Skip to main content

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต

ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์น

ผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชา

พิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551

จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์


(-1-)

ถือเป็นเรื่องแปลกขนาดเล็ก ที่ สวนหนังสือ จะเขียนถึงหนังสือแนวที่เราคุ้นเคยจะเรียกว่า ฮาวทู เพราะที่ผ่านมาล้วนเป็นกระบวนของหนังสือแนววรรณกรรมแทบทั้งสิ้น ถ้าเปลี่ยนชื่อจาก สวนหนังสือ มาเป็น สวนวรรณกรรม คงจะเข้าทีกว่า

 

เพราะเหตุใดไม่ทราบ ฉันจึงรู้สึกต่อต้านหนังสือในแนวฮาวทูเหล่านั้น ทั้งที่เคยเปิดอ่าน ๆ ดูแล้วพบว่ามันก็ ไม่เลว แต่ยังไม่ถึงติดตราตรึงใจเท่านั้นเอง ความรู้สึกไม่เป็นมิตรดังกล่าวนั้น ยังแผ่อำนาจไปถึงหนังสือตามกระแสแนวอื่น ๆ อีกเสียด้วย เปรียบกับบุคคลต้องคำสาปให้อยู่นอกกระแสเรื่อยไปอย่างนั้นเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ฉันบอกเตือนตัวเองว่า หากคำสาปมีจริง สมควรแล้วหรือที่จะพึงพอใจอยู่ภายใต้เวทย์เหล่านั้น

 

แวบแรกที่ได้เห็นเจ้าเดอะซีเคร็ต ประชาสัมพันธ์ตัวเองอย่างมโหฬาร เป็นประวัติการณ์ตามร้านหนังสือ หน้าโฆษณานิตยสารต่าง ๆ คำว่า โอเวอร์โหลด ผุดขึ้นมาในความรู้สึกทันที มันทำให้ฉันไม่คิดแตะต้องมัน กระทั่งเวลาล่วงเลยมานานจนลืมไปว่า ในโลกนี้เคยมีหนังสือชื่อเดอะซีเคร็ตอยู่ด้วยนั่นแหละ ฉันจึงได้พบกับมันอีกครั้งที่ร้านหนังสือเช่า

 

ใบหน้าปกของมันดูขะมุกขะมอม ไม่สมกับเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ คงไม่ได้รับการเหลียวแลจากสาวกร้านเช่า ดูน่าเห็นใจผิดกับตอนที่มันเป็นหน้าเป็นหน้าตาให้กับอมรินทร์พริ้นติ้ง ยักษ์ใหญ่แห่งวงการสิ่งพิมพ์บ้านเรา แวบนั้นมันดูคล้ายหนังสือนอกกระแสยังไงยังงั้นเลยทีเดียว

 

ฉันหยิบมันมาอ่านไปได้ไม่กี่หน้าก็วาง รู้สึกฮึกเหิมถึงชัยชนะของตัวเอง ที่เคยปรามาสหนังสือฮาวทูตามกระแสทั้งหลายแหล่ว่า ช่างไร้สาระ ตื้นเขิน และเห็นแก่ตัว แต่ด้วยเป็นคนประเภทไม่ชอบทิ้งอะไรให้ค้างอยู่ จึงพยายามสะสางอ่านต่อจนจบ

 

หลังจากนั้นปีเศษ ฉันได้พบกับมันอีกครั้ง เป็นการพบปะซึ่ง ๆ หน้าเลยทีเดียว ว่าไปแล้ว ก็เนื่องมาจากการที่ฉันได้อ่านหนังสือเดอะท๊อปซีเคร็ต อันเป็นหนังสือลูกคู่ของมันนั่นเอง ลูกคู่เล่มนั้นเป็นผลงานของทันตแพทย์สม สุจีรา ซึ่งวางแผงออกมาแล้ว 2 ภาคด้วยกัน

 

สรุปว่า ฉันไม่ได้เป็นบุคคลต้องคำสาปให้อยู่แต่ในโลกของหนังสือนอกกระแสอย่างที่คิด และไม่ได้พึงพอใจกับโลกวรรณกรรมมากที่สุด ดังที่ตัวเองเข้าใจ

 

และหากจะกล่าวว่า เดอะซีเคร็ตและเดอะท๊อปซีเคร็ต ทำให้ฉันได้ค้นพบบางสิ่งที่ขาดหาย และสิ่งนั้นคือ ความลับ ละก็ ฉันออกจะเขินอายอย่างมากทีเดียวที่ต้องกล่าวเช่นนั้น รู้สึกเหมือนหน้าแตกที่ต้องกลับคำพูดในที่สุด แต่เหนือจากความอับอายเหล่านั้นฉันได้ค้นพบว่า ฉันสามารถยอมรับตัวเองที่เปลี่ยนความคิดได้ในที่สุด และฉันยังกล้ายอมรับนับถือตัวเองได้อย่างเต็มภาคภูมิอีกด้วย เหมือนกับการได้ฝ่าทะลุกำแพงที่ปิดกั้นความคิดของตัวเองให้พังทลายลงในที่สุด


นั่นคือสิ่งที่ได้รับจากหนังสือฮาวทู ซึ่งตัวเองเคยสบประมาทมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
ขอบคุณเดอะซีเคร็ตและลูกคู่อย่างเดอะท๊อปซีเคร็ตที่ถอนคำสาปให้ฉัน

 

(-2-)

 

คนที่เคยอ่าน เดอะซีเคร็ต ย่อมรู้สึกได้ถึงเนื้อหาที่ให้ความสำคัญกับกระแสความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปฏิบัติในเดอะซีเคร็ต ที่มีสาระตรงกับหลักพุทธธรรมราวกับผุดขึ้นมาจากรากฐานอันเดียวกัน


ไม่ว่าจะเป็นหลักการกำหนดความคิด ความรู้สึก ฝึกกำหนดรู้ การทำจิตใจให้ผ่องแผ้วเบิกบานอยู่เสมอ หลักของความเพียร หลักของการสำนึกรู้คุณ ซึ่งการวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งในทางหลักพุทธธรรมนั้น หนังสือเดอะท๊อปซีเคร็ตได้อธิบายไว้โดยละเอียด ชัดเจน แจ่มแจ้งเลยทีเดียว จนกล่าวได้ว่าน่าศึกษามากกว่าหนังสือต้นแบบอย่าง เดอะซีเคร็ต ด้วยซ้ำไป


นอกจากนั้น เดอะท๊อปซีเคร็ตได้ยกอมตะวาจาของ ไอน์สไตน์ "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" มาอธิบาย
โดยอ้างถึง ทฤษฎีสัมพันธภาพ ของไอน์สไตน์ ให้เห็นถึงความสอดคล้องกันกับแก่นสารจากเดอะซีเคร็ตด้วย โดยทันตแพทย์สม สุจีรา ผู้เขียนยังได้เน้นย้ำเป็นพิเศษถึงความสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมอย่างน่าสนใจ และเน้นหนักในเรื่องของการฝึกสร้างมโนภาพที่มีอานุภาพเข้มแข็ง การฝึกจิตใจให้ตั้งมั่น มั่นคง ซึ่งสอดรับต่อหลักการของเดอะซีเคร็ต

 

หลักการของเดอะซีเคร็ตดังกล่าว ที่จะทำให้สมปรารถนาทุกประการ มีอยู่ 3 ข้อ

1.ขอ

2.เชื่อ

3.รับ

(ง่าย ๆ แค่นี้ แต่มีเงื่อนไขซับซ้อน จะมีสักกี่คนที่ทำได้สำเร็จ )

 

ขณะเดอะซีเคร็ตและเดอะท๊อปซีเคร็ตได้บอกเราว่า ความคิดบวกสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งการดึงดูด กฎนั้นบอกว่า สิ่งที่เหมือนกันจะมีแรงดึงดูดเข้าหากัน ดังนั้น เมื่อเราคิดอะไรสักอย่าง เรากำลังดึงดูดความคิดแบบเดียวกันเข้ามาหาตัวเรา

 

ความคิดมีแรงดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก และความคิดมีคลื่นความถี่

ถ้าเราคิดถึงสิ่งที่ดี เราก็จะได้รับสิ่งดี ๆ เหล่านั้น

แต่ถ้าเราคิดถึงสิ่งร้าย ๆ เราก็จะได้รับสิ่งร้าย เป็นไปตามกฎแห่งการดึงดูด

กล่าวง่าย ๆ คือ คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

ถ้าหากเราตั้งความหวัง เดอะซีเคร็ตก็มีกฎให้ใช้ 3 ข้อ ดังกล่าวนั่นแหละ คือ ขอ เชื่อ รับ

คำถามก็คือ ใครล่ะจะปฏิบัติได้จริง

 

ทันตแพทย์สม สุจีรา บอกไว้ในเดอะท๊อปซีเคร็ตว่า ข้อที่ทำได้ยากคือ การเชื่อ และการรับ เนื่องจากต้องอาศัยจินตนาการ การสร้างมโนภาพ จนเกิดเป็นภาพเหมือนจริงในความรู้สึกนึกคิดของเรา จึงจะบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งความหวังเอาไว้

 

นอกจากนั้นยังได้อธิบายถึงหลักการทำงานร่วมกันระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกในเชิงจิตวิเคราะห์และในเชิงพุทธธรรม และสรุปว่า เราสามารถสร้างจิตใต้สำนึกขึ้นมาใหม่ได้ด้วยตัวเอง การสร้างจิตใต้สำนึกอย่างใหม่นั้นก็เท่ากับว่าเราได้สร้างชีวิตขึ้นใหม่นั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม ฉันถือว่าเหล่านี้ล้วนเป็นความรู้ ไม่ใช่ความลับแต่อย่างใด ที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้อวดอ้างว่าตัวเองเป็นผู้รู้ แต่เป็นเพราะศาสตร์เหล่านี้ เราสามารถหาอ่านศึกษาได้จากหนังสือเล่มอื่น ๆ ทั้งสายธรรมและสายวิชาการ แล้วอะไรล่ะคือ ความลับ ที่ว่า

 

คุณไม่จำเป็นต้องอ่านเดอะซีเคร็ตก็ได้ แม้กระทั่งเดอะท๊อปซีเคร็ตเองก็ตาม เพราะความลับไม่ได้อยู่ในหนังสือ มันอยู่ที่ตัวคุณเองทั้งหมด

 

สำหรับฉันเมื่อได้ 2 เล่มความลับแล้ว แม้นจะหวังไปกับวัตถุปัจจัยภายนอกเฉกเช่นคนอื่นทั่วไป หวังความสุขสมบูรณ์เช่นปุถุชนทั่วไป แต่เหนืออื่นใด ฉันปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ตื่นขึ้นอีกครั้ง และฉันก็ได้ตื่นขึ้นจริง ๆ ฉันตื่นขึ้นพร้อมกระบวนความคิดอย่างใหม่ วิธีคิดแบบใหม่

 

เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่ง่ายเช่นเดียวกับพลิกฝ่ามือ นั่นแหละคือ ความลับของฉัน แล้วความลับของคุณล๋ะ คืออะไร.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ ผู้เขียน : องอาจ เดชา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา พ.ศ.2548 ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ... สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ม่านดอกไม้ ผู้เขียน : ร. จันทพิมพะ ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2541 ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน…
สวนหนังสือ
นายยืนยง      ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ.ศ.2508 ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : มาตุภูมิเดียวกัน ผู้เขียน : วิน วนาดร ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อกันยายน 2550   ปี 2551 นี้รางวัลซีไรต์เป็นรอบของเรื่องสั้น สำรวจดูจากรายชื่อหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ดูจากชื่อนักเขียนก็พอจะมองเห็นความหลากหลายชัดเจน ทั้งนักเขียนที่ส่งมากันครบทุกรุ่นวัย แนวทางของเรื่องยิ่งชวนให้เกิดบรรยากาศคึกคัก มีสีสันหากว่ามีการวิจารณ์หนังสือกันที่ส่งเข้าประกวดอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกค่าย ไม่เลือกว่าเป็นพรรคพวกของตัว อย่างที่เขาว่ากันว่า เด็กใครก็ปั้นก็เชียร์กันตามกำลัง นั่นไม่เป็นผลดีต่อผู้อ่านนักหรอก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นกชีวิต ประเภท : กวีนิพนธ์ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2550 ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เคยสังเกตไหมว่าบางครั้งบทกวีก็สนทนากันเอง ระหว่างบทกวีกับบทกวี ราวกับกวีสนทนากับกวีด้วยกัน ซึ่งนั่นหาได้สำคัญไม่ เพราะความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงการแบ่งแยกระหว่างผู้สร้างสรรค์ (กวี) กับผู้เสพอย่างเรา ๆ แต่หมายถึงบรรยากาศแห่งการดื่มด่ำกวีนิพนธ์ เป็นการสื่อสารจากใจสู่ใจ กระนั้นก็ตาม ยังมีบางทัศนคติที่พยายามจะแบ่งแยกกวีนิพนธ์ออกเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นกวีฉันทลักษณ์ เป็นกวีไร้ฉันทลักษณ์…
สวนหนังสือ
นายยืนยงประเภท          :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย      :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน 2530)ผู้ประพันธ์     :    Bhabani Bhattacharyaผู้แปล         :    จิตร ภูมิศักดิ์
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก…
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
สวนหนังสือ
นายยืนยงบทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์    :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล         :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ      :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์      :     โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
สวนหนังสือ
นายยืนยง  บทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์            :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล                 :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ         :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์        …
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ         :      พี่น้องคารามาซอฟ (The Karamazov Brother)ผู้เขียน              :      ฟีโอโดร์  ดอสโตเยสกีประเภท             :      นวนิยายรัสเซียผู้แปล               :      สดใสจัดพิมพ์โดย       :      สำนักพิมพ์ทับหนังสือ พิมพ์ครั้งที่สาม  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓