Skip to main content

 

นายยืนยง


 


10_9_01

ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย

ผู้เขียน : .วินิจฉัยกุล

ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550

จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด


หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง

เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน


เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ .วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551 น่าสังเกตว่า นวนิยายเรื่องนี้เขียนขึ้นภายใต้เจตนาของนักเขียน เพื่อจะยกย่องผู้หญิงที่ผ่านชีวิตสมรสมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ยังสามารถครองตัวให้เป็นที่ยอมรับนับถือ และคงไว้ซึ่งยศฐานบรรดาศักดิ์ เกียรติยศของวงศ์ตระกูล


ข้อนี้ปรากฏชัดเจนตั้งแต่ตอนเปิดเรื่อง ที่ตัวละครใน 2 ตระกูล ต้องการเป็นฝ่ายเก็บอัฐิของลอออร (นางเอกของเรื่อง) ราวกับอัฐิของคนคนนี้จะเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีให้วงศ์ตระกูลของตน สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้กับผู้อ่านตั้งแต่แวบแรกเลยทีเดียว


มาลัยสามชาย เป็นนวนิยายที่ว่าด้วยวิถีของชนชั้นสูง ตัวละครส่วนใหญ่ที่มีบทบาทในเรื่องเป็นชนชั้นที่มียศถาบรรดาศักดิ์ มีชาติตระกูลสูง พรักพร้อมบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ บริวาร แม้ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุถึงที่มาของสมบัติที่สะสมไว้จนเต็มกำปั่น ส่วนตัวละครอีกกลุ่ม ที่ถือได้ว่าเป็นแค่ตัวประกอบ คือ พวกบ่าวไพร่ ทั้งที่ซื่อสัตย์กับเจ้านายอย่างถวายหัว กับพวกที่กินบนเรือนขี้บนหลังคา ส่วนตัวละครอีกประเภทหนึ่ง คือ ยศ แห่งตระกูลพลาธร หนุ่มสังคมผู้เป็นสามีคนแรกของลอออร ซึ่งก็เป็นชนชั้นสูง ร่ำเรียนเมืองนอก แต่หลงผิด คบหาพวกไพร่ชั้นต่ำ จนเสียคน สิ้นเนื้อประดาตัว มีแต่คนดูถูกเหยียดหยามแม้กระทั่งพี่น้องร่วมมารดาของเขาเอง ยกเว้นก็แต่ประยงค์ พี่สาวของเขาเท่านั้น ยศมีพฤติกรรมที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตัวละครชั้นสูงคนอื่นในเรื่อง ที่เลือกคบหาจำเพาะแต่ชนชั้นเดียวกัน หรือสูงกว่า มีบ่าวไพร่ไว้รองมือรองเท้า เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถานภาพอันสูงส่งของตน


นอกจากยศแล้ว ไม่มีชนชั้นสูงใดอีกเลยที่จะไม่สามารถดำรงสถานภาพชั้นสูงที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของตนไว้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า .วินิจฉัยกลุเขียนนวนิยายราวกับจะยกย่องเชิงชูวิถีชีวิตของชนชั้นดังกล่าวที่กระทำราวกับว่า การดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล คือจุดมุ่งหมายสูงสุดในการมีชีวิต หรือ เกิดมาเพื่อจะรักษาสถานภาพของตัวเองและวงศ์ตระกูล


ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ลอออร เธอเป็นคนห้าแผ่นดิน เกิดเมื่อพ..2456 (.5) เป็นลูกเจ้าคุณวรพันธ์กับคุณหญิงจำเรียง เมียหลวง แต่เสียแม่ตั้งแต่ยังเล็ก คุณป้าจรวยจึงพาเข้าวัง เธอเรียนจบโรงเรียนสตรีวิทยาขณะฝึกกิริยามรรยาท รับใช้เสด็จฯ อยู่ในวัง เธอคือสตรีชั้นสูงโดยไร้ข้อกังขา ครั้นเมื่อเธอผิดหวังจากชีวิตสมรสครั้งแรก (กับยศแห่ง

พลาธร) เธอก็กล้าหันหลังให้เขา โดยหนีออกจากบ้านของตระกูลพลาธร หันมาครองตัวเป็นโสดอย่างกล้าหาญ แต่ .วินิจฉัยกุล เขียนในหน้า 603 โดยเปรียบผู้หญิงไว้ว่า ‘เหมือนเถาไม้อ่อนที่ไม่อาจยืนหยัดอยู่ได้ตามลำพัง ต้องพึ่งพิงไม้ใหญ่อยู่เสมอ’ ลอออรจึงมีเหตุให้ต้องสมรสครั้งที่ 2 ท่ามกลางความคาดหวังจากคนรอบตัวว่า เธอเป็นแม่ม่ายเสียแล้ว มีหรือจะได้สามีที่พรักพร้อมด้วยยศศักดิ์เงินทองได้อย่างยศ แต่แล้วการสมรสครั้งใหม่นี้ ก็ได้ทำลายเสียงเหล่านั้นลง เพราะสามีคนที่ 2 มีหน้าที่การงาน ยศศักดิ์เงินทองวงศ์ตระกูลที่เหนือกว่าสามีคนแรก


นี่เป็นสิ่งที่แม้นักเขียนจะไม่ได้เจตนาแสดงออกอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะเลยให้กล่าวถึงได้ คือ พฤติกรรมของตัวละครที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง ที่มุ่งแต่จะสงวนสิทธิ์ที่จะอยู่เหนือกว่า พยายามรักษายศถาบรรดาศักดิ์ของตนไว้เป็นสำคัญ ลอออรเองนั้นแม้จะมีสามีใหม่ เธอก็ยังอุตส่าห์ได้คนที่ “ดีพอ” จะให้ยึดเกาะได้ เมื่อสามีคนที่ 2 เสียชีวิตลง เธอก็มีเหตุผลมากพอที่จะสมรสใหม่กับสามีคนที่ 3 ซึ่งก็เป็นถึงเจ้านายทางภาคเหนือ เป็นแพทย์และยังหนุ่ม (โสด) สมกับแม่ม่ายลูกติดอย่างเธอจนหาสิ่งใดมาเปรียบได้ยาก


ขณะที่ .วินิจฉัยกุล ปรนเปรอลอออร นางเอกของเรา ด้วยความสุขสมหวังแล้ว นักเขียนกลับปล่อยให้ตัวละครสาวสำคัญคนหนึ่ง ตัวละครที่เป็นคู่อาฆาตของนางเอก แน่นอนว่าต้องเป็นนางร้าย เธอคือ ทองไพรำ


ทองไพรำ
เป็นชนชั้นล่างที่ไม่มีหัวนอนปลายตีน แม่คลอดทิ้งไว้ในซ่อง โชคดีที่แม่เล้าอุปการะ เธอเป็นชนชั้นต่ำโดยชาติกำเนิดและพฤติกรรม เป็นหญิงแพศยาที่เลวบริสุทธิ์ ต่างจากลอออรราวสีดำกับสีขาว หนำซ้ำยังจ้องเขมือบสามีทุกคนของลอออรอีกด้วย เริ่มตั้งแต่ยศ เธอก็ก้าวเข้ามาทำลายชีวิตสมรสของชนชั้นสูงคู่นี้ จุดนี้เป็นข้อด้อยหนึ่งที่ .วินิจฉัยกุล ละเลย ปล่อยให้ขั้วคู่ขัดแย้งของเรื่องมีความแตกต่างกันมากเกินไปจนผิดธรรมชาติ แม้จะสมจริงในแง่อื่นก็ตาม


เมื่อลอออรตกอยู่ในชะตากรรมที่เอื้อให้เกิดการสมรสครั้งที่ 2 -3 ที่แม้แต่จะมีสามีคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ 2 หรือ 3 เธอก็ต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ ต้องได้สามีที่รวยกว่า มียศสูงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าตกต่ำ ฝ่ายทองไพรำก็พยายามฟอกสถานภาพของไพร่ให้เป็นคนชนชั้นสูง เพื่อให้ตัวเองได้เชิดหน้าชูคออยู่ท่ามกลางคุณท่าน ๆ ทั้งหลาย แต่ก็ไม่อาจทิ้งสันดานไพร่เดิม ๆ ได้ เนื่องจาก .วินิจฉัยกุลได้สร้างให้เธอเป็นนังแพศยา ร่านไม่เลือก และเสพติดผู้ชาย เรียกว่าทองไพรำไม่มีข้อดีสักเสี้ยวเดียว นั่นยิ่งขับเน้นให้ลอออร เป็นคนดีศรีรัตนโกสินทร์ได้เฉิดฉายยิ่งขึ้น ราวกับความเลวบัดซบของทองไพรำนั่นเองที่ช่วยขัดสีฉวีวรรณให้ลอออรงามดีเด่นอยู่ได้ตลอดทั้งเรื่อง


ขณะที่เรื่องดำเนินไปพร้อมกับความคาดหวังของผู้อ่าน ที่ต่างเอาใจช่วยให้ลอออรได้แต่งงานใหม่กับสามีคนที่2 หรือ 3 อย่างใจจดใจจ่อนั้นเอง สิ่งหนึ่งที่แทรกเข้ามาเป็นริ้ว ๆ ตลอดเรื่อง และสร้างความสะเทือนใจยิ่งกว่าชะตากรรมที่สมเหตุสมผลของลอออรนั้น คือ ชะตากรรมของชนชั้นล่าง หรือคนชั้นต่ำ เช่น พวกบ่าวไพร่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทองไพรำ นายคะนอง นายใบ ฯลฯ ทำให้เกิดความรู้สึกว่า นวนิยายเรื่องนี้ได้ทำลายศักดิ์ศรีของความเท่าเทียมกันของมนุษย์ลงอย่างต่อเนื่อง ตัวละครที่เป็นไพร่ เป็นขี้ข้า ต้องอิจฉาริษยา มาห้ำหั่นกันเอง ในที่สุดก็ต้องตายอย่างอนาถ มีแต่บรรดาชนชั้นสูงเท่านั้นที่ประสบความสุขความเจริญในชีวิต เพราะพวกเขารวมหัวกันเฉพาะกลุ่มตน ทำทุกวิถีทางเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถานภาพของตัวเองและพรรคพวก เอื้ออิงระบบอุปถัมภ์กันอย่างไม่รู้สึกรู้สาอะไร การติดสินบน การวางอำนาจบาตรใหญ่ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า สังคมไทยดำรงอยู่ได้ด้วยระบบอุปถัมภ์ การเหยียดชนชั้น และบูชาชนชั้นสูงที่มีอำนาจบารมีเหนือกว่า


แม้นว่า .วินิจฉัยกุล จะมีเจตนาชัดเจนในการเขียนนวนิยายเรื่องนี้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นัยยะสำคัญหนึ่งที่อัดแน่นมาตลอดทั้งเรื่อง คือ เรื่องราวของความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างชนชั้น นั่นเอง


แม้นจะไม่ใช่เจตนาของนักเขียน และออกจะเป็นการเสียมารยาทในการวิจารณ์ ที่ควรเน้นถึงเหตุผลด้านวรรณศิลป์ กลวิธีการประพันธ์ เท่านั้น แต่ก็ขอยอมรับในการเสียมารยาทครั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างชนชั้นในสังคมไทย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกไม่มีสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะที่ความแตกต่างระหว่างสถานภาพของ ประชาชนกับผู้แทนประชาชน ระหว่างข้าราชการกับประชาชน ระหว่างนักวิชาการกับประชาชน กระทั่งทุกวันนี้ ยังไม่แน่ใจว่าประชาชนไทยยังมีอยู่จริงหรือไม่ หรือว่ามีแต่ ‘ชาวบ้าน’ ชะตากรรมของชนชั้นล่างที่ไร้ยศถาบรรดาศักดิ์ ไร้สถานภาพทางสังคม จึงตกอยู่ภายใต้ ‘แรงบันดาลใจส่วนตัว’ ของชนชั้นสูง หรือที่สูงกว่า ดังเช่นในนวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ของ .วินิจฉัยกุล เล่มนี้


เสียมารยาทมาพอสมควรแล้ว ก็ควรจะรักษาไว้ซึ่งมารยาทเสียบ้าง


ขอชื่นชมกลวิธีการประพันธ์ของ .วินิจฉัยกุลไว้ด้วย เพราะว่าไปแล้ว มาลัยสามชาย ก็ถือเป็นนวนิยายที่ “เขียนดี” อยู่ ขึ้นชื่อว่า .วินิจฉัยกุลแล้ว ย่อมไม่เป็นสองรองใคร เริ่มชมกันตั้งแต่ชื่อเรื่องที่สอดคล้อง ลงตัวกับเนื้อหา ที่ต้องการยกย่องผู้หญิง 3 สามี ให้เป็น ของสูง ดีงาม น่าชมเชย ดุจมาลัย 3 ชาย นั่นไง


หรือชื่อตอน ซึ่งแต่ละตอนมีชื่อเป็นมาลัยแทบทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่ตอนแรก ตอนเริ่มร้อยมาลัย มาลัยในวัง มาลัยเพลิง มาลัยสองชาย กระทั่งตอนปลายมาลัย เว้นแต่ตอน ถ่านไฟเก่า และ รักคืนเรือน


.วินิจฉัยกุล เขียนด้วยภาษาละเอียด แต่กระชับ ไม่ยืดยาดโยงเยงจนอารมณ์เสีย ที่สำคัญคือ ไม่จงใจให้เรื่องผู้หญิง 3 สามี เป็นเรื่องประเจิดประเจ้อ หรือเขียนประจานกัน (หรือจะเพราะเกรงใจคนที่เป็นแรงบันดาลใจก็ไม่ทราบ) จุดนี้พิสูจน์ได้จากความละเมียดละไมของภาษาที่ใช้การเล่าเรื่อง ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาอย่างประณีต


มาลัยสามชาย เป็นเรื่องชีวิตรักดั่งนวนิยายทั่วไป ต่างกันตรงที่บรรยากาศของเรื่องเป็นฉากย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ 5 ไล่ลงมา ดังนั้นนักเขียนต้องอาศัยข้อมูล รายละเอียดที่ถึงพร้อมในแง่ประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงวิถีชีวิตของชนชั้นสูงในสังคมออกมาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำแม้กระทั่งทรงผม เสื้อผ้า บทสนทนา ของตัวละคร นักเขียนต้องพิถีพิถันในทุกรายละเอียด สำหรับนักเขียนชื่อดังอย่าง .วินิจฉัยกุลแล้ว บรรดารายละเอียดเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องเกินวิสัยของเธอเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นแล้วมาลัยสามชายจึงเป็นนวนิยายย้อนยุคที่สมจริงเหลือเกิน มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วยเกร็ดเล็กน้อยที่บรรจุอยู่ในเนื้อหาอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโครเกต์ กีฬาสำหรับชนชั้นสูงที่บรรยายได้ละเอียดยิบในทุกส่วน หรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น การเข้ายึดครองอำนาจของคณะราษฎร์ การปราบกบฏบวรเดช หรือแม้แต่เรื่องข้าราชการบางคนถูกดุลยภาพมีอันต้องขัดสน ต้องจำกัดจำเขี่ยมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงฉากภาพเลือน ๆ ในนวนิยายที่ไม่ใคร่มีใครให้ความสนใจ เหมือนสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันนี้ เชื่อไหมว่า ยังมีคนบางกลุ่มที่ยังมองสถานการณ์สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ ของประชาชน เป็นเรื่องของฉากที่รอวันสลับสับเปลี่ยน


หากนวนิยายเรื่องหนึ่งจะดีเด่นมีคุณค่าในตัวเองสมกับเป็นที่ยกย่องของมหาชน ย่อมยังความภาคภูมิใจมาถึงนักเขียนเป็นธรรมดา แต่หากมีปัจจัยอื่นที่เสริมกำลังเข้ามาช่วยปรุงรสเพิ่มสีสันให้อีก โดยนักเขียนเจตนาหรือไม่เจตนานั้น ข้อนี้ต้องยกประโยชน์ให้คนอ่าน แต่ในส่วนคำนำของนักเขียน ที่เขียนออกตัวเกี่ยวกับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ ‘คุณป้า’ หญิงสาวสวยที่สุดคนหนึ่งในยุคของท่าน หรือ ชีวิตของคุณป้าผ่านร้อนผ่านหนาวมามากพอสมควร จากคำบอกเล่าของคุณแม่ แต่บั้นปลายท่านก็งามพร้อมด้วยเกียรติยศและทรัพย์สิน ครองคู่มากับสามีด้วยดี... กระทั่งว่า เกิดเสียงซุบซิบนินทาว่า เอาชีวิตของท่านผู้หญิงคนนั้น คนนี้มาเขียนแน่เลย อะไรทำนองนี้ ฉะนั้น ถ้อยคำในคำนำเหล่านี้ของนักเขียนจึงไม่ค่อยสลักสำคัญ และไม่ควรจะเขียนไว้ด้วยซ้ำ เพราะนอกจากจะกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ของคนอ่านจนเกินไปแล้ว ยังถือว่าเป็นคำโฆษณาชวนเชื่อได้ด้วย และอาจทำให้นวนิยายกลายเป็นหนังสือแนวแฉชีวิตส่วนตัวไปเลยก็ได้.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…