บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/
เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้ถึงแม้จะเป็นที่รู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของเบโธเฟนไม่ว่า หมายเลข 3 5 6 และ 9 แต่นับได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ล้ำค่าและอลังการไม่แพ้กันเลย เบโธเฟนเริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี 1811 ขณะที่ตนไปรักษาสุขภาพที่เมืองเตปลิซ ซึ่งเป็นเมืองบ่อน้ำแร่ (สปา) ออกนำแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา ปี 1812 ในคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิฮาเนาอันเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพผสมออสเตรียและแคว้นบาวาเรียนกับกองทัพของพระเจ้านโปเลียน ซิมโฟนีชิ้นนี้ยังถูกนำเสนอพร้อมกับผลงานชิ้นเลิศคือ Wellington’s Victory แถมคีตกวีเอกของเราลงทุนไปกำกับเอง ได้ผลลัพธ์คือคนฟังให้การต้อนรับอย่างดี
ซิมโฟนีบทนี้มีทั้งหมด 4 กระบวน ความยาวประมาณ 33 นาที 44 วินาที วัดจากการบรรเลงของวงเบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า โดยเฮอร์เบิร์ต ฟอน คารายาน บันทึกเสียงในปี 1962
1.Poco sostenuto - Vivace
2.Allegretto
3.Presto
4. Allegro con brio
ภาพจาก www.allmusic.com
บทความของคุณเบอร์นาร์ด
การแสดงในงานคริสต์มาสเพื่อการกุศลของโรงพยาบาลเซนต์มาร์กที่ถูกจัดขึ้นในปี 1816 และการแสดงเพื่อช่วยเหลือแม่หม่ายและเด็กกำพร้าจากสงคราม ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนาในปีต่อมาเป็นโอกาสถึง 2 ครั้งที่เบโธเฟนจะได้นำการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 นับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสของการออกนำวงด้วยตัวเองที่นับวันยิ่งไม่ค่อยมีนัก
ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 ปีภายหลังจากการถูกนำออกแสดงครั้งแรกกลับได้รับการตอบสนองที่ไม่ค่อยดีนักเช่นเมย์นาร์ด โซโลมอนด์นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่า "คนปรบมือกันเปาะแปะ แถมกระบวน Allegretto ที่ทรงคุณค่าไม่ได้รับการร้องขอให้เล่นอีกครั้งตามธรรมเนียม ซึ่งบรรดาเพื่อนๆ ของเบโธเฟนก็แก้ต่างอย่างข้างๆ คู ๆ ว่า เพราะคนนั่งกันอย่างแออัดทำให้ยกแขนขึ้นมาปรบมืออย่างไม่สะดวกนัก”
ความชื่นชมคลั่งไคล้ของชาวเวียนนาที่มีต่อเบโธเฟนในช่วงเวลานั้นได้ลดฮวบฮาบไปอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตามพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์ของเบโธเฟนก็ไม่ได้ลดไปด้วย ตามความจริง เขากำลังค้นหาหนทางใหม่ในช่วงที่ตัวเองกำลังพบกับความวุ่นวายในชีวิตคืออาการหูหนวกและการขอมีสิทธิ์เลี้ยงดูหลาน ซิมโฟนีหมายเลข 7 อยู่ในช่วงท้าย ๆ ที่ผลงานของเขาเป็นการเชิดชูบูชาบุคคลดังที่เรารู้จักกันดีในซิมโฟนีหมายเลข 3 และหมายเลข 5
และโซโลมอนยังอ้างถึงความรู้สึกสั้น ๆ เกี่ยวกับซิมโฟนีหมายเลข 7 ของผู้ซึ่งติดตามงานของเบโธเฟนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันดังนี้
เบลิออซเรียกเพลงนี้เป็น "ระบำรูปวงกลมของชาวนา" (Ronde des Paysans) โดยเฉพาะในกระบวนแรก วาคเนอร์เรียกเพลงนี้ว่า “เป็นเพลงเต้นรำที่สุดยอด” เลนซ์เห็นว่าเป็น "ซิมโฟนีหมายเลข 6 บทที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบตรงการเต้นระบำของชาวนาในงานแต่งงาน"
โนห์ลเห็นว่าซิมโฟนีชิ้นนี้เป็นงานเทศกาลของพวกอัศวินและงานเต้นรำใส่หน้ากากที่เมามันด้วยความสนุกสนานและไวน์ และ เบกเกอร์เรียกว่าเป็น Bacchic orgy (งานร่าเริงแบบเทพเจ้าบัคคุสหรือเทพแห่งไวน์ตามความเชื่อของชาวโรมัน) และเออร์เนส นิวแมนเห็นว่ามันเป็นการพุ่งทะยานของพลังแห่งเทพไดโอนีซุส หรือการเสพสุขทางจิตวิญญาณ
ภาพจาก www.awesomestories.com
ท่วงทำนองที่สนุกสนานที่มีอยู่ทั่วซิมโฟนีได้ทำให้นักเขียนทั้งหลายคิดว่าไม่ว่ามันจะแสดงออกอย่างไร เพลงซึ่งเป็นบทเริ่มต้นที่ยาวที่สุดได้แสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนได้พาคนฟังเข้าไปมีอารมณ์ร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อความสนุกสนานที่กำลังจะเริ่มขึ้น บทนำนั้นได้ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก 2 อารมณ์ อารมณ์แรกคือการนำไปสู่ธีมเอเมเจอร์ด้วยขลุ่ยและอารมณ์ที่ 2 มันได้เลื่อนไหลจากโน้ตตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งแต่เบโธเฟนได้เข้าขัดจังหวะการเลื่อนไหลเช่นนี้ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพและทำให้ธีมของมันกลับมาเหมือนเดิม ผู้ฟังจึงตั้งใจฟังอย่างแทบไม่หายใจ
ทันที่ขลุ่ยเริ่มต้นบรรเลงตามจังหวะของกระบวนแรก การเต้นรำก็เริ่มขึ้นและดำเนินไปเช่นนั้นเรื่อย ๆ ครั้ง วาทยกรผู้โด่งดังคือบรูโน วอลเทอร์ได้ออกความเห็นในช่วงซ้อมว่า เขากำกับซิมโฟนีหมายเลข 7 มามากมายหลายครั้ง แต่ไม่เคยสามารถทำให้จังหวะมันถูกต้องตลอดไปได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะจังหวะของมันนั้นประณีตพอๆ กับความเร่าร้อน
ในกระบวนที่ 2 คือ Allegretto อาจจะช้ากว่ากระบวนอื่น แต่ด้วยมาตรฐานของกระบวนที่ช้าทั่วไปนั้น มันไม่ใช่เลย กระบวนที่ 2 ประกอบด้วยรูปแบบของ dactylic ที่มั่นคง (ยาว ช้า ช้า) ในเอเมเจอร์ที่แสนจะงดงาม ซึ่งทวีความเข้มข้นขึ้นสอดประสานกับการซ้ำจังหวะของแต่ละครั้ง นี่เป็นกระบวนซึ่งผู้ชมมักจะร้องขอให้เล่นซ้ำมากที่สุด ธีมของมันไม่มีอะไรมากและเรามักจะรับรู้ถึงตัวโน้ตที่ถูกบรรเลงซ้ำ ๆ แต่เบโธเฟนประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวโน้ตเกิดความเป็นเอกภาพพร้อมไปกับการเปลี่ยนท่วงท่า ทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งใจ
ผม (คุณเบอร์นาร์ด) ได้ฟังจังหวะ Scherzo (ในกระบวนที่ 3 คือ Presto) ในหนังสารคดีมานับครั้งไม่ถ้วน ที่บ่อยที่สุดคือดนตรีประกอบสารคดีศิลปะยุคโรแมนติก นี่คือการเต้นรำที่บ้าคลั่งที่สุด และมักจะสลับด้วยส่วนที่ขัดแย้งที่สุดคือจังหวะ Trio ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนน้อยกว่า แต่เมื่อถึงตอนจบ ทรีโอแม้จะปรากฏตัวอย่างสั้น ๆ ได้ทำให้ดนตรีมีลักษณะแหกจารีตอย่างที่คนฟังคาดไม่ถึง นี่คือตัวอย่างหนึ่งในบรรดาดนตรีของเบโธเฟนที่มักจะทะลุนอกกรอบ
บางคนคิดว่าเบโธเฟนต้องเมาอย่างแน่นอนเมื่อเขียนกระบวนสุดท้ายหรือไม่ก็ทำให้เกิดภาพว่าใครสักคนกำลังเมา มีหลายจุดที่ทำให้ชวนจินตนาการถึงฉากคนหลายคนกำลังทะเลาะกันถึงเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ ผลที่ได้เป็นเรื่องตลกนั่นคือการกลับไปกลับมาตลอดกาลระหว่างความวุ่นวายและดุลยภาพ
สำหรับผู้เขียน (อรรถสิทธิ์) คิดว่าคงจะเหมือนกับที่เลนซ์บอก หากซิมโฟนีหมายเลข 6 คือการที่ชายผู้เดินทางในชนบท ได้พบกับความงดงามของธรรมชาติ ได้เผชิญกับพายุฝนและความงดงามอันเดิมที่กลับมาอีกครั้งภายหลังจากพายุผ่านไป ซิมโฟนีหมายเลข 7 คือยามเย็นที่ชายคนนั้น (ก็คือเบโธเฟนนั้นเอง) ได้เดินทางมาพบกับบ้านที่กำลังจัดงานแต่งงานที่บรรดาแขกเต้นรำกันสนุกสนาน ใครคนหนึ่งออกมาเชิญเขาให้ไปเต้นรำด้วย....
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด