังเป็นที่น่าสนใจว่าเซนีย์ต่อมาได้เป็นอาจารย์ของนักเปียโนและคีตกวีชื่อดังอีกคนคือฟรานซ์ ลิซต์คีตกวีชื่อดังสุดยอดในยุคโรแมนติกของยุโรปอีกคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นที่ลิซต์จะสืบทอดความชื่นชมและการเชิดชูเบโธเฟนจากอาจารย์ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีชื่อเสียงเป็นอมตะมาดังปัจจุบัน
เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 อันยิ่งใหญ่นี้มีทั้งหมด 3 กระบวน ความยาวทั้งสิ้น 38 นาที ซึ่งท่อนแรกและท่อนที่ 3 นั้นก็เหมือนกับหมายเลข 4 ของเบโธเฟนซึ่งถือได้ว่าเป็นการแหกจารีตของเปียโนคอนแชร์โตทั้งหลายเช่นเพราะเบโธเฟนได้ให้เปียโนบรรเลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีต่างๆ ทันที ในขณะที่คตีกวีคนอื่นมักให้วงออร์เคสตราบรรเลงไปนานพอสมควรเสียก่อน
ในแต่ละท่อนมีชื่อประกอบจังหวะดังต่อไปนี้
1. Allegro
2.Adagio un poco mosso
3. Rondo - Allegro ma non troppo
ในภาพยนตร์ที่แอบอิง (และผสมจินตนาการ) ชีวประวัติของเบโธเฟนดังเช่น Immortal Beloved (1994) ที่อ้างว่าเพลงนี้ถูกบรรเลงและกำกับโดยเบโธเฟนแต่กลับล้มเหลว ถึงแม้เบโธเฟนจะพยายามถึงสองครั้ง เพราะ นักดนตรีเล่นดนตรีตามโน้ตที่เขาเขียนไม่ได้ อีกทั้งคนดูพากันหัวเราะเยาะ ทำให้ผู้หญิงอันเป็นที่รักของเขาต้องคอยประคองเดินออกจากเวทีการแสดงไป ...แสดงให้เห็นว่าหนังทำคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะตามข้อมูลของประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เบโธเฟนที่เล่นเปียโน
ส่วนกระบวนที่ 2 ซึ่งช้าเนิ่บนาบและเศร้าสร้อยก็ถูกบรรเลงประกอบตอนสุดท้ายของหนังที่คนดูรู้แล้วว่าผู้หญิงที่เป็น "Immortal Beloved" ของเบโธเฟนคือใครและหล่อนก็ได้รับรู้ถึงความเป็นจริงที่สายไปแล้ว จากนั้นเมื่อเธอไปเยือนที่ฝังศพของเบโธเฟน (ซึ่งเป็นของจริง) ภาพยนตร์ก็ต่อด้วยเพลงกระบวนที่ 3 ที่เบโธเฟนตั้งใจจะให้ต่อกันอย่างรวดเร็วทำให้ภาพยนตร์ดูอลังการและปราณีตขึ้น
ความยิ่งใหญ่ของเพลง ๆ นี้ย่อมเหมาะสมกับชื่อว่า Emperor หรือจักรพรรดิ แต่เบโธเฟนหาได้เป็นคนตั้งชื่อ นี้ไม่ ตามวิสัยของคนที่ไม่ชอบตั้งชื่อเล่นให้กับเพลงของตัวเอง และเบโธเฟนน่าจะแสลงกับคำว่าจักรพรรดิ เพราะคนที่ชื่อนโปเลียนที่เขาเคยเทใจให้กลายเป็นทรราชผู้น่าเกลียดชัง มีตำนานถึงที่มาของชื่อบทเพลงนี้สองเรื่อง ตำนานแรกชื่อจักรพรรดิถูกตั้งโดยโยฮันน์ บาปติสต์ คราเมอร์ นักเล่นเปียโนและตีพิมพ์บทเพลงผู้พำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน อันสะท้อนว่าการที่เบโธเฟนยอมให้มีคนมายุ่งกับงานของเขาเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า คน ๆ นั้นเป็นเพื่อนรักของเขาเพียงไหน
หรือถ้าหากมีสีสรรกว่านั้นก็คือตำนานเรื่องที่ 2 คือในช่วงที่บทเพลงนี้ถูกนำมาบรรเลงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา นายทหารฝรั่งเศส ได้กล่าวในบรรดาผู้ชมว่า “C’est l’empereur de concerti!” (นี่คือจักรพรรดิแห่งคอนแชร์โต !) กระนั้นเองคำว่า จักรพรรดิน่าจะหมายถึงตัวเบโธเฟนมากกว่า และคิดว่าเขาคงจะชอบใจถ้ามีใครเรียกตัวเองเช่นนั้น
ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com/
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด