Skip to main content
 
(มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in)
 
1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่นมาก่อนอย่างอัฟกานิสถาน  อิรัก ลิเบีย  ฯลฯ  แต่กลับอิจฉารัสเซีย (และจีน) ที่ได้โอกาสแสดงอำนาจทางทหารและจัดระเบียบโลกใหม่บ้างอย่างเช่นการบุกยูเครนครั้งนี้ พวกเขามักตั้งคำถามว่าทำไมนาโตทำถึงการรุกคืบรัสเซียโดยการขยายสมาชิกในยุโรปตะวันออกมาหลายทศวรรษก่อน อันเป็นการผิดคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับรัสเซีย หรือบางคนยังไปเชื่อคำอ้างของปูตินที่ว่ารัฐบาลยูเครนเป็นพวกนีโอฟาสซิสต์ (ซ้อนภาพกับเยอรมันนาซี) ซึ่งเป็นภัยต่อรัสเซีย บางคนก็สุดโต่งถึงกลับเห็นว่ารัสเซียน่าจะผนวกยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเพราะเคยเป็นประเทศเดียวกันมาก่อน เพื่อจะยิ่งใหญ่เหมือนโซเวียตในอดีตและร่วมกับจีนเพื่อคานอำนาจกับตะวันตก
 
2.สลิ่มชอบเผด็จการหรือผู้นำเข้มแข็งที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย พวกสลิ่มเห็นว่าผู้นำที่มาจากประชาธิปไตยอย่างโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้นำยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมันโดยเฉพาะยูเครนที่เคยเป็นนักแสดงตลกมาก่อนว่าอ่อนแอไม่ฉลาด และสุดท้ายแล้วก็สู้ปูติน อดีตเคจีบีผู้มีกลยุทธ์ทางการเมืองอันล้ำลึกไม่ได้ ยิ่งการที่ปูตินอ้างเรื่องการไปช่วยคนเชื้อสายรัสเซียในแคว้นของยูเครนที่มีสงครามกลางเมืองด้วยแล้ว  ก็เหมาะกับแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยม (เช่นยกย่องคนเผ่าไทย) ที่พวกสลิ่มยึดถือร่วมกับลัทธิชาตินิยม นั่นคือชอบผู้นำเผด็จการที่รักและคำนึงถึงคนเชื้อชาติเดียวกันเป็นสำคัญ แน่นอนว่าย่อมสะท้อนว่าพวกสลิ่มให้การสนับสนุนลุงตู่ที่ท่าทางเข้มแข็ง ขึงขังเหมือนปูติน  แม้บางคนอาจผิดหวังในลุงตู่แต่ก็เฝ้ารอใครสักใครที่เก่งกว่า แต่ยังเป็นเผด็จการและมาจากฝั่งชนชั้นนำจารีตของไทยเหมือนกัน 
 
3.ถึงแม้จะมีภาพชาวยูเครนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่พวกสลิ่มหลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเมืองระหว่างประเทศ (แต่ถ้ารัสเซียบุกประเทศไทย และครอบครัวของตนเองโดนบ้าง นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) บางคนก็อาจกล่าวหาว่าเป็นการปลุกปั่นสร้างภาพโดยสื่อตะวันตกเพื่อให้ต่อต้านรัสเซีย  พวกเขายังเปรียบเทียบการก่อกรรมทำเข็นต่อตะวันตกต่อประเทศโลกที่ 3  ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมของการบุกยูเครนของรัสเซีย  
 
4.ก่อนหน้านี้นานแล้วในอินเทอร์เน็ตมีความพยายามโยงรัสเซียและปูตินเข้ากับสถาบันกษัตริย์เช่นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างรัชกาลที่ 5 กับซาร์นิโคลัสที่ 2 และยังมีการเผยแพร่เรื่องราวที่ว่าปูตินน้อมรับเอาพระราชดำรัสของในหลวงองค์ก่อนมาใช้กับเศรษฐกิจรัสเซียจนประสบความสำเร็จ หรือภาพอดีตพระราชินีเสด็จเยือนรัสเซีย  ทำให้พวกสลิ่มรู้สึกปลาบปลื้มมาก เพราะอุดมการณ์ราชานิยมสามารถขยายขอบเขตไปยังระดับนานาชาติ กระนั้นแม้คนไทยหลายคนรู้สึกเช่นนี้แต่ก็อาจไม่เห็นด้วยกับการรุกรานยูเครนของรัสเซียก็ได้
 
5.ข้อสี่ช่วยให้พวกสลิ่มโยงประเทศไทยเข้ากับรัสเซียเหมือนกับที่เคยทำกับจีน นั่นคือไทยเป็นมิตรกับรัสเซียมาอย่างยาวนาน รัสเซียไม่เคยก้าวก่ายการเมืองไทยแม้จะมีรัฐประหารหรือรัฐบาลไทยทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหมือนกับที่ตะวันตกเคยทำกับรัฐบาลไทยเพราะไทยมีความสำคัญอย่างยื่งในสายตาของรัสเซีย  จึงเป็นลัทธิชาตินิยมอีกแบบหนึ่งที่อิงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังที่หลังปี 2557  ผมเคยเห็นการ์ตูนของสำนักพิมพ์ผู้จัดการที่ให้พญาครุฑคือไทยถ่าย selfie ร่วมกับหมีและมังกรเพื่อไปอวดอินทรีย์ว่าตอนนี้ไม่ง้อสหรัฐ ฯ แล้วนะ
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก