Skip to main content

นายยืนยง





ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess)

ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett)

ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา

ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545

จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน


ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต


ใครเคยอ่านบ้าง?

คนที่ไม่ชอบหนังสือแนวแนะนำวิธีการ หรือที่เรียกติดปากว่า ฮาวทู อาจขยับความชิงชังออกห่างไปนิด

แต่ก็ไม่มากหรอก เพราะอย่างไรมันก็คือ ฮาวทู วันยังค่ำ ต่อให้ผู้แปลเป็นดั่งดาวกระจ่างฟ้า เนื้อนัยก็ไม่อาจเทียบรัศมี


ส่วนใคร ๆ ที่อ่านวรรณกรรมจะตอบได้ทันทีว่า เดอะซีเคร็ต เป็นหนังสือสุดเชย และไม่ใช่ของเก่า ประเภทหมักบ่มมาสองชั่วอายุคน แล้วเพิ่งถูกค้นพบจนฮือฮากันไม่เลิก ก็เพราะในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง

เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ของ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ที่เนื่องน้อย ศรัทธา แปลเอาไว้ มีเรื่องราวเดียวกับ หรือคล้ายคลึงกับ เดอะซีเคร็ตเป็นแก่นเรื่อง หนำซ้ำ

เจ้าหญิงน้อยเรื่องนี้ยังอ่านได้อรรถรส น่ารื่นรมย์กว่ากันเยอะ ใครที่เคยอ่านเดอะซีเคร็ตจะรู้สึกเหมือนถูกครอบงำอยู่ตลอดทั้งแต่อักษรตัวแรก


ส่วนใครที่มีวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เจ้าชายน้อย อยู่ในลิ้นชักความทรงจำล่ะก็ ขอฝากให้วาง

เจ้าหญิงน้อย เข้าไปเคียงคู่กันอีกเล่ม เนื่องจาก หนูน้อยซาร่า ครูว์ ก็น่าเอ็นดูไม่แพ้กัน ถึงจะไม่ค่อยมีใครนิยมชื่นชมในแง่ของปรัชญา แต่อ่านแล้วอิ่มเอม ตื้นตัน และอาจทำให้หวนคิดถึงสัจธรรมแบบที่เราหลงลืมไปแล้ว


เจ้าหญิงน้อยของเรา ไม่ได้เป็นเจ้าหญิงโดยชาติกำเนิด เพียงแต่เธอเป็นลูกสาวคนเดียวของนายทหารผู้มีอันจะกิน มีบริวารรับใช้ พรั่งพร้อมบริบูรณ์เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีได้ เว้นก็แต่ เธอไม่มีแม่


ซาร่าอายุสิบสอง เป็นเด็กเฉลียวฉลาดเกินวัย แต่ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เธอมีจินตนาการบรรเจิด และจินตนาการนี้เองที่ทำให้ชีวิตของเธอห่อหุ่มไว้ด้วยความสุข เป็นจินตนาการที่นึกคิดอย่างเป็นจริงเป็นจัง ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่เท่านั้น เธอยังเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังถึงเรื่องราวเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งทุกคนที่ได้ฟังล้วนติดอกติดใจนิทานแสนสนุกของเธอทั้งนั้น


เรื่องเปิดขึ้นมาเมื่อซาร่าเดินทางจากอินเดียเพื่อเข้าโรงเรียนประจำในอังกฤษ การเดินทางครั้งนี้เท่ากับได้เปิดประตูให้เธอก้าวไปเผชิญโลกโดยปราศจากผู้เป็นพ่อ ญาติทางสายโลหิตคนเดียวในโลก ที่โรงเรียนเธอมีชีวิตประดุจเจ้าหญิง มีห้องส่วนตัว มีคนคอยดูแลรับใช้ มีเสื้อผ้าหรูหรา ตกแต่งห้องส่วนตัวอย่างสุดวิเศษ ที่โรงเรียนนี้เองที่เป็นเสมือนโรงอุปรากรที่มีซาร่ารับบทเป็นเจ้าหญิง


กล่าวถึงการเป็นเจ้าหญิงของซาร่าสักนิด เธอมีจริยวัตรเพียบพร้อมจนไม่น่าเชื่อว่า เจ้าหญิงจริง ๆ จะเป็นได้เท่านี้ด้วยซ้ำ มองในแง่ของอุดมคติ ซาร่าเป็นตัวแทนของความดีงามสูงส่ง เธอเสียสละ มีเมตตา โอบอ้อมอารี ขณะเดียวกันก็กล้าหาญแข็งแกร่ง และเฉลียวฉลาด แต่แล้วเมื่อพ่อของเธอที่อินเดียได้ทำลงทุนไปกับธุรกิจเหมืองเพชรร่วมกับเพื่อนรัก เขาก็ทำให้ทุกอย่างพลิกผัน ซาร่าต้องหมดสิ้นทุกอย่างที่ชีวิตอย่างเจ้าหญิงเคยมี เมื่อเหมืองล้มละลายและสูญเสียพ่อ


ซาร่ามีชีวิตอยู่ได้อย่างไรโดยที่เธอยังเป็นเจ้าหญิงอยู่เหมือนเดิม โดยที่ไม่มีห้องส่วนตัว ไร้เสื้อผ้าหรูหรา และไม่ได้อยู่ในฐานะนักเรียนอีกต่อไป เธอต้องทำงานหนักแลกกับอาหารน้อยนิดและห้องอับ ๆ ที่ใต้หลังคา เธอบอกกับเบ็คกี้ เด็กหญิงรับใช้ว่า

เบ็คกี้ จำได้ไหมที่ฉันเคยบอกเธอว่า เราเป็นเพียงแค่เด็กหญิงเล็ก ๆ –เหมือนกัน—เป็นแค่เด็กหญิงเล็ก ๆ สองคน—เธอเห็นแล้วใช่ไหม ตอนนี้เราไม่มีอะไรแตกต่างกันแล้ว ฉันไม่ใช่เจ้าหญิงน้อยอีกต่อไปแล้ว”


เบ็คกี้บอกว่า “ไม่จริงค่ะคุณหนู” เบ็คกี้ร้องไห้ “คุณหนูยังเป็นเจ้าหญิงน้อยเสมอ—ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น—ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น –คุณหนูจะเป็นเจ้าหญิงตลอดไป—ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงได้”


ตลอดเวลาที่ชะตากรรมพลิกผันทำให้เจ้าหญิงน้อยซาร่ากลายเป็นเด็กหญิงรับใช้ประจำโรงเรียน บรรดาผองเพื่อนที่เคยชื่นชมก็แปรเปลี่ยน ยกเว้นเบ็คกี้ เด็กหญิงรับใช้คนเดิม เพื่อนรักของเธอ เออร์เมนการ์ด

และเด็กหญิงล็อตตี้


เมื่อเออร์เมนการ์ดพบว่าซาร่าเพื่อนรักตกอยู่ในสภาพเช่นไรในห้องใต้หลังคาอันอุดอู้ ไม่มีแม้กระทั่งถ่านหินจะจุดไฟให้สว่างอบอุ่น เธอถามซาร่าว่า (หน้า 121)


ฉันไม่เห็นว่ามันจะดีตรงไหน”

ฉันก็เหมือนกัน—ถ้าจะพูดกันตรง ๆ ” ซาร่ายอมรับ “แต่ฉันคิดว่าน่าจะมีความดีในสิ่งต่าง ๆ แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นก็ตาม ... ”

เออร์เมนการ์ดมองดูไปรอบ ๆ ห้องใต้หลังคาด้วยความสงสัยใคร่รู้และหวั่นกลัว

ซาร่า เธอคิดว่าเธอทนอยู่ที่นี่ต่อไปได้หรือ” เออร์เมนการ์ดถาม

ถ้าฉันสมมุติได้ ฉันก็อยู่ได้” แกตอบ “ฉันอาจจะสมมุติว่าที่นี่เป็นสถานที่ในนิทานสักเรื่องก็ได้”

เด็กหญิงพูดช้า ๆ จินตนาการของแกเริ่มทำงาน มันไม่ได้ทำงานอีกเลยนับตั้งแต่เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น


ตลอดเวลาแห่งความทุกข์ระทมที่ดำมืดนั้น ซาร่าจินตนาการถึงความสวยงาม ความสุขตามแบบของเธอ ไม่ว่าในยามหลับยามตื่น จินตนาการนี้เองที่ทำให้ชีวิตไม่อับจนหนทาง ทำให้มีพลังอบอุ่น ทำให้หัวใจของเด็กน้อยไม่อ้างว้างจนเกิดไป เพราะเรื่องที่สมมุติขึ้นนั้นได้เฝ้าปลอบโยนเธอ หล่อเลี้ยงด้วยความหวังที่จะได้พบเจอกับแสงสว่าง


ตรงนี้เองที่วรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้บอกกับเราอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ต้องคิดให้ได้ว่า... เพื่อเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างกล้าหาญ ซึ่งไปพ้องกับหนังสือเดอะซีเคร็ตได้บอกเราชัดเจนถึงเรื่องของ การคิด และความคิดอย่างเป็นระบบ แต่หนังสือฮาวทูเล่มนี้มุ่งเน้นไปที่การตั้งความหวังเพื่อตัวเอง เพื่อความสุข ความสำเร็จส่วนตัว หาใช่เพื่อจะได้เป็นเจ้าหญิงอย่างซาร่า เจ้าหญิงที่แท้จริง ยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อคนอื่น มองเห็น และรู้สึกรู้สาไปกับทุกข์ของคนอื่น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง


เมื่อครูใหญ่ถอดซาร่าออกจากการเป็นนักเรียนผู้ทรงเกียรติ เธอต้องรับบทหนักด้วยการงานที่เกินกำลังเด็ก ได้รับแต่คำดุด่าว่ากล่าวอย่างเจ็บแสบนั้น เธอพยายามอดทนอย่างหนัก และเสริมกำลังใจให้ตัวเองด้วยความคิดว่า

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็เปลี่ยนสิ่งหนึ่งไม่ได้” แกพูด “ถ้าฉันจะเป็นเจ้าหญิงนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด ๆ ฉันก็ยังคงเป็นเจ้าหญิง การเป็นเจ้าหญิงเพราะมีเสื้อผ้าสวยงามสวมใส่เป็นเรื่องง่าย แต่การเป็นเจ้าหญิงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีใครรู้เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่า...” (หน้า 162) ประดุจเป็นการตั้งปณิธานต่ออุดมคติที่จะได้เป็นเจ้าหญิงที่แท้จริง


และแล้วผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ห้องติดกันซึ่งเป็นสุภาพบุรุษชาวอินเดียนั่นเอง ที่เข้ามาสร้างปาฏิหาริย์ให้บังเกิดขึ้นแก่เจ้าหญิงตกอับ ชีวิตของซาร่าจะพลิกผันอีกครั้งอย่างไร อุดมคติจะยืนหยัดอยู่ได้ตลอดรอดฝั่งแค่ไหน ต้องลองหามาอ่าน แต่ที่แน่ ๆ ความงดงามปลาบปลื้มจะช่วยชุบชูพลังชีวิตของเราไปพร้อมกับซาร่าด้วย


แม้วรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้จะมีเค้าโครงเรื่องที่แสนธรรมดา คือ มีจุดพลิกผันและจบลงตามขนบของเรื่องแต่ง แต่พลังลึกลับบางอย่างที่แฝงอยู่ภายในกลับเป็นเรื่องไม่ธรรมดา


บ่อยครั้งจะพบว่า เราเรียกร้องให้วรรณกรรมตอบสนองความต้องการอย่างไม่หยุดหย่อน เช่น ต้องรับใช้สังคม รับใช้อุดมคติ หรือดูแลอารมณ์ของสังคม อะไรทำนองที่ดูดี ดูเคร่งขรึม ขณะเดียวกันวรรณกรรมบางเรื่องที่ไม่ได้รับใช้อะไรเลย นอกจากตอบสนองความต้องการของนักเขียน โดยไม่รีรอจะบีบคั้น เร่งรัด บรรดาผู้ที่อ่านมา ราวกับเราเป็นนักโทษ อีกทั้งยังต้องแบกคำถามที่เคี่ยวเค้นเราจนตลอดเรื่อง

อย่างไรก็แล้วแต่ วรรณกรรมย่อมมีจุดคลี่คลายในตัวเอง ต่างแต่ว่าเรื่องใดจะทำหน้าที่นี้ได้มากน้อยกว่ากัน

ผู้อ่านจะเป็นฝ่ายก้าวเข้ามาพิจารณาด้วยตนเอง


ต่างแต่ว่าใครจะพิจารณาแล้วนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตัวเองมากจนเบียดบังจนมองไม่เห็นคนรอบข้าง

ที่สาหัสกว่านั้น คือ การตีความจากสิ่งเดียวกันแล้วนำไปแสวงหาผลความดีงามสูงส่งเพื่อปรนเปรอตัวเองกระทั่งหลงงมงายอยู่ในมายาภาพนั้นจนไม่รู้ตัว.


บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…