Skip to main content
 
 
บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/ 
 
 
เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้ถึงแม้จะเป็นที่รู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของเบโธเฟนไม่ว่า หมายเลข 3 5 6 และ 9  แต่นับได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ล้ำค่าและอลังการไม่แพ้กันเลย เบโธเฟนเริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี 1811 ขณะที่ตนไปรักษาสุขภาพที่เมืองเตปลิซ ซึ่งเป็นเมืองบ่อน้ำแร่ (สปา) ออกนำแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา ปี 1812 ในคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิฮาเนาอันเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพผสมออสเตรียและแคว้นบาวาเรียนกับกองทัพของพระเจ้านโปเลียน ซิมโฟนีชิ้นนี้ยังถูกนำเสนอพร้อมกับผลงานชิ้นเลิศคือ Wellington’s Victory แถมคีตกวีเอกของเราลงทุนไปกำกับเอง ได้ผลลัพธ์คือคนฟังให้การต้อนรับอย่างดี 
 
ซิมโฟนีบทนี้มีทั้งหมด 4 กระบวน ความยาวประมาณ 33 นาที 44 วินาที วัดจากการบรรเลงของวงเบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า โดยเฮอร์เบิร์ต ฟอน คารายาน  บันทึกเสียงในปี 1962
 
1.Poco sostenuto - Vivace 
2.Allegretto 
3.Presto 
4. Allegro con brio 
 
 
 
 
                                       
                      
                                       
                                        ภาพจาก www.allmusic.com
 
 
บทความของคุณเบอร์นาร์ด
 
การแสดงในงานคริสต์มาสเพื่อการกุศลของโรงพยาบาลเซนต์มาร์กที่ถูกจัดขึ้นในปี 1816 และการแสดงเพื่อช่วยเหลือแม่หม่ายและเด็กกำพร้าจากสงคราม ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนาในปีต่อมาเป็นโอกาสถึง 2 ครั้งที่เบโธเฟนจะได้นำการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 นับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสของการออกนำวงด้วยตัวเองที่นับวันยิ่งไม่ค่อยมีนัก
 
ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 ปีภายหลังจากการถูกนำออกแสดงครั้งแรกกลับได้รับการตอบสนองที่ไม่ค่อยดีนักเช่นเมย์นาร์ด โซโลมอนด์นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่า "คนปรบมือกันเปาะแปะ แถมกระบวน Allegretto ที่ทรงคุณค่าไม่ได้รับการร้องขอให้เล่นอีกครั้งตามธรรมเนียม ซึ่งบรรดาเพื่อนๆ ของเบโธเฟนก็แก้ต่างอย่างข้างๆ คู ๆ  ว่า เพราะคนนั่งกันอย่างแออัดทำให้ยกแขนขึ้นมาปรบมืออย่างไม่สะดวกนัก”
 
ความชื่นชมคลั่งไคล้ของชาวเวียนนาที่มีต่อเบโธเฟนในช่วงเวลานั้นได้ลดฮวบฮาบไปอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตามพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์ของเบโธเฟนก็ไม่ได้ลดไปด้วย ตามความจริง เขากำลังค้นหาหนทางใหม่ในช่วงที่ตัวเองกำลังพบกับความวุ่นวายในชีวิตคืออาการหูหนวกและการขอมีสิทธิ์เลี้ยงดูหลาน ซิมโฟนีหมายเลข 7 อยู่ในช่วงท้าย ๆ ที่ผลงานของเขาเป็นการเชิดชูบูชาบุคคลดังที่เรารู้จักกันดีในซิมโฟนีหมายเลข 3 และหมายเลข 5 
 
และโซโลมอนยังอ้างถึงความรู้สึกสั้น ๆ เกี่ยวกับซิมโฟนีหมายเลข 7 ของผู้ซึ่งติดตามงานของเบโธเฟนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันดังนี้
 
เบลิออซเรียกเพลงนี้เป็น "ระบำรูปวงกลมของชาวนา" (Ronde des Paysans) โดยเฉพาะในกระบวนแรก  วาคเนอร์เรียกเพลงนี้ว่า “เป็นเพลงเต้นรำที่สุดยอด” เลนซ์เห็นว่าเป็น "ซิมโฟนีหมายเลข 6 บทที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบตรงการเต้นระบำของชาวนาในงานแต่งงาน" 
 
โนห์ลเห็นว่าซิมโฟนีชิ้นนี้เป็นงานเทศกาลของพวกอัศวินและงานเต้นรำใส่หน้ากากที่เมามันด้วยความสนุกสนานและไวน์ และ เบกเกอร์เรียกว่าเป็น Bacchic orgy (งานร่าเริงแบบเทพเจ้าบัคคุสหรือเทพแห่งไวน์ตามความเชื่อของชาวโรมัน) และเออร์เนส นิวแมนเห็นว่ามันเป็นการพุ่งทะยานของพลังแห่งเทพไดโอนีซุส หรือการเสพสุขทางจิตวิญญาณ 
 
 
 
 
 
                                              
 
                                                          ภาพจาก  www.awesomestories.com
 
 
ท่วงทำนองที่สนุกสนานที่มีอยู่ทั่วซิมโฟนีได้ทำให้นักเขียนทั้งหลายคิดว่าไม่ว่ามันจะแสดงออกอย่างไร เพลงซึ่งเป็นบทเริ่มต้นที่ยาวที่สุดได้แสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนได้พาคนฟังเข้าไปมีอารมณ์ร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อความสนุกสนานที่กำลังจะเริ่มขึ้น บทนำนั้นได้ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก 2 อารมณ์ อารมณ์แรกคือการนำไปสู่ธีมเอเมเจอร์ด้วยขลุ่ยและอารมณ์ที่ 2  มันได้เลื่อนไหลจากโน้ตตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งแต่เบโธเฟนได้เข้าขัดจังหวะการเลื่อนไหลเช่นนี้ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพและทำให้ธีมของมันกลับมาเหมือนเดิม ผู้ฟังจึงตั้งใจฟังอย่างแทบไม่หายใจ 
 
ทันที่ขลุ่ยเริ่มต้นบรรเลงตามจังหวะของกระบวนแรก การเต้นรำก็เริ่มขึ้นและดำเนินไปเช่นนั้นเรื่อย ๆ ครั้ง วาทยกรผู้โด่งดังคือบรูโน วอลเทอร์ได้ออกความเห็นในช่วงซ้อมว่า เขากำกับซิมโฟนีหมายเลข 7 มามากมายหลายครั้ง แต่ไม่เคยสามารถทำให้จังหวะมันถูกต้องตลอดไปได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะจังหวะของมันนั้นประณีตพอๆ กับความเร่าร้อน 
 
ในกระบวนที่ 2 คือ Allegretto อาจจะช้ากว่ากระบวนอื่น แต่ด้วยมาตรฐานของกระบวนที่ช้าทั่วไปนั้น มันไม่ใช่เลย กระบวนที่ 2 ประกอบด้วยรูปแบบของ dactylic ที่มั่นคง (ยาว ช้า ช้า) ในเอเมเจอร์ที่แสนจะงดงาม ซึ่งทวีความเข้มข้นขึ้นสอดประสานกับการซ้ำจังหวะของแต่ละครั้ง นี่เป็นกระบวนซึ่งผู้ชมมักจะร้องขอให้เล่นซ้ำมากที่สุด ธีมของมันไม่มีอะไรมากและเรามักจะรับรู้ถึงตัวโน้ตที่ถูกบรรเลงซ้ำ ๆ แต่เบโธเฟนประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวโน้ตเกิดความเป็นเอกภาพพร้อมไปกับการเปลี่ยนท่วงท่า ทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งใจ 
 
ผม (คุณเบอร์นาร์ด) ได้ฟังจังหวะ Scherzo (ในกระบวนที่ 3 คือ Presto) ในหนังสารคดีมานับครั้งไม่ถ้วน ที่บ่อยที่สุดคือดนตรีประกอบสารคดีศิลปะยุคโรแมนติก นี่คือการเต้นรำที่บ้าคลั่งที่สุด และมักจะสลับด้วยส่วนที่ขัดแย้งที่สุดคือจังหวะ Trio ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนน้อยกว่า แต่เมื่อถึงตอนจบ ทรีโอแม้จะปรากฏตัวอย่างสั้น ๆ ได้ทำให้ดนตรีมีลักษณะแหกจารีตอย่างที่คนฟังคาดไม่ถึง นี่คือตัวอย่างหนึ่งในบรรดาดนตรีของเบโธเฟนที่มักจะทะลุนอกกรอบ
 
บางคนคิดว่าเบโธเฟนต้องเมาอย่างแน่นอนเมื่อเขียนกระบวนสุดท้ายหรือไม่ก็ทำให้เกิดภาพว่าใครสักคนกำลังเมา มีหลายจุดที่ทำให้ชวนจินตนาการถึงฉากคนหลายคนกำลังทะเลาะกันถึงเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ ผลที่ได้เป็นเรื่องตลกนั่นคือการกลับไปกลับมาตลอดกาลระหว่างความวุ่นวายและดุลยภาพ 
 
 
สำหรับผู้เขียน (อรรถสิทธิ์) คิดว่าคงจะเหมือนกับที่เลนซ์บอก หากซิมโฟนีหมายเลข 6 คือการที่ชายผู้เดินทางในชนบท ได้พบกับความงดงามของธรรมชาติ ได้เผชิญกับพายุฝนและความงดงามอันเดิมที่กลับมาอีกครั้งภายหลังจากพายุผ่านไป ซิมโฟนีหมายเลข 7 คือยามเย็นที่ชายคนนั้น (ก็คือเบโธเฟนนั้นเอง) ได้เดินทางมาพบกับบ้านที่กำลังจัดงานแต่งงานที่บรรดาแขกเต้นรำกันสนุกสนาน ใครคนหนึ่งออกมาเชิญเขาให้ไปเต้นรำด้วย....
 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง