Skip to main content
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวของเธอหรือเขานั้นเองไม่ว่าเกิดเมื่อไร ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร เรียนที่ไหน เป็นแฟนหรือกิ๊กกับใคร แสดงหนังหรือละครเรื่องใดบ้าง ที่สำคัญต้องลงรูปสวยหรือหล่อให้เยอะๆ เพื่อตอบสนองความอยากของประชาชนซึ่งน่าจะเป็นชนชั้นกลางเสียส่วนใหญ่ ซึ่งผมจะขอเรียกหนังสือชนิดนี้ว่า "หนังสือฟองสบู่"คือถูกตีพิมพ์ออกมามาก มีรูปแบบสวยงามๆ แต่ข้างในโบ๋เบ๋ เน้นเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะเรื่องอื้อฉาวทางเพศเสียมาก ยิ่งกลิ่นคาวแรงแค่ไหนยิ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า น่าตลกที่ว่าบางคนแค่ได้ออกโทรทัศน์หรือแสดงภาพยนตร์ไม่กี่ครั้งก็ออกหนังสือจนคนอ่านยังสงสัยว่าหมอนี่หรือนางคนนี้เป็นใครกัน 
 
อย่างไรก็ดีพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้สำหรับพวกเซเลบคือการเปิดตัวหนังสือตามห้างใหญ่ๆ เพื่อแจกลายเซ็นแล้วโหมออกข่าวทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ การผลิตหนังสือที่มีคุณคุณภาพไม่ใช่เรื่องง่ายๆ การเรียบเรียงตัวหนังสือออกมาจากสมองตัวเองให้สละสลวย จูงใจคนอ่าน มีความชัดเจน ต่อเนื่องไม่สะดุดและมีแง่คิดแฝงอยู่ด้วยย่อมเป็นสิ่งที่เซเลบส่วนใหญ่ทำกันไม่ได้ทุกคนแม้จะเป็นเรื่องตัวเองก็ตาม ดังนั้นอาชีพที่คนเหล่านั้นต้องหันหน้าไปพึ่งก็คือนักเขียนผีหรือ ghost writer ที่ว่านักเขียนผีก็เพราะเป็นคนปิดทองหลังพระโดยให้พวกเซเลบเป็นคนเอาหน้าไปทั้งหมด เพียงแค่พวกเซเลบรวบรวมข้อมูลมาเล่าให้ฟัง พวกนี้ก็เอามาเขียนจนสำนวนดูเลิศเลอมีเสน่ห์จนเจ้าตัวเองเอามาอ่านแล้วรำพึงกับตัวเองว่า "ใช่ตัวกูหรือนี่ "
 
 บทความนี้แท้ที่จริงต้องการจะแนะนำหนังสือนวนิยายเรื่อง The Ghost ซึ่งย่อมาจาก The Ghost Writer นั้นเอง The Ghost เป็นนวนิยายของนักเขียนชาวอังกฤษคือโรเบิร์ต แฮร์ริสเจ้าของนวนิยายชื่อดังก่อนหน้านี้ซึ่งหลายเล่มเข้าระดับเบสเซเลเลอร์เช่นFatherland (1992) Enigma (1995) Archangel (1999) Pompeii (2003) โดยเฉพาะ Enigma (1995) อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันการถอดรหัสลับระหว่างฝ่ายสัมพันธ์มิตรกับเยอรมันนาซีในสงครามโลกครั้งที่สองได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ The Ghost ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายอิงการเมืองเขย่าขวัญ (political thriller) ที่น่าติดตามมากที่สุดเรื่องหนึ่งแห่งปี นวนิยายที่ถูกตีพิมพ์ใน ปี ค.ศ. 2007 เล่มนี้มีตัวเอกซึ่งเป็นนักเขียนชื่อดังคนหนึ่งซึ่งนวนิยายไม่ได้บอกชื่อเพราะเรื่องถูกบรรยายโดยผ่านสายตาของเขาเองตัวเอกได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ให้ไปทำหน้าที่แทนไมค์ แม็คอาร่านักเขียนผีประจำตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษคือ อดัม แลงค์ ซึ่งต้องการผลิตหนังสืออัตชีวประวัติของเขาออกมาเล่มหนึ่ง นายแม็คอาร่าเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาขณะเดินทางมากับเรือข้ามฝากซึ่งแล่นข้ามทะเลไปยังเกาะมาร์ธาส์ วินียาร์ดในรัฐแมสซาชูเซ็ทของอเมริกาซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านพักตากอากาศของอดัมหลังจากพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
 
                                            
                               
                                  
                                             ภาพจาก www.amazon.com
 
 
จากนั้นนวนิยายก็ได้นำเราให้ไปรู้จักกับอดัมและภรรยาของเขาคือรูธ ตัวอดัมเป็นที่มาของความอื้อฉาวของนวนิยายเล่มนี้เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าอิงอยู่บนตัวตนของนายโทนี่ แบลร์ของอังกฤษซึ่งเพิ่งพ้นตำแหน่งในปีที่นวนิยายถูกตีพิมพ์ ส่วนรูธก็คือนางเชอรี่ ภรรยาของแบลร์อวตารลงมานั้นเอง แต่บุคคลของเขาและเธอในนวนิยายถูกนำเสนอออกมาในด้านลบเช่นฉากหน้าอดัมเป็นคนมีเสน่ห์เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์แบบแบลร์แต่ความเป็นจริงเป็นคนที่ไร้อุดมการณ์ หลงตัวเองจนตัดขาดตัวเองออกจากความเป็นจริง (อันนี้แฮร์ริสจงใจใช้ด่าแบลร์ตรงๆ เลย) แต่เขามักถูกจูงจมูกโดยภรรยาเสมอมา รูธมีลักษณะเหมือนภริยาของอดีตประธานาธิบดีอเมริกาบางคนเช่นเรแกนหรือคลินตัน เธอเป็นผู้หญิงร้ายลึก จอมวางแผนชอบใช้คนอื่นโดยเฉพาะสามีเป็นเครื่องมือ จากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอดัมและรูธ ตัวเอกก็ได้ค่อยๆ รู้ฉากหลังที่ลึกลับของทั้งคู่ทีละเล็กละน้อยอันจะเป็นกุญแจไขไปสู่ความลับว่าทำไม   แม็คอาร่าถึงเสียชีวิตอย่างลึกลับโดยเฉพาะตอนที่ชะตาชีวิตของอดัมพบกับจุดผกผันเมื่อศาลอาชญากรสงครามได้ทำการไต่สวนเรื่องชั่วๆ ของเขาขณะยังเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งประกาศสนับสนุนรัฐบาลอเมริกันยุคประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุชในการทำสงครามต่อการก่อการร้าย 
 
ในการนี้อดัมได้ร่วมมือกับซีไอเอในการลักพาตัวชาย 4  คนสัญชาติอังกฤษซึ่งถูกสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายอัลไควดาไปทรมานเพื่อหาข้อมูล แต่ว่าอดัมบังเอิญอยู่ในอเมริกาพอดีจึงรอดพ้นจากการถูกจับกุม เขาได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันไม่ให้ส่งตัวกลับไปดำเนินคดียังประเทศอังกฤษ แต่กระนั้นก็ดูน่าอับอายไร้ศักดิ์ศรีไม่น้อยแถมยังมีคนจำนวนมากมาประท้วงรัฐบาลอเมริกันถึงเกาะ เข้าใจว่าถ้าแบลร์และภรรยาอ่านเข้าซึ่งคงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าเสียฉากใหญ่ๆ เพราะเนื้อเรื่องเช่นนี้สะท้อนถึงแนวคิดของคนเขียนและอังกฤษจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับแบลร์ที่ภักดีกับบุชในนโยบายการส่งทหารอังกฤษไปร่วมกับกลุ่มพันธมิตรในประเทศอิรักจนถูกขนานนามจากสื่อมลชนว่าเป็น "สุนัขพูดเดิลพันธุ์อเมริกัน" (American poodle) ในขณะเดียวกันนวนิยายก็วิพากษ์นโยบายการต่างประเทศของอเมริกาไปในตัว
 
สำหรับพวกเราก็คงจะอุทานว่าการอุ้มอดัมของสหรัฐฯ ช่างเหมือนกับชนชั้นปกครองไทยในอดีตเสียนี้กระไร แต่ถ้ามองลึกไปกว่านี้ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ผู้กระทำความผิดที่เคยกุมอำนาจรัฐมักจะรอดพ้นจากโทษทัณฑ์เสมออาจเพราะความคลุมเคลือทางประวัติศาสตร์หรือมีผู้อำนาจมาอุ้มก็ตามแต่จนน่าจะยกมาเป็นสุภาษิตได้ว่า คนสามัญฆ่าคนตายหนึ่งคน ท่านเรียกว่า"อาชญากร"คนมีอำนาจฆ่าคนได้หลายคน (แล้วไม่ถูกลงโทษ) ท่านเรียกว่า "ชนชั้นปกครอง"
 
The Ghost เป็นนวนิยายที่มีเสน่ห์คือสามารถผสมสานเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ากับ การสืบสวนสอบสวนอันเร่งเร้าความตื่นเต้นเข้ากับอารมณ์ขันแบบร้ายๆ ได้อย่างดีตามแบบเฉพาะตัวของแฮร์ริสคนเขียนถึงแม้จะสะดุดไปบ้างกับการเน้นย้ำการพรรณนาบางฉากซึ่งเป็นเพียงส่วนย่อย ๆของเรื่อง แต่ก็สามารถทำให้คนอ่านสามารถอ่านได้แบบวางไม่ลงและถึงแม้ความลับที่ถูกเฉลยในช่วงท้ายของเรื่องอาจจะดูตื้นไปเล็กน้อย แต่พลังทั้งมวลของหนังสือก็ทำให้คนอ่านมองข้ามจุดนี้ไปได้
 
นวนิยายเรื่องนี้ยังได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยมีการวางตัวผู้กำกับคือโรมัน โปลันสกี แต่เผอิญว่าคุณโปลันสกีถูกจับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และกำลังจะถูกส่งไปดำเนินคดีในอเมริกาข้อหาข่มขืนผู้เยาว์เสียก่อน ภาพยนตร์เลยถูกพับไปก่อนจะสามารถเข็นมาสร้างจนออกฉายและประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2010 ในชื่อ The Ghost Writer สำหรับพวกเราสามารถหา The Ghost มาอ่านได้ไม่ยากเพราะถูกแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยคุณ อิสริยา ชมภูผลและมีชื่อภาษาไทยคือ "เปิดแผนโค่นผู้นำ" 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที