Skip to main content

นายยืนยง


สวัสดีปี 2552

ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา


คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม


ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม

ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน


คุณเคยไหม...ที่บางครั้ง

ก็หมดแรง หมดจิตหมดใจกับชีวิตเอาดื้อ ๆ ขอให้ไอ้ความรู้สึกทดถ้อเช่นนี้ อย่าได้เกิดขึ้นกับคุณหรือ

ใครเลย เนื่องจากมันจะเกาะติด ซ่อนตัวอย่างเงียบงันอยู่เพื่อรอคอย สบโอกาสมันจะแผลงฤทธิ์เข้าใส่ทันที เป็นเรื่องทรมานทรกรรมอันแสนว้าเหว่อย่างหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว


เช่นนั้นแล้ว การอ่านหนังสือ เป็นอิริยาบถอันทรงพลัง สำหรับฉันเป็นเครื่องเยียวยาตัวเองอย่างหนึ่ง

สำหรับบางคน เคยเฝ้าสังเกตว่าเขาใช้ผืนดินและกล้าพันธุ์ไม้เพื่อรักษาชีวิตอันอ่อนปวกเปียกของเขา

เขาปลูกกอกุหลาบที่เลื้อยพันกิ่งข่อยผลัดใบเขียวสล้าง วันหนึ่งกุหลาบออกดอกแดงเข้มลึกลับ ระบายกลิ่นหอมเย้ายวนผัสสะ บรรดาไม้ออกดอกของเขาอาจเป็นเครื่องชูเสน่ห์ในชีวิตก็เป็นได้

ไม่รู้ซี ตอนนี้ฉันกำลังคิดถึงอนาคตของวรรณกรรมไทย

วงการหนังสือบ้านเราที่ยังคลานต้วมเตี้ยมเป็นสุกรแห่งโบราณกาล


..2552 คืบหน้าเข้ามาอย่างเฉยชา ไม่ยี่หระต่อวิกฤตใด ๆ ในพันธะทั้งภายนอกและภายใน

หนังสือของนักเขียนไทยประเภทวรรณกรรมมียี่ห้อรางวัลสัพเพเหระจารึกบนปกอย่างโอ่อ่า ขณะเดียวกันมันก็เย้ายวนชวนให้ซื้อไปเก็บไว้ในชั้นหนังสือของหอสมุดประจำเมือง ฉันเคยใช้บริการหอสมุดประชาชนที่มีหนังสือปกรางวัลเรียงเต็มชั้นแน่นเอี้ยดราวกับเป็นหน้ากากแห่งวีรบุรุษที่เพิ่งผ่านสมรภูมิแห่งสงครามการแข่งขัน ใครเล่าจะเป็นผู้ทรยศเพื่อจะกระชากหน้ากากนั้นออกมา


เอาล่ะ เชิญกรอกใบสมัครผู้ทรยศ

ถ้าคุณเต็มใจจะเจ็บปวดกับลูกศรอาบยาพิษที่บรรดาองครักษ์พิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ของรางวัลจะโจมตีคุณอย่างไม่ยั้ง ฉันคนหนึ่งล่ะ ที่ทำได้แค่กรอกข้อมูลในใบสมัครบ้าบิ่นอันนั้น แล้วก็แสร้งทำเป็นนิ่งเสียแม้ไม่ได้ตำลึงทอง แกล้งทำเป็นไม่อินังขังขอบเสีย ทำตัวราวกับทารกน้อยในอุทรผู้ไม่รู้ร้อนหนาวกับโลกเพื่อปกป้องตัวเองจากภยันตรายของบาดแผล ลืม ๆ มันไปซะ แกล้งลืมก็ได้ และไม่ต้องพูดถึงมันอีก


และมันก็เกิดขึ้นในขอบข่ายแห่งการเสแสร้งแกล้งไม่เห็นของฉัน

ด้วยการจุดคบเพลิงในดวงตาผู้ทรยศขึ้นท่ามกลางเมฆหมองหม่นมัวในกรงล้อมวรรณกรรมไทย

เมฆหมอกคงค้างเติ่งอยู่เช่นนั้น ยากที่จะกลั่นตัวเป็นหยาดฝนรดรินลงมา


ดังเช่นการออกแถลงการณ์ของประชาคมวรรณกรรมที่ออกมาเรียกร้องให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมอื่นที่เกี่ยวพันกับกรณีการตัดสินรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ออกมาแสดงจิตวิญญาณอันอาจหาญทระนง ซึ่งปีนั้น เราได้กวีซีไรต์ชื่อมนตรี ศรียงค์ จากผลงานกวีนิพนธ์ โลกในดวงตาข้าพเจ้า สำนักพิมพ์สามัญชนเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยบรรณาธิการ เวียง – วชิระ บัวสนธ์


เรื่องมันก็นานมาแล้ว มีใครอยากฟื้นฝอยหาตะเข็บมั่งไหม


ฉันคนหนึ่งล่ะ

อาจเป็นเพราะฉันตกเป็นทาสความบันเทิงที่เกิดจากเจตนาจะถลกหนังซึ่งกันและกันระหว่างตัวแปรค่าความเบี่ยงเบนในวงการวรรณกรรม เป็นไปได้ไหมว่า งานนี้มีขั้วพันธะที่จ้องจะจองล้างจองผลาญกันระหว่าง กลุ่มเพื่อชีวิตกับกลุ่มใหม่ ซึ่งไม่อาจเรียกได้ว่าโมเดริ์นเต็มปากเต็มคำ มีความพยายามจะลดทอนคุณค่าของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตอันน่าเบื่อหน่ายอิ่มเอียนสุดทนในรสนิยมของบางคน ที่ถ้าลองมีใครเผลอพูดว่า นักเขียนต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคม คงมีการอ้วกอยู่ภายในจิตสำนึกรู้สึกอย่างลับ ๆ บางคนอาจเผลอเหยียดริมฝีปากอย่างหยามหยัน ก่อนกระดกเบียร์ไฮเนเก้นด้วยเจตนาจะค่อนขอดประโยคเร่อร่าและเจ้าของของมัน


แหม ให้ตายเถอะ ท่านนักเขียนวรรณกรรมผู้ทรงเกียรติ ท่านทั้งหลายล้วนเคยประสบพบพานกับประสบการณ์เฉลิมฉลองความระยำตำบอน ความฉ้อฉลของนักการเมืองถ่อย ความโลภโมโทสันต์ของนายทุนหน้าเปี่ยมโลหิต ความร้ายกาจอย่างลึกซึ้งของบรรดาชนชั้นศักดินาผู้กุมกำ.. เพื่อเป็นสันทนาการ เพื่อเป็นต้นทุนในงานเขียนอันพิเลิศพิไลของท่าน แต่เมื่อถึงคราวที่สวะในใจของท่านนักเขียนวรรณกรรมผู้ทรงไว้ซึ่งอุดมคติปลิ้นออกมาซึ่ง ๆ หน้าผู้อ่านที่รักของท่าน ท่านกลับเกิดอาการง่อยรับประทานไปเสียอย่างที่จะตีหน้าซื่อคงไม่ทันการณ์ ใครล่ะจะกล้าควักไส้เน่าของตัวเองเพื่อเป็นทานแก่หนอนคลั่งอาหารเปี่ยมจุลินทรีย์


เรื่องมันก็ผ่านมานานแล้ว และวรรณกรรมไทยยังคงยืนหยัดอย่างสง่าผึ่งเผยเป็นภาพของหมู่เมฆหมอกอันหม่นหมองร้าวรานใจ แต่อา... เขาว่า มันเป็นศิลปะ! ศิลปะจงเจริญ

เป็นเพียวอาร์ต

โย่ ๆ เย่ ๆ

กริ๊กกริ๊วน่าดูชม


จะมีใครอยากลองกรอกใบสมัครผู้ทรยศบ้างไหม?


.. 2552 ช่างเป็นปีแห่งความหวั่นกลัวที่กะทันหัน คนงานกลัวถูกตัดหางปล่อยวัดจนประสาทรับประทานสามเวลา ธุรกิจเอสเอ็มอี ขวัญหนีดีฝ่อเมื่อนักประกอบการรายใหม่วาดโครงการจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์เศรษฐศาสตร์ประจำวันข่มขู่ว่า เราจะจนลงถ้วนหน้า


นี่เราต้องทนความเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันเหล่านี้ไปจนกว่าความสดชื่นแห่งชีวิตจะฟื้นคืนชีพเช่นนั้นหรือ แล้วสำนักพิมพ์ผู้ผลิตหนังสือวรรณกรรมเล่า อะไรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจในกลิ่นหมึกเจือคาร์บอนเหล่านั้น

งานเขียนที่เกร็งกำไรได้เท่านั้นกระมังที่จะมีโอกาสเฉิดฉายเนื่องจากมันมีราคาค่างวดเขียนตัวเล็กจิ๋วอยู่แถว ๆ บาร์โคด ต่างอย่างสิ้นเชิงจากต้นฉบับที่ถูกปฏิเสธอย่างทรงภูมิและเจือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาของบรรณาธิการ


แล้วคนอ่านจะคาดหวังอะไรได้ ทางที่ดีอย่างง่ายดายคือ อย่าไปคาดหวังมันเลย


แต่อะไร ๆ ก็พลิกผันได้ไม่ใช่หรือ แม้นในงานศพของคนที่เรารักจะแสนเศร้ารันทดเพียงใด หยาดน้ำตาที่สะท้อนแสงไฟในเพลงสวดศพก็ทำให้เรามองเห็นแสงสว่างได้


เพราะคุณค่าของหนังสืออยู่ที่มีคนอ่าน ไม่ใช่อยู่ที่ราคาขายบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใครบ้างจะมีโอกาสอ่านหนังสือได้ทุกเล่มที่โหยหา แน่นอน หนังสือในสต๊อกตัณหาของเรา บางเล่มอาจมีอายุยืนยาวเป็นสิบปี บางเล่มเกือบถูกโละไปเสียแล้ว ถ้าไม่บังเอิญไปเจอมันเสียก่อน

ฉันเองก็เพิ่งกำโชคลาภแห่งปีไว้แน่น เนื่องจากได้ประสบพบเจอกับ หนังสือแปลเก่าแก่ สำนวนแปลของ

แคน สังคีต เป็นผลงานของนักเขียนโนเบล ปี ค.. 1988 นาม นากิบ มาห์ฟูซ


นากิบ มาห์ฟูซ เป็นนักประพันธ์ชั้นนำของอาหรับและของโลก เขาเป็นนักเขียนอียิปต์ที่ผลงานได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดคนหนึ่ง เทียบได้กับทอฟิก เอล ฮากิม การแปลงานของเขาถือเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะภาษาอาหรับโดยทั่วไปจะยากเท่านั้น แต่วิธีการเขียนของมาห์ฟูซยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ท้าทายนักแปล นั่นคือ นักแปลอาจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้


นี่คือ ส่วนหนึ่งของบทนำ จากนวนิยายเรื่อง เพลงกล่อมผี ที่เขียนโดย เมอซี ซาอัด เอล ดิน

แต่เชื่อไหมว่า แคน สังคีต ผู้แปลเป็นภาษาไทย ได้ทลายปราการแห่งความล้มเหลวลงอย่างไม่แยแส เขาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อสื่อสารโลกในห้วงอันเดือดคลั่งเป็นคลื่นมนุษย์ของนากิบ มาห์ฟูซ ออกมาให้สั่นสะเทือนในกล่องดวงใจของจินตนาการแห่งเราให้สว่างไสวขึ้นอีกครั้ง


นั่นล่ะทางออกของความหวัง ฉันอ่าน เพลงกล่อมผี ของ มาห์ฟูซ จนดึกดื่น ขณะลมฤดูหนาวได้รัดรึงความหวังจนสั่นเทิ้มไปด้วย คุณคิดว่าฉันเป็นผู้ทรยศประเภทไหน.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ ผู้เขียน : องอาจ เดชา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา พ.ศ.2548 ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ... สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ม่านดอกไม้ ผู้เขียน : ร. จันทพิมพะ ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2541 ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน…
สวนหนังสือ
นายยืนยง      ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ.ศ.2508 ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : มาตุภูมิเดียวกัน ผู้เขียน : วิน วนาดร ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อกันยายน 2550   ปี 2551 นี้รางวัลซีไรต์เป็นรอบของเรื่องสั้น สำรวจดูจากรายชื่อหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ดูจากชื่อนักเขียนก็พอจะมองเห็นความหลากหลายชัดเจน ทั้งนักเขียนที่ส่งมากันครบทุกรุ่นวัย แนวทางของเรื่องยิ่งชวนให้เกิดบรรยากาศคึกคัก มีสีสันหากว่ามีการวิจารณ์หนังสือกันที่ส่งเข้าประกวดอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกค่าย ไม่เลือกว่าเป็นพรรคพวกของตัว อย่างที่เขาว่ากันว่า เด็กใครก็ปั้นก็เชียร์กันตามกำลัง นั่นไม่เป็นผลดีต่อผู้อ่านนักหรอก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นกชีวิต ประเภท : กวีนิพนธ์ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2550 ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เคยสังเกตไหมว่าบางครั้งบทกวีก็สนทนากันเอง ระหว่างบทกวีกับบทกวี ราวกับกวีสนทนากับกวีด้วยกัน ซึ่งนั่นหาได้สำคัญไม่ เพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้สร้างสรรค์ (กวี) กับผู้เสพอย่างเรา ๆ แต่หมายถึงบรรยากาศแห่งการดื่มด่ำกวีนิพนธ์ เป็นการสื่อสารจากใจสู่ใจ กระนั้นก็ตาม ยังมีบางทัศนคติที่พยายามจะแบ่งแยกกวีนิพนธ์ออกเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นกวีฉันทลักษณ์ เป็นกวีไร้ฉันทลักษณ์…
สวนหนังสือ
นายยืนยงประเภท          :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย      :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน 2530)ผู้ประพันธ์     :    Bhabani Bhattacharyaผู้แปล         :    จิตร ภูมิศักดิ์
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
สวนหนังสือ
นายยืนยงบทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์    :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล         :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ      :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์      :     โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
สวนหนังสือ
นายยืนยง  บทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์            :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล                 :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ         :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์        …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓