หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศีลธรรมก็เพราะผู้เยาว์ยังไม่พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจรวมไปถึงวิจารณญาณในการตัดสินใจ เข้าใจว่าคงมีฝรั่งป่วยโรคนี้เป็นจำนวนมากจึงเดินทางมายังประเทศโลกที่ 3 เพื่อมาเสพสุขกับเด็กทั้งชายและหญิงรวมไปถึงการถ่ายทำภาพโป๊จากเด็กเหล่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดใจที่ว่าผู้ปกครองของเด็กรู้เห็นเป็นใจด้วยเพราะอยากได้เงิน ส่วนกฏหมายก็ดูเหมือนจะเป็นอัมพาตไปเสียนี่ (นานๆ ตำรวจจะจับได้เสียทีแล้วก็ลงข่าวเสียใหญ่โต) ดังนั้นพระเอกในหนังเรื่องโลลิต้าจึงมีลักษณะแอนตี้ฮีโร่แตกต่างจากพระเอกทั่วไปในหนังฮอลลีวูดกระแสหลักเพราะบังเอิญป่วยเป็นโรคจิตแบบนี้ ในขณะที่ตัวเองมีหน้ามีตาในสังคมเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านภาษาเชียว ก่อนที่เราจะพูดถึงหนังเรื่องนี้ในเวอร์ชั่นปี 1962 ฝีมือการกำกับของผู้กำกับอัจฉริยะ Stanley Kubrick เราควรจะพูดถึงหนังสือซึ่งอื้อฉาวยิ่งกว่าตัวภาพยนตร์เสียก่อน
ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง Lolita คือ Vladimir Vladimirovich Nabokov (1899-1977) นักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียผู้ซึ่งครอบครัวต้องลี้ภัยจากรัสเซียในช่วงปฏิวัติปี 1917 มาตั้งรกรากอยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ นาบาคอฟมีความรู้ในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพราะที่บ้านสอนให้เขาพูดภาษานี้ก่อนภาษารัสเซียเสียอีก ซึ่งเป็นพื้นฐานให้งานเขียนชื่อดังของเขาเป็นร้อยแก้วภาษาอังกฤษ กระนั้นงานเขียนที่นำเขาไปสู่ชื่อเสียงก็คือ Lolita ที่ตีพิมพ์ในปี 1955 ตอนแรกเขาต้องการให้ตีพิมพ์ในอเมริกาแต่ถูกปฏิเสธเพราะเนื้อหามันล่อแหลมเกิน ดังนั้นจึงย้ายไปที่ตีพิมพ์ที่กรุงปารีส ซึ่งการตีพิมพ์ครั้งแรกจำนวนห้าพันเล่มได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดีจนขายหมดโปรดสังเกตว่าหนังสือที่ล่อแหลมต่อศีลธรรมและเข้าขั้นติดเรตมักจะได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากกว่าหนังสือธรรมะหลายเท่าตัว แต่ปรากฏว่าไม่มีใครกล้าเขียนบทวิจารณ์หรือรีวิวให้กับหนังสือของเขา (ซึ่งสำคัญมากเพราะรีวิวหากเป็นเชิงบวกก็จะทำให้คนสนใจมากขึ้น)
หลายปีหลังจากนั้นทางการของทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษก็ตีตราว่าโลลิต้าเป็นหนังสือต้องห้ามและยึดหนังสือจากร้านค้าและสำนักพิมพ์ไป อันเป็นประเพณีว่าหนังสือเรตเอ็กซ์ที่สาธารณชนชื่นชอบมักจะเป็นที่เกลียดชังของทางการ (ที่ลึกๆ เองพวกข้าราชการระดับสูงยันไปถึงนายกฯหรือประธานาธิบดีก็ชอบหรือพฤติกรรมอาจะเหมือนในหนังสือแต่เพื่อความมั่นคงของชาติก็ต้องทำอะไรที่ฝืนใจตัวเอง ไม่มีใครรู้ว่าหนังสือที่ถูกยึดนั้นก่อนจะถูกทำลายมีตำรวจหรือข้าราชการแอบขโมยไปอ่านพร้อมภรรยาที่บ้านสักกี่เล่ม)เนื้อหาของมันนั้นเราจะไปพูดกันในหนังเพราะนี่เป็นบทความเกี่ยวกับหนัง งานชิ้นนี้ในภายหลังถือเป็นงานระดับคลาสสิกของโลกและอื้อฉาวที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าหนังสือที่สามารถพรรณนาพฤติกรรมทางเพศที่แหกกรอบศีลธรรมอย่างเพริดพริ้งหลายเล่มได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือคลาสสิกอย่างเช่น Anna Karenina ของ Leo Tolstoy , Madame Bovary ของ Gustave Flaubert รวมไปถึง Death in Venice ของ Thomas Mann
ภาพจาก www.towntopics.com
ภาพยนตร์เรื่อง Lolita เป็นชีวิตของศาสตราจารย์วัยกลางคนชาวอังกฤษผู้ผ่านการหย่าร้างนามว่า Humbert ซึ่งได้เดินทางมาพำนักอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ของอเมริกาเพื่อมาสอนหนังสือ (จึงไม่ต้องสงสัยว่าเขาคืออวตารของนาโบคอฟผู้เขียนนั่นเองเพราะ นาโบคอฟก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกัน) ฮัมเบิร์ตได้มาเช่าหัองในบ้านของแม่หม่ายผู้อะร้าอร่ามนามว่า Charlotte Haze ซึ่งมีลูกสาวสุดแสนจะน่ารักคือ Dolores 'Lolita' Haze กระนั้นดูเหมือนกามเทพจะไม่ค่อยใยดีต่อศีลธรรมเท่าไรนัก ฮัมเบิร์ตจึงได้แอบมีจิตปฏิพัทธ์ต่อโลลิต้าผู้มีอายุน่าจะอ่อนกว่าลูกสาวเขาเสียด้วยซ้ำ ในหนังไม่ได้บอกเพราะอะไรแต่ในหนังสือบอกว่าเพราะโลลิต้าทำให้เขานึกถึงเด็กสาวที่เขาเคยรักแบบหัวปักหัวปำในวัยเยาว์ แต่เธอต้องเสียชีวิตไปด้วยโรคไทฟอยด์ สิ่งนี่ได้จุดประกายให้เขาเป็นโรค"รักเด็ก"มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ฮัมเบิรต์จึงพยายามอยู่ใกล้ชิดกับโลลิต้าให้มากที่สุด แต่กลับเป็นชาร์ล็อตต์ที่หลงรักเขา จนในที่สุดก็ยื่นคำขาดว่าถ้าไม่แต่งงานกับเธอก็ขอให้ออกไปจากบ้านหลังนี้ ฮัมเบิร์ตจึงยอมแต่งงานกับชาร์ล็อตต์คนที่เขาไม่เคยนึกชอบเลยเพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กสาวที่เขาลุ่มหลง แต่แล้วก็ต้องเสียใจเพราะโลลิต้าถูกส่งไปโรงเรียนประจำ
หลังจากไปฮันนีมูนฮัมเบิร์ตถึงกลับคิดวางแผนว่าจะฆาตกรรมผู้เป็นภรรยาเพื่อจะได้ครอบครองลูกเลี้ยงสาว และแล้วราวกับฟ้าจะเป็นใจให้ชาร์ล็อตบังเอิญไปพบเจอไดอารี่ที่สามีเขียนบรรยายความสิเน่หาที่มีต่อตัวโลลิต้า จึงหอบผ้าหอบผ่อนหนีออกจากบ้านท่ามกลางฝนที่กระหน่ำลงมา แต่ก็ถูกรถชนเสียชีวิตเสียก่อน ฮัมเบิร์ตจึงเดินทางไปรับเอาโลลิต้ามาจากโรงเรียนประจำเพื่ออยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยา ส่วนโลลิต้าก็ยินดีเพราะเธออ้างว้างโดดเดี่ยวไม่มีใคร แต่กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นว่าความรู้สึกของเธอที่มีต่อพ่อเลี้ยงคือความหลงมากกว่าความรัก ซ้ำด้วยวัยที่ห่างไกลกันมากทำให้เกิดปัญหาคือ เธอเริ่มเบื่อหน่ายกับฮัมเบิร์ตซึ่งเป็นตาแก่จอมหึงหวงที่กีดกันเธอไม่ให้ไปข้องแวะกับพวกเด็กหนุ่ม อันเป็นสาเหตุให้เขาพาเธอเดินทางตะลอนๆ ไปตามเมืองต่างๆ ในอเมริกาภายใต้ความสัมพันธ์ที่สังคมรู้จักว่าเป็น"พ่อเลี้ยงและลูกเลี้ยง"เพื่อไม่ให้โลลิต้าข้องแวะกับใคร แต่แล้วฮัมเบิร์ตก็พบว่าใครบางคนกำลังสะกดรอยตามเขาอยู่....
ภาพจาก www.theredlist.com
Stanely Kubrick ควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำกับที่ใจกล้าชอบแหกรีตฉีกรอยไปหาพล็อตเรื่องที่ไม่เหมือนใคร และไม่ซ้ำรูปแบบของหนังก่อนๆของตัวเองมาทำเป็นภาพยนตร์ ดังในโลลิต้านี้เป็นหนังเรื่องที่ 6 ภายหลังหนังเรื่อง Spartacus (1960) ซึ่งเป็นหนังประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผู้นำของชนเผ่าสปาร์ตาคัสที่อาจหาญต่อสู้กับพวกโรมันประสบความสำเร็จอย่างดี และโลลิต้าเป็นหนังเรื่องแรกที่เขาถ่ายทำเมื่อย้ายไปอยู่ที่อังกฤษเต็มตัว เมื่อหนังออกฉายครั้งแรกในกรุงนิวยอร์กโดยการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ไม่มากอาศัยปากต่อปากก็ได้รับความสำเร็จพอประมาณ มีนักวิจารณ์จำนวนหนึ่งเขียนเชียร์แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่เขียนด่า แน่นอนว่าองค์การทางศาสนาเช่นนิกายแคทอลิกย่อมเป็นตัวตั้งตัวตีในการโจมตี แต่หนังเรื่องนี้ก็อื้อฉาวจากประเด็นเรื่อง "รักเด็ก" ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ โลลิต้าจึงรับเอาเรท "เฉพาะผู้ใหญ่"มาไว้ประดับจอแต่โดยดี เช่นเดียวกับตอนก่อนสร้างหนัง บทของฮัมเบิร์ตซึ่งมีดาราชายชื่อดังเป็นจำนวนมากไม่ว่า Laurence Olivier หรือ David Niven ได้รับการทาบทาม ทว่าอาจเพราะคนเหล่านั้นกลัวภาพพจน์ของตัวเองจะเสีย เช่นเดียวกับบทของโลลิต้าที่ดาราเด็กสาวจำนวนหนึ่งก็ปฏิเสธ น่าตลกที่ว่าลิองผู้แสดงเป็นโลลิต้าไม่ได้รับอนุญาตให้มาดูหนังรอบพิเศษเพราะเธออายุต่ำเกินกำหนด
ปี 1972 คิวบริกได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารรายสัปดาห์ Newsweek ว่าหากเขารู้ว่าแผนกเซ็นเซอร์ของรัฐมีความเข้มงวดขนาดนี้ เขาคงจะไม่ทำหนังเรื่องนี้เป็นอันขาด เขาจำต้องเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างจากนวนิยายเช่นเพิ่มอายุของโลลิต้าจากเดิม 12 เป็น 14 ปี รวมไปถึงไม่กล้าแสดงฉากเข้าพระเข้านางระหว่างฮัมเบิร์ตกับโลลิต้าให้ซาบซึ้งเหมือนกับนวนิยาย จนทำให้นาโบคอฟซึ่งเคยอนุญาตให้คิวบริกนำนวนิยายมาดัดแปลงตามใจชอบบ่นว่าหนังช่างราบเรียบเป็นอย่างยิ่ง ฉากอันแสนจะอื้อฉาวของหนังเรื่องนี้ก็คือตอนที่ฮัมเบิร์ตกำลังพรอดรักกับชาร์ล็อตด้วยความจำใจ ในขณะที่เขาโอบกอดเธออยู่นั้นตาก็ชำเหลืองมองไปที่ภาพของโลลิต้าบนหัวเตียงอยู่นานมาก อันเป็นฉากที่ส่อราวกับผู้ชายกำลังมองภาพโป๊ของเด็กและสำเร็จความใคร่ให้ตัวเอง ทำให้แผนกเซ็นเซอร์สั่งให้ตัดออกไป โชคดีของคนรุ่นหลังที่ได้ดูเวอร์ชั่นของดีวีดีที่เอาฉากนี้กลับเข้าไปเหมือนเดิม
ภาพยนตร์เรื่องโลลิต้าถูกเสนอเข้าชิงรางวัลออสก้าเพียงสาขาเดียวคือ สาขา Best Writing, Screenplay Based on Material from Another Medium โดยนาโบคอฟแต่ก็พลาดไป น่าชื่นใจนิดหน่อยที่ลิองผู้แสดงเป็นโลลิต้าได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในฐานะดาราดาวรุ่งร่วมกับดาราสาวอีก 2 คน หนังเรื่องนี้จัดได้ว่าเป็นหนังระดับกลางๆ ของคิวบริกที่แฟน ๆ ให้เครดิตต่ำกว่าหนังคลาสสิกของเขาหลายเรื่อง ในปี 1997 ก็ได้มีคนสร้างภาพยนตร์โลลิต้าขึ้นมาอีกแต่ไม่ใช่การรีเม็คหรือเอามาทำใหม่เพียงแต่อาศัยนวนิยายเล่มเดียวกัน โดยมี Jeremy Irons แสดงเป็นฮัมเบิร์ต แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับการต้อนรับเหมือนกับหนังขาวดำที่ยังแฝงด้วยอารมณ์ตลกร้ายของคิวบริกเรื่องนี้เท่าไรนักแม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างในเรื่องทางเพศมากกว่าเดิม ในปี 1964 คิวบริกก็ได้สร้างหนังชื่อเรื่องยาวจนน่าใจหายและที่มีเนื้อหาคนละเรื่องกับโลลิต้าคือ Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb ซึ่งเป็นหนังตลกล้อเลียนสงครามเย็นในช่วงที่ชาวโลกทั้งหลายกำลังคิดว่าพวกเขาสามารถจะตายหมู่ทั้งโลกได้ในวินาทีใดวินาทีหนึ่งจากอาวุธนิวเคลียร์ อันแสดงให้เห็นว่าคิวบริกนั้นเป็นยอดผู้กำกับที่มีความคิดสร้างสรรค์แบบที่ผู้กำกับคนไหนในโลกนี้ไม่สามารถเลียนแบบได้
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913 และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ของเยอรมัน นั่นคือ Bach Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก