(มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in)
1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557 ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่นมาก่อนอย่างอัฟกานิสถาน อิรัก ลิเบีย ฯลฯ แต่กลับอิจฉารัสเซีย (และจีน) ที่ได้โอกาสแสดงอำนาจทางทหารและจัดระเบียบโลกใหม่บ้างอย่างเช่นการบุกยูเครนครั้งนี้ พวกเขามักตั้งคำถามว่าทำไมนาโตทำถึงการรุกคืบรัสเซียโดยการขยายสมาชิกในยุโรปตะวันออกมาหลายทศวรรษก่อน อันเป็นการผิดคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับรัสเซีย หรือบางคนยังไปเชื่อคำอ้างของปูตินที่ว่ารัฐบาลยูเครนเป็นพวกนีโอฟาสซิสต์ (ซ้อนภาพกับเยอรมันนาซี) ซึ่งเป็นภัยต่อรัสเซีย บางคนก็สุดโต่งถึงกลับเห็นว่ารัสเซียน่าจะผนวกยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเพราะเคยเป็นประเทศเดียวกันมาก่อน เพื่อจะยิ่งใหญ่เหมือนโซเวียตในอดีตและร่วมกับจีนเพื่อคานอำนาจกับตะวันตก
2.สลิ่มชอบเผด็จการหรือผู้นำเข้มแข็งที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย พวกสลิ่มเห็นว่าผู้นำที่มาจากประชาธิปไตยอย่างโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้นำยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมันโดยเฉพาะยูเครนที่เคยเป็นนักแสดงตลกมาก่อนว่าอ่อนแอไม่ฉลาด และสุดท้ายแล้วก็สู้ปูติน อดีตเคจีบีผู้มีกลยุทธ์ทางการเมืองอันล้ำลึกไม่ได้ ยิ่งการที่ปูตินอ้างเรื่องการไปช่วยคนเชื้อสายรัสเซียในแคว้นของยูเครนที่มีสงครามกลางเมืองด้วยแล้ว ก็เหมาะกับแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยม (เช่นยกย่องคนเผ่าไทย) ที่พวกสลิ่มยึดถือร่วมกับลัทธิชาตินิยม นั่นคือชอบผู้นำเผด็จการที่รักและคำนึงถึงคนเชื้อชาติเดียวกันเป็นสำคัญ แน่นอนว่าย่อมสะท้อนว่าพวกสลิ่มให้การสนับสนุนลุงตู่ที่ท่าทางเข้มแข็ง ขึงขังเหมือนปูติน แม้บางคนอาจผิดหวังในลุงตู่แต่ก็เฝ้ารอใครสักใครที่เก่งกว่า แต่ยังเป็นเผด็จการและมาจากฝั่งชนชั้นนำจารีตของไทยเหมือนกัน
3.ถึงแม้จะมีภาพชาวยูเครนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่พวกสลิ่มหลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเมืองระหว่างประเทศ (แต่ถ้ารัสเซียบุกประเทศไทย และครอบครัวของตนเองโดนบ้าง นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) บางคนก็อาจกล่าวหาว่าเป็นการปลุกปั่นสร้างภาพโดยสื่อตะวันตกเพื่อให้ต่อต้านรัสเซีย พวกเขายังเปรียบเทียบการก่อกรรมทำเข็นต่อตะวันตกต่อประเทศโลกที่ 3 ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมของการบุกยูเครนของรัสเซีย
4.ก่อนหน้านี้นานแล้วในอินเทอร์เน็ตมีความพยายามโยงรัสเซียและปูตินเข้ากับสถาบันกษัตริย์เช่นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างรัชกาลที่ 5 กับซาร์นิโคลัสที่ 2 และยังมีการเผยแพร่เรื่องราวที่ว่าปูตินน้อมรับเอาพระราชดำรัสของในหลวงองค์ก่อนมาใช้กับเศรษฐกิจรัสเซียจนประสบความสำเร็จ หรือภาพอดีตพระราชินีเสด็จเยือนรัสเซีย ทำให้พวกสลิ่มรู้สึกปลาบปลื้มมาก เพราะอุดมการณ์ราชานิยมสามารถขยายขอบเขตไปยังระดับนานาชาติ กระนั้นแม้คนไทยหลายคนรู้สึกเช่นนี้แต่ก็อาจไม่เห็นด้วยกับการรุกรานยูเครนของรัสเซียก็ได้
5.ข้อสี่ช่วยให้พวกสลิ่มโยงประเทศไทยเข้ากับรัสเซียเหมือนกับที่เคยทำกับจีน นั่นคือไทยเป็นมิตรกับรัสเซียมาอย่างยาวนาน รัสเซียไม่เคยก้าวก่ายการเมืองไทยแม้จะมีรัฐประหารหรือรัฐบาลไทยทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหมือนกับที่ตะวันตกเคยทำกับรัฐบาลไทยเพราะไทยมีความสำคัญอย่างยื่งในสายตาของรัสเซีย จึงเป็นลัทธิชาตินิยมอีกแบบหนึ่งที่อิงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังที่หลังปี 2557 ผมเคยเห็นการ์ตูนของสำนักพิมพ์ผู้จัดการที่ให้พญาครุฑคือไทยถ่าย selfie ร่วมกับหมีและมังกรเพื่อไปอวดอินทรีย์ว่าตอนนี้ไม่ง้อสหรัฐ ฯ แล้วนะ
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ? และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly หรือ คุณนายผีเสื้อ เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่