Skip to main content
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ. 2532 เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงในชีวิตของผมดังที่เรียกว่า coming -of- age  คือจากเด็กที่ไม่รู้ความอะไรมาเป็นวัยรุ่น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่ผมได้ประสบพบในช่วงเหล่านั้น 
 
1.รู้จักนายกรัฐมนตรีของไทยคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดี แต่ฝ่ายหลังจะฉลาดและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่ามาก ที่สำคัญคือมาจากครรลองของประชาธิปไตย
 
 
2.หวาดกลัวจนหัวหดต่อภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ยิ่งเมื่อได้ดูหนังเรื่อง The Day After ซึ่งมีการดำเนินเรื่องและเทคนิคที่น่าตื่นตาตื่นใจมากในยุคนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเคยโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าชะตากรรมของโลกขึ้นอยู่ผู้นำของสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตในยุคนั้น 
 
 
3.เพิ่งได้ข่าวว่ามีโรคประหลาดที่ระบาดเฉพาะในกลุ่มพวกเกย์ในเมืองซานฟรานซิสโกที่ทำให้คนเหล่านั้นภูมิคุ้มกันบกพร่อง ป่วยหนักและจะตายในที่สุด (ผมอ่านเจอจากต่วยตูนและยังไม่มีคำว่า"เอดส์"ในสมองเลย เพราะผู้เขียนใช้ชื่อเต็ม)  คิดว่าโรคนี้ไม่นานก็คงจะหายารักษาได้  และคนไทยตื่นตัวกับโรคเอดส์จากความตายของเซเลบของฮอลลีวู้ดคือร็อค ฮัดสัน ที่ออกมาเปิดเผยว่าตัวเองมีเชื้อเอชไอวีเป็นคนแรกในปี 1985  กระนั้นด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเฉพาะพวกรักร่วมเพศ พวกรักต่างเพศก็ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
 
 
4.ชอบดูหนังบู๊ที่สรพงษ์ ชาตรี  สมบัติ เมทะนี  กรุง  ศรีวิไล เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แสดงทุกสายวันเสาร์ทางช่อง 7 สี พร้อมเสียงพากย์ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว  แต่แอบติดใจคุณพิภพ ภู่ภิญโญ  ดาวร้ายหัวล้านที่ชอบตบหัวตัวเองพร้อมกับหัวเราะเหมือนคนบ้า ไม่นึกว่านอกจอแกจะเป็นคนเรียบร้อยนิสัยดี (ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว)
 
 
5.คิดว่าสักวันหนึ่งจะต้องได้ออกไปรบกับพวกคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ยิ่งได้เรียนวิชารักษาดินแดนที่ต้องท่องจำลัทธิมาร์กซ์ด้วยแล้ว ดังจากตำราเรียนหนาปึก
 
 
6.เข้าใจว่านักร้องหน้าใหม่ที่ชื่อธงไชย แม็คอินไตยน่าจะดังไม่เกิน 2 อัลบั้ม กระนั้นก็สามารถสัมผัสกลิ่น LGBT ของแกได้ตั้งแต่เปิดตัว
 
 
7. ไปกับพี่ชายเพื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Commando ที่อาร์โนลด์ ชวาซเน็กเกอร์แสดงที่โรงภาพยนตร์ด้วยตั๋วหนังที่ราคาแพงที่สุดคือ 25 บาท พร้อมกับเพลงดิสโกฝรั่งซึ่งดังในทศวรรษที่ 70 -80 เปิดรอเวลาฉาย
 
 
8.อยู่ในโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต  ไม่มีโทรศัพท์มือถือ  ไม่มีเอทีเอ็ม (จนมาช่วงปลายของทศวรรษ) ขนาดโทรทัศน์ยังเป็นจอขาวดำในช่วงต้นทศวรรษ  จำได้ว่าเห็นโทรทัศน์จอสีครั้งแรกแล้วตกตะลึง
 
 
9.มีข่าวว่าดาวเทียมของสหรัฐฯ คือสกายแล็ปจะตกและสามารถตกลงจุดไหนของโลกก็ได้ ชาวโลกต่างก็กลัวว่าเศษของดาวเทียมมหาภัยจะตกลงมาบนหลังคาบ้านตัวเอง สุดท้ายดันไปตกในทะเล
 
 
10.มีคุณแอ็ด คาราบาวเป็นไอดอล เป็นนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่เปี่ยมด้วยอุดมการณ์สุดยอด  เป็นพวกหัวเอียงซ้ายด่านักการเมืองและนายทุนทุกคน (กระนั้นมาเฉลียวใจก็เมื่อคุณแอ็ดแต่งเพลงเชียร์โครงการอีสานเขียวของบิ๊กจิ๋ว) 
 
 
11.ได้เห็นพลเอกเปรมถูกคนบ้าต่อยหน้าจะๆ ขณะไปเปิดงานที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง บนหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ขาวดำ (ราคาของหนังสือพิมพ์สมัยนั้นถ้าจำไม่ผิด ไม่เกิน 3 บาท)
 
 
12.หลงรักบทเรียนภาษาไทยคือปิติ มานะ วีระ ชูใจอย่างมาก เป็นสังคมชนบทในจินตนาการที่เปี่ยมด้วยความสงบสุขตามที่รัฐไทยจารีตนิยมฝันไว้ แม้ตอนท้ายๆ จะดรามาจนน้ำตาไหล 
 
 
13.ตอนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เพลงที่ดังและกินใจที่สุดคือเพลง "โชคดีนะเพื่อน" ของวงไมโครจากอัมบั้ม "หมื่นฟาเรนไฮต์" ซึ่งวงนี้เคยดังมาก่อนกับเพลง "รักปอนๆ " หรือ "อย่าดีกว่า" ในอัมบั้มแรก
 
 
14.สังคมไทยเริ่มรู้จักรูปแบบทางเพศใหม่ๆ ของวัยรุ่น  หนังสือคู่สร้างคู่สมถึงกลับตั้งหัวข้อว่า "เกย์กอมทอมดี้ ดีหรือเลว" เช่นเดียวกับคำว่า "ตุ๊ด" ซึ่งไลฟ์สไตล์ของพวกเขากลายเป็น subculture หรือวัฒนธรรมกระแสรองที่ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองรู้สึกเป็นห่วงเป็นใหญ่
 
15.เยาวชนไทยติดการ์ตูนรวมซีรีย์เกี่ยวกับฟุตบอลของอังกฤษที่ชื่อ "กีฬากับการ์ตูน" เช่นฮามิชตีนระเบิดอย่างงอมแงม
 
16.พี่แจ้  ดนุพล แก้วกาญจน์คือสุดยอดแห่งนักร้องเมืองไทย พร้อมเสียงที่นุ่มนวลชวนฝันไม่เหมือนใคร  และงานคอนเสิร์ตที่ดีที่สุดคือ "โลกดนตรี"ที่จัดโดยคุณเสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เช่นเดียวกับค่ายนิธิทัศน์ซึ่งดังเปรี้ยงปร้างในทศวรรษที่ 80  จนเจ้าของออกมาอวดว่าเคยไปซื้อเสื้อสูทหมดไปหลายล้านที่่ต่างประเทศ
 
17.ทอม ครุยส์ เป็นรูปลักษณ์ของหนุ่มอเมริกันสุดเท่ห์ อย่างในเรื่อง Top Gun (พร้อมกับเพลงประกอบของวง Berlin คือ Take My Breath Away)  ตอนนั้นวัยรุ่นชายนิยมเสื้อหนาวทหารสีเขียวหนาๆ ใส่แว่นตาดำ  ขี่มอเตอร์ไซด์แบบผู้ชาย เข้าใจว่าหนังเรื่องนี้คงจะทำให้เด็กหนุ่มคลั่งอยากเป็นนักบินกันมาก 
 
 
18.ได้เห็นภาพข่าวงานศพของคอนสแตนติน เชเนโก ผู้นำของสหภาพโซเวียตแล้วรู้สึกว่าเท่ห์มาก มีโลงศพ แล้วมีคนสีไวโอลินเป็นเพลงเศร้าๆ อยู่ใกล้ๆ เมื่อได้เห็นใบหน้าผู้สืบต่อคือมิกเคล  กอร์บาชอฟแล้วรู้สึกว่าโลกมีความปลอดภัยขึ้นจมเพราะดูเป็นคนดีศรีสังคม
 
 
19.เพลงดิสโกในทศวรรษที่ 70 กับ  80 ดังมากในสังคมไทย  เพลง Lady Bump ทำให้เกิดแฟชั่นท่าเต้นแล้วเอาตะโพกของคนสองคนมาชนกันที่เรียกว่า "บัมพ์"  มีคนเอาไปแปลงเป็นเพลงไทย มีเนื้อท่อนหนึ่งที่ผมจำได้ว่า "อาตมาก็บัมพ์เป็น สามเถรก็บัมพ์ได้"  ส่วนเพลงอื่นๆ ของบอนนีเอ็มเช่นเพลง Genghis Khan  กับ Rasputin จนมีคนเอาทำนองไปดัดแปลงเป็นเพลงไทยเหมือนกัน
 
 
20.ตอนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีแค่โควต้าสำหรับจังหวัดในภาคต่างๆ  ถ้าสอบไม่ได้ก็ไปสอบเอนทรานซ์ทั่วประเทศ จบ ไม่มีโอเน็ต เอเน็ตที่น่าเวียนหัวเหมือนปัจจุบัน
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก