Skip to main content


ในที่สุดนางสาวไช่ อิงเหวิ่นประธานาธิบดีไต้หวันซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯ ก็ได้พบกับนายเควิน แม็คคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาแทนนางแนนซี่ โปโลซี่ ผู้ก่อเรื่องอื้อฉาวโดยการเดินทางไปพบนางสาวไช่ถึงไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนจนต้องทำการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันเป็นเวลานาน และครั้งนี้ก็เช่นกัน ทางเป่ยจิงได้ประณามก่อนหน้านี้ว่าการเดินทางของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว เพราะจีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจีนจะทำอะไรให้ดูมีพลังกว่าปีที่แล้วเพื่อทำให้ทั้งสหรัฐฯ และไต้หวันได้รู้สำนึก

อย่างไรก็ตามการถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนเป็นมุมมองที่ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางเพราะไต้หวันยังได้เริ่มต้นเป็นรัฐชาติไปพร้อมกับการปกครองของคอมมิวนิสต์เหนือจีนเหนือแผ่นดินใหญ่นั่นคือ เจียงพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่ จึงต้องต้องพาพลพรรคเป็นล้านๆ คนมาตั้งรกรากที่ไต้หวันเป็นการชั่วคราวเพื่อจะบุกเอาจีนแผ่นดินใหญ่คืนถึงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ไต้หวันก็เป็นอิสระ มีรัฐบาลและเอกราชเป็นของตัวเองตั้งแต่เวลานั้น ที่สำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจทั้งหลายต่างสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นของสาธารณรัฐจีน หรือรัฐบาลของเจียง อย่างในปี 1952 ญี่ปุ่นซึ่งยึดครองไต้หวันมาก่อนได้ยินยอมในสนธิสัญญาที่จะมอบเกาะไต้หวันและเกาะใกล้เคียงคืนให้รัฐบาลของเจียง (1)

นอกจากไต้หวันจะมีความเป็นรัฐชาติแล้วยังมีความเข้มแข็งของรัฐในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี เช่นเดียวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพที่ตรงกันข้ามกับจีนในยุคของนายสี จิ้นผิงซึ่งกลายเป็นเผด็จการขึ้นเรื่อยๆ และคนไต้หวันก็มีสำนึกความเป็นชาติไต้หวันอย่างสูงเช่นเดียวกันพวกเขาก็มองจีนในฐานะเป็นชาติอื่นเหมือนที่คนฮ่องกงจำนวนมากมอง แม้ว่าประเทศที่ให้การรับรองความเป็นประเทศของไต้หวันลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่าล่าสุดคือฮอนดูรัสที่เพิ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและหันมาหาจีนแทน แต่เพราะแรงกดดันและการจูงใจจากจีนเรื่องการลงทุนกับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความถูกต้องชอบธรรมหรือกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นในการพบปะกันของนางสาวไช่กับนายแม็คคาร์ธี แม้รัฐบาลจีนและพวกสนับสนุนจีนจะถือว่าสหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของจีนเพราะต้องการเตะสกัดจีนที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลกเคียงคู่ไปกับสหรัฐฯ เหมือนทุกครั้ง แต่สำหรับพวกสนับสนุนสหรัฐฯ/ ไต้หวันก็มองว่าการที่นักการเมืองระดับสูงของทั้ง 2 รัฐพบกันเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระที่จีนไม่มีสิทธิจะมาก้าวก่ายอย่างเช่นนโยบายต่างประเทศ และสหรัฐฯ นั้นก็ได้ช่วยเหลือประเทศอิสระประเทศหนึ่งที่เป็นประชาธิปไตยให้ไม่ตกเป็นของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นเผด็จการ (กระนั้นการเตะสกัดจีนเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้) ด้วยแนวคิดเช่นนี้นางสาวไช่ก็สามารถพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือจะมาเป็นแบบทางการหรือ state visit ก็ได้ แต่สหรัฐฯ ต้องยอมรับแนวคิด One China คือยอมรับการเป็นหนึ่งเดียวของจีน ไปด้วย อันเป็นการแสดงความกำกวมอย่างมีกลยุทธ์ (ที่ไบเดนได้ฝ่าฝืนไปหลายครั้ง) และที่สำคัญ สหรัฐฯ ไม่ต้องการกดดันจีนไปมากกว่านี้ 

นอกจากนี้พวกสนับสนุนจีนยังได้ใช้แนวคิดเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่จีนมีร่วมกับไต้หวันเพื่อเป็นข้ออ้างให้จีนมีความชอบธรรมเหนือไต้หวัน ทั้งที่คนไต้หวันเองรู้สึกเป็นมิตรและไว้ใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมมากกว่าจีนเสียด้วยซ้ำ (2) และทำให้เกิดคำถามว่าปัจจัยเหล่านั้นควรจะเป็นสิ่งที่ทำให้อีกชาติหนึ่งมีอำนาจเหนือชาติหนึ่งหรือไม่ แม้จะเป็นคนละประเทศกันไปแล้ว เหตุการณ์นี้เหมือนกับรัสเซียที่พยายามด้อยค่ายูเครนซึ่งมีทั้ง 3 อย่างคล้ายคลึงกับรัสเซียเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการยึดครองยูเครน

อย่างไรก็ตามไต้หวันนั้นสามารถเปลี่ยนแแปลงทางการเมืองได้ นั่นคือพรรคก๊กมินตั๋งที่ก่อตั้งโดยเจียงในยุคหลังนั้นแสดงท่าทีผ่อนปรนและเป็นมิตรต่อจีนแผ่นดินใหญ่ (ในขณะพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของนางไช่จะมีนโยบายต่อจีนในทางตรงกันข้าม) ดังเช่นสมาชิกของพรรคคือนายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันและเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่พบกับนายสี ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาท่ามกลางความตึงเครียดของทั้งจีนและไต้หวัน ปรากฎการณ์นี้แสดงว่าพรรคก๊กมินตั๋งต้องการอาศัยกระแสความหวาดกลัวภัยจากคุกคามจากจีนเพื่อสร้างความนิยมให้กับพรรคในการเลือกตั้งระดับต่างๆ โดยเฉพาะประธานาธิบดี ภายหลังจากนางสาวไช่ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วและยังหาทายาททางการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้ เพราะถ้าพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นมีอำนาจก็หันมาประนีประนอมกับจีนมากขึ้น ทำให้โอกาสการเกิดสงครามระหว่างจีนกับไต้หวัน/สหรัฐฯ น้อยลง และจะไม่ส่งผลเสียถึงเศรษฐกิจการเมืองโลกหรือขยายตัวเป็นสงครามโลกในเอเชีย แต่ถ้าจะถึงขั้นจะเปิดช่องให้จีนเข้ายึดไต้หวันได้โดยละม่อมก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไต้หวันส่วนใหญ่คงไม่ยินยอมจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมืองอย่างมหาศาล พรรคก๊กมินตั๋งคงต้องเปลี่ยนนโยบายกระทันหัน และสหรัฐฯ คงไม่อยู่นิ่งเฉยเพราะจะเป็นการสูญเสียอำนาจทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจให้กับจีนโดยเฉพาะเทคโนโลยีไมโครชีพซึ่งไต้หวันเป็นประเทศชั้นนำของโลกในการผลิตและสหรัฐฯ ต้องพึ่งพิงไต้หวันด้านนี้อย่างสูง

 



(1)  https://thediplomat.com/2014/08/no-taiwans-status-is-not-uncertain/#:~:text=The%20ROC%2DJapan%20Peace%20Treaty,Treaty%2C%20in%20Taipei%20in%201952.

 

(2)  https://www.japantimes.co.jp/news/2022/03/18/national/taiwan-affinity-japan/

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด