Skip to main content

    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่องนี้กลายเป็นอุปรากรที่แสนอื้อฉาวที่สุดเรื่องหนึ่งในศตวรรษที่ 19 เพราะมีการกล่าวถึงเรื่องความรักและเรื่องทางเพศอย่างเปิดเผย

     จอร์จ บิเซต์ นำอุปรากรเรื่องนี้ออกแสดงในปี เดือนมีนาคม ปี 1875 ที่โรงอุปรากรออเปรากอมมิคแห่งกรุงปารีส โดยมีคนเขียนบทร้องคือเมเอก และอเลวีย์ อิงอยู่กับนิยายชื่อเดียวกันของนักเขียนนามว่าปรอสเป เมริเม อุปรากรเรื่องนี้ต้องพบกับความล้มเหลวเพราะว่าถูกคนโจมตีว่าเป็นอุปรากรที่ไร้ศีลธรรม และอุจาดเกินไป แน่นอนว่าฝรั่งในยุโรปเมื่อศตวรรษที่แล้วจะเคร่งศีลธรรมโดยเฉพาะการแสดงออกทางเพศมาก  Carmen จึงทำให้คนดูตกใจเช่นเดียวกับเมื่อเข้าชมรอบแรกของ Don Giovanni ของโมซาร์ท ,Salome ของริชาร์ด สเตราส์ หรือ Lady Macbeth of the Mtsensk District ของดมิทริ โชสตาโควิคและถ้าเป็นภาพยนตร์ก็คงได้รับ Rate X หรือ NC-17 ในปัจจุบัน แม้ว่าตัวอุปรากรถือได้ว่าธรรมดาในยุคนี้ แต่คนแสดงเป็นคาร์เมนออกจะเปลืองตัวสักหน่อยเช่นแต่งกายไม่มิดชิด แสดงท่าทียั่วยวน และสัมผัสตัวกับผู้ชายในรูปแบบที่ส่อถึงเรื่องทางเพศ  กระนั้นก็ถือว่า Carmen ยังฉีกรูปแบบของอุปรากรฝรั่งเศสในยุคก่อนซึ่งเน้นความเป็น Comique หรืออุปรากรแนวหรรษาโดยมีคีตกวีชื่อดังเป็นคนเยอรมันคือญาคส์ ออฟเบนบาค นั่นคือ Carmenให้ความลึกซึ้งในมิติของตัวละคร และยังเน้นความยิ่งใหญ่ของดนตรีมากกว่าเสียงร้อง อันเป็นลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากรของริชาร์ด แว็คเนอร์ คีตกวีขวัญใจของฮิตเลอร์ อย่างไรก็ตามบิเซต์เสียชีวิตก่อนจะทราบว่าอีก 1 ปีต่อมาอุปรากรของเขาจะประสบความสำเร็จที่กรุงเวียนนาและอีก 10 กว่าปีต่อมา Carmen ก็โด่งดังระดับโลกและมีคนนำไปเล่นมากที่สุด ยิ่งกว่า Samson and Dalida ของคามิล แซงซองส์เสียอีก  อันสะท้อนว่าบางทีคนในยุคนั้นมีความต้องการลึกๆ หรือพฤติกรรมซ่อนเร้นแบบ 2 มาตรฐาน เมื่อมีสื่อออกมาตอบสนองเช่นนี้ก็ให้ความนิยมเสียมากมาย

      

 

                                            

                                            ภาพจาก www.amazon.com

 

        เรื่องย่อ

       Prelude (หรือเพลงโหมโรง ซึ่งดังมาก คนไทยจะรู้จักดีจากเสียงมือถือ)

       องค์แรก

     คาเมลลา สาวน้อยได้เดินทางมายังป้อมทหารประจำเมืองเซอร์วิลล์ เมืองในสเปนตอนใต้ เพื่อตามหาดอน โฮเซ คู่หมั้นของหล่อน แต่ก็ถูกทหารยามกลุ่มหนึ่งล้อมหน้าล้อมหลังจนต้องหนีไป ทหารกลุ่มนั้นก็ยุติความสนุกสนานเมื่อได้เวลาเปลี่ยนผลัดเป็นทหารยามอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยโฮเซ นั่นเอง พร้อมๆ กับกลุ่มเด็กที่มาล้อเลียนทหารจนน่ารำคาญ (เด็กๆ ร้องประสานเสียงกันภายใต้เพลง avec la garde montante ) ข้างๆ ป้อมทหารเป็นโรงงานทำบุหรี่ที่มีสาวสวยจำนวนมากทำงานอยู่ เมื่อได้เวลาว่าง สาวๆ ก็ออกมาพักผ่อน ทำให้พวกชายหื่น รวมถึงทหารตาลุกมาออกันอยู่ข้างรั้วโรงงาน

      แต่เสน่ห์ของสาวเหล่านั้นก็ดูเหมือนจะเจือจางไปเมื่อสาวงามยิปซีที่คนรู้จักกันดีคือคาร์เมนได้ปรากฏตัวแล้วสร้างความฮือฮา ยกเว้นโฮเซซึ่งนั่งขรึมเพราะคิดถึงมารดาและคาเมลลา คาร์เมนได้ร้องเพลงยั่วทหารโดยเฉพาะร้อยเอกซูนีกา นายทหารระดับสูงสุดของที่นั่นด้วยเพลงสุดจะโด่งดังนั่นคือ Habanera หรือ L'amour est un oiseau rebelle (ความรักเปรียบได้ดังนกหัวขบถ) และตัดสินใจประกาศความรักโดยการโยนดอกกุหลาบไปยังโฮเซ ซึ่งหาได้สนใจคาร์เมนไม่ แต่แล้วเขาก็ได้พบคู่หมั้นและได้ทราบเรื่องราวถึงแม่ของตัวเอง  ด้วยเพลงร้อง "ความรักเปรียบได้ดังนกหัวขบถ" นี้ถือได้ว่าแหวกแนวในยุคนั้นที่นิยมรับชมสื่อที่เคร่งจารีต คำประกาศรักเสรีซึ่งดูปกติมากในปัจจุบันเป็นเรื่องน่าตกใจในสมัยนั้นที่ยังถือว่าการแต่งงานแบบคลุมถุงชนเป็นเรื่องปกติ

      จุดเปลี่ยนของเรื่องก็มาถึงเมื่อเกิดการต่อสู้ระหว่างคาร์เมนและสาวโรงงานคนอื่นอย่างดุเดือด ผลก็คือคาร์เมนใช้มีดทำร้ายคู่กรณีอย่างทารุณ ซูนิกาจึงสั่งให้โฮเซจับกุมและควบคุมตัวเธอไว้ แต่คาร์เมนก็ใช้เสน่ห์มารยาหลอกให้โฮเซแก้มัดหล่อนและปล่อยเธอไป ด้วยเพลงร้องคู่ที่สุดไพเราะคือ Pres des remparts de seville (ใกล้กำแพงแห่งเมืองแซร์วิลล์)

    องค์ที่ 2

   คาร์แมนและเพื่อน ๆ ไปเต้นรำที่ผับแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่มั่วสุมของพวกประกอบอาชีพผิดกฏหมาย เช่นพวกขายของเถื่อน และได้พบซูนิกาซึ่งพยายามเกี้ยวพาราสีเธอ แต่ได้รับการปฏิเสธ (แสดงว่าก็ชั่วเหมือนกันแทนที่จะมาตามจับ) แต่คาร์เมนก็ประทับใจเอสคามิลโล มาทาดอร์ซึ่งปรากฏตัวอย่างสง่างามในผับ(เขาร้องเพลง Votre toast, je peux vous le rendre ) มีพ่อค้าของเถื่อน 2  คนมาขอให้เธอช่วยขนของเถื่อนเหมือนทุกครั้ง แต่เธอก็ไม่ยินยอม เพราะว่าคิดถึงแต่โฮเซ และแล้วโฮเซซึ่งถูกปล่อยตัวจากการถูกคุมขังข้อหาปล่อยนักโทษหนี ก็เข้ามาในผับ ทั้งคู่จึงได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง โฮเซได้ระลึกถึงครั้งหนึ่งที่คาร์เมนเคยโยนดอกไม้มาให้ ด้วยเพลง La fleur que tu m'avais jetéte (ดอกไม้นี้ที่เธอโยนให้ฉัน) แต่แล้วร้อยเอกซูนิกาโผล่มาอีกครั้งเพื่อตามหาคาร์เมน โฮเซจึงเข้าเล่นงานซูนิกาด้วยความอิจฉา ในที่สุดเขาก็ต้องหนีตามคาร์เมนและพวกค้าของเถื่อนไป

     องค์ที่ 3

   ในค่ายพวกค้าของเถื่อน ความรักระหว่างโฮเซและคาร์เมนก็จืดจางไปกลายเป็นความหึงหวงของฝ่ายชายที่รู้ว่าฝ่ายหญิงมีใจให้กับชายคนอื่น คาร์เมนลองดูไพ่ยิปซีปรากฏว่าพลิกเจอไพ่แห่งความตาย แต่ก็ฝืนใจไม่กลัว คาเมลามาตามหาโฮเซถึงที่แต่พบว่าโฮเซกำลังเอาปืนไล่ยิงเอสคามิลโลด้วยความหึงหวง และพร้อมจะสู้กันแต่คาร์เมนมาขวางไว้ คาเมลายังเข้าแทรกและบอกโฮเซว่าแม่เขาใกล้จะเสียชีวิต และขอเห็นหน้าเขาก่อนตาย โฮเซได้สติจึงรีบตามคาเมลลาไป

   องค์ที่ 4

    เปิดฉากที่สนามสู้วัวกระทิง ที่มีผู้ชมมาเข้าดู ร่วมส่งเสียงเชียร์เป็นจำนวนมาก (Les voici la quadrille !) คาร์เมนเยื้องย่างมากับชู้รักคนใหม่คือเอสคาเมโล โดยไม่ใส่ใจคำเตือนของเพื่อนสาวว่าโฮเซกำลังมาด้อมๆ มองๆ อยู่แถวนี้ และแล้วโฮเซก็ปรากฏตัวและร้องขอให้คาร์เมนกลับมาอยู่กับเขา แต่ได้รับการปฏิเสธอย่างเย็นชา ด้วยความโกรธจนสุดจะทนทาน โฮเซจึงใช้มีดแทงไปที่หัวใจของหล่อน แต่แล้วก็โผเข้าไปกอดศพของคนรักเก่า พร้อมกับร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าเวทนา

   ตามความจริงบทความนี้น่าจะขนามนามอุปรากรว่าหญิงก็ร้าย ชายก็เลวมากกว่า คาร์เมนก็ไม่ต่างอะไรกับนกที่แสนจะเสรี เธอเพียงรู้สึกว่าโฮเซไม่ได้แค่จะครอบครองร่างของเธอเท่านั้นหากยังรวมถึงจิตวิญญาณของเธอ ซึ่งสิ่งนี้เธอยอมรับไม่ได้ อนิจจาความรักของคนที่หัวใจเต้นในจังหวะไม่ประสานกันยอมทำให้ความหวานชื่นเปลี่ยนเป็นขมขื่นอย่างสุดจะประมาณได้

 

                                       

                                         

                                                          ภาพจาก  www.weekendnote.com

 

 

                               

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.  รัฐไทยคิดว่าตัวเองเปรียบได้ดัง       (10  ประเทศที่ฉ้อราษฎรบังหลวงน้อยที่สุดในโลก) 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 สหรัฐอเมริกาต้นทศวรรษที่ 60 ถือได้ว่าอยู่ในช่วงสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของสงครามเย็นนั้นคือวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missile Crisis) ที่รัฐบาลฟีเดล คาสโตรยินยอมให้สหภาพโซเวียตนำขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์มาตั้งไว้ในคิวบาเมื่อปี 1962 จนนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  (ผมยืนยันว่าบทความแปลคือ "จอห์น ราเบ้ นาซีผู้เป็นพระโพธิสัตว์แห่งเมืองนานกิง" นั้นต้นฉบับเป็นของผมเองซึ่งได้เขียนลงบล็อกมานานแล้ว หลังจากไปลองค้นหาดูกูเกิลก็พบว่ามีการลอกเอาบทความของผมไปลงในเว็บของตัวเอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  หากจะพูดถึงผู้กำกับที่ชอบนำเอานวนิยายมาสร้างเป็นภาพยนตร์และประสบความสำเร็จอย่างมากมาย เซอร์ เดวิด ลีน (David Lean)ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากผลงานอลัง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                   ข้อสอบกลางภาควิชารัฐศาสตร์แบบสลิ่ม รหัส 11112
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้แปลมาจาก "มุมมองที่มีต่อสตาลิน : อดีตและอนาคต" (Depictions of Stalin: The Past and the Future )