Skip to main content
 
1.Don Giovanni
 
คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
คนเขียนบท ลอเร็นโซ ดา ปอนเต้ 
นำออกแสดงครั้งแรก เอสเต็ทส์ เทียร์เตอร์ กรุงปราก วันที่ 29 ตุลาคม ปี 1787
 
อุปรากร 2 องก์เรื่องนี้เป็นอุปรากรที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกและคนจะรู้จักกันมากจากภาพยนตร์ Amadeus ที่โมซาร์ตนำออกแสดงหลังจากบิดาของเขาเสียชีวิตแล้วพร้อมกับการดิ่งลงเหวของชีวิตคีตกวีของเขา  ดอน โจวานนีเป็นชื่อภาษาอิตาเลี่ยนของดอน ฮวน ชายผู้มักมากในกามที่พรากพรหมจรรย์ของหญิงสาวจำนวนนับไม่ถ้วน เขาไม่ได้มีตัวตนในประวัติศาสตร์ชัดเจนนัก หากเป็นตำนานที่มีคนเอามาผูกเป็นเรื่องเป็นราว จนโมซาร์ตและดา ปอนเต้ได้นำมาเขียนเป็นอุปรากรนั้นคือดอน โจวานนี ขุนนางหนุ่มเจ้าสำราญพยายามทำมิดีมิร้ายหญิงสาวผู้หนึ่งและได้สังหารบิดาของเธอ ต่อมาหญิงสาวผู้นั้น คู่รักของเธอและอดีตคู่รักของดอน โจวานนีได้ร่วมมือกันติดตามเพื่อล้างแค้นเขา แต่แล้วบิดาของหญิงสาวก็ได้กลายเป็นผีหุ่นปั้นมาลากดอน โจวานนี่ลงนรกไป อุปรากรเรื่องนี้เป็นส่วนผสมของดราม่า ตลก โศกนาฏกรรมและยังมีแนวคิดทางการเมืองแฝงอยู่โดยเฉพาะเรื่องชนชั้น
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงโหมโรง (overture) เพลงร้องคู่ระหว่างดอนกับ เซลิน่าคือ La ci darem la mano อันโด่งดังที่สุด เพลงร้องเดี่ยวของดอนคือ Fin ch'han dal vino เพลงร้องเดี่ยวของเอลวิล่า คือ Mi trada quell'alma ingrata 
 
 
 
                                  
                                   
 
 
                                      ภาพจาก   www.paminasopera.com
 
 
 
2.Turandot
คีตกวี จัคโคโม ปุชชินี
คนเขียนบท จูเซฟเป้ อดามี และ เรานาโต้ ซิโมนี
ออกนำแสดงครั้งแรก เทอาโทร อาลลา สกาล่า ในกรุงมิลาน วันที่ 25 เมษายน ปี 1926
 
เป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายของปุชชินีก่อนที่จะเสียชีวิตเพราะมะเร็งที่คอ อุปรากร 3 องก์นี้ยังไม่สมบูรณ์ จนต้องมีคนมาเขียนเพลงต่อให้เสร็จ ตูรันโดต์มีโครงเรื่องอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงของจีน (ก่อนราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย) พระเอกคือคาลาฟ เจ้าชายมงโกลที่อาณาจักรล่มสลายต้องพลัดหลงกับพระบิดาซึ่งตาบอด เขาได้เข้าไปในนครปักกิ่งและพบว่าผู้คนกำลังแตกตื่นกับเหตุการณ์สำคัญนั้นคือบรรดาเจ้าชายต่างอาณาจักรเดินทางมาเพื่ออภิเษกสมรสกับตูรันโดต์ พระธิดาผู้เลอโฉมของพระเจ้ากรุงจีนแต่มีกฏอันศักดิ์สิทธิ์ว่าเจ้าชายเหล่านั้นจำเป็นต้องตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้ หากตอบไม่ได้แล้วพวกเขาต้องถูกตัดคอ ผลก็คือไม่มีใครสามารถผ่านข้อทดสอบนี้ได้สักคนเดียว ในที่สุดเจ้าชายคาลาฟได้พบกับพระบิดาซึ่งมีเพียงทาสหญิงชื่อหลิวเพียงคนเดียวคอยปรนนิบัติรับใช้ แม้จะถูกทัดทานเจ้าชายก็ไม่อาจต้านเสน่ห์ของเจ้าหญิงตูรันโดต์ได้ จึงอาสาเข้าร่วมตอบคำถามมรณะเหล่านั้น อุปรากรเรื่องนี้แต่เดิมได้รับการสั่งห้ามจากทางการจีน ต่อมาก็ผ่อนปรนให้แสดงได้ จนถึงขั้นที่ว่าสามารถจัดแสดงในพระราชวังต้องห้ามได้โดยเฉพาะในปี 1998 โดยมีจาง อี้โหมวผู้กำกับเรื่อง The Hero มากำกับการแสดงและมีสุบิน เมธาชาวอินเดียเป็นวาทยากรกำกับวงออร์เคสตร้า
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องเดี่ยวของเจ้าหญิงทูรันโดต์ซึ่งสูงมากราวกับอุปรากรจีน(เข้าใจว่าคือความตั้งใจของปุชชินีเอง)คือ In questa reggia และเพลงร้องเดี่ยวของเจ้าชายคาลาฟซึ่งดังที่สุด   เพราะลูเชียโน ปาวาร็อตตี้เอาไปร้องในคอนเสิร์ต Three Tenors จนกลายเป็นเพลงป็อบไป นั้นคือ Nessun dorma เพลงร้องเดี่ยวของหลิวคือ Tu che di gel sei cinta
 
 
 
 
               
 
                    ภาพจาก amazon.com
 
 
 
3.The Magic Flute (Die Zauberflote)
 
คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ต
คนเขียนบท อิมมานูเอล ชิกาเนเดอร์
นำออกเแสดงครั้งแรก ไฟร์เฮาส์ เทียรเตอร์ เอาฟ์ เดอร์ วีเด็น กรุงเวียนนา วันที่ 30 กันยายน ปี 1791 
 
อุปรากรขนาด 2 องก์เรื่องสุดท้ายของโมสาร์ตก่อนเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 36 ปี มันเป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ แบบ 4 ยอดกุมารของไทยอย่างแท้จริง ตัวเอกของเรื่องคือเจ้าชายตามิโนได้พลัดหลงกับข้าทาสบริวารขณะไปล่าสัตว์ในป่า พระองค์ได้พบกับงูยักษ์เลยเป็นลมสลบเพราะความตกใจ หญิงประหลาดในชุดดำสามนางมาช่วยไว้โดยการฆ่างูยักษ์แล้วหายไป ปาปาเกโน มนุษย์นกที่มีอาชีพจับนกไปขายบังเอิญมาพบเจ้าชายที่กำลังตื่นจากสลบ ปาปาเกโนเลยสวมรอยว่าตัวเองเป็นคนฆ่างูยักษ์ หญิงประหลาดสามนางก็ปรากฏตัวมาอีกครั้งเพื่อลงโทษมนุษย์นกปากมากพร้อมกับร้องขอให้ตามิโนเดินทางไปช่วยเหลือปามินาซึ่งเป็นธิดาแห่งราชินีแห่งรติกาลเจ้านายของพวกหล่อนให้พ้นจากเงื้อมือของพ่อมดซารัสโตร และแล้วราชินีแห่งรติกาลก็ปรากฏตัวมาขอร้องเขาด้วยตัวเองพร้อมกับมอบรูปของปามินาให้ เจ้าชายหนุ่มหลงเสน่ห์ของสาวเจ้าแม้จะเพียงภาพวาดตอบตกลงแล้วออกเดินทางพร้อมกับปาปาเกโนไปยังปราสาทของซารัสโตร์ ตามิโนยังได้อาวุธคือขลุ่ยวิเศษซึ่งจะทำให้สัตว์ทั้งหลายเชื่องประดุจดังอยู่ในสวนสัตว์เปิดเมืองกาญจน์ และภายหลังจากนั้นพวกเขาก็พบว่าความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่ตัวเองคิดเลย อุปรากรแบบ Singspiel (เน้นการสนทนาผ่านทั้งบทพูดและบทร้อง)เรื่องนี้คือส่วนผสมอันลงตัวของการผจญภัย ความรัก ตลก โศกนาฏกรรมและยังแฝงด้วยปรัชญาทางการเมือง และถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นอุปรากรที่ชาวตะวันตกนิยมมากที่สุดของโมสาร์ตอาจจะยิ่งกว่าดอน โจวานนี่เสียด้วยซ้ำ 
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องเดี่ยวของปาปาเกโนคือ Der Vogelfinger bin ich ja เพลงร้องเดี่ยวของตามิโน่คือ Dies Bildnis ist bezaubernd schon เพลงร้องเดี่ยวของราชินีแห่งรัตติกาลคือ Der Halle Rache kocht in meinem Herzen (เสียงโซพราโนที่แหลมมาก)
 
 
 
                              
 
 
                                    ภาพจาก amazon.com
 
 
4.La boheme
 
คีตกวี จัคโคโม ปุชชินี
คนเขียนบท ลุยจิ อิลลิกาและจุเซฟเป จิอาโคซา
นำออกเแสดงครั้งแรก เดอ ทีโทร เรจิโอ เมืองตูริน วันที่ 1 กุมภาพันธ์  ปี 1896 
 
อุปรากร 4 องก์ของปุชชินีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นรองก็เพียง Madame Butterfly ถ้าจะให้ชื่อภาษาไทยของอุปรากรเรื่องนี้ก็น่าจะบอกสั้น ๆว่า "รักของผู้ยากไร้" นั้นคือเป็นความรักของสาวเย็บผ้านามว่ามิมี่และกวีไส้แห้งนามว่าโรดอฟโฟ เรื่องเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ คือพระเอกของเราอาศัยอยู่กับเพื่อนอีก 3 คนที่ไส้แห้งเหมือนกัน(อาชีพของเพื่อนคือจิตกร นักดนตรีและนักปรัชญา !)ในหอพักซอมซ่อกลางกรุงปารีส นางเอกของเราซึ่งอาศัยอยู่อีกชั้นหนึ่งเดินมาเคาะประตูห้องพระเอกเพื่อขอไฟจุดตะเกียง จนทั้งคู่ตกหลุมรักและเป็นคู่รักกันในที่สุด แต่แล้วความรักของมิมี่และโรดอฟโฟกลับจืดจางจนต้องแยกทางกันไปทั้งที่ในส่วนลึกทั้งคู่ยังคงผูกพันกัน แต่สิ่งที่แยกคนทั้งคู่ให้จากกันไปตลอดกาลในตอนจบของเรื่องคือวัณโรคซึ่งมิมีเป็นมานานจนทรุดหนักเกินจะเยียวยาได้ ที่น่าสนใจก็คืออุปรากรก็ได้นำเสนอความรักของคนอีกคู่คือมาร์เซลโล เพื่อนของโรดอฟโฟและมูเซ็ตตาซึ่งเป็นคนละขั้วกับของโรดอฟโฟและมิมี่ นั้นคือมูเซ็ตตาเป็นหญิงเปรี้ยว เจ้าชู้ ในขณะที่มาร์เซลโลต้องคอยตามหึงหวง ทะเลาะเบาะแว้งกันไม่หยุด แต่ทั้งคู่ก็ยังอยู่ด้วยกันได้จนจบเรื่อง ชีวิตรักอันน่าประทับใจและจุดจบของมิมีอันน่าสะเทือนใจนี้คือแรงบันดาลใจสำหรับ บาซ ลูร์มานน์นำมาสร้างเป็น Moulin Rouge ! ภาพยนตร์เพลงชื่อดังนั้นเอง
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องคนละบทระหว่างโรดอฟโฟกับ มิมี่คือ Che gelida manina และ "Si, mi chiamano Mimi เพลงร้องคู่ระหว่างโรดอฟโฟกับมิมี่คือ O soave fanciulla เพลงร้องเดี่ยวของมูเซ็ตต้าคือ Quando men’vo
 
 
 
               
                         
 
                                ภาพจาก Warner classic ใน youtube
 
 
 
5.La traviata
คีตกวี จูเซฟเป แวร์ดี 
คนเขียนบท ฟรานเชสโก มาเรีย ปีอาฟ
นำออกเแสดงครั้งแรก เดอ ทีทรอ ลา เฟนิส กรุงเวนิส วันที่ 6 มีนาคม 1853 
 
อุปรากร 3 องก์ของเจ้าพ่ออุปรากรแห่งอิตาลีเรื่องนี้ อิงมาจากนวนิยายที่ชื่อ La dame aux Cailias ของอาเล็กซานเดอร์ ดูมาส์ คำว่า La traviata หมายถึง "หญิงผู้หลงทาง" หรือ "หญิงเริงเมือง" อุปรากรเรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงมาก จะเป็นรองก็เพียงเรื่องของปุชชินี 2 เรื่องข้างบน และถ้าจะให้ชื่อภาษาไทยของอุปรากรเรื่องนี้ก็น่าจะบอกสั้น ๆว่า "รักของผู้ร่ำรวย" แต่เป็นโศกนาฏกรรมก็ที่น่าสลดใจไม่แพ้กับ"รักของผู้ยากไร้"แบบข้างบนเลย นางเอกนามว่าวิโอเลตตาเป็นโสเภณีชั้นสูงของกรุงปารีสได้ตกหลุมรักกับชายหนุ่มนามว่าอัลเฟรโดขณะอยู่ในงานเลี้ยงอันหรูหราที่บ้านของหล่อน แม้ว่าตอนแรกเธอจะลังเลใจเพราะไม่เคยพบกับรักแท้ ทั้งคู่ก็ได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาบิดาของอัลเฟรโดได้เดินทางมาขอร้องให้วิโอเลตตาแยกทางกับลูกชายของเขาเสียเพื่อชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล วิโอเลตตาตกลงใจทิ้งอัลเฟรโดไปทั้งที่ใจยังรักเขาอยู่ แม้ว่าทั้งคู่จะเหินห่างกันไปและอัลเฟรโดมีเรื่องราวกับคู่ควงคนใหม่ของวิโอเลตตา แต่สุดท้ายทั้งคู่ก็ได้มาแสดงความรักต่อกันก่อนที่วิโอเลตตาจะจากโลกนี้ไปด้วยวัณโรคที่ทำลายสุขภาพเธอมานานแสนนาน
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องหมู่ในงานเลี้ยงคือ Libiamo ne' lieti calici หรือ drinking song ที่โด่งดังที่สุด เพลงร้องเดี่ยวของวิโอเลตตา คือ Ah, fors'i lui และ Sempre libera เพลงร้องระหว่างอัลเฟรโดและวิโอเลลตาคือ Parigi, o cara , noi lasceremo
 
 
 
 
        
 
 
             ภาพจาก  www.talkclassical.com
 
 
 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด