Skip to main content

  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาป็นวันครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลจีนไปพร้อมกับการประท้วงของชาวฮ่องกงซึ่งมุ่งมั่นท้าทายรัฐบาลเบ่ยจิ่งอย่างมากในวันนี้ ต่อไปนี้คือความหายนะครั้งที่ 2 ที่ก่อโดยพรรคคอมมิวนิสต์นั่นคือปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเป็นความตั้งใจของเหมา เจ๋อตงบิดาผู้ก่อตั้งจีนยุคใหม่ (ซึ่งยืนอ่านประกาศเหนือประตูของพระราชวังต้องห้ามในวันที่ 1 เดือนตุลาคมปี 1949) เพื่อการลุสู่อำนาจอันสะท้อนถึงความฉ้อฉลสุดขีดของการเมืองจีน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนที่สนับสนุนรัฐบาลเบ่ยจิ่งมักอ้างว่าเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลจีนเพียงอย่างเดียว อันสะท้อนให้เห็นว่าภาพอันสวยงามที่จีนพยายามนำเสนอในวันชาตินี้มีเงามืดแฝงอยู่อย่างแยกไม่ออกด้วย

 

  การปฏิวัติวัฒนธรรมหรือ Cultural Revolution มีตัวละครสำคัญคือชาวเร็ดการ์ด (ภาษาจีนคือหง เหว่ยปิง) คือเยาวชนซึ่งได้รับการปลูกฝังให้เลื่อมใสและศรัทธาในอุดมการณ์ของเหมา เจ๋อตง ผ่านหนังสือเล่มเล็กสีแดงคือสรรนิพนธ์ของเหมา ถือได้ว่าเป็นจักรกลสำคัญของปฏิวัติวัฒนธรรมจีนซึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 1966 ในการประชุมของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาได้กล่าวคำปราศรัยเรียกร้องให้เยาวชนเล่นงานผู้นำของพรรคซึ่งหันมาสมาทานค่านิยมของชนชั้นกลางและละทิ้งจิตวิญญาณของการปฏิวัติ ปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นเกิดจากความต้องการของเหมาในการกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังจากต้องเพลี่ยงพล้ำให้กับผู้นำคนอื่นในพรรคอย่างเช่นหลิว เซ่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง เพราะความล้มเหลวของนโยบายการก้าวกระโดดไกล (Great Leap Forward) ในทศวรรษที่ 50 ของเหมาซึ่งส่งผลให้เกิดทุพภิขภัยครั้งร้ายแรง มีการประเมินว่ามีคนจีนเสียชีวิตไปประมาณ 45 ล้านศพ

 

 

                                   ในภาพอาจจะมี 18 คน, ผู้คนกำลังยืน

 

 

   เหมาเสนอทฤษฎีตามแบบสตาลินว่า ตอนนั้ันจีนยังไม่สามารถก้าวสู่สังคมนิยมแบบเต็มรูปแบบได้เพราะยังมีคนอีกจำนวนมากซึ่งยังฝักใฝ่ในทุนนิยม หัวต้านการปฏิวัติ หรือพวกนิยมศักดินาแฝงอยู่ในสังคมจีน ทุกระดับแม้แต่ในพรรคคอมมิวนิสต์ คนเหล่านั้นต้องถูกกำจัดให้หมดไป เช่นเดียวกับสิ่งเก่าๆ อย่างนิสัย ธรรมเนียม ความคิด วัฒธรรม (4เก่าหรือ 4 olds) ต้องถูกทำลาย นอกจากเหมาแล้วก็ยังมีลิ่วล้ออาศัยกระแสเชิดชูเหมาเพื่อสร้างอำนาจในตัวเองอย่างเช่นนางเจียง ชิงหัวหน้าแก๊งค์สี่คนซึ่งเป็นภรรยาของเหมา เฉิน ป่อต๋าและหลินเปียวเป็นต้น พวกเร็ดการ์ดก็จะถือว่าการชุมนุมและเดินพาเหรดต่อหน้าเหมาจู่เสียน (ท่านประธานเหมา) เป็นเกียรติในชีวิตมากอย่างเช่นในปี 1966 ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน พวกเขาจะลงทุนแออัดกันในรถไฟเพื่อเดินทางมาจากมณฑลไกลๆ เพื่อจะได้พบกับเหมา

 

   พวกเร็ดการ์ดได้เข้าเล่นงานบุคคลในทุกภาคส่วนของสังคมตั้งแต่คุณครูในห้องเรียนตัวเอง อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชนจนไปถึงผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเช่น หลิว เซ่าฉี เติ้ง เสี่ยวผิง เผิง เต๋อหวาย ฯลฯ หลิวและเผิงถูกเร็ดการ์ดทำร้ายร่างกายและปล่อยให้เสียชีวิต ส่วนเติ้งแม้ไม่ได้มีชะตากรรมเช่นเดียวกับเพื่อนแต่ก็เกือบเอาตัวไม่รอด ลูกชายของเขาต้องพิการเพราะโดดจากตึกเพื่อฆ่าตัวตายหนีพวกเร็ดการ์ด สำหรับโจว เอินไหลนายกรัฐมนตรีเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่รับผลกระทบน้อยที่สุดแต่ก็ทำให้เขาต้องแสดงความซื่อสัตย์อย่างสุดจิตสุดใจต่อเหมา วิธีการของพวกเร็ดการ์ดได้แก่การนำตัวผู้เคราะห์ร้ายไปสอบสวน รุมทำร้าย ด่าทอ ประณาม นำไปแห่ประจานต่อหน้าสาธารณะ บังคับให้สวมหมวกยาวๆ (หมวกคนโง่) โกนหัวบางส่วน หรือเอาของหนักๆ แขวนคอ (เหมือนในหนังเรื่อง The Last Emperor เป็นเครื่องพิมพ์ดีด) เพื่อให้คนเหล่านั้นสำนึกผิดและสารภาพทั้งที่ไม่ได้มีความผิดอะไร บ้างก็ถูกบังคับให้คลานเหนือเศษกระจก บ้างก็ถูกจับไปประหารชีวิตเสียเลย นัยว่าในยุคนั้นไม่มีใครปลอดภัยเลย เพราะทุกคนสามารถถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกมีความคิดดังข้างบนได้หมด

 

นอกจากนี้ วัดวาอาราม โบสถ์คริสต์ โบราณสถานอย่างเช่นสุสานกษัตริย์ราชวงศ์หมิง ถูกพวกเร็ดการ์ดบุกเข้าทำลายเพราะเห็นว่าเป็นเศษเดนของศักดินา แต่พวกเขาก็แอบปล้นสะดมด้วย อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบลเล่าว่าตอนเจียง ไคเช็คหนีไปไต้หวันในปี 1949 ได้ขโมยของโบราณไปหลายแสนชิ้นซึ่งกลายเป็นเรื่องดีไป ไม่เช่นนั้นของพวกนี้ต้องสูญสลายหรือหายไปในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นแน่ สังคมและเศรษฐกิจจีนในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตเป็นล้านๆ หรืออาจถึงหลายสิบล้าน (จำนวนที่ว่านี้คือการประเมิน เพราะการนับจำนวนจริงๆ เป็นไปไม่ได้เลย) ครอบครัวต้องแตกสลาย ตัวอย่างในนั้นคือครอบครัวของสี จิ้นผิง ผู้นำคนปัจจุบันของจีน โดยคุณพ่อคือสี จ้ง สวินเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคซึ่งถูกเร็ดการ์ดเล่นงานเหมือนกัน ส่วนพี่สาวของสี จิ้นผิงต้องฆ่าตัวตายเพราะโดนแรงกดดันจากพวกเร็ดการ์ด ส่วนฝ่ายความมั่นคงอย่างตำรวจและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้รับคำสั่งให้อยู่นิ่งเฉย อย่างไรก็ตามในช่วงหลังก็ไม่ได้มีตัวละครที่ก่อความวุ่นวายเพียงแค่เร็ดการ์ด หากรวมไปถึงคนงานและทหารบางหน่วยอีกด้วย และมีนับครั้งในถ้วนที่บรรดาคนเหล่านั้นซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มเป็นก๊กจะหันมาต่อสู้กันเองไม่ว่าทางกายหรือการใช้อาวุธจนดูเหมือนกับสงครามกลางเมืองแบบย่อยๆ

 

เมื่อเหมา เจ๋อตงเห็นว่าปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มลุกลามจนคุมไม่อยู่จึงประกาศยุติการปฏิวัติในปี 1969 และได้ให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเข้าจัด การกับเร็ดการ์ดโดยส่งเยาวชนเหล่านั้นไปเรียนรู้วิถีของมวลชนในชนบทเป็นเวลาหลายปี พวกเร็ดการ์ดปัจจุบันถูกขนานนามว่าเป็นรุ่นที่สาปสูญ (Lost Generation) และหนึ่งในนั้นคือสี จิ้นผิงซึ่งต้องไปอยู่ในถ้ำ กินนอนกับชาวบ้านที่มณฑลส่านซีอยู่หลายปี และจากนั้นกองทัพก็เข้ามามีอิทธิพลในสังคมจีนอย่างมาก จวบจนหลิน เปียวผู้มีอำนาจสูงสุดในกองทัพและทายาททางการเมืองของเหมาเกิดแตกคอกับเหมาและพยายามทำรัฐประหารโค่นล้มท่านประธาน แต่ไม่สำเร็จ เลยหนีไปมงโกเลียพร้อมครอบครัวแต่เครื่องบินตกเสียก่อนในปี 1971 กระนั้นปฏิวัติวัฒนธรรมก็ยังมีแรงเฉื่อยอยู่ไปจนถึงปี 1976 ที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม และแก๊งสี่คนถูกจับกุมดำเนินคดีต้องติดคุกกันไปคนหลายสิบปี แต่นางเจียง ชิงได้ฆ่าตัวตายขณะถูกคุมขัง เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจในอีก 2 ปีต่อมาก็ได้รื้อฟื้นเกียรติยศแก่เหยื่อของการปฏิวัติ

 

                          

                              ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน, ฝูงชน และสถานที่กลางแจ้ง

 

 

ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์เองยังยอมรับว่าเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง แต่ก็พยายามไม่ให้กลายเป็นวาทกรรมที่แพร่หลายในการทำลายชื่อเสียงของทางพรรค คนรุ่นใหม่ของจีนก็ได้รับการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่โดดข้ามยุคนี้ไปหรือกล่าวถึงในบางด้าน (เหมือนเด็กไทยที่ได้เรียนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519) ส่วนพวกเร็ดการ์ดในปัจจุบันซึ่งอายุ 50 ขึ้นไปกลายเป็นนายทุน นักธุรกิจก็เยอะ จำนวนมากจะแสดงความรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตัวเอง บ้างก็หันมาประณามเหมาอย่างเสีย ๆ หายๆ ตัวอย่างเช่นจุง ชาง เจ้าของหนังสือ Mao: The Unknown Story เกี่ยวกับชีวประวัติเหมาในด้านลบสุดๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงหนังสือ The Private Life of Chairman Mao ซึ่งเปิดเผยถึงตัวตนที่แท้จริงของเหมาในบางด้านที่เขียนโดยนายแพทย์ประจำตัวของเหมาคือลี่ จื้อซุยผู้ซึ่งก็ถือว่าได้รับผล กระทบจากปฏิวัติวัฒนธรรมเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในยุคของสี จิ้นผิงผู้นำซึ่งเปลี่ยนแปลงแนวคิดผู้นำรวมหมู่ (Collective Leadership) ที่วางโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ได้พยายามรื้อฟื้นลัทธิบูชาบุคคลแบบเหมายุคใหม่หรือ Neo-Maoism และมีความกลัวต่อการปฏิวัติวัฒนธรรมเวอร์ชั่น 2.0 คือลัทธิล่าแม่มดตามแบบจีนอีกครั้ง จึงกลายเป็นเรื่องตลกร้ายที่เหยื่อปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างสีจะหันมาใช้กลยุทธดังกล่าวเพื่อสร้างอำนาจให้กับตัวเอง

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก