Skip to main content

นายยืนยง


สวัสดีปี 2552

ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา


คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม


ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม

ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน


คุณเคยไหม...ที่บางครั้ง

ก็หมดแรง หมดจิตหมดใจกับชีวิตเอาดื้อ ๆ ขอให้ไอ้ความรู้สึกทดถ้อเช่นนี้ อย่าได้เกิดขึ้นกับคุณหรือ

ใครเลย เนื่องจากมันจะเกาะติด ซ่อนตัวอย่างเงียบงันอยู่เพื่อรอคอย สบโอกาสมันจะแผลงฤทธิ์เข้าใส่ทันที เป็นเรื่องทรมานทรกรรมอันแสนว้าเหว่อย่างหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว


เช่นนั้นแล้ว การอ่านหนังสือ เป็นอิริยาบถอันทรงพลัง สำหรับฉันเป็นเครื่องเยียวยาตัวเองอย่างหนึ่ง

สำหรับบางคน เคยเฝ้าสังเกตว่าเขาใช้ผืนดินและกล้าพันธุ์ไม้เพื่อรักษาชีวิตอันอ่อนปวกเปียกของเขา

เขาปลูกกอกุหลาบที่เลื้อยพันกิ่งข่อยผลัดใบเขียวสล้าง วันหนึ่งกุหลาบออกดอกแดงเข้มลึกลับ ระบายกลิ่นหอมเย้ายวนผัสสะ บรรดาไม้ออกดอกของเขาอาจเป็นเครื่องชูเสน่ห์ในชีวิตก็เป็นได้

ไม่รู้ซี ตอนนี้ฉันกำลังคิดถึงอนาคตของวรรณกรรมไทย

วงการหนังสือบ้านเราที่ยังคลานต้วมเตี้ยมเป็นสุกรแห่งโบราณกาล


..2552 คืบหน้าเข้ามาอย่างเฉยชา ไม่ยี่หระต่อวิกฤตใด ๆ ในพันธะทั้งภายนอกและภายใน

หนังสือของนักเขียนไทยประเภทวรรณกรรมมียี่ห้อรางวัลสัพเพเหระจารึกบนปกอย่างโอ่อ่า ขณะเดียวกันมันก็เย้ายวนชวนให้ซื้อไปเก็บไว้ในชั้นหนังสือของหอสมุดประจำเมือง ฉันเคยใช้บริการหอสมุดประชาชนที่มีหนังสือปกรางวัลเรียงเต็มชั้นแน่นเอี้ยดราวกับเป็นหน้ากากแห่งวีรบุรุษที่เพิ่งผ่านสมรภูมิแห่งสงครามการแข่งขัน ใครเล่าจะเป็นผู้ทรยศเพื่อจะกระชากหน้ากากนั้นออกมา


เอาล่ะ เชิญกรอกใบสมัครผู้ทรยศ

ถ้าคุณเต็มใจจะเจ็บปวดกับลูกศรอาบยาพิษที่บรรดาองครักษ์พิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ของรางวัลจะโจมตีคุณอย่างไม่ยั้ง ฉันคนหนึ่งล่ะ ที่ทำได้แค่กรอกข้อมูลในใบสมัครบ้าบิ่นอันนั้น แล้วก็แสร้งทำเป็นนิ่งเสียแม้ไม่ได้ตำลึงทอง แกล้งทำเป็นไม่อินังขังขอบเสีย ทำตัวราวกับทารกน้อยในอุทรผู้ไม่รู้ร้อนหนาวกับโลกเพื่อปกป้องตัวเองจากภยันตรายของบาดแผล ลืม ๆ มันไปซะ แกล้งลืมก็ได้ และไม่ต้องพูดถึงมันอีก


และมันก็เกิดขึ้นในขอบข่ายแห่งการเสแสร้งแกล้งไม่เห็นของฉัน

ด้วยการจุดคบเพลิงในดวงตาผู้ทรยศขึ้นท่ามกลางเมฆหมองหม่นมัวในกรงล้อมวรรณกรรมไทย

เมฆหมอกคงค้างเติ่งอยู่เช่นนั้น ยากที่จะกลั่นตัวเป็นหยาดฝนรดรินลงมา


ดังเช่นการออกแถลงการณ์ของประชาคมวรรณกรรมที่ออกมาเรียกร้องให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมอื่นที่เกี่ยวพันกับกรณีการตัดสินรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ออกมาแสดงจิตวิญญาณอันอาจหาญทระนง ซึ่งปีนั้น เราได้กวีซีไรต์ชื่อมนตรี ศรียงค์ จากผลงานกวีนิพนธ์ โลกในดวงตาข้าพเจ้า สำนักพิมพ์สามัญชนเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยบรรณาธิการ เวียง – วชิระ บัวสนธ์


เรื่องมันก็นานมาแล้ว มีใครอยากฟื้นฝอยหาตะเข็บมั่งไหม


ฉันคนหนึ่งล่ะ

อาจเป็นเพราะฉันตกเป็นทาสความบันเทิงที่เกิดจากเจตนาจะถลกหนังซึ่งกันและกันระหว่างตัวแปรค่าความเบี่ยงเบนในวงการวรรณกรรม เป็นไปได้ไหมว่า งานนี้มีขั้วพันธะที่จ้องจะจองล้างจองผลาญกันระหว่าง กลุ่มเพื่อชีวิตกับกลุ่มใหม่ ซึ่งไม่อาจเรียกได้ว่าโมเดริ์นเต็มปากเต็มคำ มีความพยายามจะลดทอนคุณค่าของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตอันน่าเบื่อหน่ายอิ่มเอียนสุดทนในรสนิยมของบางคน ที่ถ้าลองมีใครเผลอพูดว่า นักเขียนต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคม คงมีการอ้วกอยู่ภายในจิตสำนึกรู้สึกอย่างลับ ๆ บางคนอาจเผลอเหยียดริมฝีปากอย่างหยามหยัน ก่อนกระดกเบียร์ไฮเนเก้นด้วยเจตนาจะค่อนขอดประโยคเร่อร่าและเจ้าของของมัน


แหม ให้ตายเถอะ ท่านนักเขียนวรรณกรรมผู้ทรงเกียรติ ท่านทั้งหลายล้วนเคยประสบพบพานกับประสบการณ์เฉลิมฉลองความระยำตำบอน ความฉ้อฉลของนักการเมืองถ่อย ความโลภโมโทสันต์ของนายทุนหน้าเปี่ยมโลหิต ความร้ายกาจอย่างลึกซึ้งของบรรดาชนชั้นศักดินาผู้กุมกำ.. เพื่อเป็นสันทนาการ เพื่อเป็นต้นทุนในงานเขียนอันพิเลิศพิไลของท่าน แต่เมื่อถึงคราวที่สวะในใจของท่านนักเขียนวรรณกรรมผู้ทรงไว้ซึ่งอุดมคติปลิ้นออกมาซึ่ง ๆ หน้าผู้อ่านที่รักของท่าน ท่านกลับเกิดอาการง่อยรับประทานไปเสียอย่างที่จะตีหน้าซื่อคงไม่ทันการณ์ ใครล่ะจะกล้าควักไส้เน่าของตัวเองเพื่อเป็นทานแก่หนอนคลั่งอาหารเปี่ยมจุลินทรีย์


เรื่องมันก็ผ่านมานานแล้ว และวรรณกรรมไทยยังคงยืนหยัดอย่างสง่าผึ่งเผยเป็นภาพของหมู่เมฆหมอกอันหม่นหมองร้าวรานใจ แต่อา... เขาว่า มันเป็นศิลปะ! ศิลปะจงเจริญ

เป็นเพียวอาร์ต

โย่ ๆ เย่ ๆ

กริ๊กกริ๊วน่าดูชม


จะมีใครอยากลองกรอกใบสมัครผู้ทรยศบ้างไหม?


.. 2552 ช่างเป็นปีแห่งความหวั่นกลัวที่กะทันหัน คนงานกลัวถูกตัดหางปล่อยวัดจนประสาทรับประทานสามเวลา ธุรกิจเอสเอ็มอี ขวัญหนีดีฝ่อเมื่อนักประกอบการรายใหม่วาดโครงการจะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์เศรษฐศาสตร์ประจำวันข่มขู่ว่า เราจะจนลงถ้วนหน้า


นี่เราต้องทนความเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันเหล่านี้ไปจนกว่าความสดชื่นแห่งชีวิตจะฟื้นคืนชีพเช่นนั้นหรือ แล้วสำนักพิมพ์ผู้ผลิตหนังสือวรรณกรรมเล่า อะไรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจในกลิ่นหมึกเจือคาร์บอนเหล่านั้น

งานเขียนที่เกร็งกำไรได้เท่านั้นกระมังที่จะมีโอกาสเฉิดฉายเนื่องจากมันมีราคาค่างวดเขียนตัวเล็กจิ๋วอยู่แถว ๆ บาร์โคด ต่างอย่างสิ้นเชิงจากต้นฉบับที่ถูกปฏิเสธอย่างทรงภูมิและเจือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาของบรรณาธิการ


แล้วคนอ่านจะคาดหวังอะไรได้ ทางที่ดีอย่างง่ายดายคือ อย่าไปคาดหวังมันเลย


แต่อะไร ๆ ก็พลิกผันได้ไม่ใช่หรือ แม้นในงานศพของคนที่เรารักจะแสนเศร้ารันทดเพียงใด หยาดน้ำตาที่สะท้อนแสงไฟในเพลงสวดศพก็ทำให้เรามองเห็นแสงสว่างได้


เพราะคุณค่าของหนังสืออยู่ที่มีคนอ่าน ไม่ใช่อยู่ที่ราคาขายบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใครบ้างจะมีโอกาสอ่านหนังสือได้ทุกเล่มที่โหยหา แน่นอน หนังสือในสต๊อกตัณหาของเรา บางเล่มอาจมีอายุยืนยาวเป็นสิบปี บางเล่มเกือบถูกโละไปเสียแล้ว ถ้าไม่บังเอิญไปเจอมันเสียก่อน

ฉันเองก็เพิ่งกำโชคลาภแห่งปีไว้แน่น เนื่องจากได้ประสบพบเจอกับ หนังสือแปลเก่าแก่ สำนวนแปลของ

แคน สังคีต เป็นผลงานของนักเขียนโนเบล ปี ค.. 1988 นาม นากิบ มาห์ฟูซ


นากิบ มาห์ฟูซ เป็นนักประพันธ์ชั้นนำของอาหรับและของโลก เขาเป็นนักเขียนอียิปต์ที่ผลงานได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดคนหนึ่ง เทียบได้กับทอฟิก เอล ฮากิม การแปลงานของเขาถือเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะภาษาอาหรับโดยทั่วไปจะยากเท่านั้น แต่วิธีการเขียนของมาห์ฟูซยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ท้าทายนักแปล นั่นคือ นักแปลอาจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้


นี่คือ ส่วนหนึ่งของบทนำ จากนวนิยายเรื่อง เพลงกล่อมผี ที่เขียนโดย เมอซี ซาอัด เอล ดิน

แต่เชื่อไหมว่า แคน สังคีต ผู้แปลเป็นภาษาไทย ได้ทลายปราการแห่งความล้มเหลวลงอย่างไม่แยแส เขาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อสื่อสารโลกในห้วงอันเดือดคลั่งเป็นคลื่นมนุษย์ของนากิบ มาห์ฟูซ ออกมาให้สั่นสะเทือนในกล่องดวงใจของจินตนาการแห่งเราให้สว่างไสวขึ้นอีกครั้ง


นั่นล่ะทางออกของความหวัง ฉันอ่าน เพลงกล่อมผี ของ มาห์ฟูซ จนดึกดื่น ขณะลมฤดูหนาวได้รัดรึงความหวังจนสั่นเทิ้มไปด้วย คุณคิดว่าฉันเป็นผู้ทรยศประเภทไหน.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…