Skip to main content

   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก

    ผมจำได้ว่าพอเกิดมาก็ได้ยินเสียงเพลงของอ้ายจรัล มโนเพ็ชรเสียแล้ว ระลึกได้ว่าตอนเด็กๆ อ้ายจรัลแกไปเปิดร้านอาหารเหนือที่น่าจะมีชื่อว่า “เฮือนจรัล”อะไรทำนองนี้ แถวช้างเผือก เชียงใหม่ เยื้องๆ ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาอ๋องทิพรส เสียดายเพราะผมยังเด็กมาก กินเผ็ดไม่ได้เลยไม่ได้ไปอุดหนุน  และผมก็มีโอกาสได้เห็นพัฒนาการของวัยแกตั้งแต่แกยังวัยรุ่น (จากรูปเก่าๆ) วัยหนุ่ม (ตามปกเพลงรวมฮิตของนิธิทัศน์ข้างล่าง) วัยกลางคนและรูปตอนร่างกายทรุดโทรม (จากละครโทรทัศน์) ก่อนจะเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควรคือ 46 ปี กระนั้น ตามคำพูดที่เค้าว่ากันว่า Art is longer than life (ศิลปะยืนยาวกับชีวิต)  ด้วยความเป็นศิลปินที่คนล้านนารู้จักกันดี เพลงของอ้ายจึงกลายเป็นอมตะไปถึงอ้ายจะสิ้นบุญไปแล้วก็ตาม เพราะนอกจากคนเหนือแล้วคนภาคอื่นก็จะรู้จักแกมากกว่าศิลปินล้านนาคนอื่นๆ เพราะอะไร ?  บทความนี้พูดถึงเฉพาะเพลงรวมฮิตของเขาขณะสังกัดค่ายเพลงนิธิทัศน์เท่านั้น ดังภาพประกอบ

      อ้ายจรัลแตกต่างจากอ้ายวิฑูรย์ ใจพรหม หรือว่าอีลุงบุญศรีรัตนนัง ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของเพลง "ทองอิน กะเทย" หรือ "บ่าวเขิ้น" ซึ่งได้รับความนิยมทางเหนือมากในอดีต  ใยไม่ต้องพูดถึงเพลงอย่าง ไอ้เก๋าอีต่วม คู่ตลกชายหญิงซึ่งโด่งดังจากการเล่นเพลงซอตลกซึ่งเนื้อหาหลายเพลงสะท้อนถึงเรื่องทางเพศอย่างเปิดเผย  เพราะเพลงของอ้ายจรัลมีภาษาที่ค่อนข้างปราณีต ค่อนไปทางเมืองผสมภาคกลาง  กระนั้นเพลงของจรัลก็ไม่อาจถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวได้อย่างถึงระดับรากหญ้าเท่ากับศิลปินดังที่ได้กล่าวมา แม้ว่าตัวผู้บรรยายจะแสดงตนเป็นคนยากไร้ก็ตาม แต่ก็เหมาะกับมุมมองผิวเผินและฝันๆ ของคนภาคอื่นโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ต่อสังคมเหนือ ซึ่งปัจจุบันยังปรากฎตัวออกมาเรื่อยๆ ผ่านภาพยนตร์ที่ใช้เชียงใหม่หรือทางเหนือเป็นฉาก

       อ้ายจรัลยังชื่นชอบดนตรีโฟล์กซองอเมริกันที่เคยโด่งดังในยุคทศวรรษที่ 60 และนำมาใช้กับเพลงของแกอย่างแนบแน่น ชนิดที่ว่าถ้าขึ้นอินโทรเพลงๆ นี้ทุกคน (ที่ชอบเพลงฝรั่งเก่าๆ ) ก็จะร้องอ้อ.....อันเป็นผลให้เพลงติดหูคนไทยที่เป็นชั้นกลางหรือแม้แต่ฝรั่งได้ง่าย อย่างไรก็ดีอ้ายจรัลได้ผสมผสานรูปแบบนั้นเข้ากับซึง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ผมเห็นว่าไพเราะที่สุด แต่ที่สำคัญที่สุดเขาได้สะท้อนภาพของสังคมล้านนาในช่วงทศวรรษที่ 10-20 ขณะถูกวัฒนธรรมทางตะวันตกและวัตถุนิยมเข้ามาครอบงำ อย่างเช่นเพลงอีสาวมอเตอร์ไซด์ ที่มีหนุ่มขี่จักรยานมุ่งหมายจะไปจีบสาวแต่ปรากฏว่าอีสาวกลับมีใจให้เจ้าหนุ่มมอเตอร์ไซด์ไปเสียแล้ว ด้วยความแค้น เจ้าหนุ่มคิดจะ “ขายนาซื้อคาวา(ยี่ห้อรถจักรยานยนต์ที่ฮิตในสมัยนั้น) สักกัน  ...... มาเบิ้ลน้ำมัน หื้ออีน้องแก้นควัน (สำลักควัน) ตายจั้งมัน สาวมอเตอร์ไซด์ (คือให้มันตายไปเลย)”  อันเป็นค่านิยมของสังคมเหนือยุคใหม่ในช่วงนั้นที่ยอมขายนาเพื่อวัตถุอำนวยความสะดวกและหน้าตา เพลงนี้ยังสะท้อนได้ว่า รถยนต์ยังเป็นสิ่งที่ไฮโซเกินไปสำหรับเศรษฐีท้องถิ่น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ผมสัมผัสได้ตอนเด็กว่าตอนนั้นใครมีรถเก๋งถือว่ามีฐานะดีเป็นพิเศษไม่เหมือนปัจจุบันที่บ้านใครก็มีรถยนต์กันถ้วนหน้า คิดว่าหากจรัลกลับมามีชีวิตอีกครั้งไปและยืนอยู่แถว 4 แยกศาลเด็ก ซึ่งถัดไปคือห้างเซ็นทรัล เฟสติวัล ตอนเลิกงาน เขาคงจะตะลึงไม่น้อยว่ารถยนต์บนท้องถนนเชียงใหม่นั้นมีมากกว่าตอนปี 2544  ที่เขาเสียชีวิตอย่างมหาศาล จากการขยายของตัวเมืองเชียงใหม่แบบไร้ทิศทางและรวดเร็วมาก 

       เพลงจรัลนั้นมีลักษณะเด่นอีกประการคือย้อนระลึกถึงอดีตอันแสนงดงาม (Nostalgia) บางเพลงก้าวถึงระดับขั้นต่อต้านบริโภคนิยมเช่นเพลงบ้านบนดอย ซึ่งกล่าวถึงสภาพของบ้านบนดอยที่เต็มไปด้วยความสงบสุข ผู้คนต่างนิยมชีวิตเรียบง่ายแบบอดีต ทำให้นึกถึงยูโทเปียหรือสังคมในอุดมคติ ของพวกคอมมิวนิสต์ ดังประโยคที่ว่า

           "สูใคร่อยากกิ๋นปลา สูไปหาในห้วย" หรือการต่อต้านวัฒนธรรมฝรั่งแบบสุดๆ เลยเช่น "สูชอบเพลงฝรั่ง ข้าให้ฟังเสียงซึง" เช่นเดียวกับช่วงเริ่มต้นคือ "บ้านบนดอย บ่มีแสงสีบ่มีทีวี บ่มีน้ำปะปา บ่มีโฮงหนัง โฮงนวด คลับบาร์"

       หรือเพลงม่วนขนาด เพลงที่แสดงถึงความแปลกแยกระหว่างคนเหนือที่ทำไปทำงานอยู่ "เมืองกอก" หรือกรุงเทพ ฯ ซึ่งอ้ายจรัลต้องการประณามสังคมกรุงเทพว่าเป็นวัตถุนิยม และสังคมคนเหนือที่มีแต่ความสงบสุข ซึ่งในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทางภาคเหนือมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงมากจากปัจจัยต่างๆ นาๆ เช่นเดียวกับข่าวอาชญากรรม ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมสารพัดแม้แต่ในทศวรรษที่เพลงๆ นี้ถูกผลิตขึ้นมา ด้วยเพลงอาจจะตั้งใจมองข้างหรือไม่อาจถ่ายทอดออกมาได้เพราะเพลงมุ่งสร้างสังคมแบบฝันๆ หวานๆ ไม่ใช่เพลงเพื่อชีวิตและสังคม เมื่อกว่า 20 ปีก่อน ผมเคยได้ดูมิวสิควิดีโอของเพลงๆ นี้ของค่ายนิธิทัศน์แล้วอยากจะชมว่า "ห่วยมาก"เพราะเขาสมมติให้ตัวเอกเป็นคนเลี้ยงช้าง (ให้เดาๆ น่าจะอยู่ที่ปางช้างเชียงดาว) แล้วไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้คน"ใต้" (คนกรุงเทพฯ)  คิดว่าคนเหนือทำงานเลี้ยงช้างกันหมด เช่นเดียวกับต้องแต่งชุดหม้อห้อม ท่าทางเชยๆ พูดกลางไม่ชัด แต่ก็ต้องเข้าใจการทำมิวสิควีดิโอของอดีตค่ายเพลงนี้ดีว่าเป็นรูปแบบนี้หมดแหละ ทำให้นึกถึงเพลงของดี 4 ภาษาที่ให้อิ๋ว พิมพ์โพยม เรืองโรจน์มาร้องเพลงเปาบุ้นจิ้นแล้วแต่งชุดซานตาคอสไปด้วย แล้วขนลุก

       นอกจากนี้เพลงของจรัลยังกล่าวถึงสังคมในด้านเบาสมองได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพลง สาวเจียงใหม่ที่กล่าวถึงผู้หญิงเหนือที่มีรูปแบบตายตัวคือใสบริสุทธิ์และอนุรักษ์นิยมทั้งที่ปัจจุบัน อัตลักษณ์ของผู้หญิงเชียงใหม่มีความหลากหลายอย่างมาก กระน้ั้นตอนจบก็ทำให้นึกถึงเมฆขาวๆลอยอยู่เหนือดอยปุยและบ้านของ "แม้ว" หรือ ของกิ๋นบ้านเฮา ที่บรรยายถึงอาหารเมืองที่น่ากิน (ไปพร้อมกับเสียงอันไพเราะของคุณสุนทรี เวชานนท์) เพลง ฮานี่บ่าเฮ้ยที่กล่าวถึงการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวในยุคหลายสิบปีก่อนที่เข้าทำนองเข้าตามตรอก ออกทางประตู หรือ เพลงผักกาดจอที่รำพึงอย่างไม่ซีเรียสนักถึงความยากไร้ของผู้ร้องที่กินแต่ผักกาดจอ (มีใครบอกได้ไหมว่า สีมอย คือใคร ?) เพลงปี้สาวครับ ซึ่งเป็นเพลงความรักของหนุ่มน้อยกับแม่ญิงที่อายุมากกว่า อย่างไรก็ตามเพลงของจรัลก็มีหลายเพลงที่ซีเรียส สร้างความสะเทือนใจอย่างเช่นเพลงอุ้ยคำซึ่งกล่าวถึงชะตากรรมของหญิงชราที่ต้องอาศัยอยู่คนเดียวเพราะลูกสาวหนี "โตยป่อจาย" (ตามผู้ชาย)  ถึงแม้ในปัจจุบันทางเหนือ คนแก่จะมีชีวิตอย่างอุ้ยคำนี้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชนบทแต่ก็ด้วยปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากในเพลง เช่นการเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ ของคนรุ่นลูก หรือ พวกเขาทั้งผัวและเมียต้องจากไปเพราะเชื้อเอชไอวีแถมยังทิ้งหลานไว้เป็นภาระแก่พ่อแม่ที่แก่เฒ่าอีกต่างหาก เพลงของอ้ายจรัลยังเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่ภาคเหนือถูกทางภาคกลางครอบงำในช่วงรัชกาลที่ 5 คือ เพลงมะเมียะ อันเป็นเพลงเกี่ยวกับความรักอันบริสุทธิ์ระหว่างเจ้าน้อยสุขเกษม กับมะเมียะ สาวพม่า แต่ทั้งคู่ก็ต้องพบกับชะตากรรมอันน่าเศร้า อันน่าเป็นเพลงที่ชาวท้องถิ่นนิยมระลึกถึงอยู่เสมอเพราะเป็นการสะท้อนถึงการกดขี่ของ "เมืองกอก" นักวิชาการที่วิเคราะห์ประเด็นนี้ได้อย่างลึกซึ้งคือ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ซึ่งเคยถูกทหารมาเยือนบ้านอยู่บ่อยครั้ง 

         จากทั้งหมดนี้รวมถึงเพลงอื่นๆ ที่ไม่ได้เขียนถึง สามารถกล่าวได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่เพลงของจรัลได้รับความนิยมจนถึงระดับ timeless หรือเป็นอมตะก็เนื่องมาจากความสามารถของอ้ายในการอันสร้างสังคมในจินตภาพที่คนภาคอื่นหรือแม้แต่คนในภาคเหนือเองสามารถเสพได้อย่างมีความสุขปนซึ้งนั้นเองไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไรก็ตาม

 

                                         

                                        ขอขอบคุณภาพจาก www.audio-teams.com

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่