Skip to main content


ในที่สุดนางสาวไช่ อิงเหวิ่นประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯ ก็ได้พบกับนายเควิน แม็คคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาแทนนางแนนซี่ โปโลซี่ ผู้ก่อเรื่องอื้อฉาวโดยการเดินทางไปพบนางสาวไช่ถึงไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนจนต้องทำการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเป็นเวลานาน และครั้งนี้ก็เช่นกัน ทางเป่ยจิงได้ประณามก่อนหน้านี้ว่าการเดินทางของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว เพราะจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจีนจะทำอะไรให้ดูมีพลังกว่าปีที่แล้วเพื่อทำให้ทั้งสหรัฐฯ และไต้หวันได้รู้สำนึก

อย่างไรก็ตามการถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นมุมมองที่ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางเพราะไต้หวันยังได้เริ่มต้นเป็นรัฐชาติไปพร้อมกับการปกครองของคอมมิวนิสต์เหนือจีนเหนือแผ่นดินใหญ่นั่นคือ เจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จึงต้องต้องพาพลพรรคเป็นล้านๆ คนมาตั้งรกรากที่ไต้หวันเป็นการชั่วคราวเพื่อจะบุกเอาจีนแผ่นดินใหญ่คืนถึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไต้หวันก็เป็นอิสระ มีรัฐบาลและเอกราชเป็นของตัวเองตั้งแต่เวลานั้น ที่สำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจทั้งหลายต่างสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นของสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของเจียง อย่างในปี 1952 ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองไต้หวันมาก่อนได้ยินยอมในสนธิสัญญาที่จะมอบเกาะไต้หวันและเกาะใกล้เคียงคืนให้รัฐบาลของเจียง (1)

นอกจากไต้หวันจะมีความเป็นรัฐชาติแล้วยังมีความเข้มแข็งของรัฐในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เช่นเดียวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ตรงกันข้ามกับจีนในยุคของนายสี จิ้นผิงซึ่งกลายเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ และคนไต้หวันก็มีสำนึกความเป็นชาติไต้หวันอย่างสูงเช่นเดียวกันพวกเขาก็มองจีนในฐานะเป็นชาติอื่นเหมือนที่คนฮ่องกงจำนวนมากมอง แม้ว่าประเทศที่ให้การรับรองความเป็นประเทศของไต้หวันลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่าล่าสุดคือฮอนดูรัสที่เพิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาหาจีนแทน แต่เพราะแรงกดดันและการจูงใจจากจีนเรื่องการลงทุนกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความถูกต้องชอบธรรมหรือกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นในการพบปะกันของนางสาวไช่กับนายแม็คคาร์ธี แม้รัฐบาลจีนและพวกสนับสนุนจีนจะถือว่าสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของจีนเพราะต้องการเตะสกัดจีนที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลกเคียงคู่ไปกับสหรัฐฯ เหมือนทุกครั้ง แต่สำหรับพวกสนับสนุนสหรัฐฯ/ ไต้หวันก็มองว่าการที่นักการเมืองระดับสูงของทั้ง 2 รัฐพบกันเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระที่จีนไม่มีสิทธิจะมาก้าวก่ายอย่างเช่นนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐฯ นั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอิสระประเทศหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยให้ไม่ตกเป็นของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นเผด็จการ (กระนั้นการเตะสกัดจีนเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้) ด้วยแนวคิดเช่นนี้นางสาวไช่ก็สามารถพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือจะมาเป็นแบบทางการหรือ state visit ก็ได้ แต่สหรัฐฯ ต้องยอมรับแนวคิด One China คือยอมรับการเป็นหนึ่งเดียวของจีน ไปด้วย อันเป็นการแสดงความกำกวมอย่างมีกลยุทธ์ (ที่ไบเดนได้ฝ่าฝืนไปหลายครั้ง) และที่สำคัญ สหรัฐฯ ไม่ต้องการกดดันจีนไปมากกว่านี้ 

นอกจากนี้พวกสนับสนุนจีนยังได้ใช้แนวคิดเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่จีนมีร่วมกับไต้หวันเพื่อเป็นข้ออ้างให้จีนมีความชอบธรรมเหนือไต้หวัน ทั้งที่คนไต้หวันเองรู้สึกเป็นมิตรและไว้ใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมมากกว่าจีนเสียด้วยซ้ำ (2) และทำให้เกิดคำถามว่าปัจจัยเหล่านั้นควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้อีกชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือชาติหนึ่งหรือไม่ แม้จะเป็นคนละประเทศกันไปแล้ว เหตุการณ์นี้เหมือนกับรัสเซียที่พยายามด้อยค่ายูเครนซึ่งมีทั้ง 3 อย่างคล้ายคลึงกับรัสเซียเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดครองยูเครน

อย่างไรก็ตามไต้หวันนั้นสามารถเปลี่ยนแแปลงทางการเมืองได้ นั่นคือพรรคก๊กมินตั๋งที่ก่อตั้งโดยเจียงในยุคหลังนั้นแสดงท่าทีผ่อนปรนและเป็นมิตรต่อจีนแผ่นดินใหญ่ (ในขณะพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของนางไช่จะมีนโยบายต่อจีนในทางตรงกันข้าม) ดังเช่นสมาชิกของพรรคคือนายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันและเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่พบกับนายสี ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาท่ามกลางความตึงเครียดของทั้งจีนและไต้หวัน ปรากฎการณ์นี้แสดงว่าพรรคก๊กมินตั๋งต้องการอาศัยกระแสความหวาดกลัวภัยจากคุกคามจากจีนเพื่อสร้างความนิยมให้กับพรรคในการเลือกตั้งระดับต่างๆ โดยเฉพาะประธานาธิบดี ภายหลังจากนางสาวไช่ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วและยังหาทายาททางการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะถ้าพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมีอำนาจก็หันมาประนีประนอมกับจีนมากขึ้น ทำให้โอกาสการเกิดสงครามระหว่างจีนกับไต้หวัน/สหรัฐฯ น้อยลง และจะไม่ส่งผลเสียถึงเศรษฐกิจการเมืองโลกหรือขยายตัวเป็นสงครามโลกในเอเชีย แต่ถ้าจะถึงขั้นจะเปิดช่องให้จีนเข้ายึดไต้หวันได้โดยละม่อมก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่คงไม่ยินยอมจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมืองอย่างมหาศาล พรรคก๊กมินตั๋งคงต้องเปลี่ยนนโยบายกระทันหัน และสหรัฐฯ คงไม่อยู่นิ่งเฉยเพราะจะเป็นการสูญเสียอำนาจทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจให้กับจีนโดยเฉพาะเทคโนโลยีไมโครชีพซึ่งไต้หวันเป็นประเทศชั้นนำของโลกในการผลิตและสหรัฐฯ ต้องพึ่งพิงไต้หวันด้านนี้อย่างสูง

 



(1)  https://thediplomat.com/2014/08/no-taiwans-status-is-not-uncertain/#:~:text=The%20ROC%2DJapan%20Peace%20Treaty,Treaty%2C%20in%20Taipei%20in%201952.

 

(2)  https://www.japantimes.co.jp/news/2022/03/18/national/taiwan-affinity-japan/

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก