Skip to main content

 

ผมเติบโตมากับนวนิยายพลนิกร กิมหงวนและการ์ตูนโดราเอมอน ถึงแม้จะติดใจกับการ์ตูนเป็นตอนๆ จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปดูภาพยนต์โดราเอมอน ตอนโลกไดโนเสาร์ ยังคงชอบจนติดตามาถึงทุกวันนี้  นึกในใจว่าถ้าโนบิตะมีตัวตนอยู่จริงๆ อายุก็น่าปาไป 50 กว่าปีแล้ว มีลูกมีเต้ากับชิซูกะและเป็นผู้บริหารบริษัทขนาดกลาง (หรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือโดราเอมอนที่เครื่องยนต์เสีย ?) ต่อไปนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอนที่เกิดจากการสังเกตของผมเอง


1.Nostalgia

หมายถึงการหวนระลึกถึงอดีตอันแสนหวานของญี่ปุ่นโดยเฉพาะปลายทศวรรษที่ 60 จนถึง  80  ถึงแม้โดราเอมอนจะอยู่เลยจนถึงปัจจุบันก็ตาม แต่ถ้าได้อ่านเล่มต้นๆ แล้วจะซาบซึ้งกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นยุคนั้นเลยทีเดียว ถึงแม้สังคมญี่ปุ่นจะไม่สงบสุขอย่างในการ์ตูนก็ตาม   มีภาพยนตร์ญี่ปุ่นมากมายที่นำเสนอภาพของญี่ปุ่นในยุคนั้นด้วยสภาพที่ตรงกันข้ามกับเรื่องดังกล่าว  การ์ตูนโดราเอมอนจึงคล้ายกับเรื่อง Always ซึ่งจัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์แบบ Feel good nostalgia หรือการระลึกถึงความหลังด้วยความรู้สึกดี ๆ


2.Hippie

หมายถึงฮิปปี้ หรือพวกบุปผาชนที่ไว้ผมยาว ใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ชีวิตไม่สนกรอบระเบียบ วัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนั้นคลั่งตะวันตกยิ่งกว่าปัจจุบันเสียอีก นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามายังญี่ปุ่น การ์ตูนมักจะนำเสนออย่างมีอารมณ์ขันถึงวัยรุ่นซึ่งมีอายุมากกว่าโนบิตะเช่นเป็นตัวประกอบเดินผ่านไปผ่านมา คนรุ่นนี้ในยุคเบบี้บูมของสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันอายุน่าจะประมาณ 60  ปี ท่ามกลางสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมชราภาพ (ageing society) 


3.bullying

หมายถึงการรังแกกันโดยเฉพาะไจแอนท์ ซึ่งเป็นขาประจำในการแกล้งเด็กคนอื่นที่ตัวเล็กกว่าโดยเฉพาะโนบิตะส่วนไจแอนท์มักจะถูกผู้อ่านมองว่าเป็นพวกอันธพาลหรือ rogue  แต่ในหลายครั้งเขากลับเป็นเด็กที่มีน้ำใจไม่น้อย  การ์ตูนก็ได้ทำให้การรังแกกันเป็นเรื่องน่าขบขันทั้งที่ความจริงทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยไม่ว่าในญี่ปุ่นหรือตะวันตกต้องฆ่าตัวตายหรือทำในสิ่งที่เลวร้ายอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง


4.born loser

หมายถึงพวกขี้แพ้ หัวขี้เลื่อย อ่อนแอไม่เอาไหน ซึ่งโนบิตะมักจะมีนิสัยเช่นนี้อย่างคงเส้นคงวา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาพิสูจน์ว่าไม่ได้มีนิสัยเช่นนี้เสมอไป โดราเอมอนรู้ซึ้งดี  แต่ตามความเป็นจริงเด็กญี่ปุ่นอย่างเช่นโนบิตะจะมีที่ยืนเช่นนี้ในสังคมหรือไม่ 


5.competitive society

สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันโดยเฉพาะการเรียนเพื่อจะได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ  อย่างเช่นโนบิตะต้องถูกทางบ้านเคี่ยวเข็ญให้ต้องเรียนหนัก ในชีวิตจริงมีเด็กญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่สามารถสอบเข้าที่เรียนดีๆ ไม่ได้ก็ตัดสินใจกระโดดตึกตาย ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่มีสถิติฆ่าตัวตายสูงมาก


6.wishful thinking

หมายถึงความฝันเฟื่อง  โนบิตะเป็นเด็กสันหลังยาวระดับ 5 ดาว (ภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า a slob ได้อารมณ์กว่า a lazy boy) ที่มุ่งนอนฝันถึงเรื่องดีๆ โดราเอมอนจึงเป็นเพื่อนที่จะมาตอบสนองความฝันแบบนี้ได้อย่างดีพร้อมกับของวิเศษนานาชนิดทีพอช่วยให้โนบิตะเป็นคนดีขึ้นบ้างในบางตอน ผมคิดว่าด้วยญี่ปุ่นเป็นสังคมที่แข่งขันและแก่งแย่งกันเช่นนี้ จึงมีเด็กและไม่เด็กจำนวนมากที่ติดอยู่ใน Wishful Thinking จนไม่สามารถออกจากห้องเพื่อพบกับความเป็นจริงได้ เช่นมีคนไม่ยอมออกจากห้องนอนเป็นเดือนๆ ปีๆ  ดังศัพท์ที่เรียกว่า  Hikikomori


7.magic toys

หรือของวิเศษ ซึ่งการ์ตูนบอกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์จากศตวรรษที่ 22 แต่ถ้าดูดีๆ แล้ว ของวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์แบบนี้ต่อให้เป็นในศตวรรษที่ 30 และเป็นถึงเทวดาจ้างก็ทำไม่ได้ เคยคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าใช้ของพวกนี้พร้อมๆ กันแล้วโลกและจักรวาลคงจะต้องพังพินาศเพราะผลกระทบที่ขัดแย้งกันเอง


8.grumbling mom

หมายถึงคุณแม่ขี้บ่น  คือคุณแม่ของโนบิตะนั้นเอง สำหรับญี่ปุ่นถึงแม้จะเป็นเสรีประชาธิปไตยแต่สิทธิของผู้หญิงค่อนข้างจะพัฒนาไปได้ช้า มีผู้นำทางสังคมและธุรกิจที่เป็นผู้หญิงไม่มากนัก และความคาดหวังของสังคมมักจะให้ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่บ้านแม่เรือน สังเกตดูว่าในโดราเอมอนมักไม่ค่อยมีผู้บริหารเป็นผู้หญิง ปัจจุบัน สังคมญี่ปุ่นก็ยังคงสภาพเช่นนี้อีกเยอะ ผู้หญิงญี่ปุ่นที่ลาออกมาคลอดบุตรหรือไปเป็นแม่บ้านมักจะถูกปิดโอกาสทางอาชีพ จนนายชินโซะ อาเบะต้องเน้นนโนบายให้สิทธิแก่ผู้หญิงในการทำงานมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นดังที่เรียกว่า นโยบาย Womenomics 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมฟูจิโกะ ฟูจิโอะมักชอบให้ภรรยาผมสั้นและตัวสูงกว่าคุณสามีเสมอเลย


9.robot

โดราเอมอนเป็น robot หรือหุ่นยนต์ แต่ความจริงโดราเอมอนมีส่วนผสมของร่างกายที่ซับซ้อน มีความรู้สึกเจ็บปวดและอยากอาหาร ลักษณะคล้ายมนุษย์(หรือแมว) มากกว่า  ถ้ามีรูปร่างเป็นมนุษย์ ภาษาอังกฤษก็คงจะเป็น  Android หรือ humanoid    โดราเอมอนก็ยังมีสมองกล (Artificial intelligence) ที่เต็มไปด้วยความฉลาด (ซึ่งไม่มากนัก) อารมณ์ความรู้สึกที่ละเอียดละอ่อนยิ่งกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำไป  โดราเอมอนจึงสอดคล้องกับคำพูดของใครก็จำไม่ได้เสียแล้วว่าหุ่นยนตร์เริ่มเหมือนมนุษย์มากขึ้น ในทางกลับกันมนุษย์เริ่มเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้น


10.Fictional society

หรือสังคมในจินตนาการ เคยสังเกตไหมว่าเพื่อนบ้านหรือคนอื่น ๆ ที่เดินไปเดินมาในย่านที่โนบิตะอาศัยอยู่ไม่ตื่นเต้นเลยเวลาเจอโดราเอมอน ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์สำคัญในอนาคตที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ กำลังเดินเพ่นพ่านในกรุงโตเกียว โดราเอมอนจึงเป็น "ปิติ มานะ วีระ" เวอร์ชันญี่ปุ่นอย่างแท้จริง 

 

 

 

                                     

 

                                          (ภาพจาก  http://www.watchcartoononline.com)

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์