Skip to main content


นายยืนยง



ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง

ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545

จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ


การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง

ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย

หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ


นักเขียนตายแล้ว” เราชินเสียแล้วกับแรงสะเทือนของถ้อยคำนี้

ประโยคนี้ถือเป็นการขานรับบทความชิ้นสำคัญชื่อ อวสานของนักประพันธ์ (The Death of the Author) เขียนโดย โรล็องด์ บาร์ตส์ นักวิจารณ์สำนักโครงสร้างนิยมชาวฝรั่งเศส ซึ่งเผยแพร่ตั้งปีค.. 1968


บาร์ตส์พูดถึงความตายของนักประพันธ์ ในแง่ที่หมายถึงการสิ้นสุดของแนวคิดเกี่ยวกับความเป็น

นักประพันธ์ ในความเห็นของบาร์ตส์ ความเป็นนักประพันธ์มิใช่สิ่งที่มีคู่กันมากับวรรณกรรมดังที่เราเข้าใจ แต่เป็นความเป็นนักประพันธ์ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม และยังเสนอว่า แท้จริงแล้ว แนวคิดเรื่องความเป็นนักประพันธ์ คือผลผลิตของอุดมการณ์ที่อิงอยู่กับการเชิดชูปัจเจกชนนิยม โดยเฉพาะการเชิดชูอัจฉริยภาพของผู้แต่งในฐาน ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม

ตัวบท คือ พื้นที่หลากหลายมิติ ที่เปิดให้ข้อเขียนจากแหล่งต่าง ๆ ได้มาปะทะสังสรรค์กัน

ทั้งนี้ไม่มีข้อเขียนใด ๆ ที่เป็นของแท้ดั้งเดิม แม้สักชิ้นเดียว (หน้า 14)


ฉันได้อ่านหนังสือ อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ผู้เขียนเกริ่นนำไว้ว่า

การอ่าน (ไม่) เอาเรื่อง เป็นหนทางของการอ่านที่ล้ำลึกกว่าการอ่านเอาเรื่อง สำหรับฉันกลับมองว่า

การอ่านอย่างไม่เอาเรื่องนั้น เป็นคำยั่วล้อส่วนหนึ่ง แต่ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ แสดงความเห็นว่าเป็นการอ่าน อ่านจาก “คำ” อ่านถึงความเจตนา และความไม่เจตนาของนักเขียนที่ปรากฏและเร้นตัวอยู่ใน “คำ” ที่เรียงร้อยเหล่านั้น ซึ่งทำให้การวินิจฉัย ตีความวรรณกรรม มี “เนื้อหา” ให้ “เล่น” มากกว่าพื้นที่เดิม


การการอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ได้ “วิชา” อันจะนำมาใช้ในการอ่านอีกหลายเล่มเกวียน ขณะเดียวกัน กลับรู้สึกเหมือนกำลังหลงทางอยู่ในวังวนแห่งความล้ำลึกทางวิชาการวิจารณ์วรรณกรรมของสำนักคิดทางโลกซีกตะวันตก


ต้องยอมรับอย่างจริงจังเสียแล้วว่า เงาดำที่ครอบคลุมทัศนวิสัยในโลกวรรณกรรม ทั้งงานสร้างโดยตัวบทวรรณกรรมเอง และการวิจารณ์วรรณกรรม เป็นเงาที่เกิดจากแสงสว่างอันรุ่งโรจน์จากโลกซีกตะวันตก โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป และมันตกกระทบมายัง “เรา” ตามประสานักวิชาการคารมจัดเคยกล่าวไว้

โลกตะวันออกเหลียวมองโลกตะวันตกจนคอแทบหักปลิ้น”


ทัศนคติอันเกิดจากการยอมรับนี้ กระตุ้นให้ฉันคิดหลงบ้าไปเอง ด่วนจับแพะชนแกะไปเอง รีบสรุปไปเองว่า บรรณาธิการแห่งโลกวรรณกรรมไทยร่วมสมัยอย่าง สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางวรรณกรรมไทย โดยเขาได้เป็นโรคเหลียวตะวันตกจนคอเคล็ด แล้วหันกลับมาป่าวประกาศ “ใบหน้า” ของเรื่องสั้นว่าควรเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ ถือเป็นมรดกตกทอดมาถึงนักเขียนไทยยุคปัจจุบัน รวมทั้งเมื่อ 20 – 30 ปีก่อน หนำซ้ำยังคิดเหมารวมไปอีกว่าบรรณาธิการนามสุชาตินี้เองแหละยื่นมือเข้ามา “คลุก” วรรณกรรมไทยให้มาอยู่ใน

หล่ม” ต่าง ๆ บรรดามีเช่นทุกวันนี้


ถ้ากระโดดถีบตัวเองจากข้างหลังได้ ฉันควรทำใช่ไหม และน่าจะทำมันไปตั้งนานแล้ว

เพราะไอ้ข้อสรุปแคบตื้นเหล่านี้ล้วนผิดพลาดทั้งเพ เมื่อฉันได้อ่านหนังสือเล่มนี้ จากบทที่ชื่อว่า

บทบาทของรางวัลวรรณกรรมต่อการสร้างและเสพวรรณกรรม (หน้า 30) เขาเขียนอย่างนี้


รางวัลมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างบรรทัดฐานทางวรรณกรรมอันมีผลต่อเนื่องไปถึงการสร้าง เสพ และตีความวรรณกรรม


ยกตัวอย่าง สุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้เสนอว่า เรื่องสั้นของไทยในยุคแรกเริ่มนั้นมี 2 แนว คือ

แนวเลียนแบบตะวันตก อย่าง สนุกนิ์นึก ของกรมหลวงพิชิตปรีชากร และ

แนวที่อิงอยู่กับตำนานพื้นบ้าน เช่น คนหาปลาทั้งสี่

จาก (“ภาพรวมเรื่องสั้นไทย” สรรค์สร้างจากเรื่องสั้น กรุงเทพฯ : นาคะเพรส, 2537 หน้า 24 - 25)


การที่สถาบันทางวรรณกรรมหันไปยกย่องให้ สนุกนิ์นึก เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย มีส่วนสำคัญทำให้การเขียน การผลิต และการพูดถึงเรื่องสั้นของไทยในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้ ดำเนินไปในแนวที่ใช้เรื่องสั้นตะวันตกเป็นต้นแบบ และทำให้เรื่องสั้นของไทยแนวอิงตำนานพื้นบ้าน ซึ่งสุชาติมองว่ามีลักษณะคล้ายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magic realism) ของละตินอเมริกา ถูกมองข้ามและละเลยไป


กรณีที่สุชาตินำเสนอนี้ แสดงให้เห็นว่า คำนิยามว่าอะไรคือเรื่องสั้น มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางของเรื่องสั้นไทย


แน่นอน กระบวนการสร้างคำนิยมที่มีมาตรฐานมีลักษณะเป็นพลวัต เป็นไปในสองทิศทาง งานเขียนที่ “แหกคอก” ไปจากคำนิยาม ท้ายสุดจะส่งผลให้นิยามต้องปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นมากขึ้น

เช่น เมื่อ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ได้รางวัลโนเบล วรรณกรรมไทยจึงหันมาสนใจเรื่องสั้นไทยแนวอิงตำนานพื้นบ้าน และเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น


คุณอาจรู้สึกว่า ฉันไปหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ จากหนังสือเล่มเดียว

เออ... เป็นเรื่องน่าคิด

ฉันควรเชื่อ ชูศักดิ์ ผู้แต่ง สักกี่เปอร์เซ็นต์

แต่จะทำยังไงได้ คนมันหลงและเชื่อไปแล้ว

คนที่ควรพิจารณาตัวเองอย่างหนักคือฉัน แน่นอนที่สุด

แม้นจะเคยเข้าใจคุณสุชาติ อย่างผิดพลาดมหาศาล แต่ฉันยังให้ความเคารพนับถือท่านตลอดมา


กลับมาสู่หนังสือ อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง พระเอกตัวจริงของเรา

คนที่เป็นนักอ่านทั้งหลายล้วนมีรสนิยมเป็นเอกอยู่ในตัว จะอ่านนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ สารคดี อะไรก็ตาม แต่การจะเลือกอ่านบทความวิจารณ์หนังสือ ฉันเห็นว่าอาจมีคนกลุ่มนี้ไม่มากนัก เนื่องจากบางครั้ง อดรู้สึกไม่ได้ว่าเป็นการมากเรื่องสำหรับการอ่านเกินไปหรือเปล่า อ่านก็อ่านไปซี ตามใจฉัน จะมาวิจารณ์หาญหักใจกันไปทำไมนักหนา เสียเวล่ำเวลา


ฉันกลับเห็นว่ายิ่งเราพิถีพิถันกับการอ่านเท่าไร มรรคผลย่อมตกอยู่แก่ตัวเรา และอาจแผ่ขยายไปสู่วงการอ่าน-เขียนอีกทางหนึ่งด้วย ลองขยับข่ายรสนิยมของเราให้กว้างอีกนิด เปิดอ่านหนังสือว่าด้วยการวิจารณ์วรรณกรรม อ่านเล่น ๆ ดู สักบท สองบท ก็เป็นเรื่องท้าทายอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน


ขอยกตัวอย่างอีกเล็กน้อย เกี่ยวกับการอ่าน (ไม่) เอาเรื่อง เผื่อเก็บไว้เป็นเทคนิคในยามต้องเลือกหนังสือหลายเล่ม เผื่อเก็บไว้เป็นนิยามประจำตัว ไม่ให้หลงเชื่อนักวิจารณ์วรรณกรรมง่าย ๆ อย่างฉัน ไม่ใหลหลงรางวัลทางวรรณกรรมตามฤดูกาลอย่างง่าย ๆ ต่อให้คณะกรรมการจะเป็นผู้เปี่ยมดีกรีปริญญามหาบัณฑิต รวมทั้งอิทธิพลจากซีกโลกตะวันตกด้วย เมื่อเรามีหลักเกณฑ์ในใจเสียอย่าง ใครก็มาเย้ายั่วไม่ได้ อาจถึงขั้นมองกรรมการซีไรต์เป็นเพียงมายา มาคอยยั่วเย้ารายปีก็เป็นได้นะเออ


การตีความวรรณกรรมนั้นมีหลายกลวิธี การแยกแยะงานชั้นดีกับชั้นดาษดื่นนั้นก็มีหลายกลเช่นเดียวกัน

ฉันขอยืมหลักการเล็กน้อยจากหนังสือเล่มนี้มาให้อ่าน ใครที่ “รู้” แล้ว ก็เพิ่มเติมได้นะ


ว่าด้วยเรื่องของ “มุมมอง” และ “เสียงเล่า” ในวรรณกรรม

มุมมอง focalization

เสียงเล่า narrative voice

สองคำนี้ต่างกันอย่างไร

วรรณกรรมบางเรื่องผู้แต่งใช้มุมมองของตัวละครคนเดียว โดยอาศัยเสียงเล่าของตัวละครนั้น แต่บางเรื่องมุมมองของตัวละครไม่ได้เล่าผ่านเสียงเล่าของตัวละครดังกล่าว แต่เป็นเสียงเล่าแบบสัพพัญญู ดังนั้นเราต้อง “ฟัง” ให้ดีกว่า เสียงเล่าอย่างนี้ ใครน่าจะเป็นคนเล่า แล้วเป็นไปเพื่ออะไร จะเสียดเย้ย เยาะหยัน หรือเปรียบเปรย เปรียบเทียบ น้ำหนักของแนวคิดน่าจะมีจุดพร่องตรงไหน ผู้แต่งท่านใดจริงใจต่อแนวคิดในตัวบทวรรณกรรมมากกว่ากัน และเราควรอุดหนุนใคร


เขายกตัวอย่างนวนิยายเรื่อง มิสซิสดัลโลเวย์ (Mrs. Dalloway) ที่ดลสิทธิ์ บางคมบาง ได้แปลไว้และออกวางแผงเมื่อปีที่แล้ว

เป็นการเล่าเหตุการณ์เดียวกันจะมีการเปลี่ยนมุมมองระหว่างตัวละครหนึ่ง ไปสู่อีกตัวละครหนึ่ง เช่น การเล่าถึงบรรยากาศบนถนนออกซ์ฟอร์ด จะเริ่มจากมุมมองของ Dalloway และเปลี่ยนไปสู่มุมมองของ Septimus เพื่อสื่อถึงสภาวะจิตใจของตัวละครสองตัวที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงต่อเหตุการณ์เดียวกัน


ในฝรั่งเศส มุมมอง มีความหมายมากกว่า การมองเห็น และครอบคลุมไปถึงนามธรรมด้วย ดังนั้น Genette จึงบัญญัติคำว่า focalization แทน point of view หมายถึง การเห็น การคิด การรับรู้ รู้สึกของตัวละคร และผู้เล่าเรื่อง


มุมมองมีทั้งเชิงคิด (cognitive) เชิงรู้สึก (emotion)

มีทั้งมองจากภายในตัวละคร และมองจากภายนอกสู่ตัวละคร

เราควร “มอง” หาให้ละเอียดเพื่อจะซึมซับตัวบทวรรณกรรม

สำหรับนักเขียนผู้สร้าง รายละเอียดเหล่านั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สร้างความลุ่มลึกให้ตัวละคร เพิ่มความแยบคายใน “ใส่” รายละเอียดเชิงลึกด้วย


แม้มุมมองเหล่านี้จะสาดส่องมาจากซีกโลกตะวันตก เพื่อวินิจฉัยซีกโลกตะวันออก เช่นงานวรรณกรรมไทยอย่างที่เรียกได้ว่าเกือบผูกขาดแล้ว แต่หากไม่มีพื้นฐานในบริบทที่ละเอียดลออมากพอ การตีความ

นัยยะย่อมไม่ได้สำแดงให้อะไรกระจ่างขึ้นจนมากมาย ขณะเดียวกัน หากมัวมานั่งแบ่งแยกว่านั่นตะวันตก นี่ตะวันออก มรรคผลที่ได้อาจไม่มีอะไรมากไปกว่าได้สนองตอบตัณหาตัวเอง เชียร์ชาติพันธุ์ตัวเองอย่างปิดหูปิดตาตัวเอง หรือวิ่งเผ่นตามกระแสตอนนี้ที่ โลกซีกตะวันตกได้เหลียวมองตะวันออกอย่างตื่นตาตาใจไปแล้ว


เราจะเหลียวมองตัวเราเองด้วยสายตาของใคร เป็นความประณีตอย่างหนึ่งก็ว่าได้ และบทสรุปอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวเราอีกด้วย แต่บางขณะ บทสรุปก็ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป มุมมองว่าด้วยวรรณกรรมจึงเปรียบได้กับเนื้อเยื่ออ่อนบาง ที่พร้อมเปิดรับและปิดผนึก “เชื้อ” บางอย่างจากทั่วสากลทิศ สุดแท้แต่ “ผู้ป้ายเชื้อ” จะแต้มให้เป็นอย่างไร


สำหรับฉัน เชื้อที่งดงามเสมอคือเชื้อพันธุ์แห่งความซื่อสัตย์ต่อตัวเองของนักเขียน.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…