Skip to main content

 

 

    ไปเจอเฟซบุ๊คที่น่าสนุกอยู่เพจหนึ่งคือ “เรื่องสยอง 2 บรรทัด” เป็นการเขียนเล่าเรื่องสยอง เรื่องผี เรื่องไสยศาสตร์หรือเรื่องตลกร้ายในชีวิตแบบสั้นๆ คือไม่เกิน 2 บรรทัดพร้อมกับภาพการ์ตูนประกอบที่ดูทั้งขับขันและน่ากลัวระคนกันไป (https://th-th.facebook.com/sayongsongbuntud)  ทำให้นึกถึงบทกวีไฮกุของศาสนาพุทธนิกายเซนที่ใช้คำไม่กี่คำแต่ก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งและการรู้แจ้ง ผมเลยขออนุญาตนำวิธีการการเล่าเรื่องสยองของท่านแอดมินมาประยุกต์โดยใช้ความคิดของตัวเอง (หวังว่าคงไม่ซ้ำกับในเพจ)

 

 

นั่งดูหนังเพลิน ๆ  คนข้างๆ เสียงดัง

หันไปตวาดใส่  อ้าวกูดูอยู่คนเดียวทั้งโรงนี่หว่า

 

ท่านฮุนเซนหักหน้าท่านประยุทธ์    ท่านประยุทธ์หักหน้าท่านฮุนเซน

สื่อไทยออกมาบอกว่าบรรยากาศชื่นมื่น

 

ขับรถอย่างนี้จะรีบไปเผาพ่อมึงหรอ

เปล่าครับ ผมจะรีบไปขึ้นเมรุ เดี๋ยวไม่มีศพให้เผา

 

ทางการไทยบอก พล.ต.ต.ปวีณว่าจะรับรองความปลอดภัยหากกลับมา

คืนนั้น พล.ต.ต.ปวีณพบวิญญาณของหมอหยองลอยมา

 

จีบสาวอยู่ดีๆ  ตื่นอีกที

ทำไมนั่งอยู่ในกระทะร้อนๆ มีต้นงิ้วอยู่รายรอบ

 

โพลพบว่ามีคนไทยกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ชื่นชอบรัฐบาลทหาร

แอบดูการทำโพลเห็นหมอผีสวดมนต์และปากกาเคลื่อนไหวเองบนกระดาษ

 

ผมบอกสาวที่กำลังหลีว่า “หนาวเนื้อห่มเนื้อจึงหายหนาว” 

คืนนั้นผมไปนอนที่ห้องเธอ พบว่าผ้าห่มของเธอทำจากเนื้อของมนุษย์

 

ลูกชายบอกว่าโตขึ้นมาอยากเป็นพุทธ

....พุทธะอิสระ คือจะทำอะไรก็ได้ จะชุมนุมกี่คน คสช.มันก็ไม่จับ

 

วิจารณ์เจ้าอยู่ดีๆ ตื่นอีกที ทำไมอยู่ในอพาร์ตเมนต์เก่าๆ

นอกหน้าต่างมีหอไอเฟลอยู่ไม่ไกล

 

กำลังจะนอน เสียงคนเดินในห้องข้างบนดังกุกกัก

ตวาดขึ้นไป อ้าวกูอยู่บ้านชั้นเดียวนี่หว่า

 

ในเวทีประกวดมิสเตอร์เผด็จการโลก พิธีกรหัวล้านมีหนวดประกาศว่าผู้ชนะ

คือมิสเตอร์เกาหลีเหนือ ต่อมาบอกว่ามิสเตอร์ไทยแลนด์ได้มงกฎแทน

 

 

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์