Skip to main content

 

ผมเติบโตมากับนวนิยายพลนิกร กิมหงวนและการ์ตูนโดราเอมอน ถึงแม้จะติดใจกับการ์ตูนเป็นตอนๆ จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปดูภาพยนต์โดราเอมอน ตอนโลกไดโนเสาร์ ยังคงชอบจนติดตามาถึงทุกวันนี้  นึกในใจว่าถ้าโนบิตะมีตัวตนอยู่จริงๆ อายุก็น่าปาไป 50 กว่าปีแล้ว มีลูกมีเต้ากับชิซูกะและเป็นผู้บริหารบริษัทขนาดกลาง (หรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือโดราเอมอนที่เครื่องยนต์เสีย ?) ต่อไปนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอนที่เกิดจากการสังเกตของผมเอง


1.Nostalgia

หมายถึงการหวนระลึกถึงอดีตอันแสนหวานของญี่ปุ่นโดยเฉพาะปลายทศวรรษที่ 60 จนถึง  80  ถึงแม้โดราเอมอนจะอยู่เลยจนถึงปัจจุบันก็ตาม แต่ถ้าได้อ่านเล่มต้นๆ แล้วจะซาบซึ้งกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นยุคนั้นเลยทีเดียว ถึงแม้สังคมญี่ปุ่นจะไม่สงบสุขอย่างในการ์ตูนก็ตาม   มีภาพยนตร์ญี่ปุ่นมากมายที่นำเสนอภาพของญี่ปุ่นในยุคนั้นด้วยสภาพที่ตรงกันข้ามกับเรื่องดังกล่าว  การ์ตูนโดราเอมอนจึงคล้ายกับเรื่อง Always ซึ่งจัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์แบบ Feel good nostalgia หรือการระลึกถึงความหลังด้วยความรู้สึกดี ๆ


2.Hippie

หมายถึงฮิปปี้ หรือพวกบุปผาชนที่ไว้ผมยาว ใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ชีวิตไม่สนกรอบระเบียบ วัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนั้นคลั่งตะวันตกยิ่งกว่าปัจจุบันเสียอีก นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามายังญี่ปุ่น การ์ตูนมักจะนำเสนออย่างมีอารมณ์ขันถึงวัยรุ่นซึ่งมีอายุมากกว่าโนบิตะเช่นเป็นตัวประกอบเดินผ่านไปผ่านมา คนรุ่นนี้ในยุคเบบี้บูมของสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันอายุน่าจะประมาณ 60  ปี ท่ามกลางสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมชราภาพ (ageing society) 


3.bullying

หมายถึงการรังแกกันโดยเฉพาะไจแอนท์ ซึ่งเป็นขาประจำในการแกล้งเด็กคนอื่นที่ตัวเล็กกว่าโดยเฉพาะโนบิตะส่วนไจแอนท์มักจะถูกผู้อ่านมองว่าเป็นพวกอันธพาลหรือ rogue  แต่ในหลายครั้งเขากลับเป็นเด็กที่มีน้ำใจไม่น้อย  การ์ตูนก็ได้ทำให้การรังแกกันเป็นเรื่องน่าขบขันทั้งที่ความจริงทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยไม่ว่าในญี่ปุ่นหรือตะวันตกต้องฆ่าตัวตายหรือทำในสิ่งที่เลวร้ายอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง


4.born loser

หมายถึงพวกขี้แพ้ หัวขี้เลื่อย อ่อนแอไม่เอาไหน ซึ่งโนบิตะมักจะมีนิสัยเช่นนี้อย่างคงเส้นคงวา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาพิสูจน์ว่าไม่ได้มีนิสัยเช่นนี้เสมอไป โดราเอมอนรู้ซึ้งดี  แต่ตามความเป็นจริงเด็กญี่ปุ่นอย่างเช่นโนบิตะจะมีที่ยืนเช่นนี้ในสังคมหรือไม่ 


5.competitive society

สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันโดยเฉพาะการเรียนเพื่อจะได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ  อย่างเช่นโนบิตะต้องถูกทางบ้านเคี่ยวเข็ญให้ต้องเรียนหนัก ในชีวิตจริงมีเด็กญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่สามารถสอบเข้าที่เรียนดีๆ ไม่ได้ก็ตัดสินใจกระโดดตึกตาย ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่มีสถิติฆ่าตัวตายสูงมาก


6.wishful thinking

หมายถึงความฝันเฟื่อง  โนบิตะเป็นเด็กสันหลังยาวระดับ 5 ดาว (ภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า a slob ได้อารมณ์กว่า a lazy boy) ที่มุ่งนอนฝันถึงเรื่องดีๆ โดราเอมอนจึงเป็นเพื่อนที่จะมาตอบสนองความฝันแบบนี้ได้อย่างดีพร้อมกับของวิเศษนานาชนิดทีพอช่วยให้โนบิตะเป็นคนดีขึ้นบ้างในบางตอน ผมคิดว่าด้วยญี่ปุ่นเป็นสังคมที่แข่งขันและแก่งแย่งกันเช่นนี้ จึงมีเด็กและไม่เด็กจำนวนมากที่ติดอยู่ใน Wishful Thinking จนไม่สามารถออกจากห้องเพื่อพบกับความเป็นจริงได้ เช่นมีคนไม่ยอมออกจากห้องนอนเป็นเดือนๆ ปีๆ  ดังศัพท์ที่เรียกว่า  Hikikomori


7.magic toys

หรือของวิเศษ ซึ่งการ์ตูนบอกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์จากศตวรรษที่ 22 แต่ถ้าดูดีๆ แล้ว ของวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์แบบนี้ต่อให้เป็นในศตวรรษที่ 30 และเป็นถึงเทวดาจ้างก็ทำไม่ได้ เคยคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าใช้ของพวกนี้พร้อมๆ กันแล้วโลกและจักรวาลคงจะต้องพังพินาศเพราะผลกระทบที่ขัดแย้งกันเอง


8.grumbling mom

หมายถึงคุณแม่ขี้บ่น  คือคุณแม่ของโนบิตะนั้นเอง สำหรับญี่ปุ่นถึงแม้จะเป็นเสรีประชาธิปไตยแต่สิทธิของผู้หญิงค่อนข้างจะพัฒนาไปได้ช้า มีผู้นำทางสังคมและธุรกิจที่เป็นผู้หญิงไม่มากนัก และความคาดหวังของสังคมมักจะให้ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่บ้านแม่เรือน สังเกตดูว่าในโดราเอมอนมักไม่ค่อยมีผู้บริหารเป็นผู้หญิง ปัจจุบัน สังคมญี่ปุ่นก็ยังคงสภาพเช่นนี้อีกเยอะ ผู้หญิงญี่ปุ่นที่ลาออกมาคลอดบุตรหรือไปเป็นแม่บ้านมักจะถูกปิดโอกาสทางอาชีพ จนนายชินโซะ อาเบะต้องเน้นนโนบายให้สิทธิแก่ผู้หญิงในการทำงานมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นดังที่เรียกว่า นโยบาย Womenomics 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมฟูจิโกะ ฟูจิโอะมักชอบให้ภรรยาผมสั้นและตัวสูงกว่าคุณสามีเสมอเลย


9.robot

โดราเอมอนเป็น robot หรือหุ่นยนต์ แต่ความจริงโดราเอมอนมีส่วนผสมของร่างกายที่ซับซ้อน มีความรู้สึกเจ็บปวดและอยากอาหาร ลักษณะคล้ายมนุษย์(หรือแมว) มากกว่า  ถ้ามีรูปร่างเป็นมนุษย์ ภาษาอังกฤษก็คงจะเป็น  Android หรือ humanoid    โดราเอมอนก็ยังมีสมองกล (Artificial intelligence) ที่เต็มไปด้วยความฉลาด (ซึ่งไม่มากนัก) อารมณ์ความรู้สึกที่ละเอียดละอ่อนยิ่งกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำไป  โดราเอมอนจึงสอดคล้องกับคำพูดของใครก็จำไม่ได้เสียแล้วว่าหุ่นยนตร์เริ่มเหมือนมนุษย์มากขึ้น ในทางกลับกันมนุษย์เริ่มเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้น


10.Fictional society

หรือสังคมในจินตนาการ เคยสังเกตไหมว่าเพื่อนบ้านหรือคนอื่น ๆ ที่เดินไปเดินมาในย่านที่โนบิตะอาศัยอยู่ไม่ตื่นเต้นเลยเวลาเจอโดราเอมอน ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์สำคัญในอนาคตที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ กำลังเดินเพ่นพ่านในกรุงโตเกียว โดราเอมอนจึงเป็น "ปิติ มานะ วีระ" เวอร์ชันญี่ปุ่นอย่างแท้จริง 

 

 

 

                                     

 

                                          (ภาพจาก  http://www.watchcartoononline.com)

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก