บทความนี้มาจาก facebook Atthasit Muangin
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert) พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเพจของเขา ในจุดยืนเกี่ยวกับยูเครน นั่นคือเขาเลี่ยงที่จะประณามการบุกยูเครนของรัสเซียโดยเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวของคนไทย ดังนั้นควรวางตัวเป็น กลาง โดยจุดนี้เหมือนสว.คนหนึ่ง คือนายสมชาย แสวงการ ทำให้ดูตลกว่าคนที่มีจุดยืนทางการเมืองต่างกันคนละขั้วก็สามารถมาเห็นร่วมกันได้ในที่สุด
นอกจากนี้สมศักดิ์ยังเห็นว่าถ้าจะประณามสงครามในครั้งนี้ก็ควรจะเน้นไปที่บทบาทของสหรัฐฯ ทั่วโลกในเวลาที่ผ่านมาเสียมากว่า เช่นเขาได้แสดงภาพของรถถังของอิสราเอลกำลังขับอยู่หน้าเด็กปาเลสไตน์ อันสะท้อนถึงการกดขี่ของอิสราเอลซึ่งมีพันธมิตรตัวฉกาจคือสหรัฐฯ (แต่ความจริงอิสราเอลยังมีความสัมพันธ์อันดีและมีผลประโยชน์ทางทหารกับรัสเซียด้วย) ล่าสุดสมศักดิ์ยังได้แปลบทความเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และแผนการของสหรัฐฯ นั่นคือการเล่นเกมทางอำนาจกับรัสเซียในยุโรปอีกด้วย
สมศักดิ์น่าจะมีความคิดเห็นคล้ายคลึงกับนอม ชอมสกี นักภาษาศาสตร์และนักวิพากษ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หรือจอห์น เมสแฮมเมอร์ นักวิชาการคนสำคัญของแนวคิดนวสัจนิยม (ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) หรือแม้แต่ผู้ดำเนินรายการของ Voice TV คือหม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือคุณปลื้ม พวกเขาจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การโจมตีรัสเซีย เพราะเห็นว่าแท้ที่จริงสงครามในปัจจุบันเกิดจากเกมการเมืองของสหรัฐฯ และนาโต และเป็นความผิดของทั้งสองฝ่ายที่เข้าไปรุกในพื้นที่ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของรัสเซีย อันทำให้รัสเซียดำเนินนโยบายแบบแข็งกร้าวและรุกรานยูเครนในที่สุด นอกจากนี้สมศักดิ์น่าจะเห็นว่าสหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่ทำตัวเหมือนรัสเซียอย่างในอดีตคือได้ทำการบุกรุกทั้งอัฟกานิสถานและอิรัก ทำให้กฎหมายระหว่างประเทศวุ่นวาย ขาดความศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับสื่อของตะวันตกก็ล้างสมองชาวโลกทำให้ชาวโลกให้การสนับสนุนสงครามดังกล่าว หรือเพิกเฉยต่อชะตากรรมของประชาชนผู้เดือดร้อนจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ รวมถึงผู้อพยพของประเทศโลกที่ 3 ในเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ชาวโลกกลับรู้สึกเสียใจและเห็นอกเห็นใจชาวยูเครนเพราะถูกชี้นำโดยสื่อตะวันตก (ปัญหาคือสื่อทั่วโลกแม้แต่ Ajazeera ของการ์ต้าหรือ South Morning China Post ของฮ่องกงที่แอบประจบจีน ก็เสนอในหลายแง่มุมไม่ต่างจาก CNN หรือ ABC เท่าไรนัก) ฯลฯ
ไม่ว่าสมศักดิ์จะมีความคิดเห็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด แต่ที่แน่นอนที่สุดเขาย่อมไม่เห็นด้วยกับการรุกรานของรัสเซีย และน่าจะเห็นอกเห็นใจชะตากรรมของชาวยูเครนซึ่งบัดนี้อพยพลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านกว่า 3 ล้านคน ซึ่งก็มีส่วนใกล้เคียงกับชีวิตเขา (ที่ต่างกันคือเขาหนีจากการกดขี่ของเผด็จการทหาร ไม่ใช่ภัยคุกคามจากต่างประเทศ) แต่การจะแสดงจุดยืนเหมือนคนทั่วไปก็ดูตื้นเขินเหมือนเล่นตามเกมของสหรัฐฯ ทำให้พลเมืองชาวเน็ตหลงเข้าใจว่าสมศักดิ์เป็นติ่งของปูติน (Putin's apologist) ซึ่งก็ใช้เหตุผลหรือตรรกะแบบเดียวกันในการสร้างความถูกต้องของการบุกรุกครั้งนี้ กระนั้นคนโจมตีสมศักดิ์ก็มีเหตุผลของตัวเองเช่นกัน เช่นเมื่อมีภาพนำเสนอคนยูเครนเสียชีวิตหรือบ้านแตกสาแหรกขาด แต่สมศักดิ์กลับไปประณามความชั่วของสหรัฐฯ หรืออิสราเอลในตะวันออกกลาง อันเป็นพฤติกรรมที่ดูแปลกประหลาดถึงแม้จะจริงตามทฤษฎี แต่คนโจมตีสมศักดิ์หลายคนสามารถอ้างได้ว่าพวกเขาก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของสหรัฐฯ และรัสเซียซึ่งก็ชั่วเหมือนกัน
อนึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าการรุกรานของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนครั้งสุดท้ายคืออิรัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก็นานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว ทำให้คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับรัสเซียได้ชัดเจนเท่าไรนัก หรือแม้แต่การเข้าแทรกแซงทางการทหารของนาโตต่อลิเบียในปี 2011 ผู้ถูกโค่นคือมูฮัมมาร์ กัดดาฟี ก็เป็นทรราชที่รู้จักกันดีในความโหดร้าย ซึ่งดูแตกต่างจากนายวอโลดิมีร์ เซเลนสกีประธานาธิบดีของยูเครน ทำให้นาโต้ดูเป็นวีรบุรุษเสียมากกว่ารัสเซีย หรือการแทรกแซงทางทหารในซีเรียจนถึงปัจจุบัน นั้นสหรัฐฯ มีบทบาทไม่สูงมากในการสนับสนุนฝ่ายขบถ ถ้าเทียบกับรัสเซียซึ่งสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของนายบัลชาร์ อัลอัดซัด ส่วนกรณีของอิสราเอลนั้น สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนมายาวนานหลายทศวรรษ หาใช่ผู้บุกรุกปาเลสไตน์โดยตรงเหมือนกับรัสเซียต่อยูเครนไม่ ทำให้การแก้ตัวของติ่งรัสเซียหรือแม้แต่คนวิพากษ์สหรัฐฯ ในกรณีสงครามยูเครนดูขาดพลัง แม้ว่ากระทำของสหรัฐ ฯ จะชั่วร้ายไปอีกแบบ
อย่างไรก็ตาม ตามมุมมองของผม ผมมองว่าสมศักดิ์มองข้ามปัญหาทางการเมืองในยูเครนที่ถูก undermine หรือบั่นทอนโดยรัสเซียมากว่า 2 ทศวรรษ จากบทความที่เขาแปลมานั้นลดทอนคุณค่าของการปฏิวัติไมเดน ในปี 2014 ให้เป็นเพียง รัฐประหาร (coup) ที่สนับสนุนโดยกรุงวอชิงตัน นั่นคือสหรัฐฯ ชักใยให้คนยูเครนโค่นล้มประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานุชโควิชซึ่งเป็นพันธมิตร (หรือหุ่นเชิดของปูติน) นอกจากนี้ในบทความที่แปลโดยสมศักดิ์ยังกล่าวหาโดยขาดความรับผิดชอบว่าผู้นำคนใหม่ นั่นคือประธานาธิบดีคนมาแทนที่คือนายเปรโตร โปโรเช็งโกถูกเลือกโดยสหรัฐฯ ทั้งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนและนายโปโรเช็งโกมาจากการเลือกตั้งที่ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตยโดยได้รับคะแนนเสียงจากชาวยูเครนเกือบ 10 ล้านเสียง
นอกจากนี้การคิดว่าสหรัฐฯ ชักใยอยู่เบื้องหลังยูเครนเพื่อรุกฆาตรัสเซียเช่นการเข้าสมัครเป็นสมาชิกของนาโต้ ทำให้เราพลาดปัจจัยสำคัญที่จะอธิบายว่าเหตุใดเดือนกว่าแล้ว รัสเซียซึ่งมีกำลังทางทหารและอาวุธยิ่งใหญ่กว่ามากยังไม่สามารถยึดครองยูเครนได้เสียที ซึ่งคือการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นและเลือดรักชาติของชาวยูเครนที่สหรัฐฯ คงไม่สามารถปลุกระดมได้ อันตรงกันข้ามกับตอนที่เวียดนามใต้ต้องตกเป็นของเวียดนามเหนืออย่างง่ายดายในปี 1975
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913 และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ของเยอรมัน นั่นคือ Bach Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก