Skip to main content

นตำราเรียนมักบอกว่าหลังสิ้นสุดสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีประเทศที่ยังเป็นคอมมิวนิสต์เหลืออยู่เพียง 5 ประเทศคือจีน เวียดนาม ลาว คิวบาว และเกาหลีเหนือ (ตลกดีมีคนที่ผมรู้จักอย่างน้อย 2 คนคิดว่ารัสเซียยังเป็นคอมมิวนิสต์อยู่) สำหรับเกาหลีเหนือมีข้อถกเถียงกันว่าจริงๆ เกาหลีเหนือเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ผมว่าคำตอบนั้นซับซ้อนยิ่งกว่ามีและไม่มี หลายคนบอกว่าเกาหลีเหนือไม่ใช่คอมมิวนิสต์ เพราะนับถือลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งเน้นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเอง และระเบียบอำนาจทางสังคมแบบขงจื้อและราชวงศ์ในอดีตเสียยิ่งกว่าลัทธิมาร์กซ์ซึ่งต้องการให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันภายหลังการล่มสลายของระบบทุนนิยมและรัฐ นอกจากนี้เกาหลีเหนือเลิกบอกตัวเองว่าเป็นคอมมิวนิสต์โดยบอกว่าตัวเองเป็นสังคมนิยมและบอกเลิกการยึดถือลัทธิมาร์กซ์ เองเกล และเลนินไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เพื่อการเป็นอิสระจากการครอบงำของสหภาพโซเวียต และเป็นการยกย่องลัทธิจูเชซึ่งช่วยยกสถานะของคิม อิลซุงอันช่วยให้เกาหลีเหรือไม่ถูกครอบงำโดยลัทธิเหมาของจีนในช่วงปฏิวัฒนธรรม นอกจากนี้การสืบต่ออำนาจก็ไม่เหมือนพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะใช้การเลื่อนตำแหน่งตามองค์กร และการแย่งอำนาจในบรรดาตัวบุคคลและก๊กหรือ faction แต่สำหรับเกาหลีเหนือใช้การสืบทอดทางสายเลือดเหมือนราชวงศ์ จนมีบางแหล่งประดิษฐ์คำใหม่ที่ขัดแย้งในตัวเองนั่นคือบอกว่าเกาหลีเหนือมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์แบบราชวงศ์

กระนั้นผมยังมองว่าเกาหลีเหนือมีความเป็นคอมมิวนิสต์หลงเหลือด้วยอยู่มากไม่ว่าทางตรงหรือทางพิธีกรรม สัญลักษณ์ ท่าที่หลายประการและคอมมิวนิสต์ที่ว่าก็ไม่ใช่ตามทฤษฏีมาร์กซ์อย่างแท้จริง ด้วยประเทศที่บอกว่าตัวเองเป็นคอมมิวนิสต์ทุกประเทศก็ไม่เคยใช้ทฤษฏีมาร์กซ์เพียงอย่างเดียวโดยจะบอกว่าใช้ทฤษฏีของเลนินมาปนด้วย รวมไปถึงอุดมการณ์อื่น ๆ เช่นลัทธิชาตินิยม ตัวอย่างได้แก่ พรรค Worker's Party ที่ก่อตั้งโดยคิม อิลซุงในปี 1948 น่าจะคงรูปแบบและโครงสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตมาไม่มากก็น้อย สำหรับเศรษฐกิจของประเทศยังคงรวมศูนย์อำนาจอย่างสูงมากโดยระบบราชการ เกาหลีเหนือดำเนินตามแบบโซเวียตและจีนคือการให้รัฐควบคุมองค์กรทางเศรษฐกิจและธุรกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก การทำนารวมหรือ collectivized farm ซึ่งส่งผลให้เกาหลีเหนือประสบกับการอดยากครั้งรุนแรงจนทำให้คนเกาหลีเหนือเสียชีวิตเป็นล้านๆ เมื่อพบกับภัยธรรมชาติ เข่นเดียวกับจีนและโซเวียต ส่วน การบริการภาครัฐไม่ว่าด้านสาธารณรัฐสุข ขนส่งมวลชน การศึกษาก็ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ เมื่อรัฐเจ๊ง ระบบราชการล้มเหลว เต็มไปด้วยคอรัปชั่น การบริการเหล่านั้นก็ล้มเหลวไปด้วย อันส่งผลให้คนเกาหลีเหนือส่วนใหญ่เหมือนตกนรกทั้งเป็น แน่นอนว่าเมื่อมีคนไปเที่ยวเกาหลีเหนือ จึงมักถูกจำกัดให้บันทึกภาพของคนและสถานที่เกาหลีเฉพาะในนครเปียงยางและชนชั้นกลาง ฐานะดี สาวแต่งชุดพื้นเมืองสวยๆ เริงระบำเก่งๆ ปนกับภาพคนดื่มเบียร์ สูบบุหรี่ ย่อมเป็นภาพเสี้ยวเดียวที่รัฐบาลต้องการให้โลกเห็น ชาวโลกจึงไม่ค่อยเห็นคนอดอยากหรือถูกบังคับใช้แรงงานจนตาย กลยุทธ์นี้ประเทศคอมมิวนิสต์เกือบทุกประเทศพยายามใช้หลอกลวงชาวโลกซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างเช่นจีนยุคเหมา

ส่วนคนที่สุขสบายก็ได้แก่ชนชนชั้นนำและข้าราชการระดับสูงซึ่งยังคงต้องการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนเหมือนประเทศคอมมิวนิสต์เช่นคิวบาและลาวอันเป็นผลให้เกาหลีเหนือไม่มีวันที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจของตนให้เป็นเสรี แม้จะมีการยอมรับโดยกลายๆ ว่าเกาหลีเหนือต้องเป็นทุนนิยมมากขึ้นตามแบบจีน เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางการคว่ำบาตรของตะวันตก นอกจากนี้สิทธิการถือครองทรัพย์สินของประชาชนยังขาดความชัดเจน เพราะรัฐยังทรงอิทธิพลอยู่มากในการกำหนดชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ตัวอย่างเช่นก่อนหน้าปี 2016 รัฐไม่ยอมรับสิทธิในการครอบครองที่ดินของประชาชน

ในปัจจุบัน แม้เกาหลีเหนือจะไม่ยอมรับสัญลักษณ์ของสตาลินเช่นรูปปั้นและแนวคิดของสตาลินเหมือนกับตอนกำลังก่อตั้งประเทศ เพราะคิม อิลซุงเป็นเด็กสร้างของสตาลิน (แต่ตลกว่าหนังสือประวัติศาสตร์ของเกาหลีเหนือไปเขียนบอกว่าสตาลินยำเกรงและสำนึกในบุญคุญของคิมในการรบเอาชนะญี่ปุ่นช่วงสงครามโลก) แต่เกาหลีเหนือในปัจจุบันยังปกครองประเทศตามแบบสตาลินอยู่ไม่ผิดเพี้ยนเช่นลัทธิเชิดชูบุคคล หรือ cult of personality ซึ่งเกาหลีเหนือลอกมาจากสหภาพโซเวียตและไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลีสมัยราชวงศ์ เช่นเดียวกับการประกอบพิธีกรรมเพื่อเชิดชูรัฐและผู้นำโดยการเกณฑ์คนมาแสดงประกอบแสงสีเสียงล้วนเหมือนสหภาพโซเวียตและจีนยุคเหมา เจ๋อตง ส่วนประเทศในยุโรปตะวันออกก็พยายามเหมือนแต่ไม่สำเร็จอย่างเช่นโรมาเนียในยุคเชาเชสกู

นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังเป็น paranoid state ที่ระแวดระวังต่อผู้จะมาโค่นล้มรัฐบาลและนายคิม จองอุนหลานของคิม อิลซุง โดยการมีตำรวจลับ คุกหรือค่ายกักกันซึ่งลอกมาจากกูลักของสตาลิน อันมีสภาพเลวร้ายเหมือนกัน ที่สำคัญคิมผู้หลานยังมีความระแวงว่าจะมีคนจ้องทำร้ายและโค่นล้มอำนาจตน อันผลให้มีการกำจัดหรือ purge เจ้าหน้าที่ระดับสูงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เชื่อได้ว่าในประเทศนี้ไม่มีใครเลยรู้สึกปลอดภัย (แม้แต่ตัวคิมเอง) ด้วยความผิดเล็กๆ น้อยๆ เข่นเผลอไปวิจารณ์นโยบายของรัฐ หรือแม้ไม่ได้ทำอะไรเลย แค่โดยใส่ร้าย เขาหรือเธอและครอบครัวก็อาจเข้าไปเน่าตายในคุก เหตุการณ์ดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นแล้วในโซเวียตยุคสตาลินและจีนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม

บทความนี้จบลงโดยการระลึกถึงคุณสุทธิชัย หยุ่นนักข่าวผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่างประเทศและคว่ำหวอดในวงการมายาวนาน สุทธิชัยน่าจะเป็นหนึ่งในบรรดาคนไม่มากที่ยกย่องเกาหลีเหนือว่ามีประชาชนที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักเสียสละตนเพื่อชาติ และเขายังเทิดทูน ยกย่องคิม จองอุนประดุจเจ้าชายน้อยผู้ชาญฉลาดและกล้าหาญในการนำเกาหลีเหนือต่อกรกับประเทศอันธพาลและชั่วร้ายอย่างสหรัฐ (แต่ถ้าถามสุทธิชัยว่าให้เลือกไปใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐฯ หรือเกาหลีเหนือ ก็อยากรู้ว่าเขาจะตอบว่าอย่างไร) อันไม่แตกต่างจากมุมมองที่ปัญญาชนตะวันตกมองประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยความหลงไหลเมื่อทศวรรษที่ 50 และ60 เลย

 

 

 

 

                            ในภาพอาจจะมี 15 คน, รวมถึง ทัวร์ สามหกห้า ท่องเที่ยว, คนที่ยิ้ม

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก