Skip to main content

นายยืนยง



ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน!

วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6

จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551


ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย

งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท

คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552


สำหรับใครที่ไม่คุ้นหูกับรางวัลวรรณกรรมพานแว่นฟ้านี้ ขอบอกคร่าว ๆ ว่า เป็นรางวัลที่จัดโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไป หรือบางปีมีประเภทเยาวชนสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา สำหรับปีนี้เห็นมีประเภทเดียวคือประชาชนทั่วไป


มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพทางการเมือง โดยใช้ศิลปะถ่ายทอดความรู้สึกสะท้อนภาพการเมืองและสังคมหรือจินตนาการถึงการเมืองและสังคมที่ต้องการในรูปแบบของเรื่องสั้นและบทกวี

3.เพื่อสืบสานสร้างสรรค์วรรณกรรมการเมืองให้มีส่วนปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย

ถ้าสนใจเวทีนี้ หารายละเอียดเพิ่มได้ที่ www.parliament.go.th


ในที่นี้จะหยิบรวมเล่มวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 ประจำปี 2550 มาอ่านกันละ

ชื่อเล่มเป็นชื่อเดียวกับผลงานเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ของ ดุสิต หวันฯ

ชื่อ เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน!


ขอขยายความคำว่า วรรณกรรมการเมือง เล็กน้อย ซึ่งจะเปรียบจากที่เคยอ่านรวมเล่มพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 1 โดยผลงานชื่อ คืนเดือนเพ็ญ เรื่องสั้นของ อุเทน พรหมแดง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นเล่มค่อนข้างโบราณตรงที่วรรณกรรมการเมืองส่วนใหญ่ที่ได้รับรางวัล เป็นแต่ภาพทิวทัศน์ของการเลือกตั้ง เรื่องสิทธิ เสรีภาพ เรียกว่าสอนวิชาประชาธิปไตยแบบประถมศึกษาอย่างนั้นก็ได้ ครั้นมาดูผลงานที่ได้รับรางวัลระยะหลังมานี่ ขอบข่ายของวรรณกรรมการเมืองได้ก้าวขยับเรื่อยมา มีสีสันและบ่งบอก “สภาพ” ประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาตามเนื้อสภาวะสังคมการเมืองในกาลเทศะมากขึ้น สังเกตว่า มีคำว่า “สังคม” พ่วงมาด้วย ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่รัฐจะจัดสรรให้มีการ “มอบโล่” แก่ประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐตามที่รัฐ “มอบหมาย” ให้วิพากษ์วิจารณ์...


กลับมาถึงเล่มนี้ต่อ

มีเรื่องสั้นและบทกวีที่น่าสนใจอยู่เยอะ ที่น่าสนใจ คือ คำว่าการเมืองได้ขยายขอบข่ายมาถึงภาคสังคม

ลงลึกถึงวิถีชีวิตในรูปแบบของงานแนวอัถนิยมด้วย ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า การเมือง กับ สังคม ไม่อาจแยกออกจากกันเพื่อพิจารณาเชิงเดี่ยวได้ (วิเคราะห์จากผลงานในเล่มนะ ไม่ได้คิดเอาเอง) ซึ่งมีข้อดีเยอะ ในแง่กระบวนการขับเคลื่อนทางภาคการเมือง เหมือนคำกล่าวที่ว่า การเมืองอยู่ในถ้วยน้ำพริกของคุณ หรือ การเมืองอยู่ในกระแสเลือด หรือเราปฏิเสธการเมืองไม่ได้ เพราะการเมืองมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ซึ่งแนวคิดนี้ได้เคลื่อนย้ายมาจาก การเมืองคือการเลือกตั้ง จากผลงานการประกวดครั้งก่อน ๆ


ต่อแนวคิดดังกล่าว แม้นฉันจะค่อนข้างเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดนี้อยู่บ้าง เพราะการเมืองไม่ได้อยู่ในกระแสเลือดฉันถึงขั้นจะปลุกเร้าให้ฮึกเหิมได้ง่าย ๆ อีกต่อไปแล้ว ด้วยเชื่อว่า ถ้าวิกฤตภาคการเมืองขณะนี้จะขับเคลื่อนไปได้อีกก้าวหนึ่ง เส้นเลือดของประชาชนคนไทยจะมีความเข้มข้นของการเมืองน้อยลง เพราะเราต่างได้รับบทเรียนและบาดแผลฉกาจฉกรรจ์มาแล้ว เราจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง (ในภาคอื่นที่ไม่ใช่การเมือง) มากกว่าจะพึ่งภาคการเมืองเป็นหลักใหญ่ แต่สำหรับเล่มนี้ ต้องปลดทัศนะส่วนตัวลงก่อน


มาดูภาพรวมเพื่อพิจารณาว่า หลักใหญ่ใจความหรือสาระสำคัญของพานแว่นฟ้าเล่มนี้ คืออะไร ส่วนไหนเป็นพลความ ส่วนไหนเป็นลักษณะเฉพาะกาล และสิ่งใดเป็นสิ่งที่จะเป็นจริงอยู่ชั่วนิรันดร์ โดยเหมารวมทั้งเล่ม ไม่จำแนกแยกออกเป็นเรื่อง ๆ ไป เพราะเข้าใจว่านี่คือเอกภาพที่คณะกรรมจัดการประกวดลงความเห็นร่วมกัน ดังนั้น ผลงานรวมเล่มนี้ จึงไม่ใช่ผลงานของนักเขียนหรือกวีเท่านั้น หากแต่ยังมี “มือ” อันทรงวิจารณญาณของคณะกรรมการ จัดแต่งให้ออกมาเป็นเช่นนี้ด้วย

ผลงานทั้งหมดสามารถจำแนกออกได้หลายพวก เช่น กลุ่มงานที่มุ่งเล่าประวัติศาสตร์ ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญอันนำมาซึ่งประชาธิปไตยทุกวันนี้ แน่นอนย่อมไม่พ้น เหตุการณ์ตุลา
16 หรือตุลา 19 หรือพฤษภาทมิฬ ที่เป็นโศกนาฏกรรมนองเลือดอะไรก็แล้วแต่ แต่น่าสนใจตรงที่เขาไม่ระบุเงื่อนเวลาลงไปให้ชัดเจน อาจเป็นเพราะเรื่องพวกนี้ถูกกล่าวซ้ำ ๆ อยู่แล้วทุกปี โดยกลุ่มงานนี้มีจำนวนไม่มากนักโดยเฉพาะเรื่องสั้น แต่บทกวีนั้นมีมากบทกว่า


กลุ่มงานที่แสดงผลกระทบ ความขัดแย้งในปัจจุบัน เช่น ปัญหาชายแดนใต้ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมวลชนเสื้อแดง เสื้อเหลือง ซึ่งกลุ่มงานนี้มีจำนวนมากที่สุด พร้อมกันนั้น ยังมีบางเรื่องที่พยายามเสนอทางออกให้ด้วย


กลุ่มงานที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตในรูปแบบสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งชี้ชวนให้หาทางออกโดยกลับมาสู่วิถีธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิม หรือสะท้อนเหตุการณ์ให้เกิดความสะเทือนใจ


พิจารณาแล้ว รวมเล่มนี้ให้น้ำหนักไปทางสองกลุ่มงานหลัง เป็นการนำเสนอภาพที่เป็นวิถีชีวิตที่ได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และผลกระทบนั้นได้หยั่งลึกมาถึงขั้นทำลายความมั่นคงในชีวิต นี่คือเป็นสาระสำคัญของเล่มก็ว่าได้


ยกตัวอย่างเรื่อง เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! ที่รถยนต์ของตัวละครเอกถูกทุบ เพราะติดสติ๊กเกอร์ภาษาอาหรับไว้หน้ารถ ดูเหมือนดุสิต หวันฯ ผู้เขียนจะให้อารมณ์แบบทีเล่นทีจริง หรือยั่วล้อมากกว่า เพราะดุสิตใช้ปัจจัยภายนอกทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ที่ติดรถอันเป็นเหตุให้รถถูกมือดีที่มองไม่เห็นทุบ และเป็นการทุบทำลายจุดที่มั่นคง เพราะเขาเขียนให้รถยนต์คันนั้นได้มาจากน้ำพักน้ำแรงเพียว ๆ ไม่ใช่ชิงโชคมาได้ รวมถึงเรื่องการแต่งกายในเที่ยวปัตตานีที่ต้องแต่งอย่างไทยมุสลิมจะราบรื่นกว่าแต่งแบบไทยพุทธ


ความมั่นคงที่ถูกทำลายลงนั้น ไม่ใช่เฉพาะภาพลักษณ์ภายนอกอย่างที่ดุสิตนำเสนอเท่านั้น หากแต่ยังลงลึกถึงความเป็น “ชาติ” ในเรื่องลมหายใจของแม่ ที่ อาแซ เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ผู้เข้าร่วมกระบวนการก่อการร้าย ต้องนำพาแม่ของเขาที่ถูกงูพิษกัดไปส่งโรงพยาบาล แต่ระหว่างทางรถจักรยานยนต์ต้องประสบกับตะปูเรือใบที่เขาเป็นคนโปรยไว้เป็นกับดักฝ่ายตรงข้ามคือเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเหตุให้แม่ต้องตายเพราะไปถึงมือหมอช้าเกินไป วันเสาร์ เชิงศรี ผู้เขียนได้สร้างให้โศกนาฏกรรมนี้สะท้อนไปถึงวิถีชีวิตและจิตวิญญาณ โดยใช้ “งูพิษ” ซึ่งเปรียบได้กับ “อาแซ” เป็นผู้ทำลาย “ฆ่า” แม่ อันหมายถึงแผ่นดินเกิด สุดท้ายต้องสูญเสีย “แม่” ไป และต้องเสียใจทีหลัง เพราะแท้จริงแล้ว “ศัตรู” คือ เจ้าหน้าที่รัฐนั้น ไม่ได้ “น่ากลัว” อย่างที่คิด หนำซ้ำยังมีน้ำใจพาแม่ขึ้นรถปิคอัพไปส่งโรงพยาบาลด้วย


นอกจากนั้น ความมั่นคงดังกล่าวได้ยังฝังรากอยู่ในวิถีชีวิตในรูปของความจริงอีกชุดหนึ่ง ที่ถูกจัดสรรโดยผู้มีอำนาจ จากเรื่อง ในทัศนะของคนบาป ที่วาฮาบ ผู้เห็นเหตุการณ์ยิงทหารพรานกับตาตัวเอง ขณะที่กลุ่มผู้นำชุมชนหรือผู้มีอำนาจเหนือกว่าได้สร้างความจริงชุดใหม่อันเป็นเท็จในสายตาของวาฮาบ เพื่อปลุกระดมความเกลียดชังต่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือเพื่ออะไรก็ตามแต่ ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงลงไป แต่วาฮาบ ผู้ตกอยู่ในสภาพคนชั่วประจำชุมชน ทำให้เขาไม่สามารถพูดความจริงให้ใครเชื่อได้


เหล่านี้คือผลกระทบอันเป็นสาระสำคัญของวรรณกรรมการเมือง ที่ถูกนำเสนอผ่านวรรณกรรมการเมืองเล่มนี้ ซึ่งถือได้ว่าเข้าตรงจุดสำคัญ แต่น่าเสียดายที่หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร


ขณะที่พลความที่สำคัญรองลงมาในการวิจารณญาณของคณะกรรมการคือ วิถีชีวิต ซึ่งก็คือ วิถีแบบประชาธิปไตย อันได้แก่เรื่อง แกง ที่พยายามจะนำความสมานฉันท์มาใส่ ชามแกง ของสองฝ่าย ทั้งเหลืองและแดง เหมือนจะปรุงจนได้ครบทุกรส แต่ไม่ทราบว่า รสชาติออกมาจะกลืนลงหรือเปล่า


อีกผลงานหนึ่งคือ จดหมายถึงแม่ รางวัลชนะเลิศประเภทบทกวี ที่เขียนถึงวิถีชีวิตซึ่งได้รับผลกระทบ แต่ความสมานฉันท์ไม่ได้ถูกกล่าวถึงอย่างง่าย ๆ เหมือนกับผลงานอื่น ที่ใช้สัญลักษณ์ “รกแม่ฝังไว้ใต้บันได” ทำให้แม้วิถีจะถูกทำลายให้ “ทุกข์ทุกย่างที่วางเท้า” ยังไม่สามารถทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมได้


น่าสังเกตว่า ผลงานกลุ่มนี้ที่ไม่ได้ชี้จำเพาะลงไปตรงบรรทัดของความสมานฉันท์ ได้วางรากฐานความเชื่อในผลงานว่า เป็นเพราะ “ซาตาน” และความหวังอยู่ “บนฟ้า” ทั้งสิ้น อย่างในบทกวี เปลวเทียนแห่งแผ่นดิน และหรือในบทอื่น ซึ่งสะท้อนว่า อำนาจ ซาตาน และ อำนาจ บนฟ้า นั้นนั่นเองที่จะเป็นเครื่องมือช่วยคลี่คลาย หรือบรรเทาปัญหา และอาจทำให้คิดไปได้ว่า ปัญหาภาคการเมืองสังคมจะไม่ถูกแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือทางการเมืองและสังคม แต่มีสิ่งอื่นที่มีอำนาจเหนือกว่าตั้งท่ารออยู่ “บนฟ้า” และนี่อาจเป็น “ทางออก” ที่จะเป็นจริงชั่วนิรันดร์ก็เป็นได้


เหล่านั้นเป็นภาพรวมที่สะท้อนให้เห็นความ ยังมีอำนาจอื่นเช่น ศาสนา หรือ ความหวังสูงสุด อื่นใด นอกจาก พานแว่นฟ้าแห่งประชาธิปไตย ให้ใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาอยู่ เพียงแต่วันนั้นยังไม่ถึง


นี่คือวรรณกรรมการเมืองเล่มนี้ นับว่าน่าอ่าน อีกอย่างหนึ่ง น่าสังเกตว่า ผลงานที่สะท้อนความสามานย์ของนักการเมืองที่เคยเห็นในเล่มก่อนหน้านี้ ได้ลดลง เล่มนี้มีเพียงเรื่อง ผู้ถูกเช็คเด้ง เท่านั้น ทั้งที่ความชั่วของนักการเมืองยังมีอยู่ทุกยุคสมัย หรือมันถูกเขียนถึงจนเละหมดแล้วก็ไม่ทราบ


ยังมีข้อสังเกตเล็กน้อยที่ไม่อาจผ่านเลยได้คือ บทกวีการเมืองชนะเลิศ ชื่อ จดหมายถึงแม่ ผลงานของ ปัณณ์ เลิศธนกุล ทราบมาว่าเป็นผลงานที่เคยส่งประกวดเวทีนี้ในปีก่อน แต่ต้องเจอกับอุบัติเหตุทางการเมืองทำให้ผลงานที่ตามจริงจะได้รางวัลในปีนั้น ถูกแบนไปเสียก่อน ผู้เขียนจึง “ลอง” ส่งผลงานเดิมมาประกวดใหม่ในปีนี้เพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่าง และได้รางวัลชนะเลิศ เพียงแต่เขาได้เปลี่ยนชื่อผลงานและชื่อผู้เขียนเสียใหม่ เขาคนนั้นคือ ศิลปินรางวัลศิลปาธร นามศิริวร แก้วกาญจน์ นั่นเอง งานนี้ถือว่าไม่ผิดกติกา เพราะไม่ได้ระบุไว้ แต่ฉันถือเป็นเรื่องตลกซะมากกว่า มันก็เป็นอย่างนี้นี่เอง เอวัง.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…