ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่อเสียงทั้งสิ้นเช่น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
ภาพจาก Wikimedia.org
ซิมโฟนีหมายเลข 6 นี้มีความยาวทั้งสิ้น 47 นาที มีทั้งหมด 4 กระบวนดังนี้
1. Adagio - Allegro non troppo
2. Allegro con grazia
3. Allegro molto vivace
4. Finale: Adagio lamentoso
กระบวนที่ 2 และ 3 ถือได้ว่าไพเราะและมีความร่าเริงอยู่บ้าง ในขณะที่กระบวนที่ 1 และ 4 เศร้าสร้อยและดำมืด ฟังแล้วชวนให้น้ำตาไหลเป็นยิ่งนัก ในบางจังหวะของเพลงจะเงียบและแผ่วเบา จนทำให้คนที่ชอบฟังซิมโฟนีแบบเบโธเฟนหรือโมซาร์ทอาจจะไม่ชอบเท่าไรนัก
แต่ 9 วันหลังจากการนำซิมโฟนีบทนี้ออกแสดง ไชคอฟสกีได้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค โดยการดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้ม มีเรื่องเล่าให้คนฟังนึกภาพออกเป็นฉาก ๆ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ไชคอฟสกีไปนั่งทานอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง และยืนกรานจะดื่มน้ำสักแก้วถึงแม้น้ำนั้นไม่ได้ต้มและเพื่อน ๆ ต่างก็ต่อว่า (อีกเรื่องคือ ไชคอฟสกีวิ่งไปที่ห้องครัวของห้องเช่าของโมเดสต์ผู้เป็นน้องเพื่อดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้มพร้อมกับตะโกนว่า "ใครจะไปสนใจกัน") วันต่อมาเขาล้มป่วย และวันที่ 6 เขาก็เสียชีวิตเพราะไตล้มเหลว และขาดน้ำจากการอาเจียนและถ่ายของเสียออกมามากเกินไป
เหตุการณ์นี้สร้างความกังขาให้กับบรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายในสังคมนครเซ็นเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น เพราะไชคอฟสกีถือได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ สุขุม รอบคอบ (ถึงแม้จะอารมณ์อ่อนไหวง่ายเกินไปก็ตาม) และเป็นชนชั้นมีอันจะกิน ในขณะที่อหิวาตกโรคมักจะเป็นกับพวกชนชั้นล่าง ที่สุขอนามัยต่ำเท่านั้น แถมคนเป็นโรคนี้จะไม่ตายเร็วขนาดนี้
ริมสกี คอร์ซาคอฟ คีตกวีชื่อดังอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมตอนก่อนจะฝังศพจึงอนุญาติให้แขกจูบมือคนตายได้ ทั้งที่ตามระเบียบของทางการ โลงศพของผู้ที่ตายจากอหิวาตกโรคต้องปิดแน่นหนาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกมาได้ จนมีการตั้งข้อสันนิฐานว่า ไชคอฟสกีอาจถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย เพราะเขามีรสนิยมเป็นพวกรักร่วมเพศ ซึ่งถือกันว่าเป็นความน่าละอายใจของคนรัสเซียในสมัยนั้น ไชคอฟสกีพยายามกลบเกลื่อนโดยการไปแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อไม่ให้นักวิจารณ์เล่นงานเขาในประเด็นนี้ ผลลัพธ์คืองานแต่งงานล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไชคอฟสกีถึงกลับพยายามฆ่าตัวตาย
แต่เหตุผลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ยังอุตสาห์สืบเสาะมาอีกนั่นคือไชคอฟสกีไปมีความสัมพันธ์กับหลานชายของดุ๊กสเตนบ็อค เฟอร์มอร์ ทำให้ท่านดุ๊กไม่พอใจยิ่งนักเลยทำเรื่องกราบทูลพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์ที่ 3 ของรัสเซีย ความผิดเช่นนี้คือการเนรเทศไปอยู่ที่ไซบีเรียซึ่งเป็นป่าอันแสนหฤโหดเพียงสถานเดียว อนึ่งไซบีเรียยังเป็นที่เนรเทศสำหรับนักโทษทางการเมืองด้วย
แต่ที่สำคัญ เหตุการณ์นี้ได้ทำสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่โรงเรียนกฎหมายที่ไชคอฟสกีเคยศึกษาอย่างมากมาย จาโคบี เพื่อนเก่าของไชคอฟสกีจึงได้มอบหมายจากเบื้องบนให้มากล่อมให้เขาฆ่าตัวตาย จนสำเร็จในที่สุด ว่ากันว่า ภรรยาของจาโคบีเห็นสามีและไชคอฟสกีเข้าไปคุยในห้องกันนานมากถึง 5 ชั่วโมง ด้วยเสียงโวยวาย ตะคอกใส่กันก่อนที่ไชคอฟสกีจะวิ่งโซซัดโซเซออกจากห้อง ท่าทางโมโหแต่ใบหน้าขาวจนซีด
ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าตอนแต่งเพลงนี้ ไชคอฟสกีคงจะพอรู้ถึงจุดจบของตัวเอง ดังนั้นฝรั่งจึงเรียกว่าซิมโฟนีบทนี้ว่าเป็น Suicide Note หรือบทเพลงแห่งอัตนิบาตกรรม ดังที่ไชคอฟสกีเองก็ตั้งชื่อว่าเป็น Programming Symphony หรือซิมโฟนีที่บ่งบอกอะไรบางอย่างในห้วงลึกของจิตใจเขา ในท่อนที่ 4 คือ Finale เขาได้อุทิศให้กับหลานชายของเขา คือบ็อบหรือชื่อเต็มคือวลาดิมีร์ ดาวิดอฟ นายบ็อบนี่ต่อมาก็ฆ่าตัวตายเมื่ออายุได้เพียง 35 ปี
ภาพจาก www.allmusic.com
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ? และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly หรือ คุณนายผีเสื้อ เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่