Skip to main content
 
(มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in)
 
1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่นมาก่อนอย่างอัฟกานิสถาน  อิรัก ลิเบีย  ฯลฯ  แต่กลับอิจฉารัสเซีย (และจีน) ที่ได้โอกาสแสดงอำนาจทางทหารและจัดระเบียบโลกใหม่บ้างอย่างเช่นการบุกยูเครนครั้งนี้ พวกเขามักตั้งคำถามว่าทำไมนาโตทำถึงการรุกคืบรัสเซียโดยการขยายสมาชิกในยุโรปตะวันออกมาหลายทศวรรษก่อน อันเป็นการผิดคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับรัสเซีย หรือบางคนยังไปเชื่อคำอ้างของปูตินที่ว่ารัฐบาลยูเครนเป็นพวกนีโอฟาสซิสต์ (ซ้อนภาพกับเยอรมันนาซี) ซึ่งเป็นภัยต่อรัสเซีย บางคนก็สุดโต่งถึงกลับเห็นว่ารัสเซียน่าจะผนวกยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเพราะเคยเป็นประเทศเดียวกันมาก่อน เพื่อจะยิ่งใหญ่เหมือนโซเวียตในอดีตและร่วมกับจีนเพื่อคานอำนาจกับตะวันตก
 
2.สลิ่มชอบเผด็จการหรือผู้นำเข้มแข็งที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย พวกสลิ่มเห็นว่าผู้นำที่มาจากประชาธิปไตยอย่างโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้นำยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมันโดยเฉพาะยูเครนที่เคยเป็นนักแสดงตลกมาก่อนว่าอ่อนแอไม่ฉลาด และสุดท้ายแล้วก็สู้ปูติน อดีตเคจีบีผู้มีกลยุทธ์ทางการเมืองอันล้ำลึกไม่ได้ ยิ่งการที่ปูตินอ้างเรื่องการไปช่วยคนเชื้อสายรัสเซียในแคว้นของยูเครนที่มีสงครามกลางเมืองด้วยแล้ว  ก็เหมาะกับแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยม (เช่นยกย่องคนเผ่าไทย) ที่พวกสลิ่มยึดถือร่วมกับลัทธิชาตินิยม นั่นคือชอบผู้นำเผด็จการที่รักและคำนึงถึงคนเชื้อชาติเดียวกันเป็นสำคัญ แน่นอนว่าย่อมสะท้อนว่าพวกสลิ่มให้การสนับสนุนลุงตู่ที่ท่าทางเข้มแข็ง ขึงขังเหมือนปูติน  แม้บางคนอาจผิดหวังในลุงตู่แต่ก็เฝ้ารอใครสักใครที่เก่งกว่า แต่ยังเป็นเผด็จการและมาจากฝั่งชนชั้นนำจารีตของไทยเหมือนกัน 
 
3.ถึงแม้จะมีภาพชาวยูเครนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่พวกสลิ่มหลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเมืองระหว่างประเทศ (แต่ถ้ารัสเซียบุกประเทศไทย และครอบครัวของตนเองโดนบ้าง นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) บางคนก็อาจกล่าวหาว่าเป็นการปลุกปั่นสร้างภาพโดยสื่อตะวันตกเพื่อให้ต่อต้านรัสเซีย  พวกเขายังเปรียบเทียบการก่อกรรมทำเข็นต่อตะวันตกต่อประเทศโลกที่ 3  ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมของการบุกยูเครนของรัสเซีย  
 
4.ก่อนหน้านี้นานแล้วในอินเทอร์เน็ตมีความพยายามโยงรัสเซียและปูตินเข้ากับสถาบันกษัตริย์เช่นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างรัชกาลที่ 5 กับซาร์นิโคลัสที่ 2 และยังมีการเผยแพร่เรื่องราวที่ว่าปูตินน้อมรับเอาพระราชดำรัสของในหลวงองค์ก่อนมาใช้กับเศรษฐกิจรัสเซียจนประสบความสำเร็จ หรือภาพอดีตพระราชินีเสด็จเยือนรัสเซีย  ทำให้พวกสลิ่มรู้สึกปลาบปลื้มมาก เพราะอุดมการณ์ราชานิยมสามารถขยายขอบเขตไปยังระดับนานาชาติ กระนั้นแม้คนไทยหลายคนรู้สึกเช่นนี้แต่ก็อาจไม่เห็นด้วยกับการรุกรานยูเครนของรัสเซียก็ได้
 
5.ข้อสี่ช่วยให้พวกสลิ่มโยงประเทศไทยเข้ากับรัสเซียเหมือนกับที่เคยทำกับจีน นั่นคือไทยเป็นมิตรกับรัสเซียมาอย่างยาวนาน รัสเซียไม่เคยก้าวก่ายการเมืองไทยแม้จะมีรัฐประหารหรือรัฐบาลไทยทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหมือนกับที่ตะวันตกเคยทำกับรัฐบาลไทยเพราะไทยมีความสำคัญอย่างยื่งในสายตาของรัสเซีย  จึงเป็นลัทธิชาตินิยมอีกแบบหนึ่งที่อิงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังที่หลังปี 2557  ผมเคยเห็นการ์ตูนของสำนักพิมพ์ผู้จัดการที่ให้พญาครุฑคือไทยถ่าย selfie ร่วมกับหมีและมังกรเพื่อไปอวดอินทรีย์ว่าตอนนี้ไม่ง้อสหรัฐ ฯ แล้วนะ
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที