Skip to main content

นายยืนยง

25_7_01

ชื่อหนังสือ
: ผู้คนใกล้สูญพันธุ์

ผู้เขียน : องอาจ เดชา

ประเภท : สารคดี

จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ..2548


ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย


กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ...

สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ เนื่องจากตัวคนต้นเรื่องไม่ได้ลงมือเขียนเอง หากแต่มีนักเขียนเข้ามาสำรวจ พินิจพิเคราะห์แง่มุมชีวิต เก็บเนื้อหารายละเอียดแล้วสังเคราะห์อย่างพิถีพิถัน เพื่อถ่ายทอดในมุมมองของนักเขียน เหมือนเป็นการส่งผ่านแง่มุมชีวิตของคนคนหนึ่ง ไปถึงผู้อ่านให้ร่วมรู้สึกกับไปสายธารชีวิต

จากเชื้อเจ้าล้านนา...สู่ขบถสามัญชน ฝีมือของ องอาจ เดชา ถ่ายทอดผ่านมุมมองที่ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะยกยอปอปั้นราวเชิดชูวีรบุรุษ ที่เราอาจได้ผ่านพบมาจนเคยชินแล้ว หากแต่เป็นมุมมองที่เป็นศิลปะมากกว่า แม้นแวบแรกเราจะเห็นพลังของงานเขียนเชิงโศกนาฏกรรมอยู่ในเนื้องานด้วย


หากชีวิตคือโศกนาฏกรรม เราคงต้องเพิ่มเติมลงไปด้วยว่า โศกนาฏกรรมคือความงามได้ด้วยเช่นกัน

แต่ความเศร้าโศกจะเป็นความงดงามได้อย่างไร ผู้อ่านเท่านั้นจะรู้สึกได้


ในสารคดีขนาดสั้นเรื่องนี้ องอาจ เดชา เลือกใช้ภาษาละเอียดละไมเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของ

อ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ตัวเขาเอง และเสียงจากสังคมคนแวดล้อม


ค่ำนี้, อากาศขมุกขมัว แหงนเงยหน้ามองฟ้า...ฟ้าช่างดูหมองหม่นด้วยฝุ่นเมือง พลอยทำให้ความรู้สึกของเขานั้นเศร้าลึก ยิ่งยามลมหนาวฤดูพัดโชยผ่านเข้ามาเย็นยะเยียบ คล้ายเสียดแทงหัวใจให้ปวดแปลบ สีหน้าของเขายามนี้ดูกระวนกระวาย เหมือนกำลังครุ่นคิดลอยไปไกลแสนไกล...

(จากหน้า 61 )


ตัวละคร เขา คือ อ้ายแสงดาว ที่องอาจ เดชา เข้าไปร่วมผสานตัวตนแล้วกลั่นกรองออกมาเป็น

มโนภาพที่สามารถสะท้อนตัวตนของอ้ายแสงดาวออกมาอีกทีหนึ่ง เป็นกลวิธีการเขียนที่เสมือนได้ก้าวออกมาจากกฎเกณฑ์ของงานเขียนแบบสารคดี หากแต่ยังคงสุ้มเสียงของข้อเท็จจริงไว้ นักเขียนสารคดีที่ใช้วิธีการเขียนแบบนี้ ย่อมต้องอาศัยพลังและแรงบันดาลใจอย่างสูงสุด มิเช่นนั้น ผู้อ่านเองจะสัมผัสได้ถึงความขัดเขินบางอย่างที่ปรากฏอยู่ในงานนั้น


นอกจากนั้น องอาจ เดชา ยังใช้วิธีการแบ่งเนื้องานเป็นบทตอนสั้น ๆ เพื่อตรึงและหยุดผู้อ่านไว้ด้วยจังหวะของชีวิต มีการเปิดภาพตัวตนของอ้ายแสงดาวในตอนแรก เพื่อนำพาผู้อ่านก้าวไปสู่บทต่อไป


บทแรก
..ย้อนรอยอดีต เชื้อสายเจ้าล้านนา ที่เสริมข้อมูลของต้นตระกูลเจ้าศักดินาทางถิ่นภาคเหนือที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งยังมีการเปรียบเปรยภาพธรรมชาติผสานเข้ามาเป็นระยะตลอดทั้งเรื่อง


เช่น หน้า
65

ไม่ว่าใบไม้ชราที่ร่วงซบผืนดิน หรือว่าใบไม้อ่อน ย่อมมีคุณค่าอยู่ตามห้วงจังหวะแห่งกาลเวลามิใช่หรือ

หรือตอน ห้วงฝันวัยเยาว์ ตอนวัยเรียน วัยมันกับความคึกคะนอง ตอน ชีวิต อุดมการณ์ และความรัก

ข้อดีของการแบ่งเนื้อหาเป็นบทตอนนั้น ทำให้งานเขียนชวนอ่านมากขึ้น มีจังหวะจะโคนที่ลงตัวเป็นทำนองเดียวกับช่วงชีวิต


นอกจากแง่มุมงดงามที่องอาจ เดชา เรียบเรียงไว้อย่างลงตัวแล้ว ภาษาของเขายิ่งชวนให้เนื้องานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หากใครได้อ่านคงต้องลงความเห็นไว้คล้ายกันว่า เป็นภาษาที่ประณีตนุ่มนวลยิ่ง งามดั่งบทกวี เช่นนั้นทีเดียว โดยเฉพาะการบรรยายความรู้สึก นึก คิด แล้วด้วย


สารคดีเรื่องนี้ องอาจ เดชาได้นำแง่มุม และรายละเอียดเล็ก ๆ เข้ามาเชื่อมโยงอย่างมีต้นสายปลายเหตุเพื่อนำเสนอภาพชีวิตที่เป็นเสมือนบทกวีของเขา ทั้งงดงามและเศร้า หม่นหมองในตัวเองแต่กลับจุดประกายให้ผู้คน

อย่างนี้นี่เอง ใครต่อใครจึงพากัน รัก เขา อ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น กวีเพื่อมวลประชา


ว่ากันว่า เฉพาะช่วงปี 2523 2528 เขาเขียนจดหมายวันละ 7 8 ฉบับ ประมาณ 200 กว่าฉบับต่อเดือน ทำไม แสงดาว ศรัทธามั่น ถึงต้องเขียนจดหมาย และทุกครั้ง ที่เขากำลังขีดเขียนถึงใครอยู่นั้น เขามีความรู้สึกเช่นไร...ผมมิอาจล่วงรู้ได้

(จากหน้า 106 )


แดดลับดอยสุเทพไปนานแล้วทางทิศตะวันตก (หน้า 61)

โลกค่อยทยอยหม่นมืดเป็นละอองกลางคืนคล้ายกำลังซุกหน้าพักผ่อน ฉันคิดถึงวันเวลาที่กำลังเคลื่อนไหวในเรา


อ้ายแสงดาวที่นับถือ


ที่นี่ลมฝนฤดูเข้าพรรษาเย็นชื่นใจเหลือเกิน หยาดน้ำจากฟ้าช่างละเอียดอ่อนเหมือนเจ้าพัดมาจากที่แสนไกล สูงขึ้นไปนั่น หรือเจ้ามาจากสรวงสวรรค์กันหนอ


ฉันคงคิดไกลเกินไปแล้ว เพราะต่อให้สรวงสรรค์ชั้นฟ้าบันดาลฝนวิเศษให้เราได้ทุกฤดู เราก็ยังไม่รักกันอยู่นั่นเอง และถ้าเราไม่รักกันแล้ว ความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้อีกหรือ แม้แผ่นดินจะแบ่งแยกเป็นกี่ล้านเสี่ยง

เราก็ไม่อาจเคารพกันได้ ประเทศนี้เป็นอะไรไป ใครกันที่พัดพาตะกอนความโกรธแค้นมาขังนิ่งอยู่ที่นี่

นายคนนั้นที่นั่งบื้อเป็นนายกแห่งชาติ บรรดาผู้ปกครองผู้เสพเลือดเนื้อของประชาชนเป็นภักษาหาร

นายนักวิชาการผู้สวมวิญญาณเทพยดาแห่งสากลโลก หรือบรรดาประชาชนผู้ยินยอมถูกบงการและบังคับให้เง่า ง่อยและหมดสิ้นชีวิต ใครกันหนอ


อ้ายแสงดาว กวีของประชาชนอยู่ที่ไหน เขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เปล่าเลย เราไม่ต้องการฟังบทกวีที่พวกเขาอ่านบนเวที เราไม่ต้องการอ่านบทกวีของเขาที่บรรยายชีวิตพวกเราอย่างกล้องดิจิตอลถ่ายภาพทิวทัศน์ เราไม่ต้องการให้พวกเขาขับกล่อม ปลอบประโลมเหมือนอย่างเราเป็นคนบ้องตื้น เราไม่ต้องการ..

จะมีก็แต่กวีของประชาชนที่แท้เท่านั้นจะรู้ว่า เราและพวกเขาก็คือประชาชนโดยเท่าเทียม


ที่นี่..และที่ไหนในประเทศนี้ เราต่างย่ำอยู่ ย่ำอาศัยด้วยความอาดูรสูญสิ้นแล้ว

แม้เราจะเศร้าลึกเพียงไร แม้เราจะหดหู่อ้างว้างเช่นดั่งไม้ประดับในกระถางพลาสติกที่วางอยู่... เพียงไร

เราก็ไม่อาจหลงลืมซึ่งกันและกัน เราไม่อาจแสร้งเผลอลืมไปได้ว่า ลมหายใจของพวกเราล้วนซึมซาบอยู่หลอมรวมอยู่ระหว่างกัน เป็นดั่งพืชพันธุ์ไม้ที่ต่างเติบกล้าขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ขณะที่ไฟป่ากำลังไหม้ลาม ค่อยลุกโพลงขึ้นในม่านแดน ยามย่ำค่ำคืนนั้น มันก็ซาลงด้วยลมหายใจของเรา และเช้าวันใหม่กับดวงอาทิตย์ฤดูหมุนเปลี่ยน ไฟก็ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง อ้ายแสงดาว เราต่างเป็นพันธุ์ไม้ในป่าที่กำลังจะถูกเปลวเพลิงหักโค่นลงใช่หรือไม่...


รากเหง้าของเรากำลังถูกขุดขึ้นมา ดึงออกมาจากใต้ดิน ถูกชะล้าง ขัดสีเก่าออก แล้วค่อยนำมาอวดขาย

ความสงบเสงี่ยม ความรักสงบของเรากำลังถูกราดด้วยน้ำมันและเปลวเพลิงจากไม้ขีดก้านเดียวในมือเหล่าเด็ก ๆ ที่เล่นขายของในสภา

ศักดิ์ศรีของเราที่วางอยู่บนหน้าผาก ถูกคนรักชาติที่หน้าผากถ่มน้ำลายรด

เราไม่สามารถจะบำเพ็ญกรณียะกิจแห่งชีวิตปกติของเราได้เลย

ถ้าหากว่า เราจะปล่อยทุกอย่างให้ไหลสู่กระแสธารมฤตยูนั้น

เราจะคลางแคลงใจไหมว่า เรายังคงเป็นสิ่งมีชีวิต


อ้ายแสงดาว ที่นับถือ

โปรดทักทายเราด้วยคำว่า บุญฮักษา เถิด

ยังจำได้ไหมว่า โอลิเวอร์ ทวิสต์ ผู้กำพร้าในโรงเลี้ยงเด็กรู้สึกเช่นไรจึงกล้าพูดออกไปว่า

I want some more… ”

………………........…………….


บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…