หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็นคีตกวีที่คนนิยมฟังและให้ความชื่นชอบมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
ภาพจาก wikipedia.com
ชูเบิร์ตเกิดที่ย่านฮิมเมลพ์ฟอร์ตกรุนด์ ซึ่งอยู่แถวชานเมืองของกรุงเวียนนาในปี 1797 บิดาเป็นครูของโรงเรียนประจำท้องถิ่น ส่วนมารดาเคยเป็นแม่ครัวมาก่อนแต่งงาน ชูเบิร์ตมีพี่น้องรวมทั้งตัวเขาเองถึง 15 คนแต่น่าเศร้าที่ว่าพี่น้องของเขาร่วม 10 คนได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็กยังเล็ก บิดาของเขายังเป็นนักดนตรีสมัครเล่นและได้ถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ให้กับบรรดาลูกชายที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย
ด้วยอายุเพียง 5 ขวบ ชูเบิร์ตได้รับการถ่ายทอดเรื่องดนตรีจากบิดาและอีก 1 ปีหลังจากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนที่บิดาเป็นครูสอน อายุได้ 7 ขวบก็เก่งเกินกว่าครูสอนดนตรีธรรมดาๆ จะสอนได้ เขาเลยไปเรียนกับไมเคิล โฮลเซอร์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดนตรีในโบสถ์แห่งหนึ่ง อายุ 11 ปี ได้รับทุนไปเรียนดนตรีที่โรงเรียนชื่อดังในกรุงเวียนนาภายใต้การดำเนินงานของ อันโตนีโอ ซาลีเอรี เป็นเวลา 6 ปี น่าตลกที่ว่าเขาได้รับประโยชน์จากการสอนเพียงน้อยนิด หากเทียบกับการฝึกหัดกับวงของโรงเรียนและการช่วยเหลืออย่างอบอุ่นจากบรรดาเพื่อน ๆ ในการผลิตผลงานทางดนตรีอย่างมากมาย
ปี 1813 ชูเบิร์ตหันมาเป็นครูสอนโรงเรียนเดียวกับบิดาของเขาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นช่วงที่สุดแสนจะน่าเบื่อและผลงานที่ผลิตออกมาก็ไม่สู้จะสำเร็จนัก 2 ปีต่อมาชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป เมื่อลูกศิษย์ที่อยู่ในตระกูลมั่งคั่งได้เสนอให้เขาลาออกจากโรงเรียนและหันมาแต่งเพลงเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาก็ต้องตกอับเพราะไม่ประสบความสำเร็จทั้งในการสอนดนตรีตามบ้านและการแสดง กระนั้นเขาก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆ อีกเช่นเคย ในช่วงเวลาต้นทศวรรษที่ 20 ชูเบิร์ตยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบรรดาศิลปินและนักเรียนซึ่งมักมาชุมนุมสังสรรค์กันดังที่เรียกว่ากลุ่มชูเบิร์ตเทียเด็น ซึ่งก็ได้รับการคุกคามจากตำรวจออสเตรียซึ่งได้รับคำสั่งให้ระแวดระวังกิจกรรมที่ส่อไปทางปฏิวัติในช่วงหลังปฏิวัติฝรั่งเศส (เริ่มต้นในปี 1789) และสงครามนโปเลียน (ช่วงปี 1803-1815) เพื่อนของชูเบิร์ตคนหนึ่งถึงกลับถูกจับติดคุกไปปีกว่าๆ และถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้ามาในกรุงเวียนนาตลอดชีวิต
นิสัยของชูเบิร์ตซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือเขามักจะตื่นแต่เช้าเพื่อประพันธ์เพลง ไปจนถึงเที่ยงวันก่อนจะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในยามบ่าย แต่แล้วเหมือนกับฟ้าจะกลั่นแกล้งในปี 1822 ชูเบิร์ตพบว่าตัวเองติดเชื้อซิฟิลลิส ซึ่งสมัยนั้นคงจะร้ายแรงเหมือนกับเชื้อเอชไอวี มีคนสันนิฐานว่าเขาอาจจะติดโรคร้ายนี้มาจากสาวใช้ของบ้านที่เขาไปสอนดนตรีในฤดูร้อนฤดูหนึ่ง นายแพทย์แนะนำให้เขาไปพักกับพี่ชายที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาอีกที่หนึ่ง (ฝรั่งไม่ได้บอกว่าทำไม เดาว่าที่นั่นอาจจะมีอากาศดีกว่า) แต่แล้วเขาก็ติดโรคไทฟอยด์ไปอีกโรค
ว่ากันว่า ชูเบิร์ตได้เดินทางไปเยี่ยมเบโธเฟนซึ่งนอนป่วยอยู่บนเตียงนอนใน ปี 1827 และได้เอาโน้ตเพลงที่เขาแต่งให้ยอดคีตกวีดู อันส่งผลให้เบโธเฟนชื่นชอบเขามาก ส่วนชูเบิร์ตได้อุทิศงานชิ้นหนึ่งของเขาคือ Variation on a French Song (Op.10,D.624) ซึ่งถูกเขียนเป็นชุดๆให้กับเบโธเฟน เมื่อเบโธเฟนเสียชีวิตลง ชูเบิร์ตมุ่งมั่นจะช่วยแบกโลงศพของผู้ซึ่งตนเชิดชูบูชา (บางแห่งบอกว่าเป็นคนถือคบไฟนำหน้าขบวน) หลังจากงานศพได้สิ้นสุดลง เขากับเพื่อนก็ไปทานอาหารที่ภัตตาคาร มีการดื่มสำหรับผู้วายชนม์ โดยหารู้ไม่ว่าในอีก 1 ปีข้างหน้าชูเบิร์ตก็เป็นผู้วายชนม์เหมือนกัน แต่ก่อนที่คีตกวีเอกของเราจะเสียชีวิต เขาได้ร้องขอให้ศพของเขาถูกฝังใกล้ๆ กับเบโธเฟน ในงาน เพื่อนคนหนึ่งของเขาได้อ่านบทกวีอันน่าซึ้งใจดังนี้
May peace at last be with you! ขอให้สันติจงอยู่กับท่าน
Angel-pure soul! วิญญาณอันไร้มลทินดุจดังนางฟ้า
In the full bloom of Youth, แม้ยอดสุดของวัยเยาว์
The stroke of Death has seized you มรณะก็ได้พรากท่านไป
And extinguished the pure light within you!" อีกยังดับไฟอันแสนบริสุทธิ์ในกายท่าน!
หลุมฝังศพของชูเบิร์ตซึ่งถูกย้ายมายังสุสานเซนทรัลฟรีดโฮฟ ตั้งแต่ปี 1888 พร้อมกับหลุมศพของเบโธเฟ่นและโมซาร์ท (ภาพจาก www .depositphotos.com)
แทบไม่น่าเชื่อว่าด้วยอายุเพียง 31 ปี ชูเบิร์ตผลิตผลงานออกมากว่า 600 ชิ้น งานอันโด่งดังที่เรารู้จักกันดีก็คือซิมโฟนีหมายเลข 8 ซึ่งมีเพียงแค่ 2 กระบวน จึงได้ชื่อว่า "ยังไม่จบ" หรือ unfinished กระบวนแรกคือ Allergo Moderato ซึ่งขึ้นต้นอย่างช้าๆ เนิบนาบแต่มีพลังและซ้อนเร้นด้วยความหดหู่ใจจากตัวผู้ประพันธ์ หรือ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ซึ่งได้สมญาว่า "สุดยิ่งใหญ่" (The Great) นอกจากนี้ยังมี String Quintet in C major, D. 956 ที่ชูเบิรต์แต่งเสร็จสองเดือนก่อนเสียชีวิต String Quartet in A Minor ที่มีชื่อว่า Rosamunde และ Death and The Maiden (ซึ่งดัดแปลงจากเพลงของชูเบิร์ตเอง) ที่น่าสนใจคือ ชูเบิรต์ยังประพันธ์เพลงที่เรียกกันว่า Song Cycle หรือเพลงที่ถูกแต่งขึ้นมีเนื้อร้องที่มีเนื้อหาติดต่อกันเป็นบทๆ เหมือนบทกวีจำนวนมาก ที่รู้จักกันได้แก่ Die schöne Müllerin (สาวจากโรงสีผู้งดงาม) รวมไปถึง Ave Maria อันแสนไพเราะ
ภาพจาก www.allmusic.com
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด