Skip to main content
 
1.Don Giovanni
 
คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
คนเขียนบท ลอเร็นโซ ดา ปอนเต้ 
นำออกแสดงครั้งแรก เอสเต็ทส์ เทียร์เตอร์ กรุงปราก วันที่ 29 ตุลาคม ปี 1787
 
อุปรากร 2 องก์เรื่องนี้เป็นอุปรากรที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกและคนจะรู้จักกันมากจากภาพยนตร์ Amadeus ที่โมซาร์ตนำออกแสดงหลังจากบิดาของเขาเสียชีวิตแล้วพร้อมกับการดิ่งลงเหวของชีวิตคีตกวีของเขา  ดอน โจวานนีเป็นชื่อภาษาอิตาเลี่ยนของดอน ฮวน ชายผู้มักมากในกามที่พรากพรหมจรรย์ของหญิงสาวจำนวนนับไม่ถ้วน เขาไม่ได้มีตัวตนในประวัติศาสตร์ชัดเจนนัก หากเป็นตำนานที่มีคนเอามาผูกเป็นเรื่องเป็นราว จนโมซาร์ตและดา ปอนเต้ได้นำมาเขียนเป็นอุปรากรนั้นคือดอน โจวานนี ขุนนางหนุ่มเจ้าสำราญพยายามทำมิดีมิร้ายหญิงสาวผู้หนึ่งและได้สังหารบิดาของเธอ ต่อมาหญิงสาวผู้นั้น คู่รักของเธอและอดีตคู่รักของดอน โจวานนีได้ร่วมมือกันติดตามเพื่อล้างแค้นเขา แต่แล้วบิดาของหญิงสาวก็ได้กลายเป็นผีหุ่นปั้นมาลากดอน โจวานนี่ลงนรกไป อุปรากรเรื่องนี้เป็นส่วนผสมของดราม่า ตลก โศกนาฏกรรมและยังมีแนวคิดทางการเมืองแฝงอยู่โดยเฉพาะเรื่องชนชั้น
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงโหมโรง (overture) เพลงร้องคู่ระหว่างดอนกับ เซลิน่าคือ La ci darem la mano อันโด่งดังที่สุด เพลงร้องเดี่ยวของดอนคือ Fin ch'han dal vino เพลงร้องเดี่ยวของเอลวิล่า คือ Mi trada quell'alma ingrata 
 
 
 
                                  
                                   
 
 
                                      ภาพจาก   www.paminasopera.com
 
 
 
2.Turandot
คีตกวี จัคโคโม ปุชชินี
คนเขียนบท จูเซฟเป้ อดามี และ เรานาโต้ ซิโมนี
ออกนำแสดงครั้งแรก เทอาโทร อาลลา สกาล่า ในกรุงมิลาน วันที่ 25 เมษายน ปี 1926
 
เป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายของปุชชินีก่อนที่จะเสียชีวิตเพราะมะเร็งที่คอ อุปรากร 3 องก์นี้ยังไม่สมบูรณ์ จนต้องมีคนมาเขียนเพลงต่อให้เสร็จ ตูรันโดต์มีโครงเรื่องอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงของจีน (ก่อนราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย) พระเอกคือคาลาฟ เจ้าชายมงโกลที่อาณาจักรล่มสลายต้องพลัดหลงกับพระบิดาซึ่งตาบอด เขาได้เข้าไปในนครปักกิ่งและพบว่าผู้คนกำลังแตกตื่นกับเหตุการณ์สำคัญนั้นคือบรรดาเจ้าชายต่างอาณาจักรเดินทางมาเพื่ออภิเษกสมรสกับตูรันโดต์ พระธิดาผู้เลอโฉมของพระเจ้ากรุงจีนแต่มีกฏอันศักดิ์สิทธิ์ว่าเจ้าชายเหล่านั้นจำเป็นต้องตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้ หากตอบไม่ได้แล้วพวกเขาต้องถูกตัดคอ ผลก็คือไม่มีใครสามารถผ่านข้อทดสอบนี้ได้สักคนเดียว ในที่สุดเจ้าชายคาลาฟได้พบกับพระบิดาซึ่งมีเพียงทาสหญิงชื่อหลิวเพียงคนเดียวคอยปรนนิบัติรับใช้ แม้จะถูกทัดทานเจ้าชายก็ไม่อาจต้านเสน่ห์ของเจ้าหญิงตูรันโดต์ได้ จึงอาสาเข้าร่วมตอบคำถามมรณะเหล่านั้น อุปรากรเรื่องนี้แต่เดิมได้รับการสั่งห้ามจากทางการจีน ต่อมาก็ผ่อนปรนให้แสดงได้ จนถึงขั้นที่ว่าสามารถจัดแสดงในพระราชวังต้องห้ามได้โดยเฉพาะในปี 1998 โดยมีจาง อี้โหมวผู้กำกับเรื่อง The Hero มากำกับการแสดงและมีสุบิน เมธาชาวอินเดียเป็นวาทยากรกำกับวงออร์เคสตร้า
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องเดี่ยวของเจ้าหญิงทูรันโดต์ซึ่งสูงมากราวกับอุปรากรจีน(เข้าใจว่าคือความตั้งใจของปุชชินีเอง)คือ In questa reggia และเพลงร้องเดี่ยวของเจ้าชายคาลาฟซึ่งดังที่สุด   เพราะลูเชียโน ปาวาร็อตตี้เอาไปร้องในคอนเสิร์ต Three Tenors จนกลายเป็นเพลงป็อบไป นั้นคือ Nessun dorma เพลงร้องเดี่ยวของหลิวคือ Tu che di gel sei cinta
 
 
 
 
               
 
                    ภาพจาก amazon.com
 
 
 
3.The Magic Flute (Die Zauberflote)
 
คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ต
คนเขียนบท อิมมานูเอล ชิกาเนเดอร์
นำออกเแสดงครั้งแรก ไฟร์เฮาส์ เทียรเตอร์ เอาฟ์ เดอร์ วีเด็น กรุงเวียนนา วันที่ 30 กันยายน ปี 1791 
 
อุปรากรขนาด 2 องก์เรื่องสุดท้ายของโมสาร์ตก่อนเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 36 ปี มันเป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ แบบ 4 ยอดกุมารของไทยอย่างแท้จริง ตัวเอกของเรื่องคือเจ้าชายตามิโนได้พลัดหลงกับข้าทาสบริวารขณะไปล่าสัตว์ในป่า พระองค์ได้พบกับงูยักษ์เลยเป็นลมสลบเพราะความตกใจ หญิงประหลาดในชุดดำสามนางมาช่วยไว้โดยการฆ่างูยักษ์แล้วหายไป ปาปาเกโน มนุษย์นกที่มีอาชีพจับนกไปขายบังเอิญมาพบเจ้าชายที่กำลังตื่นจากสลบ ปาปาเกโนเลยสวมรอยว่าตัวเองเป็นคนฆ่างูยักษ์ หญิงประหลาดสามนางก็ปรากฏตัวมาอีกครั้งเพื่อลงโทษมนุษย์นกปากมากพร้อมกับร้องขอให้ตามิโนเดินทางไปช่วยเหลือปามินาซึ่งเป็นธิดาแห่งราชินีแห่งรติกาลเจ้านายของพวกหล่อนให้พ้นจากเงื้อมือของพ่อมดซารัสโตร และแล้วราชินีแห่งรติกาลก็ปรากฏตัวมาขอร้องเขาด้วยตัวเองพร้อมกับมอบรูปของปามินาให้ เจ้าชายหนุ่มหลงเสน่ห์ของสาวเจ้าแม้จะเพียงภาพวาดตอบตกลงแล้วออกเดินทางพร้อมกับปาปาเกโนไปยังปราสาทของซารัสโตร์ ตามิโนยังได้อาวุธคือขลุ่ยวิเศษซึ่งจะทำให้สัตว์ทั้งหลายเชื่องประดุจดังอยู่ในสวนสัตว์เปิดเมืองกาญจน์ และภายหลังจากนั้นพวกเขาก็พบว่าความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่ตัวเองคิดเลย อุปรากรแบบ Singspiel (เน้นการสนทนาผ่านทั้งบทพูดและบทร้อง)เรื่องนี้คือส่วนผสมอันลงตัวของการผจญภัย ความรัก ตลก โศกนาฏกรรมและยังแฝงด้วยปรัชญาทางการเมือง และถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นอุปรากรที่ชาวตะวันตกนิยมมากที่สุดของโมสาร์ตอาจจะยิ่งกว่าดอน โจวานนี่เสียด้วยซ้ำ 
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องเดี่ยวของปาปาเกโนคือ Der Vogelfinger bin ich ja เพลงร้องเดี่ยวของตามิโน่คือ Dies Bildnis ist bezaubernd schon เพลงร้องเดี่ยวของราชินีแห่งรัตติกาลคือ Der Halle Rache kocht in meinem Herzen (เสียงโซพราโนที่แหลมมาก)
 
 
 
                              
 
 
                                    ภาพจาก amazon.com
 
 
4.La boheme
 
คีตกวี จัคโคโม ปุชชินี
คนเขียนบท ลุยจิ อิลลิกาและจุเซฟเป จิอาโคซา
นำออกเแสดงครั้งแรก เดอ ทีโทร เรจิโอ เมืองตูริน วันที่ 1 กุมภาพันธ์  ปี 1896 
 
อุปรากร 4 องก์ของปุชชินีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นรองก็เพียง Madame Butterfly ถ้าจะให้ชื่อภาษาไทยของอุปรากรเรื่องนี้ก็น่าจะบอกสั้น ๆว่า "รักของผู้ยากไร้" นั้นคือเป็นความรักของสาวเย็บผ้านามว่ามิมี่และกวีไส้แห้งนามว่าโรดอฟโฟ เรื่องเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ คือพระเอกของเราอาศัยอยู่กับเพื่อนอีก 3 คนที่ไส้แห้งเหมือนกัน(อาชีพของเพื่อนคือจิตกร นักดนตรีและนักปรัชญา !)ในหอพักซอมซ่อกลางกรุงปารีส นางเอกของเราซึ่งอาศัยอยู่อีกชั้นหนึ่งเดินมาเคาะประตูห้องพระเอกเพื่อขอไฟจุดตะเกียง จนทั้งคู่ตกหลุมรักและเป็นคู่รักกันในที่สุด แต่แล้วความรักของมิมี่และโรดอฟโฟกลับจืดจางจนต้องแยกทางกันไปทั้งที่ในส่วนลึกทั้งคู่ยังคงผูกพันกัน แต่สิ่งที่แยกคนทั้งคู่ให้จากกันไปตลอดกาลในตอนจบของเรื่องคือวัณโรคซึ่งมิมีเป็นมานานจนทรุดหนักเกินจะเยียวยาได้ ที่น่าสนใจก็คืออุปรากรก็ได้นำเสนอความรักของคนอีกคู่คือมาร์เซลโล เพื่อนของโรดอฟโฟและมูเซ็ตตาซึ่งเป็นคนละขั้วกับของโรดอฟโฟและมิมี่ นั้นคือมูเซ็ตตาเป็นหญิงเปรี้ยว เจ้าชู้ ในขณะที่มาร์เซลโลต้องคอยตามหึงหวง ทะเลาะเบาะแว้งกันไม่หยุด แต่ทั้งคู่ก็ยังอยู่ด้วยกันได้จนจบเรื่อง ชีวิตรักอันน่าประทับใจและจุดจบของมิมีอันน่าสะเทือนใจนี้คือแรงบันดาลใจสำหรับ บาซ ลูร์มานน์นำมาสร้างเป็น Moulin Rouge ! ภาพยนตร์เพลงชื่อดังนั้นเอง
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องคนละบทระหว่างโรดอฟโฟกับ มิมี่คือ Che gelida manina และ "Si, mi chiamano Mimi เพลงร้องคู่ระหว่างโรดอฟโฟกับมิมี่คือ O soave fanciulla เพลงร้องเดี่ยวของมูเซ็ตต้าคือ Quando men’vo
 
 
 
               
                         
 
                                ภาพจาก Warner classic ใน youtube
 
 
 
5.La traviata
คีตกวี จูเซฟเป แวร์ดี 
คนเขียนบท ฟรานเชสโก มาเรีย ปีอาฟ
นำออกเแสดงครั้งแรก เดอ ทีทรอ ลา เฟนิส กรุงเวนิส วันที่ 6 มีนาคม 1853 
 
อุปรากร 3 องก์ของเจ้าพ่ออุปรากรแห่งอิตาลีเรื่องนี้ อิงมาจากนวนิยายที่ชื่อ La dame aux Cailias ของอาเล็กซานเดอร์ ดูมาส์ คำว่า La traviata หมายถึง "หญิงผู้หลงทาง" หรือ "หญิงเริงเมือง" อุปรากรเรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงมาก จะเป็นรองก็เพียงเรื่องของปุชชินี 2 เรื่องข้างบน และถ้าจะให้ชื่อภาษาไทยของอุปรากรเรื่องนี้ก็น่าจะบอกสั้น ๆว่า "รักของผู้ร่ำรวย" แต่เป็นโศกนาฏกรรมก็ที่น่าสลดใจไม่แพ้กับ"รักของผู้ยากไร้"แบบข้างบนเลย นางเอกนามว่าวิโอเลตตาเป็นโสเภณีชั้นสูงของกรุงปารีสได้ตกหลุมรักกับชายหนุ่มนามว่าอัลเฟรโดขณะอยู่ในงานเลี้ยงอันหรูหราที่บ้านของหล่อน แม้ว่าตอนแรกเธอจะลังเลใจเพราะไม่เคยพบกับรักแท้ ทั้งคู่ก็ได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาบิดาของอัลเฟรโดได้เดินทางมาขอร้องให้วิโอเลตตาแยกทางกับลูกชายของเขาเสียเพื่อชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล วิโอเลตตาตกลงใจทิ้งอัลเฟรโดไปทั้งที่ใจยังรักเขาอยู่ แม้ว่าทั้งคู่จะเหินห่างกันไปและอัลเฟรโดมีเรื่องราวกับคู่ควงคนใหม่ของวิโอเลตตา แต่สุดท้ายทั้งคู่ก็ได้มาแสดงความรักต่อกันก่อนที่วิโอเลตตาจะจากโลกนี้ไปด้วยวัณโรคที่ทำลายสุขภาพเธอมานานแสนนาน
 
บทเพลงอันน่าประทับใจ เพลงร้องหมู่ในงานเลี้ยงคือ Libiamo ne' lieti calici หรือ drinking song ที่โด่งดังที่สุด เพลงร้องเดี่ยวของวิโอเลตตา คือ Ah, fors'i lui และ Sempre libera เพลงร้องระหว่างอัลเฟรโดและวิโอเลลตาคือ Parigi, o cara , noi lasceremo
 
 
 
 
        
 
 
             ภาพจาก  www.talkclassical.com
 
 
 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&