Skip to main content

    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่องนี้กลายเป็นอุปรากรที่แสนอื้อฉาวที่สุดเรื่องหนึ่งในศตวรรษที่ 19 เพราะมีการกล่าวถึงเรื่องความรักและเรื่องทางเพศอย่างเปิดเผย

     จอร์จ บิเซต์ นำอุปรากรเรื่องนี้ออกแสดงในปี เดือนมีนาคม ปี 1875 ที่โรงอุปรากรออเปรากอมมิคแห่งกรุงปารีส โดยมีคนเขียนบทร้องคือเมเอก และอเลวีย์ อิงอยู่กับนิยายชื่อเดียวกันของนักเขียนนามว่าปรอสเป เมริเม อุปรากรเรื่องนี้ต้องพบกับความล้มเหลวเพราะว่าถูกคนโจมตีว่าเป็นอุปรากรที่ไร้ศีลธรรม และอุจาดเกินไป แน่นอนว่าฝรั่งในยุโรปเมื่อศตวรรษที่แล้วจะเคร่งศีลธรรมโดยเฉพาะการแสดงออกทางเพศมาก  Carmen จึงทำให้คนดูตกใจเช่นเดียวกับเมื่อเข้าชมรอบแรกของ Don Giovanni ของโมซาร์ท ,Salome ของริชาร์ด สเตราส์ หรือ Lady Macbeth of the Mtsensk District ของดมิทริ โชสตาโควิคและถ้าเป็นภาพยนตร์ก็คงได้รับ Rate X หรือ NC-17 ในปัจจุบัน แม้ว่าตัวอุปรากรถือได้ว่าธรรมดาในยุคนี้ แต่คนแสดงเป็นคาร์เมนออกจะเปลืองตัวสักหน่อยเช่นแต่งกายไม่มิดชิด แสดงท่าทียั่วยวน และสัมผัสตัวกับผู้ชายในรูปแบบที่ส่อถึงเรื่องทางเพศ  กระนั้นก็ถือว่า Carmen ยังฉีกรูปแบบของอุปรากรฝรั่งเศสในยุคก่อนซึ่งเน้นความเป็น Comique หรืออุปรากรแนวหรรษาโดยมีคีตกวีชื่อดังเป็นคนเยอรมันคือญาคส์ ออฟเบนบาค นั่นคือ Carmenให้ความลึกซึ้งในมิติของตัวละคร และยังเน้นความยิ่งใหญ่ของดนตรีมากกว่าเสียงร้อง อันเป็นลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากรของริชาร์ด แว็คเนอร์ คีตกวีขวัญใจของฮิตเลอร์ อย่างไรก็ตามบิเซต์เสียชีวิตก่อนจะทราบว่าอีก 1 ปีต่อมาอุปรากรของเขาจะประสบความสำเร็จที่กรุงเวียนนาและอีก 10 กว่าปีต่อมา Carmen ก็โด่งดังระดับโลกและมีคนนำไปเล่นมากที่สุด ยิ่งกว่า Samson and Dalida ของคามิล แซงซองส์เสียอีก  อันสะท้อนว่าบางทีคนในยุคนั้นมีความต้องการลึกๆ หรือพฤติกรรมซ่อนเร้นแบบ 2 มาตรฐาน เมื่อมีสื่อออกมาตอบสนองเช่นนี้ก็ให้ความนิยมเสียมากมาย

      

 

                                            

                                            ภาพจาก www.amazon.com

 

        เรื่องย่อ

       Prelude (หรือเพลงโหมโรง ซึ่งดังมาก คนไทยจะรู้จักดีจากเสียงมือถือ)

       องค์แรก

     คาเมลลา สาวน้อยได้เดินทางมายังป้อมทหารประจำเมืองเซอร์วิลล์ เมืองในสเปนตอนใต้ เพื่อตามหาดอน โฮเซ คู่หมั้นของหล่อน แต่ก็ถูกทหารยามกลุ่มหนึ่งล้อมหน้าล้อมหลังจนต้องหนีไป ทหารกลุ่มนั้นก็ยุติความสนุกสนานเมื่อได้เวลาเปลี่ยนผลัดเป็นทหารยามอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยโฮเซ นั่นเอง พร้อมๆ กับกลุ่มเด็กที่มาล้อเลียนทหารจนน่ารำคาญ (เด็กๆ ร้องประสานเสียงกันภายใต้เพลง avec la garde montante ) ข้างๆ ป้อมทหารเป็นโรงงานทำบุหรี่ที่มีสาวสวยจำนวนมากทำงานอยู่ เมื่อได้เวลาว่าง สาวๆ ก็ออกมาพักผ่อน ทำให้พวกชายหื่น รวมถึงทหารตาลุกมาออกันอยู่ข้างรั้วโรงงาน

      แต่เสน่ห์ของสาวเหล่านั้นก็ดูเหมือนจะเจือจางไปเมื่อสาวงามยิปซีที่คนรู้จักกันดีคือคาร์เมนได้ปรากฏตัวแล้วสร้างความฮือฮา ยกเว้นโฮเซซึ่งนั่งขรึมเพราะคิดถึงมารดาและคาเมลลา คาร์เมนได้ร้องเพลงยั่วทหารโดยเฉพาะร้อยเอกซูนีกา นายทหารระดับสูงสุดของที่นั่นด้วยเพลงสุดจะโด่งดังนั่นคือ Habanera หรือ L'amour est un oiseau rebelle (ความรักเปรียบได้ดังนกหัวขบถ) และตัดสินใจประกาศความรักโดยการโยนดอกกุหลาบไปยังโฮเซ ซึ่งหาได้สนใจคาร์เมนไม่ แต่แล้วเขาก็ได้พบคู่หมั้นและได้ทราบเรื่องราวถึงแม่ของตัวเอง  ด้วยเพลงร้อง "ความรักเปรียบได้ดังนกหัวขบถ" นี้ถือได้ว่าแหวกแนวในยุคนั้นที่นิยมรับชมสื่อที่เคร่งจารีต คำประกาศรักเสรีซึ่งดูปกติมากในปัจจุบันเป็นเรื่องน่าตกใจในสมัยนั้นที่ยังถือว่าการแต่งงานแบบคลุมถุงชนเป็นเรื่องปกติ

      จุดเปลี่ยนของเรื่องก็มาถึงเมื่อเกิดการต่อสู้ระหว่างคาร์เมนและสาวโรงงานคนอื่นอย่างดุเดือด ผลก็คือคาร์เมนใช้มีดทำร้ายคู่กรณีอย่างทารุณ ซูนิกาจึงสั่งให้โฮเซจับกุมและควบคุมตัวเธอไว้ แต่คาร์เมนก็ใช้เสน่ห์มารยาหลอกให้โฮเซแก้มัดหล่อนและปล่อยเธอไป ด้วยเพลงร้องคู่ที่สุดไพเราะคือ Pres des remparts de seville (ใกล้กำแพงแห่งเมืองแซร์วิลล์)

    องค์ที่ 2

   คาร์แมนและเพื่อน ๆ ไปเต้นรำที่ผับแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่มั่วสุมของพวกประกอบอาชีพผิดกฏหมาย เช่นพวกขายของเถื่อน และได้พบซูนิกาซึ่งพยายามเกี้ยวพาราสีเธอ แต่ได้รับการปฏิเสธ (แสดงว่าก็ชั่วเหมือนกันแทนที่จะมาตามจับ) แต่คาร์เมนก็ประทับใจเอสคามิลโล มาทาดอร์ซึ่งปรากฏตัวอย่างสง่างามในผับ(เขาร้องเพลง Votre toast, je peux vous le rendre ) มีพ่อค้าของเถื่อน 2  คนมาขอให้เธอช่วยขนของเถื่อนเหมือนทุกครั้ง แต่เธอก็ไม่ยินยอม เพราะว่าคิดถึงแต่โฮเซ และแล้วโฮเซซึ่งถูกปล่อยตัวจากการถูกคุมขังข้อหาปล่อยนักโทษหนี ก็เข้ามาในผับ ทั้งคู่จึงได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง โฮเซได้ระลึกถึงครั้งหนึ่งที่คาร์เมนเคยโยนดอกไม้มาให้ ด้วยเพลง La fleur que tu m'avais jetéte (ดอกไม้นี้ที่เธอโยนให้ฉัน) แต่แล้วร้อยเอกซูนิกาโผล่มาอีกครั้งเพื่อตามหาคาร์เมน โฮเซจึงเข้าเล่นงานซูนิกาด้วยความอิจฉา ในที่สุดเขาก็ต้องหนีตามคาร์เมนและพวกค้าของเถื่อนไป

     องค์ที่ 3

   ในค่ายพวกค้าของเถื่อน ความรักระหว่างโฮเซและคาร์เมนก็จืดจางไปกลายเป็นความหึงหวงของฝ่ายชายที่รู้ว่าฝ่ายหญิงมีใจให้กับชายคนอื่น คาร์เมนลองดูไพ่ยิปซีปรากฏว่าพลิกเจอไพ่แห่งความตาย แต่ก็ฝืนใจไม่กลัว คาเมลามาตามหาโฮเซถึงที่แต่พบว่าโฮเซกำลังเอาปืนไล่ยิงเอสคามิลโลด้วยความหึงหวง และพร้อมจะสู้กันแต่คาร์เมนมาขวางไว้ คาเมลายังเข้าแทรกและบอกโฮเซว่าแม่เขาใกล้จะเสียชีวิต และขอเห็นหน้าเขาก่อนตาย โฮเซได้สติจึงรีบตามคาเมลลาไป

   องค์ที่ 4

    เปิดฉากที่สนามสู้วัวกระทิง ที่มีผู้ชมมาเข้าดู ร่วมส่งเสียงเชียร์เป็นจำนวนมาก (Les voici la quadrille !) คาร์เมนเยื้องย่างมากับชู้รักคนใหม่คือเอสคาเมโล โดยไม่ใส่ใจคำเตือนของเพื่อนสาวว่าโฮเซกำลังมาด้อมๆ มองๆ อยู่แถวนี้ และแล้วโฮเซก็ปรากฏตัวและร้องขอให้คาร์เมนกลับมาอยู่กับเขา แต่ได้รับการปฏิเสธอย่างเย็นชา ด้วยความโกรธจนสุดจะทนทาน โฮเซจึงใช้มีดแทงไปที่หัวใจของหล่อน แต่แล้วก็โผเข้าไปกอดศพของคนรักเก่า พร้อมกับร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าเวทนา

   ตามความจริงบทความนี้น่าจะขนามนามอุปรากรว่าหญิงก็ร้าย ชายก็เลวมากกว่า คาร์เมนก็ไม่ต่างอะไรกับนกที่แสนจะเสรี เธอเพียงรู้สึกว่าโฮเซไม่ได้แค่จะครอบครองร่างของเธอเท่านั้นหากยังรวมถึงจิตวิญญาณของเธอ ซึ่งสิ่งนี้เธอยอมรับไม่ได้ อนิจจาความรักของคนที่หัวใจเต้นในจังหวะไม่ประสานกันยอมทำให้ความหวานชื่นเปลี่ยนเป็นขมขื่นอย่างสุดจะประมาณได้

 

                                       

                                         

                                                          ภาพจาก  www.weekendnote.com

 

 

                               

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที